Advance search

ชุมชนที่มีความเป็นมาก่อนการตั้งเมืองมหาสารคาม มีการเคลื่อนย้ายชุมชนจนสามารถหาทำเลที่ตั้งชุมชนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนพื้นที่ปัจจุบันสามารถรองรับการขยายตัวของเมืองมหาสารคาม

บ้านส่องใต้
ตลาด
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
เทศบาลมหาสารคาม โทร. 0-4372-5573-8
ณัฐพล นาทันตอง
13 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
27 เม.ย. 2023
บ้านส่องใต้

หลังจากการเลือกพื้นที่ตั้งบ้านแล้วขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านจึงการือกันเพื่อหาวิธีและได้ใช้วิธีเชิญหมอลำส่องจากบ้านลิงส่อง เพื่อตั้งพิธีเสี่ยงทายโดยการโยนไข่เมื่อไข่แตกตรงไหนตรงนั้นจะมีน้ำออกมา ซึ่งเมื่อขุดแล้วหนองน้ำแห่งนี้มีน้ำขึ้นและเมื่อน้ำหมดทุกวันพระจะมีน้ำผุดขึ้นมาเติมตลอด ชาวบ้านจึงตั้งชื่อบ้านว่าบ้านส่อง


ชุมชนที่มีความเป็นมาก่อนการตั้งเมืองมหาสารคาม มีการเคลื่อนย้ายชุมชนจนสามารถหาทำเลที่ตั้งชุมชนได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนพื้นที่ปัจจุบันสามารถรองรับการขยายตัวของเมืองมหาสารคาม

บ้านส่องใต้
ตลาด
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
44000
16.1651721
103.3292404
เทศบาลเมืองมหาสารคาม

เมื่อปี พ.ศ.2339 มีบุคคลสำคัญ 5 ท่าน เดินทางมาจากเมืองสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดมาตั้งหลักแหล่งอยู่ริมห้วยคะคางระหว่างเดิ่นคลีและท่าสิม ทั้ง 5 ท่านปรากฏนามว่า พ่อหลวงวัง พ่อราชสงคราม พ่อสิทธิ พ่อสา และหลวงพ่อไต้ พร้อมชาวบ้านจำนวน 18 ครอบครัว เดินทางมาโดยทางเกวียนครอบครัวละเล่มเกวียน มีพระเถระมาด้วยท่านหนึ่งมีนามว่า หลวงพ่อไต้ จึงได้ตั้งรกรากอยู่ระหว่างเดิ่นคลีและท่าสิม และหลวงพ่อไต้ได้สร้างวัดอยู่ริมห้วยคะคางทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ต่อมาประชาชนก็เพิ่มขึ้นมากตามลำดับ

เมื่อ พ.ศ.2349 ได้เกิดโรคห่าลงเมืองชาวบ้านจึงได้อพยพหนีโรคห่ามาตั้งรกรากอยู่ที่ใหม่โดยตั้งชื่อบ้านว่าบ้านเหล่าหนาด(ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกของโรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย) หลังจากโรคห่าสงบลงประชาชนส่วนหนึ่งได้อพยพกลับมาอยู่บ้านเดิมแต่อยู่ห่างจากลำห้วยเพื่อไม่ให้น้ำท่วม จุดที่อพยพไปอยู่มีต้นแมดมากจึงเรียกพื้นที่บริเวณใหม่นี้ว่า “บ้านแมด” ประชาชนส่วนหนึ่งย้ายไปอยู่ดงยางใหญ่(ปัจจุบันคือบ้านนางใย) ส่วนหนึ่งไปอยู่บ้านดงจาน(ปัจจุบันคือคุ้มอภิสิทธิ์) และต่อมาบ้านเหล่าหนาดได้ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านจึงหารือกันเพื่อหาวิธีให้มีน้ำกินน้ำใช้ จากนั้นจึงไปอัญเชิญหมอลำส่องมาจากบ้านลิงส่อง มาตั้งพิธีเสี่ยงโดยโยนไข่ ถ้าไข่แตกตรงไหนแสดงว่าตรงนั้นมีน้ำออก พอดีไข่แตกที่ดอนปู่ตาซึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวบ้านจึงช่วยกันขุดลงไปได้ประมาณ 8 เมตร ไม่มีน้ำออกหมอธรรมและชาวบ้านจึงนำเอาคล้อง-กลองไปแห่ เอาน้ำที่ห้วยปู่พึ่ม(ปัจจุบันคือบ้านท่าแร่) จึงมีน้ำออกมาให้ชาวบ้านได้ใช้ ซึงมีหลายหมู่บ้านมาใช้หนองน้ำแห่งนี้ร่วมกันคือ บ้านดงน้อย บ้านเชียงเหียน บ้านติ้ว บ้านหม้อ และบ้านแมด ทำให้น้ำในบ่อไม่พอใช้ แต่มีเรื่องแลกวันไหนน้ำในบ่อแห้งขอด และตรงกับวันพระก็จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาไม่นานน้ำก็ตกตะกอนและใสเหมือนเดิม ชาวบ้านจึงมีน้ำกินน้ำใช้ไม่ขาดแคลน ต่อมาชาวบ้านรู้สึกว่าอยู่ห่างจากบ่อน้ำมากเกินไปจึงได้อพยพมาอยู่ใกล้กับบ่อน้ำ โดยปล่อยให้บ้านเหล่าหนาดเป็นบ้านร้างชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บ้านเหล่าหนาดเดิมว่าดงบ้าน ต่อมาได้ตั้งชื่อบ้านใหม่ว่าบ้านส่อง และเริ่มมีประชากรมาเพิ่มมากขึ้น มีการขยายครัวเรือนกลับาอยู่ที่ดงบ้าน กระทั่งปี พ.ศ.2538 ได้แบ่งเป็น 2 ชุมชนคือ ชุมชนส่องเหนือ และชุมชนส่องใต้

การเลือกพื้นที่ในการตั้งหมู่บ้านทั้งสองชุมชนบ้านแมดและบ้านส่องเหนือมีนัยยะใกล้เคียงกัน กล่าวคือ เลือกทำเลที่ใกล้เคียงแหล่งน้ำเพียงพอในฤดูแล้ง คือ ห้วยคะคาง มีพื้นที่ทุ่งสำหรับทำนาและการเกษตรอื่นๆคือ การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ทำให้คนทั้งสองชุมชนและชุมชนใกล้เคียงสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากห้วยคะคางได้ ที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่เนินสูงน้ำท่วมไม่ถึงในฤดูฝน ในอดีตเป็นบ้านยกพื้นใต้ถุนสูงโล่งใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือการเกษตรและเป็นพื้นที่คอกสัตว์ การก่อสร้างบ้านเรือนมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและระหว่างชุมชนไม่ห่างกันมากนักเนื่องจากง่ายต่อการระวังภัย

ในปีพ.ศ. 2480 ในฐานะคุ้มเทศบาลบ้านส่อง ทั้งนี้ก่อนมีฐานะเป็นเพียงบ้านส่องหมู่ที่ 12(เรียกรวมทั้งส่องเหนทอและส่องใต้) ภายหลังเมื่อจำนวนผู้คนเพิ่มมากขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2526 ซึ่งเวลานั้นคุ้มบ้านส่องมีนายดี เดชศิริเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองหมู่บ้านคือบ้านส่องใต้ และบ้านส่องเหนือ โดยจัดให้มีผู้ใหญ่บ้านปกครองบ้านละคน ซึ่งผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านส่องใต้คือนายผล ไชยเทพ ต่อมา พ.ศ.2536 เทศบาลได้เข้ามาดำเนินการขยายเขตการปกครองคุ้มเทศบาลบ้านส่องออกเป็น 2 คุ้มคือ คุ้มส่องเหนือกับคุ้มส่องใต้

ดังนั้นจากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นถึงความพยายามในการปรับตัวและแก้ไขปัญหาของคนตามสภาพเงื่อนไขธรรมชาติรอบตัวในแต่ละช่วงเวลาหลายครั้ง เพื่อให้ตนเองสามารถดำรงอยุ่ได้จนกระทั่งลงตัว กล่าวคือตั้งบ้านอยู่ใกล้น้ำ อยู่บนที่สูง เนิน น้ำท่วมไม่ถึง และสามารถบุกเบิกเป็นแหล่งทำกินได้ใช้เป็น นา เป็นสวนและมีป่าโคกคือ ป่าดงบ้าน และ ดงหัวบ่อ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญของชุมชนบ้านส่องในอดีตถึงปัจจุบัน

ชุมชนชนบ้านส่องใต้เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยาวนานตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งขึ้นก่อนตั้งเมืองมหาสารคามจะยกฐานะขึ้นเป้นเมือง ทำเลที่ตั้งของชุมชนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองจังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างไปประมาณ 5 กิโลเมตรและทางทิศเหนือชุมชนติดลำห้วยคะคาง อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ          ติดกับ   บ้านแมด

  • ทิศตะวันออก    ติดกับ   บ้านส่องเหนือ

  • ทิศตะวันตก      ติดกับ   บ้านนางใย

  • ทิศใต้             ติดกับ   บ้านแวงน่าง

ชุมชนส่องใต้ มีครัวเรือนทั้งหมด 285 ครัวเรือน มีประชากรอาศัยอยู่ทั้งหมดจำนวน 1,089 คน แยกเป็นเพศชายจำนวน 518 คน เพศหญิงจำนวน 571 คน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านส่องใต้อาชีพหลักส่วนมากคือการค้าขายและรับราชการ ในด้านอาชีพเสริมมีการทำเกษตรกรรม ควบคู่ไปกับการทำอาชีพเสริมด้านอื่นๆ เช่น ทำนา ค้าขาย เลี้ยงสัตว์หรือรับจ้างอุตสาหกรรมในครัวเรือน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนชุมชนที่สำคัญคือการอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สำคัญคือห้วยคะคางและมีหนองน้ำประจำหมู่บ้านที่เกิดจากความเชื่อว่าน้ำในหนองแห่งนี้จะไม่มีวันหมดและจะผุดขึ้นมาในวันพระและมีวัดประจำชุมชนคือวัดบูรพารามส่องใต้ ตั้งอยู่เลขที่ 2215 ชุมชนส่องใต้ ถนนนครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่กว่า 8 ไร่ปัจจุบัน พระครูสุตบูรพาภิมณฑ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบูรพาราม นับเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม ก่อตั้งมาพร้อมกับการตั้งชุมชนบ้านส่อง เมื่อกว่าร้อยปีที่ผ่านมา สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่กับวัดแห่งนี้ คือ “หลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 22 นิ้ว รวมฐานจะสูง 37 นิ้ว เป็นศิลปะลาว สกุลช่างหลวงพระบาง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอาณาจักรล้านช้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่ 21-23 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ขณะเป็นกษัตริย์ครองเมืองหลวงพระบาง ต่อมาถูกพม่ายกทัพมาตีเมืองหลวงพระบาง พระองค์ได้อพยพผู้คนลงมาตั้งเมืองใหม่ ชื่อ เวียงจันทน์บุรีศรีสัตนาค การอพยพครั้งนี้ได้มีการนำหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง รวมทั้งพระพุทธรูปอื่นมาด้วย

ราวปี พ.ศ.2233 หลังการสวรรคตของพระเจ้าสุริยวงษา เกิดจลาจลชิงราชสมบัติเมืองเวียงจันทน์ ขุนนางผู้ใหญ่ยึดอำนาจได้สำเร็จ ทำให้พระนางสุมังคละ ราชธิดาของพระเจ้าสุริยวงษาหนีออกไปขอความช่วยเหลือจากหลวงพ่อวัดโพนสะเม็ก ซึ่งชาวเวียงจันทน์ให้ความเคารพศรัทธาอย่างยิ่ง

หลวงพ่อวัดโพนสะเม็กพิจารณาเห็นว่าเป็นคราวเคราะห์กรรมของบ้านเมือง จึงได้พาพระนางสุมังคละและญาติโยมทั้งบริวารอพยพออกจากเวียงจันทน์พร้อมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่งรวมอยู่ด้วย ลงมาตามลุ่มน้ำโขงและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นครจำปาสัก

ต่อมาได้แบ่งผู้คนออกไปตั้งเป็นชุมชนสำคัญๆ อาทิ อาจารย์แก้ว หรือ เจ้าแก้วมงคล ไปตั้งเมืองที่บ้านทุ่ง ต่อมากลายเป็นเมืองสุวรรณภูมิ (ปัจจุบันคือ อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด) เมื่อประชากรมากขึ้นได้แยกย้ายกันออกไปตั้งเป็นเมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เป็นต้น

ประมาณปี พ.ศ.2345 ได้มีชาวบ้านจากบ้านหนองบัวและหมู่บ้านใกล้เคียงแถบเมืองสุวรรณภูมิ ประมาณ 18 ครอบครัว มีพระสงฆ์ชื่อหลวงพ่อใต้ พร้อมอัญเชิญหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่งมาด้วยอพยพหนีความแห้งแล้ง ย้ายทำมาหากินที่อุดมสมบูรณ์จนมาถึงบริเวณเนินสูงใกล้ห้วยคะคางจึงตั้งชุมชนขึ้นที่นี่ ซึ่งบริเวณนั้นมีต้นคอแมด จึงเรียกชื่อ บ้านแมด แต่ต่อมาได้เกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายจำนวนมาก จึงได้อพยพมาตั้งอยู่ที่แห่งใหม่ซึ่งเป็นบ้านส่อง หรือชุมชนส่องเหนือชุมชนส่องใต้ เขตเทศบาลเมืองมหาสารคามในปัจจุบัน

พระครูสุตบูรพาภิมณฑ์เล่าว่า หลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่งประดิษฐานอยู่ที่วัดบูรพารามแห่งนี้ ช่วงแรกไม่ได้ชื่อว่าหลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง เดิมชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อขี้ครั่ง เนื่องจากสีผิวขององค์หลวงพ่อจะออกดำคล้ายสีครั่ง ต่อในปีพ.ศ.2559 ได้มีการขอให้ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามศึกษาพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปองค์นี้ ทางญาติโยมชาวบ้านส่องใต้และรวมทั้งคณะสงฆ์เห็นว่าควรตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ใหม่เพื่อความเป็นมงคลว่า “หลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง” หมายถึงความมั่งคั่งมั่งมีศรีสุข

          

ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ใช้ภาษาอีสานหรือภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร


การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชุมชนบ้านส่องใต้คือการเปลี่ยนแปลงเรื่องการขยายตัวของชุมชน ซึ่งเห็นภาพชัดเจนว่าเมื่อมีโรคระบาด น้ำท่วม ชุมชนก็จะย้ายหาที่อยู่ใหม่เพื่อหลีกหนีภัยธรรมชาติ และเมื่อมีการพัฒนาด้านการคมนาคม ชุมชนก็มีการขยับขยายเพื่อสร้างความเป็นระเบียบและนำความเจริญเข้าสู่ชุมชน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะและคณะ. (2546). พิพิธภัณฑ์ ศูนย์รวมนง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จังหวัดมหาสารคาม.พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แววตา สุวรรณรินทร์. (2552). กระบวนการถ่ายทอดความรู้เรื่องผักพื้นบ้านจากแมคไปสู่ บ้านส่องเหนือ ตำบล      ตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร มหาวิยาลัยเชียงใหม่.

เชิด ขันตี ณ พล. (2562).วัดบูรพารามพุทธาภิเษก “หลวงพ่อพระพุทธมั่งคั่ง”.ค้นเมื่อ 27 เมษายน 2566, https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/.

         

เทศบาลมหาสารคาม โทร. 0-4372-5573-8