มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติทั้ง "น้ำ" และ "ป่า"
เดิมชื่อหมู่บ้าน คือ ก่องไผหลู่ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านทังที เนื่องจากพ่ออุ้ยทังทีฟังภาษาไทยไม่รู้เรื่องจึงตอบชื่อตัวเอง และกลายมาเป็นชื่อหมู่บ้านในปัจจุบัน
มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติทั้ง "น้ำ" และ "ป่า"
หมู่บ้านทังที ก่อตั้งเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่แล้ว โดยชาวบ้านเป็นชาวปกาเกอะญอ (เผ่ากะเหรี่ยงโปร์) ตั้งอยู่ภายใต้การปกครองของหมู่ที่ 20 ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยภายในชุมชนใช้วิถีชีวิตเสมือนคนในชุมชนเป็นพี่น้องกัน
สภาพทางภูมิศาสตร์ หมู่บ้านทังที หมู่ที่ 20 ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงของตัวอำเภออมก๋อย อยู่ห่างจากที่ตั้งของตัวอำเภออมก๋อยตามระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ 224 กิโลเมตร มีความสูงระดับน้ำทะเลปานกลาง 995 เมตร มีน้ำจากลำน้ำแม่ลอกซึ่งไหลผ่านบริเวณหมู่บ้าน จึงทำให้หมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดปี
อาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านอูตูมเหนือ หมู่ 6 ตำบลนาเกียน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านก๋องป๋อเหนือ หมู่ 20 ตำบลนาเกียน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านห่างหลวง หมู่ 12 ตำบลนาเกียน
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านก๋องป๋อใต้ หมู่ 8 ตำบลนาเกียน
ในหมู่บ้านเป็นชาวปกาเกอะญอ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 182 คน และจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 47 ครัวเรือน
ปกาเกอะญอชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ – ทำนา เลี้ยงสัตว์ และมีสถานประกอบการเป็นร้านค้าจำนวน 4 แห่ง
ประเพณีปีใหม่ โดยหัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นผู้ระบุวันล่วงหน้า แต่ละหมู่บ้านจะมีปีใหม่แต่ละปีไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลเกษตร เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของชาวบ้าน
- แหล่งท่องเที่ยวชุมชน "นาขั้นบันได" บ้านห่างหลวง พื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมของคนในชุมชนบ้านห่างหลวง บ้านทังที และหมู่บ้านใกล้เคียง ด้วยลักษณะสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสลับสับซ้อน กับทุ่งนาที่เขียวขจีในช่วงฤดูฝน หรือรวงข้าวสีเหลืองทองในฤดูเก็บเกี่ยว จึงทำให้ที่นี่ กลายเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงามแห่งหนึ่ง ในตำบลนาเกียน
- พันธุ์ไม้ในท้องถิ่น "ต้นก๋ง" หรือ "หญ้าไม้กวาด" พันธุ์ไม้ที่พบมากในพื้นที่ ชาวบ้านมักนำใบมาห่อข้าวเหนียว ใช้ในพิธีผูกข้อมือช่อดอก ทำเป็นไม้กวาด
- สัตว์ประจำถิ่น "ชะนี" เป็นสัตว์ป่าประจำถิ่นที่สามารถพบได้บริเวณป่าบ้านทังที เนื่องจากมีการอนุรักษ์และห้ามล่าปัจจุบันชนะเป็นสัตว์ป่าที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์
- ของป่าประจำถิ่น "เห็ดตับเต่า" เป็นเห็ดที่เกิดตามธรรมชาติในฤดูฝนจากป่าธรรมชาติ ชาวบ้านนิยมนำมาประกอบอาหาร เช่นนำมาแกง อีกทั้งยังมี สรรพคุณทางยา
ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567. จาก https://www.xn--b3c3da.com/home/pdf/village/1023/
สวนสัตว์เชียงใหม่. (ม.ป.ป.). รูปในสวนสัตว์. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2567. จาก https://chiangmai.zoothailand.org/ewt_gallery.php?category_id=10