Advance search

ชุมชนที่มีเอกลักษณ์ด้านชาติพันธุ์ผู้ไท การตั้งชุมชนมีเอกลักษณ์ด้านชาติพันธุ์มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม มีพระธาตุเรณูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ปัจจุบันเป็นชุมชนท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดนครพนม

หมู่ 1,2,5,9,13,14
เรณู
เรณู
เรณูนคร
นครพนม
อบต.เรณู โทร. 0-4257-9554
ณัฐพล นาทันตอง
13 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
27 เม.ย. 2023
บ้านเรณู

พื้นที่บ้านเรณูเดิมเรียกว่าบ้านดงหวาย ต่อมาพ.ศ. 2387 รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านดงหวาย (บุ่งหวาย) ซึ่งมีไพร่พลจำนวน 2,648 คน แต่งตั้งขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร การตั้งชื่อชุมชนว่า เรณู จึงมาจากเมืองเรณูนคร สมัยรัชกาลที่3


ชุมชนที่มีเอกลักษณ์ด้านชาติพันธุ์ผู้ไท การตั้งชุมชนมีเอกลักษณ์ด้านชาติพันธุ์มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม มีพระธาตุเรณูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ปัจจุบันเป็นชุมชนท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดนครพนม

เรณู
หมู่ 1,2,5,9,13,14
เรณู
เรณูนคร
นครพนม
48170
17.04905458
104.676404
องค์การบริหารส่วนตำบลเรณู

พ.ศ. 2984 ชาวผู้ไทกลุ่มท้าวสายนายครัวเมืองวัง ได้บุกเบิกพื้นที่ป่าบุ่งหวายห้วยบ่อแกตั้งเป็นบ้านเรือนชื่อบ้านดงหวายหรือเมืองเว ต่อมารัชกาลที่ 3 โปรดให้ยกขึ้นเป็นเมืองเรณูนคร ชาวผู้ไทเมืองวังจึงกลายเป็นมาเป็นชาวผู้ไทเรณูนคร มีหน้าที่ส่งผลเร่วแก่กรุงเทพฯและส่งผลลาดตระเวนไปยังเมืองวังเพื่อกำกับดูแลชายแดนไทย-เวียดนาม เมื่อมีการปฏิรูประบบราชการสมัยรัชกาลที่ 5 จึงยุบเมืองเรณูนครและย้ายไปตั้งที่บ้านธาตุพนม เมืองเรณูนครจึงแบ่งออกเป็นตำบลโพนทองและตำบลเรณู เหลือฐานะเป็น “บ้านเรณู” เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง กลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ ได้ยึดเทือกเขาภูพานเป็นฐานปฏิบัติการยุทธศาสตร์ป่าล้อมเมือง เข้ามาชักชวนชาวบ้านในแถบนั้นให้เข้าร่วม บ้านเรณูจึงเป็นพื้นที่สีชมพูเสี่ยงต่อภัยคุกคามพรรคคอมมิวนิสต์

ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2501 รัฐบาลในยุคนั้นให้ความสำคัญกับพื้นที่บ้านเรณูมากเป็นพิเศษในด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาอาชีพในแผนระดับประเทศและส่งหน่วยงาน ร.พ.ช. เข้ามาพัฒนาพื้นที่พร้อมจัดตั้งอำเภอเรณูนครและยกฐานะบ้านเรณูเป็นเขต “สุขขาภิบาลตำบลเรณู” ภายหลังปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์สงบลงได้ มีการดำเนินนโยบายการสร้างรายได้ให้กับชุมชนจากโครงการสร้างงานในชนบท การส่งเสริมการท่องเที่ยวโครงการอีสานเขียว

ช่วงหลัง พ.ศ.2531 การพัฒนาภายนอกเริ่มชะลอตัวมากขึ้น ภาคประชาชนและเอกชนมีการก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่อย่างต่อเนื่องจากช่วงที่หน่วยงานภาครัฐเข้ามาพัฒนา ต่อมาเกิดการปฏิรูประบบราชการมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ภายใต้ พ.ร.บ. เปลี่ยนแปลงฐานะสุขภิบาลเป็นเทศบาลตำบล พ.ศ.2542 ส่งผลต่อการยกฐานะสุขขาภิบาลตำบลเรณูนครเป็น “เทศบาลตำบลเรณูนคร” ท้องถิ่นมีอำนาจและงบประมาณมากขึ้นเมืองเรณูนครมีการปรับปรุงและขยายตัวของโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสถานที่สำคัญ

ชุมชนเมืองเรณูนครมีการขยายตัวของชุมชนในระดับปานกลาง จากจำนวนบ้านเรือนในปี พ.ศ.2531 มี 1,100 หลังคาเรือน ใน พ.ศ. 2554 มีตำนวนบ้านเรือน 1,518 หลังคาเรือน ลักษณะการขยายตัวเมืองเห็นว่าปัจจุบันมีการเกาะกลุ่มบริเวณย่านตัวเมืองและขยายออกไปตามเส้นทางคมนาคมปะปนกับพื้นที่บริเวณเกษตรกรรม ขึ้นไปทางทิศเหนือและกระจายไปตามเส้นทางคมนาคมทุกทิศทางเชื่อมต่อกับชุมชนภายนอก เกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรกรรมและที่ว่างภายในเมืองเป็นอาคารบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น การก่อสร้างบ้านเรือนและสร้างกำแพงคอนกรีตรอบบ้านเพื่อป้องกันน้ำท่วม มีการก่อสร้างรีสอร์ทและบ้านเดี่ยวในพื้นที่สวนผสมป่าด้านหลังสถานที่ราชการและไร่นานอกเขตเทศบาล

เมืองเรณูนคร มีพื้นที่ประมาณ 257.76 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ลำน้ำที่สำคัญในบริเวณนี้คือ ลำน้ำยัง ลำน้ำก่ำ ห้วยแคน ห้วยสายบ่อแกและห้วยยาง อำเภอเรณูนครตั้งอยู่ทิศใต้ของจังหวัดนครพนม ห่างจากจังหวัดนครพนมประมาณ 51 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ      ติดต่อ  ตำบลนางาม  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม

  • ทิศใต้         ติดต่อ  ตำบลเรณูใต้  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม

  • ทิศตะวันออก  ติดต่อ  ตำบลโพนทอง  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม

  • ทิศตะวันตก    ติดต่อ  ตำบลโคกหินแฮ่  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม

ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านหนองสูงมีทั้งหมด 2,232 คน เรณูนครเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงและเอกลักษณ์โดดเด่นในฐานะเมืองผู้ไท เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนมที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวผู้ไทกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีมากที่สุดรองลงมาจากกลุ่มชาวลาวซึ่งเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองเดิม มีภาษาพูดและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะของตนเอง โดยในภาคอีสานจะมีชุมชนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทอาศัยอยู่มากและมีฐานะเป็นเมืองในอดีต ได้แก่ เมืองวาริชภูมิ เมืองหนองสูง เมืองพรรณนานิคม เมืองกุดสิมนารายณ์ เมืองเหล่านี้ประชากรดั้งเดิมล้วนอพยพมาจากแถบเมืองวังอ่างคำฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง

ผู้ไท
  • กลุ่มอาชีพ สตรีทอผ้าและแปรรูปผ้าเพื่อจำหน่าย

  • กลุ่มอนุรักษ์ดนตรีพื้นเมืองบ้านภูไท

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และอุตสาหกรรมในครัวเรือนเช่น การทอผ้า จักรสาน การค้าขาย โดยเน้นการทำนาเป็นอาชีพหลัก

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนเรณูเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านชาติพันธุ์ผู้ไทที่โดดเด่นซึ่งทุนชุมชนที่ทำให้สามารถมองเห็นภาพชัดเจนคือวัฒนธรรมของชาวผู้ไทที่ยังคงอยู่ด้านภาษาพูด การแต่งกาย ตลอดจนสถาปัตยกรรมบ้านเรือน แม้จะมีการพัฒนาในรูปแบบใหม่แต่ก็ยังมีสภาพความเป็นผู้ไทหลงเหลืออยู่ นอกจากนั้นยังมีสถานที่สำคัญที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมคือพระธาตุเรณู          

  • พระธาตุเรณู สร้างราวปี พ.ศ.2460-2463 องค์พระธาตุจำลองมาจากพระธาตุพนมองค์เต็ม ก่อนที่กรมศิลปากรจะเข้ามา บูรณะในปี พ.ศ.2493 แต่มีขนาดเล็กกว่า ภายในบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน เครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยา และเจ้าเมือง และของมีค่าที่ประชาชนมีศรัทธาบริจาค ต่อมาได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในปี พ.ศ.2559  ภายในโบสถ์เป็นที่ประดิษฐานพระองค์แสน พระคู่บ้านคู่เมืองเรณูนคร พระพุทธรูปศิลปะแบบลาว ปางสมาธิ พุทธลักษณะสวยงามมากพระธาตุเรณูนอกจากเป็นพระธาตุประจำเมืองเรณูนครแล้ว ยังเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันจันทร์

ภาษาที่ใช้ในชุมชนสำหรับคนในชุมชนสื่อสารกันจะใช้ภาษาผู้ไท และยังสามารถใช้ภาษากลางกับบุคลทั่วไปที่เดินทางมาท่องเที่ยวในชุมชนได้


จากการเปลี่ยนแปลงจากบ้านเรณูสู่เทศบาลเรณูนครนั้นสร้างความเปลี่ยนแปลงกับชุมชนเป็นอย่างมากเนื่องจากงบประมาณที่เข้ามาพัฒนาด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานมีมากขึ้นทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนมีการขยายตัวไปตามเส้นทางคมนาที่เป็นเส้นทางหลัก มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนน การวางแนวสายไฟฟ้า ปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้านเรือน ในย่านมี่มีการค้าขายมีการปรับเปลี่ยนย่านเรือนเป็นตึกแถว ส่วนย่านชุมชนเก่าก็มีการปรับเปลี่ยนบ้านเรือนเป็นร้านค้าเพื่อค้าขายตามถนัด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สุจิต บุตรประเสริฐ. (2533). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เป็นผลมาจากการพัฒนาการท่องเที่ยว : การศึกษาเฉพาะกรณีบ้านเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดี(เน้นสังคมศาสตร์).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อัครพล อ่อนประทุม. (2556). การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเรณูนคร จังหวัดนครพนม.วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาการการวางแผนภาคและเมือง.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อบต.เรณู โทร. 0-4257-9554