Advance search

วิถีชีวิตที่เงียบสงบท่ามกลางภูเขาของชาวแม่เกิบ

หมู่ที่ 15
บ้านแม่เกิบ
นาเกียน
อมก๋อย
เชียงใหม่
จรัสศรี สมตน
18 ก.ย. 2024
จรัสศรี สมตน
18 ก.ย. 2024
บ้านแม่เกิบ

ไม่ปรากฏที่มาของชื่ออย่างชัดเจน แต่มีการเรียกชื่อพร้อมกับการก่อตั้งชุมชน พ.ศ. 2464


วิถีชีวิตที่เงียบสงบท่ามกลางภูเขาของชาวแม่เกิบ

บ้านแม่เกิบ
หมู่ที่ 15
นาเกียน
อมก๋อย
เชียงใหม่
50310
17.87501
98.076447
องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกียน

บ้านแม่เกิบก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2464 เป็นหมู่บ้านชาวปกาเกอะญอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 15 ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยภายในหมู่บ้านแม่เกิบมีอีก 2 หย่อมบ้าน ได้แก่ หย่อมบ้านศาลาเท และหย่อมบ้านบ้านแม่ละเอ๊าะ

บ้านแม่เกิบตั้งอยู่บริเวณที่สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 740 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมดโดยประมาณ 500 ไร่ เป็นพื้นที่ทำกิน 250 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัย 50 ไร่ พื้นที่ป่า 200 ไร่  อยู่ห่างจากตัวอำเภออมก๋อยประมาณ 72 ก.ม. ในด้านการคมนาคมหากเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะค่อนข้างลำบาก หากเดินทางโดยรถจากอมก๋อยถึงบ้านแม่เกิบใช้เวลาประมาณ 4-5 ชั่วโมง และเดินทางจากเชียงใหม่จากทางหลวงหมายเลข 108 ระยะทางจากแยกสนามบินเชียงใหม่ถึงอำเภอฮอด 88 ก.ม. (แยกขวาตามเส้นทางฮอด – ถนนสายแม่สะเรียง 39 กม.) จากนั้นแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1099 ถึงอำเภออมก๋อยเป็นระยะทาง 50 ก.ม. จากนั้นเลี้ยวขวาที่ 4 แยกหอมด่วน ทั้งนี้บ้านแม่เกิบมีอาณาเขตติดต่อบริเวณโดยรอบ ดังนี้

อาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านแม่ฮองกลาง
  • ทิศใต้ ติดต่อ บ้านแม่ละเอาะ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านศาลาเท
  • ทิศตะวันตก ติดต่อ บ้านแม่ปะน้อย (อำเภอสบเมย) 

มีประชากรชาวปกาเกอะญอทั้งหมด 177 คน และครัวเรือนจำนวน 45 ครัวเรือน

ปกาเกอะญอ

มีสถานประกอบการร้านค้าจำนวน 1 แห่ง

ประเพณีเลี้ยงผีไร่

ผู้นำประเพณีหมู่บ้านแม่เกิบ คือ พ่อหลวงตั้งข้าว โดยในปัจจุบันได้เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2548

ชุมชนบ้านแม่เกิบได้จัดโครงการ “ภูมินิเวศสร้างค่า ใบพลูรักษ์ป่า ภูมิปัญญาสืบคน” โดยใช้รูปแบบ BCG+C Model ประกอบด้วย

B (Bio Economy) ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงจากทรัพยากรชีวภาพ นำความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการเกษตรและผลผลิต

C (Circular Economy) ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน การนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ เพื่อแก้ไขความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ

G (Green Economy) ระบบเศรษฐกิจสีเขียว คือ การพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานสะอาด การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการมลพิษ โดยการพัฒนาการแปรรูปใบพลูด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

C (culture) วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้จุดแข็งทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์ และด้านการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า เป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีความยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้น และได้สืบสานวัฒนธรรมการใช้ประโยชน์จากพลูในชีวิตประจำวัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ระบบฐานข้อมูลศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง". สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2567. จาก https://www.xn--b3c3da.com/home/pdf/village/42/

ศศช. บ้านแม่เกิบ สกร.อมก๋อย. (2567). สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2567. จาก  https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid024kY5eFQcBseVab7chQuHLyTBrHZoNZwit1YVbrQ5odhK5RqsfP3yfcDBH63AomcMl&id=100063919128703