
หมู่บ้านห้วยถั่วเหนือมีพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกถั่วและพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าว และพืชผัก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญในพื้นที่
ลักษณะภูมิประเทศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรในพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิประเทศที่เกี่ยวข้องกับน้ำและการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกถั่ว
หมู่บ้านห้วยถั่วเหนือมีพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกถั่วและพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าว และพืชผัก ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารสำคัญในพื้นที่
ตำบลห้วยถั่วเหนือมีหมู่บ้านทั้งหมดจำนวน 9 หมู่บ้าน พื้นเพดั้งเดิมของชาวบ้าน ได้อพยพมาจากจังหวัดต่าง ๆ เช่น สระบุรี นครราชสีมา ลพบุรี สิงห์บุรี อยุธยาและจังหวัดอื่น ๆ อีกประปราย การสื่อสารจะใช้ภาษาถิ่นตามที่อพยพเป็นมาบางหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะใช้ภาษากลางในการสื่อสาร ขนบธรรมเนียมประเพณี จะยึดถือประเพณีดั้งเดิมของไทยปฏิบัติสืบทอดกันมาจนปัจจุบัน เช่น ประเพณีวันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น
ที่ตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 109 หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ เป็น 1 ใน 9 ตำบลของอำเภอหนองบัว ระยะทางห่างจากอำเภอหนองบัวเป็นระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดประมาณ 59 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชุมแสง-หนองบัว) มีเนื้อที่ทั้งหมด 30.23 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 25,000 ไร่
อาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ จรด ตำบลห้วยร่วม อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
- ทิศใต้ จรด ตำบลห้วยถั่วใต้ และ ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
- ทิศตะวันออก จรด ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
- ทิศตะวันตก จรด ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลห้วยถั่วเหนือโดยทั่วไปมีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ราบลุ่มดินเหนียว เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทางการเกษตร มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นลำคลองสายหลัก 3 สาย ประกอบด้วย
- คลองห้วยใหญ่ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านกระดานหน้าแกล
- คลองห้วยถั่วเหนือซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านห้วยถั่วเหนือ หมู่บ้านห้วยถั่วกลางและหมู่บ้านโคกมะกอก
- คลองห้วยปลาเน่าซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านรังย้อยและหมู่บ้านห้วยวารีเหนือและอีกคลองหนึ่งคือคลองร่องหอย ซึ่งไหลมารวมกับคลองห้วยปลาเน่าที่หมู่บ้านรังย้อยแล้วไหลสู่หมู่บ้านห้วยวารี
สถานที่สำคัญ
วัดห้วยถั่ว
วัดห้วยถั่ว ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2471 ตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน โดยมีนายเย็น ดวงสมร บริจาคที่ดินสร้างวัด และมีผู้ดำเนินการสร้างวัดคือนายเล็ก (นายเหล็ก) ทศดี, นายด้วย มีแป้น, นายบุญ ขุนองค์แก้ว, นายพันแก้วกุลพัฒน์, นายยี สีสวัสดิ์ พร้อมด้วยชาวบ้านทุกคน การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระอธิการเสนาะ กตปุญฺโญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ กว้าง 18 เมตรยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2553 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย หอสวดมนต์ กว้าง 10 เมตรยาว 12 เมตร เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้กุฏิสงฆ์ จำนวน 2 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2541 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน 1 หลังหอระฆัง 1 หลังโรงครัว 1 หลังเรือนเก็บพัสดุ 1 หลัง
จากการสำรวจในเดือนธันวาคม 2567 บ้านห้วยถั่วเหนือมีประชากร 336 คน เป็นผู้ชาย 163 คน และผู้หญิง 173 คน มีครัวเรือน 123 หลัง
ประชากรในเขต ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปี
ภูมิอากาศ
ตำบลห้วยถั่วเหนือ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ มีลักษณะร้อนชื้น มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งที่เห็นเด่นชัด ฤดูฝนได้รับ อิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคมได้รับอิทธิพลความเย็นมาจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 98 ในตำบลห้วยถั่วเหนือมีวัด จำนวน 6 แห่ง
- ประชาชนนับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 2
ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม
- ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประมาณเดือน พฤษภาคม
- ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประมาณเดือน กรกฎาคม
- ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน
- ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน
- ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม พฤศจิกายน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน ทำไม้กวาดจากดอกหญ้า และวิธีการจับปลาธรรมชาติ เป็นต้น
บ้านห้วยถั่วเหนือมีกลุ่มวิสาหกิจผลิตลุ่มข้าวแตนเพชรอัมพร ที่ได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาชุมชนอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
ส่วนมากร้อยละ 90% พูดภาษาท้องถิ่น
การคมนาคม
เส้นทางคมนาคมที่สำคัญ คือ ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 (ชุมแสง-หนองบัว) ซึ่งผ่านพื้นที่ตำบลทาง ตอนกลางในแนวตะวันออก-ตะวันตก ผ่านพื้นที่หมู่ 1, 2, 3, 7 เป็นเส้นทางหลักเชื่อมการคมนาคมภายในตำบล และ ระหว่าง ตำบล นอกจากนั้นยังมีถนนลูกรังเชื่อมการคมนาคมในตำบลมีถนน คสล. 2 สาย และถนนดินเทลูกรัง 16 สายและถนนลาดยาง 1 สาย
ไฟฟ้าในตำบล
ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์
แหล่งน้ำ
ในพื้นที่ตำบลห้วยถั่วเหนือ มีลำห้วยหลายสายซึ่งเป็นแหล่งน้ำสายหลักที่เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงราษฎรตำบลห้วยถั่วเหนือมานานนับหลายชั่วอายุคน ที่ใช้ด้านการ เกษตรกรรม แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ คลองห้วยใหญ่ , คลองห้วยถั่ว และมีแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ได้แก่ ฝายน้ำล้น หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 8 นอกจากนี้ พื้นที่ตำบลห้วยถั่วเหนือ ยังมีสระน้ำ และลำคลองที่สร้างขึ้นอีกหลายแห่งอีกหลายแห่ง ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านจิกยาวใต้ สระน้ำ 12 แห่ง คลอง 2 แห่ง
- หมู่ที่ 2 บ้านห้วยถั่วกลาง สระน้ำ 20 แห่ง คลอง 1 แห่ง
- หมู่ที่ 3 บ้านกระดานหน้าแกล สระน้ำ 8 แห่ง คลอง 1 แห่ง
- หมู่ที่ 4 บ้านชะลอมสั้น สระน้ำ 9 แห่ง คลอง 1 แห่ง
- หมู่ที่ 5 บ้านตะโกงาม สระน้ำ 6 แห่ง คลอง 1 แห่ง
- หมู่ที่ 6 บ้านห้วยถั่วเหนือ สระน้ำ 13 แห่ง คลอง 1 แห่ง
- หมู่ที่ 7 บ้านรังย้อย สระน้ำ 13 แห่ง คลอง 1 แห่ง
- หมู่ที่ 8 บ้านโคกมะกอก สระน้ำ 14 แห่ง คลอง 1 แห่ง
- หมู่ที่ 9 บ้านห้วยวารีเหนือ สระน้ำ 9 แห่ง คลอง 1 แห่ง
การสื่อสารในตำบล ปัจจุบัน พื้นที่เขตอำเภอห้วยถั่วเหนือ ไม่มีระบบโทรศัพท์สาธารณะใช้แล้ว เนื่องจากปัจจุบันโทรศัพท์ระบบมือถือ หรือ โทรศัพท์ระบบเคลื่อนที่ มีใช้คลอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว
ประปาในตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา 1,299 หลังคาเรือน สามารถให้บริการได้ ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำใช้บริโภคตลอดทั้งปี
การสาธารณสุขในตำบล
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 จำนวน 1 แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
ความปลอดภัยในตำบล
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
การศึกษาในตำบล
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน จำนวน 1 แห่ง ดังนี้
- ศูนย์พัฒนาเด็กตำบลห้วยถั่วเหนือ (อบต.จัดตั้งเอง)
- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
- โรงเรียนบ้านเทพสถาพร ตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 สังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โรงเรียนชุมชนบ้านกระดานหน้าแกล ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม
- ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ประมาณเดือน พฤษภาคม
- ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ประมาณเดือน กรกฎาคม
- ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน
- ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน
- ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม พฤศจิกายน
มาลี บุญทะจิตต์. (2564). ข้อมูลทั่วไป ตำบลห้วยถั่วเหนือ. สำนักงานการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดนครสวรรค์
สำนักศิลปะวัฒนธรรมและวัฒนธรรม. (2563). วัดห้วยถั่วเหนือ. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. https://templensnonep.nsru.ac.th/temple/
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ. (2567). ประวัติความเป็นมา. https://www.huaituanuea.go.th/home
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยถั่วเหนือ. (2567). สภาพถั่วไป. https://www.huaituanuea.go.th/home