
มีประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย แหล่งน้ำมากมาย ชุมชนมีการทำเกษตรกรรมที่หลากหลาย เช่น การปลูกข้าวและผักต่าง ๆ ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
ในอดีตบริเวณพื้นที่พันเสามีสภาพพื้นที่ปกคลุมเต็มไปด้วยป่ายืนต้นขนาดใหญ่จำนวนมาก ต่อมามีราษฎรส่วนหนึ่งอพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี นครปฐม ราชบุรี และกำแพงเพชร เข้ามาตั้งบ้านเรือนในบริเวณพื้นที่เหล่านี้ และมีขยายตัวของบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชน ชื่อว่า "บ้านพันเสา" โดยมีที่มาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีป่าไม้หนาแน่น ทำให้ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาตัดไม้เพื่อนำไปสร้างบ้านเรือนจำนวนนับร้อยพันต้น โดยส่วนมากได้ตัดไม้เพื่อไปทำเป็นเสา ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่าบ้านฟันเสาและเพี้ยนมาเป็นบ้านพันเสา
มีประเพณีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย แหล่งน้ำมากมาย ชุมชนมีการทำเกษตรกรรมที่หลากหลาย เช่น การปลูกข้าวและผักต่าง ๆ ที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
ในอดีตบริเวณพื้นที่พันเสามีสภาพพื้นที่ปกคลุมเต็มไปด้วยป่ายืนต้นขนาดใหญ่จำนวนมาก ต่อมามีราษฎรส่วนหนึ่งอพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี นครปฐม ราชบุรี และกำแพงเพชร เข้ามาตั้งบ้านเรือนในบริเวณพื้นที่เหล่านี้ และมีขยายตัวของบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชน ชื่อว่า “บ้านพันเสา” โดยมีที่มาจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีป่าไม้หนาแน่น ทำให้ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้ามาตัดไม้เพื่อนำไปสร้างบ้านเรือนจำนวนนับร้อยพันต้น โดยส่วนมากได้ตัดไม้เพื่อไปทำเป็นเสา ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่าบ้านฟันเสาและเพี้ยนมาเป็นบ้านพันเสา และใช้ชื่อ “พันเสา” เป็นตำบลใน พ.ศ. 2532 โดยแยกการปกครองเป็นตำบลบ่อทอง จากเดิมที่ตำบลพันเสามี 17 หมู่บ้าน จึงทำให้ตำบลพันเสามี 11 หมู่บ้าน อยู่ในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปัจจุบัน ตามที่มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นเทศบาลตำบลพันเสา โดยที่กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า องค์การบริหารส่วนตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก มีสภาพเหมาะสม สมควรให้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นเทศบาลตำบลพันเสา ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ประกาศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ตำบลพันเสา เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอบางระกำ ที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบางระกำ ตามทางหลวงจังหวัด ถนนสายปลักแรด - หนองประดู่ โดยอยู่ห่างจากอำเภอบางระกำ ประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 40 กิโลเมตร และมีเขตติดต่อกับจังหวัดพิจิตร มีเนื้อที่ประมาณ 46,075 ไร่ หรือ 73.72 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
- ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลวังโมกข์ อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร
- ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลบ่อทอง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
- ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลหนองกุลา อำเภอบางระกำจังหวัดพิษณุโลก และตำบลปลักแรดอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศ มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มลาดเอียงไปทางทิศใต้ มีที่ราบประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่เพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ คุณภาพของดินค่อนข้างสมบูรณ์ เมื่อถึงฤดูฝนน้ำจะไหลบ่าท่วมไร่นา แต่เมื่อถึงฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติอยู่จำนวนมาก
สภาพทางเศรษฐกิจ
- ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (นาข้าว,ไร่,สวน,ประมง,ปศุสัตว์) ประมาณร้อยละ 31
- รับจ้างทั่วไป และอื่นๆ ประมาณร้อยละ 31
- นักเรียน, นักศึกษา ประมาณร้อยละ 20.20
- ประกอบธุรกิจส่วนตัวและค้าขาย ประมาณร้อยละ 3.90
- รับราชการ ,พนักงานรัฐวิสาหกิจ ,พนักงานบริษัท ประมาณร้อยละ 0.90
- ไม่มีอาชีพ (ว่างงาน) ประมาณร้อยละ 13
- รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของประชาชนตำบลพันเสา 66,800 บาท
สภาพสังคม
สภาพสังคมของชาวบ้านตำบลพันเสา เป็นสังคมแบบชาวพุทธอยู่กันอย่างเรียบง่าย ชาวบ้านต่างพึ่งพาอาศัยกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันเหมือนญาติพี่น้อง มีศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในตำบล
ทรัพยากรในพื้นที่
พื้นที่ของตำบลพันเสา มีคลอง หนอง และบึงจำนวนมาก เหมาะแก่การปรับปรุง กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง แหล่งเพาะพันธุ์ปลา และพัฒนาเกษตรก้าวหน้า ซึ่งข้อมูลทางกายภาพของพื้นที่ตำบลพันเสา ตามแผนที่ระบบ GIS ของกรมที่ดิน ได้แสดงภูมิประเทศ แหล่งน้ำทรัพยากรป่าไม้ เส้นทางคมนาคม และความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม
แหล่งน้ำ
ตำบลพันเสามีแหล่งน้ำธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ แต่การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำส่วนใหญ่ใช้ทำการเกษตรในฤดูฝน ในช่วงฤดูแล้งจะแห้งแล้ง เนื่องจากแหล่งน้ำส่วนใหญ่มีสภาพตื้นเขิน ในปัจจุบันเทศบาลตำบลพันเสา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามดำเนินการขุดลอกคลอง เพื่อปรับปรุงให้เป็นแหล่งน้ำที่สามารถใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต แหล่งน้ำที่สำคัญมีดังนี้
แหล่งน้ำธรรมชาติ
- คลอง 3 สาย แยกเป็น
คลองคต ไหลผ่านหมู่ที่ 6 ,3 และหมู่ที่ 2 ความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้ประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรจำนวน 150 ไร่ เกษตรกรจำนวนประมาณ 25 ราย
คลองหนองตะกู ไหลผ่านหมู่ที่ 10,9,1,11 และหมู่ที่ 5 ความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้ประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรจำนวน 300 ไร่ เกษตรกรจำนวนประมาณ 30 ราย
คลองพระรถ ไหลผ่านหมู่ที่ 8,7 และหมู่ที่ 4 ความยาวประมาณ 15 กิโลเมตร ใช้ประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรจำนวน 757 ไร่ เกษตรกรจำนวนประมาณ 75 ราย
- บึง 4 แห่ง แยกเป็น
บึงลับ มีพื้นที่ประมาณ 41 ไร่ (สถานที่เพราะเลี้ยงพันธุ์ปลา) หมู่ที่ 3 บริเวณหน้าเทศบาลฯ
บึงกา มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร 250 ไร่ เกษตรกรจำนวน ประมาณ 17 ราย หมู่ที่ 6
บึงครอบ มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่ ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร 30 ไร่ เกษตรกรจำนวนประมาณ 4 รายหมู่ที่ 6
บึงแวง มีพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร 310 ไร่ เกษตรกรจำนวนประมาณ 40 ราย หมู่ที่ 1
- หนอง 3 แห่ง แยกเป็น
หนองโรง มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร 50 ไร่ เกษตรกรจำนวน ประมาณ 3 ราย หมู่ที่ 4
หนองชุมแสง มีพื้นที่ประมาณ 8 ไร่ ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร 250 ไร่ เกษตรกรจำนวนประมาณ 15 ราย หมู่ที่ 5
หนองเบิกไพร มีพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตร 180 ไร่ เกษตรกรจำนวนประมาณ 10 ราย หมู่ที่ 11
- แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
อ่างเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง
ฝาย จำนวน 7 แห่ง
บ่อน้ำตื้น จำนวน 20 แห่ง
บ่อโยก จำนวน 15 แห่ง
บ่อบาดาลน้ำตื้น จำนวน 825 แห่ง
ชาติพันธุ์
ไทยทรงดำ หรืออาจเรียกว่า ลาวโซ่ง ไทยโซ่งดำ ใทคำหรือไทยดำ เป็นกลุ่นกลุ่มชนชาติพันธ์ ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ในช่วงสมัยกรุงธนบุรี หรือราว พ.ศ. 2322 ด้วยเหตุที่กองทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกไปตีอาณาจักรลานช้าง โดยมีเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (กรมพระราชวังบวรมหาหนาท) เป็นแม่ทัพ หลังจากเสร็จสิ้นการสงครามจึงได้กวาดต้อนผู้คนเข้ามาในอาณาจักรสยามเป็นจำนวนมาก และจัดให้ผู้คนเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ในภาคกลาง หลังจากนั้นในพุทธศักราช 2322 กองทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราชได้ให้ทัพเมืองหลวงพระบางไปตีเมืองทันต์ ญวมเรียกว่า เมืองซือหงี เมืองม่อย ทั้ง 2 เมืองนี้เป็นลาวทรงคำ (ผู้ไทยคำ) อยู่ริมเขตเมืองญวม ได้ครอบครัวลาวทรงดำลงมาเป็นอันมาก และพาครอบครัวลาวทรงดำมาถึงกรุงในปี พ.ศ. 2322 ซึ่งสำหรับลาวทรงดำ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงโปรดให้ไปดั่งบ้านเรือนอยู่เพชรบุรี ลาวเวียงและลาวหัวเมือง ฟากโขงตะวันออกก็ทรงโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่สระบุรีบ้าง เมืองราชบุรีบ้าง ตามหัวเมืองตะวันตกบ้าง อยู่เมืองจันทบุรีบ้าง สืบเชื้อสายมาจนทุกวันนี้ หลังจากนั้นก็ได้มีการกวาดต้อนผู้ไทยดำหรือถาวทรงดำเข้ามาในกรุงสถามอีกหลายครั้ง ลาวโซ่งหรือ ไทยทรงดำในสยามได้มีการอพยพย้ายอื่นและขยายบ้านเรือนของตนเองในแถบภาคกลางหลายจังหวัด เช่น ราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม บางส่วนอพยพต่อยังภาคเหนือ แต่ที่อาศัยอยู่กันอย่างหมาแน่นมากที่สุด คือ จังหวัดเพชรบุรี และในส่วนของจังหวัดอื่น ๆ เช่น สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก กาญจนบุรี ลพบุรี และสระบุรี แต่ละแห่งมีจำนวนไม่มากนัก (สุมิตร ปิติพัฒน์, บัณฑร อ่อนคำ และพูนสุข ธรรมาภิมุข, 2521, หน้า 45 และหน้า 9)
ครอบครัวและระบบเครือญาติ
ลักษณะของครอบครัวชาวไทยทรงคำมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย (Extended Family) มากกว่าครอบครัวเดี่ยว (Single Family) ในครอบครัวขยายจะประกอบด้วยสามี ภรรยาและลูกรวมทั้งพ่อหรือแม่ ของทั้งฝ่ายสามีหรือภรรยาหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตลอดจนญาติพี่น้องอยู่ด้วยกัน
ปัจจุบันแม้ว่าสภาพทางสังคมจะเปลี่ยนแปลงไป แต่ว่าวิถีของชาวไทยทรงดำในพื้นที่พันเสา อำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก ยังคงลักษณะของสภาพครอบครัวขยาย ซึ่งสมาชิกที่บ้านจะประกอบด้วยปู่ ย่า หรือตา ยายพ่อแม่ ลูก หลาน และญาติ ก็ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันหรือปลูกบ้านไว้ใกล้เคียงกัน เมื่อยามถึงเวลาที่มีงานสำคัญ เช่น พิธีเสนเรือน หรือปาดตงข้าวใหม่ญาติที่นับถือผีเดียวกันก็จะมารวมตัวพร้อมกันเสมอ
ด้วยลักษณะของประเพณีครอบครัวของไทยทรงคำจะให้ความสำคัญกับลูกชายมากกว่าลูกผู้หญิง เพราะตามประเพณีความเชื่อถูกผู้ชายจะเป็นผู้สืบผีบรรพบุรุษและเลี้ยงผีบรรพบุรุษตลอดจนเลี้ยงผีพ่อแม่ ส่วนลูกสาวเมื่อแต่งงานไปแล้วก็จะไปนั้นนับถือทางฝ่ายสามี (วาสนา อรุณกิจ, 2529, หน้า 10) ดังนั้นครอบครัวของชาวไทยทรงดำจึงให้ความสำคัญกับลูกผู้ชายมากกว่าลูกผู้หญิง
การแต่งงาน สังคมของชาวไทยทรงคำจะให้อิสระแก่คนที่อยู่ต่างชนชั้นกันแต่งงานกันได้ ซึ่งได้แก่ ชนชั้นผู้ต้าวกับผู้น้อย สามารถแต่งงานกันได้โดยไม่ถือว่าเป็นการผิดประเพณี และถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ต้าวก็ต้องจัดพิธีแต่งงานแบบผู้ต้าว แต่ถึงอย่างไรก็ตามแม้ฝ่ายหญิงจะเป็นชนชั้นผู้ต้าว แต่ถ้าแต่งงานกับผู้ชายที่เป็นผู้น้อยก็จะต้องหันไปนับถือผีผู้น้อยของฝ่ายชาย เพราะการนับถือผีและสืบผีนั้นเอาฝ่ายชายเป็นสำคัญ ทั้งนี้ชีวิตแต่งงามของชาวไทยทรงดำนั้นเป็นแบบผัวเดียว เมียเดียว (Monogamy) ไม่นิยมการมีมากผัวหลายเมีย และไม่นิยมการหย่าร้าง แต่งงานกับพ่อหม้ายแม่หม้าย ถ้าเป็นแม่หม้ายจะแต่งงงานใหม่ต้องออกจากผีเดิมของสามีเสียก่อน จึงจะสามารถแต่งงานใหม่ได้
การแต่งงานของชาวไทยทรงดำ ในพื้นที่ ต.พันเสา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ส่วนใหญ่จะแต่งงานเมื่ออายุได้ราว 22 - 23 ปี ซึ่งการแต่งงานในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 แบบ ด้วยกัน คือ แต่งแบบไทยทรงดำหรือแต่งแบบไทย หรืออาจจะผสมผสานกันระหว่างพิธีไทยกับไทยทรงดำก็แต่งงานกันเองภายในเครือญาติสามารถแต่งงานกันได้ แต่จะต้องเป็นญาติต่างผีกันเท่านั้น และเมื่อแต่งงานกันไปแล้วลูกชายก็นำภรรยาเข้ามาอยู่ในครอบครัวของพ่อแม่ตนหรือมักจะมาปลูกบ้านใกล้เรือนเคียงกับบ้านพ่อแม่ ซึ่งก่อนที่จะนำภรรยามาเข้าบ้านของฝ่ายชาย ฝ่ายชายอาจไปอยู่ทำงานรับใช้บ้านฝ่ายหญิง 1-5 ปี เรียกว่า "สา" หรือ "อาสา" กรณีเช่นนี้เกิดจากการที่พ่อแม่
ฝ่ายหญิงไม่เรียกสินสอดทองหมั้น แต่ให้ฝ่ายชายไปอาสาทำงานรับใช้พ่อแม่ฝ้ายหญิงเป็น แต่ในปัจจุบันจะอยู่บ้านฝ่ายหญิง 3 วัน แล้วก็แยกครอบครัวออกไป
การสืบผีจึงเป็นการสืบสกุลของชาวไทยทรงดำ ลูกผู้ชายทุกคนมีหน้าที่สำคัญ คือ ต้องสืบสืบผีบรรพบุรุษ การสืบผีจะสืบผีทางฝ่ายชาย ส่วนในด้านการนับถือผีฝ่ายพ่อหรือฝ่ายชาย ลูกสาวเมื่อแต่งงานก็ไปสืบผีทางฝ่ายสามี อย่างไรก็ตามในกรณีที่ครอบครัวใดมีแต่ลูกสาวหรือมีลูกสาวคนเดียว ถ้าพ่อแม่ตายไปและภายในครอบครัวลูกสาวที่แต่งงานแล้วยังไม่มีลูกชาย ก็จะอนุโลมให้ลูกสาวเลี้ยงผีบรรพบุรุษไปชั่วคราวแต่จะสืบผีไม่ได้จนกว่าลูกสาวจะมีลูกชาย ที่จะมารับหน้าที่ในการสืบผีและเลี้ยงผีบรรพบุรุยแทนต่อไป ดังนั้นในกรณีเช่นนี้ฝ่ายหญิงจะต้องมีลูกชายมากกว่า 1 คนขึ้นไป โดยมอบหมายให้ลูกชายคนใดคนหนึ่งรับเลี้ยงผีบรรพบุรุมทางฝ่ายแม่เป็นกรณีพิเศษส่วนลูกชายที่เหลือทั้งหมดจะเลี้ยงผีทางฝ่ายพ่อตามาปกติ
ดังนั้น ในด้านของเครือญาติจึงให้ความสำคัญกับเครือญาติฝ่ายพ่อมากกว่า และเครือญาติฝ่ายพ่อมักมีบทบาทในครอบครัวมากกว่าเครือญาติฝ่ายแม่ เนื่องด้วยจากลักษณะของความเชื่อในการนับถือผีและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องผี เช่น พิธีเสนเรือน ซึ่งเป็นพิธีเลี้ยงผีบรรพบุรุษ ผู้ที่ญาติอยู่ในเครือญาติ ผีเดียวกันก็จะมารามตัวกัน ทำให้ระบบเครือญาติของชาวไทยทรงคำมีความผูกพันแน่นแฟ้นกันอย่างมาก
ไทดำโครงสร้างทางสังคม
ชาวไทยทรงคำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีโครงสร้างทางสังคมที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองโดยเฉพาะการใช้ความเชื่อเรื่องผีมาจัดลำดับโครงสร้างทางสังคม ลำดับชนชั้นทางสังคม โดยเริ่มจากระดับครอบครัวไปถึงระดับความสัมพันธ์ของคนในสังคม ที่เป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพันเสา 1 แห่ง (จัดตั้งเอง) ตั้งอยู่ ณ เทศบาลตำบลพันเสา
โรงเรียนในสังกัด ส.พ.ฐ. แยกเป็น
- โรงเรียนบ้านพันเสา เป็นโรงเรียนระดับตำบล ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านพันเสา โดยจัดการ เรียนการสอน ตั้งแต่ระดับ อนุบาล - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3)
- โรงเรียนประดู่มะค่าประชาสรรค์ ระดับอนุบาลและประถมศึกษา (ป.6) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 บ้านแหลมมะค่า
- โรงเรียนบ้านหล่ายขานาง ระดับอนุบาลและประถมศึกษา (ป.6) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 บ้านหล่ายขานาง
- โรงเรียนวัดโพธิ์งาม ระดับอนุบาลและประถมศึกษา (ป.6) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 บ้านหัวขัว
ศูนย์การศึกษา
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยประจำตำบล 1 แห่ง ที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยประจำตำบลพันเสา เทศบาลตำบลพันเสา สอนระดับ ประถมศึกษา - มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)
- ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน 1 แห่ง ที่ตั้ง ณ ที่ประโยชน์สาธารณะ หมู่ที่ 3 บ้านพันเสา แปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ หมู่ที่ 3
- ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบล 1 แห่ง ที่ตั้ง ณ เทศบาลตำบลพันเสา หมู่ที่ 3 บ้านพันเสา
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 2 แห่ง
สถาบันและองค์กรศาสนา
ประชาชนประมาณร้อยละ 99.99 นับถือศาสนาพุทธ และมีพระพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ ซึ่งมีสถานที่ดังนี้
- วัด จำนวน 6 แห่ง
- ที่พักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม
สำหรับชื่อตำบลพันเสานั้น จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในพื้นที่ ทราบว่ามีที่มาจากในอดีต มีราษฎรจาก จังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี และจังหวัดเพชรบุรี และบริเวณพื้นที่ตำบลพันเสา ซึ่งปกคลุมไปด้วยป่าไม้ยืนต้นขนาดใหญ่จำนวนมาก เมื่อมีราษฎรอพยพมาจากพื้นที่ใกล้เคียงและต่างจังหวัด เข้ามาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ จึงเกิดการขยายตัว กลายเป็นชุมชน เมื่อสภาพทางภูมิศาสตร์ ที่มีป่าไม้หนาแน่น ทำให้ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียง เข้ามาตัดไม้เพื่อนำไปสร้างบ้านเรือนจำนวนนับร้อย นับพันต้น โดยส่วนมากได้ตัดไม้เพื่อนำไปทำเป็นเสา ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อชุมชนว่า บ้านพันเสา และใช้ชื่อพันเสา เป็นชื่อตำบลพันเสา อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ความเชื่อเรื่องผีของชาวไทยทรงคำ
ชาวไทยทรงดำแต่เดิมในสมัยก่อนนั้นมีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีและสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ ก่อนที่จะรับมีการรับเอาความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเข้ามาผสมผสานกับความเชื่อตั้งเดิมของตน ทำให้ในปัจจุบันชาวไทยทรงดำมีความเชื่อผสมสมผสานกันระหว่างศาสนาพุทธและการนับถือผี และความเชื่อเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ โครงสร้างทางสังคมตลอดจนขนบธรรมเนียนประเพณีของชาวไทยทรงดำจนถึงปัจจุบันในส่วนของความเชื่อเรื่องผีนั้นชาวไทยทรงคำมีการนับถือผีอยู่หลายชนิด โดยแบ่งตามประเภท ดังนี้
1. แถนหรือผีฟ้า เป็นเทวดาเมืองน้ำหรือเมืองสวรรค์ มีอำนาจหนือมนุษย์ทั้งหลายสามารถดลบันดาลความเป็นไปในสิ่งต่าง ๆ ทั้งในด้านดีและไม่ดีได้ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุเคราะห์ร้าย เจ็บป่วย จึงทำพิธีขอให้แถนช่วยเหลือ หรือประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามความประสงค์ของแถน เพื่อให้แถนมีเมตตา ในกลุ่มของแถนจะมีหัวหน้าแถน เรียกกันว่า แถนหลวงเป็นผู้บังคับบัญชาของแถนทั้งมวลในเมืองฟ้า และมีแถนอื่น ๆ อีก เช่น แถนแน่น แถนจัด แถนสิง แถนเดาะ ฯลฯ แต่ละแถนจะมีหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการดูแลพฤติกรรมของมนุษย์และความเป็นไปของมนุษย์ (สุมิตร ปีติพัฒน์, บัณฑร อ่อนคำ และ พูนสุข ธรรมาภิมุข, 2521, หน้า 22)
ส่วนในระดับแถนจะการแบ่งหน้าที่กันดังต่อไปนี้
1.1 แถนหลวง เป็นหัวหน้าของแถนทั้งหมดบนฟ้า มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลการปบัติงานของแถนต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ และตัดสินข้อพิพาทต่าง ๆ ให้เกิดความยุติธรรมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
1.2 แถนปัวกาลาวี เป็นผู้ดูแลทุกข์สุขและความอุดมสมบูรณ์ของมนุษย์ควบคุมดินฟ้าอากาศ และทำให้ฝนตกตามต้องฤดูกาล
1.3 แถนชาด เป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตและส่งให้มนุษย์มาเกิดในในโลก
1.4 แถนแนน (แตนแนน) เป็นผู้ตั้งมิ่งขวัญของมนุษย์ทำให้มนุษย์อายุสั้น หรือยาวตามที่กำหนด
1.5 แถนบุน เป็นผู้บันดาลความร่ำรวยและความสมบูรณ์ให้เกิดแก่มนุษย์
1.6 แถนคอ เป็นแถนแห่งโรคภัยไข้เจ็บ ทำให้เกิดความเจ็บป่วยต่าง ๆ โดยเฉพาะในหมู่เด็ก
1.7 แดนเกาะ เป็นผู้มันดาลให้เกิดความคราะห์ร้ายและภัยพิบัติแก่มนุษย์
1.8 แถนสิง (ซิง) กับแดนประจำตระกูล มีหน้าที่รักษาผู้อยู่ในวงศ์ตระกูลให้อยู่เย็นเป็นสุข
1.9 แถนสัด เป็นผู้ดูแลมนุษย์ให้อยู่ในระเบียบวินัย ติดตามจับคนกระทำผิดมาลงโทษและคุ้มครองคนดีให้พ้นภัยพิบัติต่าง ๆ
1.10 แถนนุ่งขาว เป็นผู้บันดาลให้เกิดแสงสว่างทำให้คนมีคนมีความสวยงาม
2. ผีบ้านและผีเมือง คามความเชื่อตั้งเดิมของชาวไทยทรงคำ ในแต่ละเมืองจะมีผีสีสิงสถิตอยู่เพื่อดูแลและรักษาคนในเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุข ผีบ้านผีเมืองนี้อาจจะอยู่ตามป้าเขาหรือต้นไม้ บางเมืองก็สร้างศาลให้อยู่ในบริเวณที่มีหลักเมืองถือว่าเป็นเขตหวงห้าม และในแต่ละบ้านก็จะมีผีดูแลรักษาเช่นกัน แต่เดิมเจ้าเมืองต้องทำพิธีเซ่นไหว้ผีบ้านและผีเมืองทุกปี แต่ภายหลังที่ได้อพยพยพมาอยู่ประเทศไทย การเซ่นไหว้ผีเมืองก็ระงับไป เพราะขาดเจ้าเมืองและผู้ประกอบที่พิธีกรรมนี้ ปัจจุบันการเซ่นผีเมืองจึงสูญไป (สุมิตร ปิติพัฒน์, บัณฑร อ่อนคำ และ พูนสุข ธรรมาภิมุข, 2521. หน้า 22)
3. ผีป้า ผีเขาและผีอื่น ๆ ชาวไทยทรงดำเชื่อกันว่าในป้าไม้ ภูเขา แม่น้ำ ลำธาร และสิ่งของธรรมชาติต่าง ๆ มักมีผีสิงสถิตอยู่ หากคนเราทำการละเมิดแล้วอาจได้รับภัยจากผีที่สิ่งอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ดังนั้นลาวโซ่งจึงระมัดระวังตนในการตัดไม้ เดินป้า และใช้แม่น้ำ ลำธารต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายและกระทบกระเทือนถึงผีต่าง ๆ
4.ผีบรรพบุรุษ เมื่อมีคนตาย บุตรหลานและภรรยาของผู้ตายจะเชิญผีบรรพบุรุษมาอาศัยอยู่บ้าน โดยจัดให้อยู่ในแท่นบูชาหรือกะล่อหอง ถ้าเป็นผู้ต้าวหรือผู้ท้าวก็จะจัดให้อยู่กว้านซึ่งบุตรหลานและภรรยาจะจัดหาอาหารมาเช่นไหว้เป็นประจำ ในโอกาสสำคัญก็จะถูกเชิญพิธีกรรมต่าง ๆ หรือบอกกล่าวเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์ที่สำคัญครอบครัว เสมือนว่าผีเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้สืบสายสกุลอยู่ในปัจจุบันด้วย (สุมิตร ปีติพัฒน์,บัณฑร อ่อนคำ และ พูนสุข ธรรรมาภิมุข, 2521, หน้า 23) ซึ่งในเรื่องของผีบรรพบุรุษนั้น จะมีความเกี่ยวข้องกับประเพณีการสืบผี คือ ผู้ใดมาจากสกุลใดก็สิบผีสกุลนั้นโดยมีลูกชายเป็นผู้สืบสกุล ในกรณีที่ครอบครัวใดมีบุตรชายหลายคน บุตรชายคนสุดท้องจะเป็นผู้สืบผีพ่อแม่และได้เป็นเจ้าของเรือนของพ่อแม่หลังจากที่พ่อแม่ตายแล้ว ส่วนบุตรชายคนโตเมื่อแต่งงานแล้วจะแยกไปมีเรือนอยู่ต่างหาก ส่วนบุตรสาวสืบผีต่อไปไม่ได้ เพราะต้องแต่งงานไปถือผีของฝ่ายชาย ดังนั้นเมื่อพ่อแม่ตายบุตรชายคนสุดท้องจะเชิญผีพ่อแม่มาไว้ที่เรือมของตน จัดให้อยู่ใน "กะล่อหอง" มีการเช่นอาหารให้กิน หรือทำพิธีเซ่นไหว้เรียกว่า "พิธีเสนเยือน" คือ เช่นไหว้ผีเรือน
ทั้งนี้ ถ้าครอบครัวใดเป็นชนชั้นผู้ต้าวก็จะจัดให้อยู่ในห้องเล็ก ๆ ซึ่งอยู่ด้านข้างของตัวบ้านหรือระเบียงบ้าน เรียกห้องนี้ว่า "กว้าน" ในกรณีที่ครอบครัวใดมีแต่ลูกสาวก็ต้องคอยจนกว่าจะมีหลานชายไว้สืบผีต่อไป หรือให้ลูกเขยสืบสืบผีแทนเป็นกรณีพิเศษ หรือไม่ถ้าลูกสาวต้องไปอยู่ที่บ้านลูกเขย ลูกสาวก็ต้องสร้างศาลเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "ตูบ" สำหรับผีพ่อแม่ตน ศาลนี้จะปลูกไว้ในบริเวณบ้านลูกเขย จะเข้าไปอยู่ในบ้านลูกเขยไม่ได้ เพราะว่าเป็นคนละผีกัน
5.ผีประจำสถานที่ ได้แก่ ผีบันได ผีประตู ผีเตาไฟ (เรณู เหมือนจันทร์เชย, หน้า 39- 40)
5.1 ฝีบันได เชื่อกันว่าบันใดของบ้านเรือนและสถานที่มีมีคุ้มครองจึงจึงมีกำหนดข้อห้ามมิให้ละเมิด เช่น ห้ามนั่งคาบันได ห้ามนั่งเล่นที่บันใด ห้ามใช้ของมือ ฯลฯ และเมื่อทำพิธีเสนเรือนก็จะนำเอาเลือดหมูสดที่ฆ่าทำพิธีมาที่บันไดเป็นการบูชาด้วย ส่วนในพิธีข่มขวง หมอเสนจะใช้มืดฟันบันไดเบาๆ เป็นการขับไล่ผีสางนางไม้ที่เจ้าของบ้านนำไม้มาปลูกเพื่อไม่ให้มารบกวนเจ้าของบ้าน
5.2 ฝีประตู มีข้อห้าม เช่น ห้ามตำจนครกแตก เพราะครกจะไปถูกแม่พระธรณี ห้ามเหยียบธรณีประตูเป็นต้น
5.3 ผีเตาไฟ มีคุณประโยชน์ช่วยให้ทำกับข้าว ทั้งนี้ผีบันใด ผีเตาไฟและฝีประตู เวลาทำ "พิธีจี่ไฟไหข่าว" ต้องนำอาหาร ไปให้กิน
6. ผีเจ้าที่เจ้าทาง คือ ผู้ดูแลรักษาบริเวณบ้านจะจัดตั้งศาลให้อยู่ประจำ เรียกว่า "ศาลพระภูมิ-ศาลเจ้าที่" ทั้งนี้การเซ่นพระภูมิ-เจ้าที่ ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ไทยโซ่งมีความเชื่อกันว่าพระภูมิเป็น "พระ" ส่วนเจ้าที่เป็น "ผี" ดังนั้นเครื่องเซ่นของพระภูมิจะไม่มีเหล้า แต่ปัจจุบันความเชื่อนี้เปลี่ยนไปมีการเซ่นเหล้าทั้งพระภูมิและเจ้าที่ การทั้งศาลพระภูมิ ศาลเจ้าที่ ต้องให้ผู้รู้มาทำพิธีให้ถูกต้อง เช่น การทั้งให้ถูก เลือกวันที่เป็นศิริมงคล มีการบวงสรวงอันเชิญให้ถูกต้อง เพื่อคุ้มครองปกปักรักษาสถานที่ และถ้าทำไม่ดีก็อาจจะนำความไม่ดีมาสู่ครอบครัว โดยการตั้งศาลพระภูมิ-เจ้าที่ จะต้องมีการเสี่ยงทายโดยใช้ไม้ไผ่ประกบกัน 2 อันแล้วโยนลงพื้น หากไม้ไผ่หงายอันหนึ่ง คว่ำอันหนึ่ง แสดงว่าบริเวณนี้เหมาะที่จะตั้งศาล หากไม่เป็นดังนี้ต้องเปลี่ยนที่ใหม่ การทำบุญทุกครั้งต้องเลี้ยงพระภูมิ-เจ้าที่ เมื่อประกอบพิธีกรรมใดก็ต้องบอกกล่าวด้วย การกราบไหว้พระภูมิ-ศาลเจ้าที่ เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันภัย และขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากบริเวณบ้าน และยังเป็นผลดีทางด้านจิตใจของเจ้าของบ้านด้วย
7. ผีไร่ ผีนา เชื่อกันว่าในไร่และนาจะมีผีคุ้มครองประจำอยู่ โดยชาวไทยทรงดำจะนิยมตั้ง "ศาลนา" ไว้เช่นไหว้ เมื่อเริ่มทำนา (แรกนา) และตอนเกี่ยวต้องทำพิธีให้เรียกว่า "ปาดตงนา" นอกจากนี้ยังมีผีประจำเมล็ดข้าวหรือแม่โพสพ จะทำพิธีให้ตอนข้าวออกรวง โดยอัญเชิญมาประจำยุ้งฉางเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ซึ่งมีข้อห้ามหลายประการมิให้ละเมิดแม่โพสพ เช่น ห้ามนอนหน้ากระล้อม (กะพ้อม) ข้าว ห้ามใส่รองเท้าเดินเข้าไปในลานนวดข้าว เวลากินข้าวห้ามเกาะจานข้าว เป็นต้น
8. ผีตายโหง ถือว่าเป็นผีไม่ดี เพราะตายไม่ดี เช่น ถูกยิงตาย ถูกรถชนตาย ถูกฆ่าตาย เป็นต้น คนลาวโซ่งจะไม่เผาศพคนตายโหง แต่จะใช้วิธีการฝังแทนและจะไม่เชิญมาเป็นผีบ้าน ผีเรือนหรือดีนา แต่จะเชิญให้ไปเป็นผีประจำวัด จะมีพิธีให้ เช่น ทำบุญกลางบ้าน เป็นต้น มีการทำสังฆทาน หรือสังกบาสให้กิน
9. ผีประจำต้นไม้ เชื่อกับว่าต้นไม้บางต้นมีผีประจำที่ร้ายแรง ให้โทษหากเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ต้นตะเคียนก็จะมีผีตะเดียนสิงสถิตอยู่ห้ามนำมาใช้สร้างบ้างบ้าน
10. ผีร้าย เช่น ฝีปอบ ฝึกระสือ ผีพวกนี้ไม่เซ่นไหว้เช่นเดียวกับผีเรือน แต่ชาวไทยทรงคำจะป้องกันไม่ให้มารบกวนหรือทำอันตรายคนในบ้าน เวลาผีมาทำให้คนในบ้านเจ็บป่วยคนไทยทรงดำก็จะนำนอากระทงไปวางที่ทาง 3 แพร่ง หรือทาง 4 แพร่ง ในปัจจุบันผีพวกนี้ไม่มีอีกแล้ว มีแต่การเล่าสู่ต่อกับมา
ความเชื่อเรื่องผีกับโครงสร้างทางสังคม
ความเชื่อในเรื่องผีของชาวไทยทรงคำนั้นมีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ความเชื่อเรื่องผีไม่ได้ปรากฏอยู่แค่เพียงในความคิดความเชื่อจารีตขนบธรรมเนียมประเพณีเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างโครงสร้างทางสังคมของชาวไทยทรงคำ
การนับถือและสืบผี
ชาวไทยทรงคำนับถือและให้ความสำคัญต่อต่อผีบรรพบุรุษอย่างมาก ดังนั้นจึงต้องมีการสืบผีรรพบุรุษต่อ ๆ กันมา ในการสืบผีฝ่ายชายจะเป็นผู้สืบต่อจากพ่อแม่ ส่วนลูกสาวเมื่อออกไปก็ต้องไปสืบผีทางสามี การสืบผีถ้าพ่อแม่ยังอยู่ก็ไม่ต้องเลี้ยงผี แต่ถ้าพ่อแม่เสียชีวิตจึงจะสืบผีได้ และในกรณีที่บ้านใดมีแต่ลูกสาวให้ลูกสาวสืบผีแทนได้คือ เมื่อแต่งงานแล้วมีลูกสืบแทน ซึ่งสามารถออกชื่อแทนได้แม้ว่าจะยังเป็นเด็ก และถ้าบ้านใดมีลูกชายหลายคน คนที่อยู่กับพ่อแม่จะสืบผีต่อจากพ่อแม่ ส่วนลูกที่แยกออกไปอยู่ที่อื่น เมื่อพ่อแม่ตายก็จะรับเลี้ยงผีได้
ส่วนในเรื่องของความเชื่อเรื่องการผิดผีและเสียผีนั้น การผิดผี คือ การทำไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์หรือระเบียบที่วางไว้เช่น การผิดผี ผิดป้า ผิดบ้าน ผิดคลอง ผิดครู ผิดกฎ ชาวไทยโซ่งเรียกการผิดตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นว่า "ผิดผี" การผิดผี คือ การประพฤติปฏิบัติผิดประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการผิดผี เช่น การที่ถูกไม่ปาดตงให้ผีเรือนกิน หรือพี่น้อง หรือแขกมาหาที่บ้านแล้วเลี้ยงเหล้าโดยไม่ให้ผีเรือนกินก่อน หรือมานอนค้างที่บ้านโดยไม่บอกกล่าวกับผีเรือน หรือการจับเนื้อต้องตัวหญิงสาวในที่มืดหรือที่ไม่มีคนอยู่หรือมีผู้ชายแอบมานอนค้างกับลูกสาวหรือพาลูกสาวหนี เป็นต้น การกระทำเหล่านี้ถือว่าเป็นการผิดผีบางครั้งผีโกรธลงโทษให้เป็น ไปต่าง ๆ นานา เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีความสุข เป็นต้น ต้องแก้ไขในสิ่งที่ได้กระทำผิดต่อผีเรือน เรียกว่า "การเสียผี" ต้องมีขันหมากไปไหว้ขอขมา หรือมีเครื่องเซ่นไปเซ่นไหว้เช่น หัวหมู 1 หัว เหล้า 1 ขวด สำหรับ ผู้ที่เป็นถูกเขยหรือลูกสะใภ้จะต้องใส่เสื้อฮี (เรณู เหมือนจันทร์เชย, 2542, หน้า 44-48)
กานต์ กานต์พรรณพงศ์. (2556). ผีและอำนาจ ผ่านความเชื่อเรื่องผีของชาวไทยทรงดำ ตำบลพันเสา อำเภอ บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วิจัยฉบับสมบูรณ์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏพิบูล สงคราม.
เทศบาลตำบลพันเสา. (2567). บริการขั้นพื้นฐาน. เข้าถึงข้อมูลจาก https://www.pansao.go.th/condition
เทศบาลตำบลพันเสา. (2567). สภาพทั่วไป. เข้าถึงข้อมูลจาก https://www.pansao.go.th/condition
เทศบาลตำบลพันเสา. (2567). สภาพสังคม. เข้าถึงข้อมูลจาก https://www.pansao.go.th/condition