
ชุมชนแสงภาตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม มีทิวทัศน์ของภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและการเดินป่า และมีการรักษาวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นไว้ได้ดี เช่น การจัดงานบุญประเพณีต่าง ๆ
ผู้ริเริ่มเข้ามาตั้งรกรากเป็นนายพรานชื่อ เซียงพา และเพื่อนประกอบด้วย เซียงแพ เซียงใต้ เซียงน้อย ข้ามมาจากฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สันนิษฐานว่ามาจากเวียงจันทร์) เข้ามาล่าช้าง เพื่อนำเอางาช้างไปถวายเจ้าเมือง เซียงพาและเพื่อนได้เดินทางตามลำน้ำเหือง และได้เห็นทำเลที่เหมาะสม ในการทำไร่ ทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำพา และแม่น้ำแพร่ จึงได้ลงหลักฐานตั้งเป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านเซียงพา โดยตั้งอยู่ริมห้วยน้ำพา ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น แสงพา
ชุมชนแสงภาตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม มีทิวทัศน์ของภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและการเดินป่า และมีการรักษาวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นไว้ได้ดี เช่น การจัดงานบุญประเพณีต่าง ๆ
ชุมชนแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลยเป็นชุมชนเก่าแก่ มีอายุมากกว่า 400 ปีผู้ริเริ่มเข้ามาตั้งรกรากเป็นนายพรานชื่อ เซียงพา และเพื่อนประกอบด้วย เซียงแพ เซียงใต้ เซียงน้อยข้ามมาจากฝั่งประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สันนิษฐานว่ามาจากเวียงจันทร์) เข้ามาล่าช้าง เพื่อนำเอางาช้างไปถวายเจ้าเมือง เซียงพาและเพื่อนได้เดินทางตามลำน้ำเหือง และได้เห็นทำเลที่เหมาะสม ในการทำไร่ ทำนา มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย ได้แก่ แม่น้ำพา และแม่น้ำแพร่ จึงได้ลงหลักฐานตั้งเป็นหมู่บ้านเรียกว่า บ้านเซียงพา โดยตั้งอยู่ริมห้วยน้ำพาต่อมาจึงเพี้ยนเป็น แสงพา บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านช่วงแรกคือ ต้นมะขามใหญ่บริเวณริมแม่น้ำพาด้านทิศตะวันออก (บริเวณสะพานข้ามน้ำพาในปัจจุบัน) มีจำนวนครัวเรือน 9-10 ครัวเรือนหลังจากนั้นก็มีการจัดตั้งวัดขึ้น โดยมีหลักฐานว่ามีการสร้างวัดเมื่อปี พ.ศ. 2090
ปัจจุบันได้แบ่งหมู่บ้านเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่ แสงภา บ้านหัวนา และบ้านป่าก่อ ต่อมาได้เปลี่ยนจากบ้านแสงพา มาเป็นบ้านแสงภา จนถึงปัจจุบันเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับบ้านแสงพา เริ่มจากเมื่อกลุ่มนายพรานประกอบด้วย เซียงพา เซียงแพ เซียงใต้ เซียงน้อย เดินทางมาจากฝั่งลาว ได้เดินทางมาถึงโป่งที่มีสัตว์และช้างมากินโป่งจำนวนมากซึ่งบริเวณโป่งจะมีต้นไฮใหญ่อยู่ จึงเรียกว่าโป่งไฮ จากนั้นนายพรานทั้ง 4 คน ได้สร้างฮ้างเพื่อเป็นที่เฝ้าสัตว์และหนีเสือ จึงเรียกบริเวณที่สร้างฮ้างว่า นาฮ้าง เมื่อเดินออกจากนาฮ้าง มาถึงโป่งกูด ได้พบช้างจึงเข้ามาดูช้างอยู่บริเวณนั้น นายพรานทั้ง 4 คน เกิดหิวน้ำแต่ลำห้วยบริเวณนั้นดื่มไม่ได้ เนื่องจากมีใบไม้ตกลงไปในลำห้วยทำให้น้ำบริเวณนั้นดื่มไม่ได้ จึงได้เอาเสียมไปขุดหาน้ำ ขุดไปขุดมาแล้วไปเจอหินทำให้เสียมเป้ เลยเรียกบริเวณนั้นว่านาเสียมเป้ (ปัจจุบันเพี้ยนเป็นนาสามเปิ้น) ต่อจากนั้นนายพรานก็ตามช้างขึ้นไปถึงหนองน้ำแห่งหนึ่ง แต่ค่ำพอดีจึงได้จักไม้ไต้เพื่อใช้เป็นไฟส่องทาง จึงเรียกว่าหนองจักไต้ พอค่ำถ้าจะนอนบริเวณหนองจักไต้ก็ดูไม่เหมาะสมกับการนอน จึงเดินไปอีกระยะหนึ่งเพื่อหาที่พักผ่อน จนมาถึงพื้นที่ที่เหมาะสมจึงได้พากันนอน จึงเรียกว่า นาพรานนอน (ปัจจุบันเพี้ยนเป็น นาพานอน) พอถึงตอนเช้าจึงได้พากันเดินทางไปล่าสัตว์ โดยเดินทางย้อนกลับไปทางเดิมโดยการเดินย่อง ๆ (ย่องคือการเดินอย่างระมัดระวัง) เพื่อไม่ให้สัตว์รู้ตัว จึงเรียกบริเวณนั้นว่า นาพรานย่อง พอเดินทางออกจากนาพรานย่องผ่านน้ำคดใต้ ผ่านน้ำคดเหนือ แล้วเดินทางเพื่อไปยิงช้างผ่านบริเวณหินตึง บริเวณนั้นเมื่อเดินผ่านจะมีเสียงดัง ตึง ตึงจึงเรียกว่า ภูหินตึง บริเวณนั้นเป็นหินลาดใหญ่ (ผู้เฒ่าผู้แก่ที่อยู่ในหมู่บ้านนี้ก็จะรู้ว่าใครเข้ามาในหมู่บ้าน จะได้ยินเสียงดัง ตึง ตึง) แล้วมายิงช้างที่หนองพรานใต้แต่ตามหาหัวช้างที่ยิงไม่เจอ หลังจากนั้นหลายวันก็ไปพบโครงช้างที่นายพรานยิงตาย จึงเรียกบริเวณนั้นว่า นาโครงช้าง ส่วนหัวช้างได้ถูกเสือคาบไปไว้อีกบริเวณเรียกว่า นาหัวช้าง (ปัจจุบันเรียก นาหัวนาช้าง) นายพรานได้เดินทางตามรอยเสือจนไปพบเสือ เห็นกระดูกช้างคาปากเสืออยู่ จึงเรียกบริเวณนั้นว่านาปากคา นายพรานจึงเดินทางกลับ
นายพรานกลุ่มนั้นเห็นว่าป่านี้มีความอุดมสมบูรณ์ บ่อน้ำ อาหารสมบูรณ์นายพรานก็เดินทางกลับไปชวนเอาญาติพี่น้องมาตั้งหมู่บ้าน โดยเซียงพา เซียงแพ เซียงใต้ เซียงน้อย โดยพูดกับพี่น้องว่า "ใครอยากมาบ้าง จะไปสร้างบ้านกันอยู่ที่นั้นใครอยากไปบ้าง ถ้าอยากไปก็เก็บเอาข้าวน้ำสาปลาเลย" ญาติพี่น้องก็เดินทางตามมาเพื่อมาสร้างบ้าน พอมาถึงต่างคนก็ออกไปตระเวรหาที่ตั้งหมู่บ้าน หาที่ไร่นากัน บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านช่วงแรกคือ ต้นมะขามใหญ่บริเวณริมแม่น้ำพา ด้านทิศตะวันออก (บริเวณสะพานข้ามน้ำพาในปัจจุบัน) มีจำนวนหลังคาเรือนประมาณ 9-10 ครัวเรือน เรียกว่าบ้านเซียงพา
การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน
การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเดิมการสร้างบ้านเรือนจะใช้ใบค้อเพื่อมุงหลังคา ต่อมาใช้หญ้าคามุงหลังคา และใช้ไม้ไผ่มาสับทำเป็นฟากเพื่อทำพื้นบ้านและฝาบ้าน เกิดโรคระบาดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487 ชาวบ้านอพยพย้ายถิ่นฐานออกจากบ้านแสงภาไปอยู่ที่บ้านนาแห้ว หลังจากโรคระบาดหายไปชาวบ้านก็กลับมาอยู่ที่บ้านแสงภาตามเดิม และมาสร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้นใช้ตอกเกล็ดนำมามุงหลังคา (ใช้ไม้เนื้อแข็งนำมาตอกด้วยเหล็กลิ่มออกมาเป็นแผ่นเกล็ด) ผู้มีฐานะก็จะใช้สังกะสีเพื่อมุงเป็นหลังคาบ้านต้องเดินทางเท้าไปซื้อที่ด่านซ้าย จ้างคนแบกแผ่นละ 1 บาท และใช้ไม้ที่เลื่อยมาจากป่าเพื่อมาทำพื้นและทำฝาบ้าน เมื่อ พ.ศ. 2503 เกิดไฟไหม้ป่า เกิดลูกไฟตกลงมายังหลังคาบ้านเกิดเพลิงไหม้ทั้งหมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือน 62 ครัวเรือน ถูกไฟไหม้ไปทั้งหมด 52 ครัวเรือน เหลือเพียง 10 ครัวเรือนเท่านั้น แต่ไม่มีผู้เสียชีวิตแต่อย่างใด สันนิษฐานว่าเกิดเหตุไฟไหม้ทั้งหมู่บ้านเนื่องจากผิดของรักษา ผิดธรรมนองครองธรรม ผิดคำสัจจะต่อจากนั้นมาชาวบ้านก็สร้างบ้านเรือนขึ้นใหม่ด้วยตอกเกล็ดเพื่อทำเป็นหลังคาผู้มีฐานะก็จะใช้สังกะสีเพื่อมุงเป็นหลังคาบ้านและใช้ไม้ที่เลื่อยมาจากป่าเพื่อมาทำพื้นและทำฝาบ้าน
เหตุการณ์สำคัญของชุมชนบ้านแสงภา
ปี | เหตุการณ์ |
ก่อน พ.ศ. 2090 | ก่อตั้งชุมชนแสงภา |
พ.ศ. 2090 | สร้างวัดโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2113 | สร้างโบสถ์วัดโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2146 | สร้างวัดพระธาตุดินแทนและตั้งวัดพระธาตุ |
พ.ศ. 2400 | ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา กว้าง 8 เมตร ยาว 10 เมตร |
พ.ศ. 2460 | สร้างโรงเรียนบ้านแสงภา โดยมีครูใหญ่คนแรกชื่อ นายขีด ศรจันทร์ |
พ.ศ. 2487 | เกิดโรคระบาดขึ้น ชาวบ้านเรียกว่า โรคห่าขี้แดง (ท้องร่วงจนถ่ายเป็นเลือด) |
พ.ศ. 2490 | ชุมชนเริ่มกับมาอยู่ในหมู่บ้าน |
พ.ศ. 2503 | เกิดไฟไหม้ป่า มีลูกไฟตกลงมาใส่หลังคาบ้านที่เป็นหญ้าคาเกิดเพลิงไหม้หมู่บ้านแสงพา ถูกไฟไหม้ไปทั้งหมด 52 ครัวเรือน |
พ.ศ. 2508 | ถนนเข้าหมู่บ้าน ทางลูกรัง โดยใช้คนขุด |
พ.ศ. 2509 | สร้างสถานีอนามัยแสงภา มีนางสำเร็จ เหมือนศรีชัย เป็นหัวหน้า |
พ.ศ. 2514 | บูรณะหลังคาโบสถ์จากเกล็ดไม้เป็นหลังคาสังกะสี |
พ.ศ. 2514 | รถเข้ามาสร้างถนนในหมู่บ้าน |
พ.ศ. 2514-2525 | กระบวนการคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ (พื้นที่สีแดง) |
พ.ศ. 2518 | แยกตำบลแสงภา จากตำบลนาแห้ว มีกำนันแรกชื่อ นายพัก ราชพรหมมา |
พ.ศ. 2519 | เปลี่ยนชื่อวัด เป็น วัดศรีโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2521 | ทางลาดยางเข้าหมู่บ้านและสร้างสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำพา |
พ.ศ. 2522 | สร้างกำแพงวัดจากการบริจาคของผู้รับเหมาสร้างถนน |
พ.ศ. 2523 | ก่อตั้งสภาตำบลแสงภา |
พ.ศ. 2529-2535 | ต่อสู้เรื่องการสัมปทานป่าไม้ ภูเปือย ภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ นำโดยนายสมบัติชิดทิด และพัฒนาเป็นป่าชุมชน ร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนยกร่างกฎหมายป่าชุมชน |
พ.ศ. 2537 | ตั้งอุทยานแห่งชาตินาแห้ว (อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย) |
พ.ศ. 2537 | บูรณะโบสถ์วัดศรีโพธิ์ชัยเปลี่ยนจากหลังคาสังกะสีเป็นหลังคากระเบื้องและปูพื้นกระเบื้องภายในโบสถ์ |
พ.ศ. 2540 | ประกาศเขตวัดศรีโพธิ์ชัยเป็นเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดเลย |
พ.ศ. 2543 | บูรณะศาลาการเปรียญวัดศรีโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2547 | ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแสงภา |
พ.ศ. 2549 | น้ำท่วมวัดศรีโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2548 | สร้างมณฑปวัดศรีโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2549 | บูรณะหอไตรวัดศรีโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2549 | สร้างซุ้มประตูวัดศรีโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2550 | รื้อกำแพงเก่าวัดศรีโพธิ์ชัยแล้วสร้างใหม่ |
พ.ศ. 2553 | สร้างห้องน้ำวัดศรีโพธิ์ชัย และเทคอนกรีต ลานวัดศรีโพธิ์ชัย |
พ.ศ. 2553 | ซื้อที่ดินขยายพื้นที่วัด เพิ่มจำนวน 2 ไร่ 80 ตารางวา |
พ.ศ. 2554 | เกิดแผ่นดินไหว ทำให้โบสถ์ได้รับความเสียหาย |
พ.ศ. 2554 | สร้างสะพานข้ามแม่น้ำพา |
พ.ศ. 2554 | บูรณะโบสถ์วัดศรีโพธิ์ชัย ช่อฟ้าใบระกา เชิงทราย |
จากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านสามารถแบ่งช่วงการพัฒนาหมู่บ้านออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้
ช่วงก่อนตั้งหมู่บ้าน (เริ่มตั้งแต่ปีก่อนปี พ.ศ. 2090-2504) เป็นช่วงของการก่อตั้งหมู่บ้านจากคนอพยพเพื่อเข้ามาล่าสัตว์ป่าในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนายพรานที่เข้าล่าสัตว์เมื่อเห็นว่าพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะแก่การปลูกพืชจึงได้ชัดชวนพี่น้อง และเครือญาติเข้าตั้งรกรากเพื่อใช้แหล่งที่อยู่อาศัย เมื่อมีการก่อตั้งเป็นชุมชนได้แล้วเริ่มการสร้างวัด สร้างโบสถ์เพื่อเป็นแหล่งพักพิงทางจิตใจ หลังจากนั้นก็จะมีการสร้างโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งช่วงนี้เองก็ไม่การย้ายเข้าย้ายของคนในหมู่บ้านตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การย้ายบ้านเนื่องจากโรคระบาด หรือ เกิดจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านแต่ชุมชนก็ยังสามารถดำรงอยู่ได้ โดยยึดวัดเป็นที่พึ่งทางจิตใจ และใช้วัฒนธรรมความในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การสร้างวัดโพธิชัย การสร้างวัดพระธาตุดินแทนและการเกิดของวัฒนธรรมบุญหินสี่ก้อน การทำบุญแห่งต้นดอกไม้ การทำพระธาตุดินแทนการทำบุญกองพระทรายหัวบ้านท้ายบ้าน เป็นต้น
ช่วงการพัฒนาหมู่บ้าน (เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504-2520) เป็นช่วงของการพัฒนาหมู่บ้านซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-3 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก ชุมชนบ้านแสงภาได้มีการพัฒนาต่าง ๆ เกิดขึ้นในช่วงนี้ได้แก่ การสร้างถนน การสร้างสถานีอนามัย การแยกการปกครองจากเพื่อสะดวกในการดูแลความสงบในชุมชน ชุมชนบ้านแสงภาในช่วงนี้ก็จะมีการดำรงรักษาวัฒนธรรมไว้ผ่านการบำรุงรักษาวัด เช่น การบูรณะโบสถ์ แต่ในช่วงนี้เองก็มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่ทำให้มีการต่อสู้ทางความคิดระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายคอมนิต ชุมชนบ้านแสงภาถูกประกาศเป็นพื้นที่สีแดงที่ต้องการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด และได้มีการก่อตั้งลูกเสือชาวบ้าน ณ บ้านเหล่าก่อหก ตำบลแสงภา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ด้านความคิดของรัฐบาล ด้านวัฒนธรรมชุมชนยังคงมีการรักษาวัฒนธรรมประเพณีไว้ได้อย่างเหนียวแน่นเห็นได้จากการบำรุงรักษาโบสถ์ การทำบุญพระธาตุดินแทน การทำบุญแห่งต้นดอกไม้
ช่วงการต่อสู้ (พ.ศ. 2521-2540) ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการต่อสู้ของชุมชนทั้งด้านความเชื่อทางการเมืองที่เกิดขึ้นในพื้นที่และการต่อสู้เพื่อรักษาป่าไม้ของชุมชนบ้านแสงภา ชุมชนได้เข้าร่วมการต่อสู้เรื่องการสัมปทานป่าไม้
ในพื้นที่ป่า ภูเปือย ภูขี้เถ้า นำโดยนายสมบัติ ชิดทิด และเครือข่าย กำหนดพื้นที่ป่าเป็นป่าชุมชนบ้านแสงภา และร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนยกร่างกฎหมายป่าชุมชน และหลังจากมีการประกาศปิดป่าในปี 2535 หลังจากนั้นในปี 2537 ได้มีการจัดตั้งอุทยานแห่งชาตินาแห้ว และได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติภูสวนทรายในปัจจุบัน
ช่วงการธำรงรักษาชุมชนให้เข้มแข็ง (พ.ศ. 2541-ปัจจุบัน) หลังจากผ่าน 3 ช่วงของชุมชนบ้านแสงภา ช่วงนี้เป็นช่วงแห่งการพัฒนาให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน เช่น การประกาศเขตวัดศรีโพธิ์ชัยเป็นเขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดเลย บูรณะศาลาการเปรียญวัดศรีโพธิ์ชัย บูรณะหอไตรวัดศรีโพธิ์ชัย สร้างมณฑปวัดศรีโพธิ์ชัย สร้างห้องน้ำวัดศรีโพธิ์ชัย และเทคอนกรีต ลานวัดศรีโพธิ์ชัย ซึ่งเป็นช่วงของธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณี และมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเทศกาลต่าง ๆ ของชุมชน เช่น ประเพณี แห่ต้นดอกไม้ ประเพณีทำบุญพระธาตุดินแทน เป็นต้น และช่วงนี้เองถือเป็นช่วงที่คนจากภายนอกชุมชนได้รู้จักชุมชนบ้านแสงในฐานะชุมชนแห่งวัฒนธรรมประเพณีและเป็นชุมชนที่มีความสงบร่มเย็นในการดำเนินการประเพณีแห่ต้นดอกไม้ในปัจจุบันมีการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก อบจ. ให้ชุมชนทำต้นดอกไม้ ททท. อบต. สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการกิจรรมพระธาตุดินแทน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำชุมชนสนับสนุนกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ เช่นการประกวดไม้หกใหญ่ ยาวที่สุด ซึ่งหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ในการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ จะมีนักเรียนของโรงเรียนบ้านแสงภาเข้าร่วมการดำเนินการทุกครั้ง
ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาแห้วประมาณ 12 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดเลย ประมาณ 127 กิโลเมตร ตำบลแสงภามีพื้นที่ประมาณ 120 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 75,000 ไร่ มีหมู่บ้านในเขตตำบลแสงภา รวม 6 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านแสงภา หมู่ที่ 2 บ้านป่าก่อ หมู่ที่ 3 บ้านหัวนา หมู่ที่ 4 บ้านนาปอ หมู่ที่ 5 บ้านบ่อเหมืองน้อย และหมู่ที่ 6 บ้านห้วยน้ำผัก ตำบลแสงภาอยู่เหนือจากระดับน้ำทะเลประมาณ 250-300 เมตร ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน มีความลาดชันประมาณ 80% ของพื้นที่ ส่วนที่เหลือเป็นที่ลาดเชิงเขาและแหล่งน้ำ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติ สภาพดินเป็นดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการไหลบ่าของน้ำอย่างรวดเร็วและรุนแรง มีลำห้วยและคลองขนาดเล็ก
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
- ทิศใต้ ติดกับ ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
- ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลเหล่ากอหก อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
เส้นทางคมนาคม
เส้นทางคมนาคม ถูกสร้างเป็นถนนลูกรัง เมื่อปี พ.ศ. 2514 และถนนลาดยางเมื่อปี พ.ศ. 2521 ถนนที่ใช้เดินทางไปยังอำเภอจำนวน 1 เส้นทาง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาแห้ว ประมาณ 11 กิโลเมตร อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดเลย ประมาณ 127 กิโลเมตร มีรถโดยสารประจำทางวิ่งผ่าน 1 สายคือ สายด่านซ้าย-นาแห้ว-แสงภา ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ การสัญจรไปมามีความสะดวกไม่ลำบากในการเดินทาง
บ้านแสงภา หมู่ที่ 1 มีครัวเรือนทั้งหมด 130 ครัวเรือน มีประชากรรวม 432 คน ชาย 211 คน หญิง 221 คน
บ้านป่าก่อ มีครัวเรือนทั้งหมด 130 ครัวเรือน มีประชากรรวม 485 คน ชาย 240 คน หญิง 245 คน
บ้านหัวนา มีครัวเรือนทั้งหมด 75 ครัวเรือน มีประชากรรวม 255 คน ชาย 121 คน หญิง 134 คน
จากข้อมูลชุมชน การประกอบอาชีพของชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมทำนาข้าว ทำไร่ข้าวโพด ปลูกยางพารา เสาวรส เลี้ยงโค กระบือ เลี้ยงเป็ด ไก่ รวมทั้งมีการออกไปทำงานต่างถิ่น อาชีพที่ชาวบ้านมีรายได้นอกเหนือการประกอบอาชีพหลักแล้ว ยังมีอาชีพพิเศษที่สร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนได้เป็นอย่างมาก คือ การหาเห็ดขายโดยจะมีพ่อค้ามารับซื้อตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน ของทุกปี เนื่องจากป่าของชุมชนบ้านแสงภามีความอุดมสมบูรณ์จึงมีเห็ดป่าจำนวนมากสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนเป็นอย่างมาก และมีการขายลูกค้อ ในช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนมีนาคม สร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนเพิ่มเติมจากรายได้หลักครัวเรือนในชุมชนผ่านเกณฑ์ จปฐ. ทุกครัวเรือน มีรถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ มีแทบทุกหลังคา รถไถนาเดินตามทุกครัวเรือน มีเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวีสี ตู้เย็น พัดลม มีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า มีโทรศัพท์มือถือใช้ และมีหอกระจายข่าวจำนวน 3 แห่ง
ลักษณะทางสังคม
นายสมบัติ ชิดทิด กำนันตำบลแสงภา ได้เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านแสงภาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นคือ ภาษาเลย มีความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายเอื้ออาทรซึ่งกัน มีความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกัน คนในชุมชนมักไปมาหาสู่กันเสมอ มีการแลกเปลี่ยนสิ่งของ รวมถึงการให้ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี และมีพื้นฐานทางวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนไว้เป็นอย่างดี เมื่อมีงานบุญชาวบ้านก็จะนำสิ่งของ หรือเครื่องใช้มาช่วยงานกัน มีกิจกรรมงานพิธีต่าง ๆ ชาวบ้านก็จะคอยช่วยเหลือซึ่งกัน ปัญหาความขัดแย้งและปัญหาทางสังคมมีน้อยมาก ทุกคนเคารพและเชื่อฟังผู้นำชุมชน ถือเป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลาหลายชั่วอายุคนส่งผลให้ชาวบ้านอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
การเมืองการบริหาร
บ้านแสงภา หมู่ที่ 1 บ้านป่าก่อ หมู่ที่ 2 บ้านหัวนา หมู่ที่ 3 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแสงภา การบริหารการปกครอง มีนายวิเศษ พุทธรักษ์ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแสงภา จบการศึกษาปริญญาตรี มีกำนันสมบัติ ชิดทิด เป็นกำนันตำบลแสงภา จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมี 3 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล มี 2 คน บ้านป่าก่อ มีนายเดชา พุทธรักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมี 3 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล มี 2 คน บ้านหัวนา มีนายหลิน มั่นมา เป็นผู้ใหญ่บ้าน จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมี 3 คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล มี 2 คน
จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้นำหมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ส่วนผู้ชายมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน การศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา และชั้นมัธยมศึกษา ที่กำลังศึกษาต่อระดับอนุปริญญา และปริญญาตรีก็มี ซึ่งมักเป็นเด็กรุ่นใหม่ของหมู่บ้านเยาวชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการศึกษา รายได้มีมากกว่ารายจ่าย แต่หลายครอบครัวก็ยังมีหนี้สินโดยเฉพาะหนี้กองทุนหมู่บ้าน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
การศึกษา
ชุมชนบ้านแสงภา มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนจำนวน 1 แห่ง มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 1 แห่ง ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เยาวชนจะเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนนาแห้ววิทยา ซึ่งอยู่ใกล้กับที่ว่าการอำเภอนาแห้วโดยจะมีรถรับส่งนักเรียน บางรายก็จะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนในจังหวัด ส่วนระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ก็ไปศึกษาในสถาบันที่ตนเองสอบได้ นอกจากการศึกษาในระบบแล้วตำบลแสงภายังมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนของตำบลแสงภา จำนวน 1 แห่ง โดยเน้นนักเรียนนักศึกษาที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในระบบเข้ารับการศึกษาอย่างทั่วถึง
สาธารณสุข
ชุมชนแสงภามีสถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง มีสวัสดิการสุขภาพและระบบประกันสุขภาพอย่างทั่วถึง ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นก็มี อาสาสมัครสาธารณสุขคอยช่วยเหลือในเบื้องต้น มีสถานีอนามัยเพื่อช่วยเหลือเกี่ยวกับสุขภาพ และมีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลนาแห้ว ชุมชนบ้านแสงภามีปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร คือนางผาด ชิดทิด เป็นผู้รู้ในเรื่องสมุนไพรสามารถนำสมุนไพรมาใช้ได้เป็นอย่างดี สถานีอนามัยยังมีบริการด้านแพทย์แผนไทย เช่น การนวด และการประคบ ไว้บริการประชาชนที่เข้ารับบริการอีกด้วย
การจัดการทางสังคม
การจัดการทางสังคมของชุมชน หมายถึง วิธีการที่คนในชุมชนบ้านแสงภากำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นระเบียบในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งระเบียบหรือกฎเกณฑ์ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้คนในชุมชนได้รับรู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ในแต่ละเวลาและโอกาสสถานการณ์และสถานภาพ
ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่ถูกสร้างขึ้นหรือได้รับการสืบทอดกันมานั้น เป็นแนวทางที่สมาชิกในชุมชนถือปฏิบัติตาม เวลา และโอกาส สถานการณ์และสถานภาพ ซึ่งระเบียบหรือกฎเกณฑ์จะเป็นที่รู้จักของสมาชิกในชุมชนผ่านวัฒนธรรมความเชื่อที่มีอยู่ในชุมชน เช่น การห้ามฆ่าสัตว์ในวันพระ วันประเพณีสมาชิกในชุมชนจะต้องหยุดทำงานเพื่อมาช่วยงานที่วัดหรือสถานที่ประกอบพิธีหรือการที่จะต้องแก้บนพระธาตุแทนทุกปี เป็นต้น
องค์ประกอบของการจัดทางสังคมบ้านแสงภา
องค์ประกอบของการจัดทางสังคมบ้านแสงภา เป็นสิ่งที่คนในชุมชนสร้างขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมความเชื่อ ซึ่งคนในสังคมเป็นนำมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตองค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่
1.คุณค่าร่วมของคนในชุมชน นับว่าเป็นหัวใจหรือเป้าหมายร่วมของคนในชุมชนให้ความนับถือศรัทธา ที่ทุกคนในชุมชนถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน ซึ่งจะทำให้ชุมชนเกิดความสงบร่มเย็น มีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ของชุมชน ผ่านความเชื่อ ปรัชญา ศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งสิ่งที่เป็นคุณค่าร่วมของคนในชุมชนบ้านแสงภาได้แก่ พระธาตุดินแทน ซึ่งเป็นศูนย์ร่วมจิตใจของคนชุมชนบ้านแสงภา
2.ข้อปฏิบัติทางสังคม หรือแนวทางปฏิบัติ คือ สิ่งที่สมาชิกของชุมชนจะต้องถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เป็นสิ่งที่อยู่ในความรู้สึกนึกคิดของคนในชุมชน เช่น เมื่อพูดถึงการฆ่าสัตว์ในวันโกนหรือวันพระ จะเชื่อมโยงสู่บาป และทำให้ไม่มีความสบายใจและจะได้รับผลจากการทำผิด และจะต้องไปขอขมาต่อพระธาตุดินแทน หรือ เมื่อมีคนในชุมชนทำผิดแนวปฏิบัติก็จะต้องไปแก้บนต่อพระธาตุดินแทน เป็นต้น
ข้อปฏิบัติทางสังคมหรือแนวทางปฏิบัติ สามารถจำแนกได้ดังนี้
1.ธรรมเนียมปฏิบัติ เป็นแนวทางการปฏิบัติของชุมชน ถ้าหากไม่ปฏิบัติหรือฝ่าฝืนจะถูกคนในชุมชนตำหนิหรือมีการปฏิบัติตอบโต้ที่ไม่รุนแรง และถ้าเป็นการทำผิดระเบียบของคนชุมชน หรือมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในชุมชน จะมีการพูดคุยกันระหว่างคู่ขัดแย้งโดยจะมีผู้เฒ่าผู้แก่หรือปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้คอยไกล่เกลี่ยข้อแย้งเหล่านั้น
2.จารีตประเพณี เป็นมาตรฐานการปฏิบัติตนของคนในชุมชน ถ้าทำผิดจะต้องได้รับการตำนิอย่างรุนแรง และเป็นที่สิ่งชุมชนร่วมกันตอบโต้อย่างรุนแรง เช่นการทำผิดประเพณีในการทำบุญพระธาตุดินแทน
3.กฎระเบียบของชุมชนเป็นมาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อนำจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น กฎระเบียบในการจัดป่าชุมชนบ้านแสงภา ระเบียบว่าด้วยการจัดการเหมืองฝาย เป็นต้น
ชาวแสงภามีวัดจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ วัดศรีโพธิ์ชัย และวัดพระธาตุดินแทนมีวัดเป็นศูนย์รวมใจและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน ชาวแสงภาทุกคนยังคงยึดมั่นและปฏิบัติตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด เมื่อวันโกนและวันพระจะหยุดพักการงานทุกอย่าง งดฆ่าสัตว์ รวมทั้งการทำอาหารที่ใช้ไข่ ชาวแสงภาจะงดการกินไข่ ในวันโกน วันพระ โดยเชื่อว่าถ้ามีการฆ่าสัตว์แล้วจะทำให้เกิดเรื่องไม่ดีกับตนเองและต่อครอบครัว เมื่อถึงวันปีใหม่ วันสงกรานต์และงานบุญพระธาตุดินแทน ทุกคนในครอบครัวที่ไปทำงานในต่างถิ่นก็จะกลับบ้านพร้อมใจกันทำธงไปบูชาพระรัตนตรัย นำขันห้าขันแปดไปขออาราธนาศีลยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ในวันสงกรานต์มีการสรงน้ำพระพุทธรูปหลวง พ่อเพชรที่ชาวบ้านถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำพิธีสรงน้ำพระสงฆ์ บายศรีพระพุทธรูป ก่อพระทรายโดยมีความเชื่อว่า เพื่อไม่ให้ผีปิศาจร้ายเข้ามารบกวนในหมู่บ้าน และที่สำคัญชาวบ้านได้จัดทำต้นดอกไม้ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปีละหลาย ๆ ต้นนำไปบูชาพระพุทธรูปที่วัดศรีโพธิ์ชัย จึงถือได้ว่าพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการดำรงชีพของชาวบ้านแสงภาอย่างมาก สืบทอดเป็นทุนทางสังคมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานและในทุกวันพระจะมีชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ไปถือศีลปฏิบัติธรรมในอุโบสถวัดศรีโพธิ์ชัยกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ชุมชนมีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ไว้อย่างอุดมสมบูรณ์ และมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันปัญหาความขัดแย้งและปัญหาทางสังคมมีน้อยมาก ทุกคนเคารพและเชื่อฟังผู้นำถือเป็นวัฒนธรรมเช่นนี้มาเป็นระยะเวลาหลายชั่วอายุคน ส่งผลให้ชาวบ้านอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข วัฒนธรรมประเพณีทุกอย่างยังคงสืบทอดแก่ลูกหลานและคนรุ่นใหม่ โดยผู้เฒ่าผู้แก่เป็นแบบอย่างให้แก่เด็กและเยาวชน
วัฒนธรรมและประเพณี ที่ชาวแสงภายังรักษาและดำรงไว้
เดือนมกราคม : ทำบุญประเพณีขึ้นปีใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นวันเอาฤกษ์เอาชัยในการเริ่มต้นแห่งปีใหม่ โดยมีความคิดที่จะทำบุญเพื่อส่งท้ายความทุกข์โศกและปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดในปีที่ผ่านมาและเพื่อต้อนรับสิ่งดีงามที่จะเข้ามาในปีใหม่
เดือนกุมภาพันธ์ : บุญข้าวเปลือกและบุญข้าวจี่ งานบุญข้าวเปลือก จะมีขึ้นในเดือน 3 ของทุกปี ถือเป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดต่อกันมาช้านานของชุมชนบ้านแสงภาหลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เป็นการทำพิธีระลึกคุณของแม่โพสพที่ทำให้ชาวบ้านมีอยู่มีกินมีการสู่ขวัญข้าว ชาวบ้านต่างพากันนำข้าวเปลือกของตนมาถวายแก่วัด พร้อมทั้งถังใส่ข้าวเปลือกแยกข้าวปลูกใส่ในถุงเล็ก ๆ จัดบายศรี 9 ยอด ยอดกล้วย ยอดอ้อย คำหมาก บุหรี่ ไข่ต้ม 1 ฟอง ข้าวต้มมัด หัวเผือก หัวมัน กล้วยสุก อ้อย ข้าวเหนียว สร้อย แหวน กระจก ดอกไม้ธูปเทียน นำมาไว้ที่วัดโดยพระสงฆ์จะทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ สวดมุงคูณเอาบุญคูณข้าวอนุโมทนาบุญเป็นสิ่งตอบแทน ถือเป็นมหามงคลอันสูงสุดโดยจะใช้บริเวณลานวัดเป็นที่ประกอบพิธี ซึ่งชาวบ้านจะนำข้าวเปลือกแบ่งจากส่วนของตนมากองรวมกันไว้ที่ลานที่จัดเอาไว้ หลังจากเสร็จพิธีทางศาสนาแล้วในตอนกลางคืนก็จะมีการเฉลิมฉลอง ตอนเช้าจะทำพิธีทำบุญตักบาตรเสร็จพิธีทางศาสนาก็จะมีพิธี สู่ขวัญข้าว เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดสิริมงคลต่อการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน จากนั้นจะทำบุญข้าวเปลือกทั้งหมดให้แก่วัด ส่วนถังที่ชาวบ้านนำมาเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าว เมื่อเสร็จพิธีก็จะนำถังที่หรือตะกร้าไปไว้ในฉางข้างเป็นเวลา 3 วัน จากนั้นก็นำบายศรีและดอกไม้ ธูปเทียนนำไปมัดไว้ที่หน้าฉางข้าว เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ฉางข้าว
กองข้าวที่ชาวบ้านนำมารวมกันไว้ เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีน้ำใจ ชอบทำบุญทำกุศล และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งยังหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตในปีนั้น ๆ อีกด้วย กองข้าวที่นำมารวมกันกองใหญ่ก็จะหมายถึงความศรัทธาและมีน้ำจิตน้ำใจของผู้คนในหมู่บ้านนั้น และก็แสดงว่าฝนฟ้าในปีนั้นตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ดีผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้จึงมากพอที่จะให้ชาวบ้านแบ่งปันมาทำบุญ
เดือนมีนาคม : มีการทำบุญประเพณี เรียกว่าพระเวสสันดร (บุญเดือนสี่) หรือบุญพระเวส (บุญมหาชาติ) บุญพระเวสหรือบุญเดือนสี่ เป็นพิธีทำบุญเพื่อให้บุคคลได้ฟังเทศน์เรื่องราวและคำกลอนชาดก
หินสี่ทิศ เป็นหินที่ชาวบ้านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านจะต้อง ขึ้นไปสักการะทุก 3 ปี ภาษาชาวบ้านเรียก “2 ปีหาม 3 ปีครอบ อยู่บนเทือกเขาตีนภูสวนทราย ด้านทิศใต้จะมีหินเป็นหินทรายอยู่ 4 ก้อน โผล่อยู่กลางป่าดงดิบเดือนเมษายน ทำบุญประเพณีสงกรานต์ การรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ สรงน้ำพระพุทธ แห่ต้นดอกไม้ อาราธนาครองพระไตรสรณคมน์ บุญประเพณีสงกรานต์ชาวบ้านถือเป็นวันขึ้นปีใหม่วันแรก ในช่วงบ่ายมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร การสรงน้ำพระพุทธรูปชาวบ้านจะนำน้ำอบ น้ำหอม และดอกไม้ เพื่อขอคารวะต่อพระพุทธรูป และพระสงฆ์ ก่อนทำการสรงน้ำ จากนั้นก็ใช้ช่อดอกไม้ที่เตรียมมาจุ่มในน้ำอบ น้ำหอม พรมใส่องค์พระพุทธรูป ส่วนพระสงฆ์นั้นจะใช้ช่อดอกไม้ที่เตรียมมาจุ่มในน้ำอบ น้ำหอม พรมใส่ที่มือของพระสงฆ์ หลังจากเสร็จพิธี สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วชาวบ้านก็จะนำน้ำอบ น้ำหอม ที่ใช้ภาชนะรองไว้นำไปประพรมเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและคนในครอบครัว
ประเพณีแห่ต้นดอกไม้ ปฏิบัติสืบต่อกันมากว่า 400 ปี ตามหลักความเชื่อทางพระพุทธศาสนา เพื่อน้อมบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นำความเป็นสิริมงคลมาสู่ผู้คน และชุมชนให้อยู่ดีมีสุข ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ เริ่มจากวันที่ 14 เมษายน ซึ่งเป็นวันมหาสงกรานต์ ถึงวันที่ 16 เมษายน ถือเป็นวันเปลี่ยนศักราชใหม่ หรือวันขึ้นศักราชใหม่
ดอกไม้ที่ใหญ่ มีความกว้างประมาณ 3 เมตรและสูงประมาณ 25 เมตร กว่าจะสร้างต้นดอกไม้ขนาดใหญ่ให้เสร็จนั้น ต้องอาศัยความชาญฉลาดจากภูมิปัญญาชาวบ้านผสานกับความรู้ทางวิศวกรรม การสร้างต้นดอกไม้นั้นจะไม่ใช้ตะปูและลวด ไม้ไผ่ขนาดใหญ่ถูกนำมาเป็นเสากลางมีคานสำหรับแบกหาม และยึดทุกอย่างให้ติดแน่นด้วยตอกไม้ไผ่ ถ้ายึดไม่ดีเมื่อแห่ต้นดอกไม้ก็อาจจะเอียงหรือหักลงได้ สร้างต้นดอกไม้ให้มีความใหญ่โตเท่าไหร่ก็แสดงถึงพลังศรัทธามากเท่านั้น ประเพณีนี้เป็นศูนย์รวมเอาจิตใจของคนในชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน ผู้ใหญ่จูงมือลูกหลานมาร่วมพิธี เด็กผู้ชายบางคนก็มาแห่ต้นดอกไม้เล็ก ๆ ซึ่งผู้ใหญ่ทำให้ ซึ่งแฝงการถ่ายทอดภูมิปัญญาและประเพณีลงไปด้วย
เดือนพฤษภาคม : ทำบุญก่อเจดีย์ทรายหัวบ้าน ได้แก่บ้านหัวนา การก่อพระทรายโดยมีความเชื่อว่า เพื่อไม่ให้ผีปิศาจร้ายเข้ามารบกวนในหมู่บ้านเดือนมิถุนายน ทำบุญก่อเจดีย์ทรายท้ายบ้าน ได้แก่บ้านป่าก่อ การก่อพระทรายโดยมีความเชื่อว่า เพื่อไม่ให้ผีปิศาจร้ายเข้ามารบกวนในหมู่บ้าน
เดือนสิงหาคม : ทำบุญประเพณีข้าวประดับดิน กำหนดเอาวันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 เป็นการทำบุญ เพื่ออุทิศกุศลและอาหารการกิน ไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว โดยจัดทำอาหารไปถวายพระที่วัด และแจกจ่ายไว้ตามพุ่มไม้ หรือทางแยกตามที่ต่าง ๆ เพื่อให้ผี หรือวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมารับเอาอาหารนั้นไป โดยกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลตามไปด้วย
เดือนกันยายน : ทำบุญประเพณีบุญข้าวสาก กำหนดเอาวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 การทำบุญข้าวสากชาวบ้านจะนำอาหารสดและอาหารแห้งใส่ลงในกรวยข้าวสาก เมื่อเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำเอาไปถวายให้กับพระภิกษุสงฆ์ที่วัดในตอนเช้า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่วิญญาณผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้มารับเอาสิ่งของต่าง ๆ ที่ญาติได้อุทิศให้ จากนั้นก็นำข้าวปลาอาหารนำไปแจกจ่ายโดยวางไว้ตามไร่ สวน นา เพื่อถวายแก่เทวดาที่รักษาผลผลิตของตนเอง
เดือนตุลาคม : ทำบุญประเพณีออกพรรษา บุญบั้งไฟ หลังจากพระสงฆ์จำพรรษาได้ครบ 3 เดือนแล้ว ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะมาร่วมกัน ทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ ส่วนภาคบ่ายจะนำผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย ฟักทอง เผือก มัน นำมารวมกับสังฆทานเวียนรอบโบสถ์ 3 รอบ ก่อนถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ หลังจากนั้น ชาวบ้านจะนำบั้งไฟมาจุด เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัยในวันออกพรรษา เพื่อฉลองบั้งไฟ ทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งแตกต่างจากที่อื่นที่จะจุดบ้องไฟ เพื่อขอฝน แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันตักบาตรเทโว ชาวบ้านจะมารวมกันรอบโบสถ์ เพื่อทำบุญตักบาตรแก่พระภิกษุสงฆ์ ที่จะคอยรับการตักบาตรจากชาวบ้านอยู่ภายในรอบวงสายสิญจน์ โดยการตักบาตรด้วยข้าวสารอาหารแห้ง แก่พระภิกษุสงฆ์ ข้าวสารที่ได้ก็จะนำไปขายในราคาถูกให้แก่ชาวบ้าน แล้วนำเงินดังกล่าวถวายวัด
เดือนพฤศจิกายน : ทำบุญประเพณีกฐิน บุญฉลองพระธาตุดินแทนพระธาตุดินแทน คงจะนับเป็นหนึ่งในพระธาตุที่ไม่เหมือนใครในเมืองไทย โดยองค์พระธาตุเกิดจากนำดินมากองจนสูงจนเกือบเป็นเนินเขาขนาดย่อม เกิดจากพระธุดงค์ได้เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้และได้สอนชาวบ้านว่าถ้าไม่อยากให้เกิดเภทภัยใดจะต้องถือปฏิบัติตนสามข้อ คือ 1. ห้ามผิดศีล 2. ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 3. ห้ามเล่นไสยศาสตร์ หลังจากนั้นจึงร่วมกับชาวบ้านสร้างพระธาตุเมื่อวันเพ็ญปี พ.ศ. 2146 แม้เวลาจะล่วงเลยมาแต่ศรัทธาของชาวบ้านมิได้เสื่อมคลาย อันดูจากการห้ามใส่รองเท้าขึ้นไปบนกองดินองค์พระธาตุ ขณะเดียวกันชาวบ้านที่มีทุกข์ร้อนก็จะทำบุญด้วยการตักดินใส่ถังแล้วนำขึ้นไปเทบนองค์พระธาตุแล้วอธิษฐานจิตขอให้สมดังตั้งใจหวังบุญฉลองพระธาตุดินแทนจะมีผู้เข้าร่วมงานหรือผู้เข้ามาเพื่อแก้บน ผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดก็ต้องกลับมาเพื่อแก้บน โดยการขนดินขึ้นบนพระธาตุดินแทน ตามจำนวนที่ตนเองได้บนไว้ในปีที่ผ่านมา สาเหตุที่ต้องกลับมาเพื่อแก้บน เนื่องจากความเชื่อและศรัทธาต่อองค์พระธาตุดินแทน ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองตั้งแต่โบราณ เวลาจะเดินทางออกจากบ้านก็ระลึกถึง องค์พระธาตุดินแทนขอให้ช่วยคุ้มครอง ขั้นตอนในการทำบุญ ได้แก่ นำต้นผึ้ง ร่ม คราวะ ขัน 5 ขัน 8 (บนเพื่อให้องค์พระธาตุดินแทนคุ้มครองรักษาครอบครัว ลูกหลานที่อยู่ทางไกลให้ปลอดภัยทุกอย่าง ภัยอันตรายทุกอย่างอย่ามาใกล้ ทำงานใด ๆ ขอให้ได้ดังปรารถนา) น้ำมันหมื่น (ผู้ที่มีรถจะบนน้ำมันเพื่อให้องค์พระธาตุดินแทนคุ้มครองรถ) จากนั้นก็กราบพระคราวะถวายดอกไม้ ธูป เทียน จากนั้นก็ขนดินขึ้นพระธาตุตามจำนวนที่บนไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไปคราวะองค์พระธาตุ พร้อมทั้งบนไว้ในปีต่อไป ความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญพระธาตุดินแทน ผู้ที่มาร่วมพิธีดังกล่าว เมื่อได้ทำบุญเสร็จเรียบร้อยแล้วทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าทำแล้วรู้สึกสบายใจโล่งใจ และต้องทำเป็นประจำทุกปีขาดไม่ได้ การปฏิบัติตนหลังจากทำบุญไปแล้ว มีความเชื่อว่าเมื่อให้สัจจะแก่ องค์พระธาตุดินแทน แล้วทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ในโกนและวันพระแต่มีบางรายที่ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดก็จะเว้นเพียงวันพระ 1 วัน เท่านั้น เนื่องจากมีภาระครอบครัวที่จะต้องปฏิบัติรวมทั้งสังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน
งานบุญพระธาตุดินแทน การเตรียมการ ในวันแต่งคือ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 12 ชาวบ้านจะแต่งพามุงคูณ ประกอบด้วย
- ทราย 4 แก้ว หมายถึง เพื่อให้เป็นสิริมงคลป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ในการสวดบูชา 4 ทิศ ทั้ง 4 เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจเข้ามาหาไม่ได้
- น้ำ 4 ขวด หมายถึง หยาดน้ำ 4 ทิศ เพื่อให้เป็นสิริมงคล สูตรใส่น้ำเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข อุทิศให้แก่แม่ธรณี
- เทียน 4 เล่ม หมายถึง จุดเพื่อสวด 4 ทิศ เพื่อให้เป็นแสงสว่างแจ่มแจ้ง เทียนเวียนหัวหมายความว่าเป็นเทียนส่วนรวมทุกคนที่เข้าร่วมในการสวดมุงคูณ
- หญ้าไทร ถือว่าเป็นชัยชนะมารทุกอย่าง
- เมี่ยงหมาก บุหรี่ บูชาเทวดาให้ได้กินเมี่ยงหมาก บุหรี่
- เงินใส่คาย 8 บาท บูชาเทวดา 8 ทิศ
ความเชื่อและข้อคะลำของชุมชนบ้านแสงภา
ความเชื่อในเรื่องเข้าพรรษา
- ห้ามฆ่าสัตว์ในวันโกน วันพระ โดยเชื่อว่าถ้ามีการฆ่าสัตว์แล้วจะทำให้เกิดเรื่องไม่ดีกับตนเองและต่อครอบครัว
- ห้ามตัดไม้ ในช่วงเข้าพรรษาห้ามตัดไม้ทุกอย่างลำเท่าทอเกลือชาวบ้านจะไม่ตัดไม้ในช่วงกลางพรรษา เนื่องจากไม่เป็นสิริมงคลถ้าเข้าพรรษาแล้วจะมีเทวดาเข้ามาสถิตอยู่ในต้นไม้ ใครที่นำไม้ไปสร้างบ้านก็จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนครอบครัวไม่สงบสุข ถ้าจะตัดต้องตัดก่อนเข้าพรรษาในช่วงเข้าพรรษาจะเลื่อยได้เพราะว่างงานต้นไม้ที่ห้ามตัดได้แก่
- ไม้แยงเงา หมายถึง ไม้ที่มองเห็นเงาอยู่ในน้ำเป็นภูมิปัญญาที่ไม่ให้ตัดไม้ริมน้ำเพื่อเว้นการกัดเซาะตลิ่งริมแม่น้ำ
- ไม้เกี่ยน้อง หมายถึง ไม้ที่มี 2 ช่อ
- ไม้แลบลิ้น หมายถึง ไม้ที่ปลายมันตาย
- ไม้เครือเขาคลุม หมายถึง ไม้ที่มีเถาวัลย์คลุม
- ไม้พยุง ห้ามน ามาใช้ทำพื้นบ้าน เพราะเป็นไม้สูง
- ไม้ป่าช้า ไม้ศูนย์ยิง ไม้ฟ้าฝ่าการตัดไม้มีความเชื่อว่า ไม้ต้นแรกที่จะทำเสาบ้านให้ล้มไปทางทิศตะวันออกไม่ให้ค้างให้คาต้นไม้อื่น ไม้ต้องห้ามเหล่านี้เมื่อนำมาสร้างบ้านแล้วจะเดือดร้อน อยู่ไม่เป็นสุข
- ห้ามแต่งงาน ไม่ให้แต่งงานเพราะให้หยุดอยู่กับที่ไม่ให้ทำการมงคล ไม่ดีจะทำให้อยู่กันไม่ยืด เกิดปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นในชีวิตแต่งงาน
- ความเชื่อเรื่องกบกินเดือนหรือจันทรุปราคา จะมีการตักบาตรข้าวสารทันทีในขณะที่กบกินเดือนจะเป็นเวลาไหนก็ต้องปฏิบัติ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของข้าว จะมีการตีกลองตีระฆังเคาะต้นมะพร้าวต้นไม้ผล เพื่อให้ออกดอกออกผลสมบูรณ์ ตบกระเป๋าสตางค์เพื่อให้เพิ่มพูนขึ้นมาให้มากกว่าที่มีอยู่
- งานศพ ถ้ามีงานศพในหมู่บ้านห้ามไปทำงาน เมื่อเผาศพเรียบร้อยแล้วให้ญาติผู้เสียชีวิตไปอาราธนาไตรสรณคมน์เฉพาะบ้านที่มีงานศพเท่านั้นความเชื่อแต่เดิม ให้ถอดรองเท้าไว้ที่หน้าวัดแล้วกราบสามครั้งถึงจะเข้าวัดได้
- วันโกนวันพระ ห้ามฆ่าสัตว์ ห้ามทำงาน ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามถือว่าผิดต่อพระธาตุดินแทนและใครไม่ปฏิบัติตามก็จะมีอันเป็นไปมีเรื่องเดือดร้อนในครอบครัว
- ห้ามนำไม้ตอกมัดข้าว มาทำไม้จิ้มฟัน เพราะปูจะกินข้าวในนา
- การปลูกพืช จะต้องหาฤกษ์หายาม วันจม วันฟู เมื่อได้วันดีแล้วก็ทำการแฮกไว้ 9 ต้น เพื่อเป็นสิริมงคลก่อน ก่อนจะทำไร่นาต้องบอกกล่าวเจ้าที่เทวดาที่รักษาก่อน เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวข้าวก็จะเกี่ยวหัวข้าวแฮกเอาไปมัดไว้ในยุ้งฉาง
- ห้ามยิงนกกก นกเค้าแมว เพราะเป็นเจ้านกถ้าใครยิงแล้วจะไม่เจริญก้าวหน้า
ความเชื่อและข้อคะลำเหล่านี้ส่งผลให้คนในชุมชนบ้านแสงภามีความรักใคร่สามัคคีกันและชุมชนมีความสงบสุขมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงงานประเพณีต่าง ๆ ที่ทางชุมชนได้จัดขึ้นชาวบ้านแสงภาจะหยุดพักการงานทุกอย่าง ทุกคนในครอบครัวที่ไปทำงานในต่างถิ่นก็จะกลับบ้านพร้อมใจกันทำธงไปบูชาพระรัตนตรัย นำขันธ์ห้าขันแปดไปขออาราธนาศีล ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติมีการสรงน้ำพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรที่ชาวบ้านถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำพิธีสรงน้ำพระสงฆ์ บายศรีพระพุทธรูป ก่อพระทรายโดยมีความเชื่อว่า เพื่อไม่ให้ผีปิศาจร้ายเข้ามารบกวนในหมู่บ้าน และที่สำคัญชาวบ้านได้จัดทำต้นดอกไม้ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปีละหลาย ๆ ต้นนำไปบูชาพระพุทธรูปที่วัดศรีโพธิ์ชัย จึงถือได้ว่าพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการดำรงชีพของชาวบ้านแสงภาอย่างมาก สืบทอดเป็นทุนทางสังคมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนานและในทุกวันพระจะมีชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ไปถือศีลปฏิบัติธรรมในอุโบสถ วัดศรีโพธิ์ชัยกันเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านทุกคนยังคงยึดมั่นและปฏิบัติตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดจะเห็นได้จากการงดฆ่าสัตว์ในวันโกน วันพระ ของชาวบ้าน โดยเชื่อว่าถ้ามีการฆ่าสัตว์แล้วจะทำให้เกิดเรื่องไม่ดีกับตนเองและต่อครอบครัวนอกจากนี้ชุมชนมีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ไว้อย่างอุดมสมบูรณ์ และมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ปัญหาความขัดแย้งและปัญหาทางสังคมมีน้อยมาก ทุกคนเคารพและเชื่อฟังผู้นำถือเป็นวัฒนธรรมเช่นนี้มาเป็นระยะเวลาหลายชั่วอายุคน ส่งผลให้ชาวบ้านอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
ชุมชนบ้านแสงภามีปราชญ์ชาวบ้านด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร คือ นางผาด ชิดทิด เป็นผู้รู้ในเรื่องสมุนไพรสามารถนำสมุนไพรมาใช้ได้เป็นอย่างดี สถานีอนามัยยังมีบริการด้านแพทย์แผนไทย เช่น การนวด และการประคบ ไว้บริการประชาชนที่เข้ารับบริการอีกด้วย
คุณค่าและความหมายของความเชื่อที่มีต่อชุมชนตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ชุมชนแสงภา มีต้นทุนทางวัฒนธรรมในชุมชน ที่ส่งผลให้ชุมชนมีการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมความเชื่อ และมีการจัดพิธีกรรมความเชื่ออย่างต่อเนื่องตลอดมา ทำให้ชุมชนมีความสงบสุขและเป็นต้นทุนในการจัดการเชิงสังคมของชุมชนบ้านแสงภา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ยังมีความเชื่ออีกเป็นจำนวนมาก ที่ยังคงมีอยู่ในชุมชน แต่กำลังจะหายไปถึงในกิจกรรมทางวัฒนธรรมความเชื่อจะมีประชาชนมาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้คุณค่า ความหมาย ความสำคัญ ของวัฒนธรรม ความเชื่อนั้น ๆ ทำให้พิธีกรรมบางอย่างเป็นเพียงการทำตามคำบอก และทำให้ความสำคัญลดน้อยลง และกิจกรรมส่วนใหญ่มีแต่ผู้สูงอายุเท่านั้น ถ้าเวลาผ่านไปจะทำให้คนรุ่นต่อไป มิรู้ขั้นตอน เครื่องประกอบพิธีกรรมคุณค่า ความสำคัญ ความหมาย และคติชนที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรมความเชื่อนั้น
วัฒนธรรมความเชื่อของชาวบ้านแสงภาที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันได้แก่ บุญปีใหม่เดือน 3 บุญข้าวเปลือก บุญข้าวจี่ เดือน 4 บุญมหาชาติ บุญหินสี่ก้อน เดือน 5 สงกรานต์ สรงน้ำพระพุทธ แห่ต้นดอกไม้ อาราธนาครองพระไตรสรณคมน์ เดือน 6 ทำบุญก่อเจดีย์ทรายหัวบ้านเดือน 7 ทำบุญก่อเจดีย์ทรายท้ายบ้าน เดือน 8 เข้าพรรษา หล่อเทียน ถวายเทียนพรรษาถวายเครื่องสังฆทานอื่น ๆ อาราธนาครองพระไตรสรณคมน์ เดือน 9 บุญข้าวประดับดิน เดือน 10 บุญข้าวสาก เดือน 11 บุญออกพรรษา บุญบั้งไฟ ทำบุญตักบาตรเทโว เดือน 12 บุญฉลองพระธาตุดินแทน บุญกฐิน
เมื่อถึงงานประเพณีต่าง ๆ ที่ทางชุมชนได้จัดขึ้น ชาวบ้านแสงภาจะหยุดพักการงานทุกอย่าง ทุกคนในครอบครัวที่ไปทำงานในต่างถิ่นก็จะกลับบ้านพร้อมใจกันทำธงไปบูชาพระรัตนตรัยนำขันธ์ห้าขันแปดไปขออาราธนาศีล ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ มีการสรงน้ำพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรที่ชาวบ้านถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ทำพิธีสรงน้ำพระสงฆ์บายศรีพระพุทธรูป ก่อพระทรายโดยมีความเชื่อว่า เพื่อไม่ให้ผีปิศาจร้ายเข้ามารบกวนในหมู่บ้าน และที่สำคัญชาวบ้านได้จัดทำต้นดอกไม้ซึ่งถือได้ว่าเป็นต้นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปีละหลาย ๆ ต้นนำไปบูชาพระพุทธรูปที่วัดศรีโพธิ์ชัย จึงถือได้ว่าพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อการดำรงชีพของชาวบ้านแสงภาอย่างมากสืบทอดเป็นทุนทางสังคมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และในทุกวันพระจะมีชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ไปถือศีลปฏิบัติธรรมในอุโบสถ วัดศรีโพธิ์ชัยกันเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านทุกคนยังคงยึดมั่นและปฏิบัติตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้จากการงดฆ่าสัตว์ในวันโกน วันพระ ของชาวบ้านโดยเชื่อว่าถ้ามีการฆ่าสัตว์แล้วจะทำให้เกิดเรื่องไม่ดีกับตนเองและต่อครอบครัวนอกจากนี้ชุมชนมีการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ไว้อย่างอุดมสมบูรณ์ และมีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ปัญหาความขัดแย้งและปัญหาทางสังคมมีน้อยมาก ทุกคนเคารพและเชื่อฟังผู้นำถือเป็นวัฒนธรรมเช่นนี้มาเป็นระยะเวลาหลายชั่วอายุคน ส่งผลให้ชาวบ้านอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
นายสมบัติ ชิดทิด กำนันตำบลแสงภา ได้เล่าให้ฟังว่า ชาวบ้านแสงภาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีภาษาที่ใช้ในท้องถิ่นคือ ภาษาไทเลย
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนบ้านแสงภา
ปัจจัยภายใน
- ชุมชนมีผู้รู้ในชุมชน
- ชุมชนมีกิจกรรมในการทำบุญในวันพระอย่างต่อเนื่อง
- ชุมชนมีข้อคะลำเกี่ยวกับทำผิดศีลธรรม และมีการพูดถึงผลที่เกิดจากการไม่ปฏิบัติตาม เช่น การเจ็บป่วยของบุตรหลาน การเกิดอุบัติเหตุของคนชุมชน เมื่อทำผิดแล้วจะต้องไปแก้ที่พระธาตุแทน
- ชุมชนบ้านแสงภามีบุคคลตัวอย่างในชุมชนที่ปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรม เช่น ยายพาด ชิดทิด กำนันสมบัติ ชิดทิด นายหวิน หมั่นมา นายเดชา พุทธรักษ์ ยายคำภู
- ชุมชนบ้านแสงภามีพระสงฆ์ที่เข้าใจในตัววัฒนธรรมความเชื่อของชุมชน
- ชุมชนบ้านแสงภามีกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน
- ชุมชนบ้านแสงภามีวัดศรีโพธิ์ชัยและวัดพระธาตุดินแทนที่เป็นศูนย์ร่วมจิตใจของคนในท้องถิ่น
- ชุมชนบ้านแสงภามีกระบวนการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง ในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ ซึ่งจะใช้โอกาสในช่วงเวลาที่เข้าทำบุญที่วัด
- ชุมชนบ้านแสงภามีการปฏิบัติงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น การบูรณะโบสถ์ที่ชุมชนร่วมกันวางแผนและบูรณะเอง
- ในกิจกรรมแห่ต้นดอกไม้เด็กและเยาวชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง การประเด็นดอกไม้ การร่วมเข้าไปอยู่ในขบวนแห่ทำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมและหลักคิดจากการดำเนินกิจกรรม
- ในพื้นที่บ้านแสงภามีการแหล่งท่องเที่ยวได้แก่อุทยานเขาสนทราย ซึ่งจะต้องเดินทางผ่านบ้านแสงภา ทำให้มีโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะแวะเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมของชุมชนบ้านแสงภา เช่น โบสถ์ มณฑป
ปัจจัยภายนอก
- สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดได้เข้าร่วมไปสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมของสภาวัฒนธรรมตำบลแสงภา
- สำนักงานท่องเที่ยวจังหวัดเลยได้สนับสนุนการดำเนินการให้ชุมชนบ้านแสงภาเป็นชุมชนการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรม
- สื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดเลยมีการเสนอข่าวเรื่องวัฒนธรรมบ้านแสงภาอย่างต่อเนื่อง
- การสนับสนุนจากท้องถิ่นด้านงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลแสงภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย
สนิกถา พงษ์เสน่ห์ และคณะ. (2555). วัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการทางสังคมของชุมชนบ้านแสงภา ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. กองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
องค์การส่วนบริหารตำบลแสงภา. (ม.ป.ป.). ประวัติและข้อมูลสภาพทั่วไป. https://sangpha.go.th/public/list/data/