ชุมชนชานเมืองที่มีความเป็นมายาวนานก่อนการตั้งเมืองมีการเคลื่อนย้ายพื้นที่เพื่อหาพื้นที่ตั้งบ้านที่เหมาะสมกับการตั้งบ้านเรือนในทุกๆด้าน ปัจจุบันยังเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมืองมหาสารคามที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ
หลังจากการเลือกพื้นที่ตั้งบ้านแล้วขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านจึงการือกันเพื่อหาวิธีและได้ใช้วิธีเชิญหมอลำส่องจากบ้านลิงส่อง เพื่อตั้งพิธีเสี่ยงทายโดยการโยนไข่เมื่อไข่แตกตรงไหนตรงนั้นจะมีน้ำออกมา ซึ่งเมื่อขุดแล้วหนองน้ำแห่งนี้มีน้ำขึ้นและเมื่อน้ำหมดทุกวันพระจะมีน้ำผุดขึ้นมาเติมตลอด ชาวบ้านจึงตั้งชื่อบ้านว่าบ้านส่อง
ชุมชนชานเมืองที่มีความเป็นมายาวนานก่อนการตั้งเมืองมีการเคลื่อนย้ายพื้นที่เพื่อหาพื้นที่ตั้งบ้านที่เหมาะสมกับการตั้งบ้านเรือนในทุกๆด้าน ปัจจุบันยังเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของเมืองมหาสารคามที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อปี พ.ศ.2339 มีบุคคลสำคัญ 5 ท่าน เดินทางมาจากเมืองสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดมาตั้งหลักแหล่งอยู่ริมห้วยคะคางระหว่างเดิ่นคลีและท่าสิม ทั้ง 5 ท่านปรากฏนามว่า พ่อหลวงวัง พ่อราชสงคราม พ่อสิทธิ พ่อสา และหลวงพ่อไต้ พร้อมชาวบ้านจำนวน 18 ครอบครัว เดินทางมาโดยทางเกวียนครอบครัวละเล่มเกวียน มีพระเถระมาด้วยท่านหนึ่งมีนามว่า หลวงพ่อไต้ จึงได้ตั้งรกรากอยู่ระหว่างเดิ่นคลีและท่าสิม และหลวงพ่อไต้ได้สร้างวัดอยู่ริมห้วยคะคางทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ต่อมาประชาชนก็เพิ่มขึ้นมากตามลำดับ
เมื่อ พ.ศ.2349 ได้เกิดโรคห่าลงเมืองชาวบ้านจึงได้อพยพหนีโรคห่ามาตั้งรกรากอยู่ที่ใหม่โดยตั้งชื่อบ้านว่าบ้านเหล่าหนาด (ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันออกของโรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย) หลังจากโรคห่าสงบลงประชาชนส่วนหนึ่งได้อพยพกลับมาอยู่บ้านเดิมแต่อยู่ห่างจากลำห้วยเพื่อไม่ให้น้ำท่วม จุดที่อพยพไปอยู่มีต้นแมดมากจึงเรียกพื้นที่บริเวณใหม่นี้ว่า “บ้านแมด” ประชาชนส่วนหนึ่งย้ายไปอยู่ดงยางใหญ่ (ปัจจุบันคือบ้านนางใย) ส่วนหนึ่งไปอยู่บ้านดงจาน (ปัจจุบันคือคุ้มอภิสิทธิ์) และต่อมาบ้านเหล่าหนาดได้ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านจึงหารือกันเพื่อหาวิธีให้มีน้ำกินน้ำใช้ จากนั้นจึงไปอัญเชิญหมอลำส่องมาจากบ้านลิงส่อง มาตั้งพิธีเสี่ยงโดยโยนไข่ ถ้าไข่แตกตรงไหนแสดงว่าตรงนั้นมีน้ำออก พอดีไข่แตกที่ดอนปู่ตาซึ่งห่างจากหมู่บ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ชาวบ้านจึงช่วยกันขุดลงไปได้ประมาณ 8 เมตร ไม่มีน้ำออกหมอธรรมและชาวบ้านจึงนำเอาคล้อง-กลองไปแห่ เอาน้ำที่ห้วยปู่พึ่ม (ปัจจุบันคือบ้านท่าแร่) จึงมีน้ำออกมาให้ชาวบ้านได้ใช้ ซึงมีหลายหมู่บ้านมาใช้หนองน้ำแห่งนี้ร่วมกันคือ บ้านดงน้อย บ้านเชียงเหียน บ้านติ้ว บ้านหม้อ และบ้านแมด ทำให้น้ำในบ่อไม่พอใช้ แต่มีเรื่องแลกวันไหนน้ำในบ่อแห้งขอด และตรงกับวันพระก็จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาไม่นานน้ำก็ตกตะกอนและใสเหมือนเดิม ชาวบ้านจึงมีน้ำกินน้ำใช้ไม่ขาดแคลน ต่อมาชาวบ้านรู้สึกว่าอยู่ห่างจากบ่อน้ำมากเกินไปจึงได้อพยพมาอยู่ใกล้กับบ่อน้ำ โดยปล่อยให้บ้านเหล่าหนาดเป็นบ้านร้างชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บ้านเหล่าหนาดเดิมว่าดงบ้าน ต่อมาได้ตั้งชื่อบ้านใหม่ว่าบ้านส่อง และเริ่มมีประชากรมาเพิ่มมากขึ้น มีการขยายครัวเรือนกลับาอยู่ที่ดงบ้าน กระทั่งปี พ.ศ.2538 ได้แบ่งเป็น 2 ชุมชนคือ ชุมชนส่องเหนือ และชุมชนส่องใต้
การเลือกพื้นที่ในการตั้งหมู่บ้านทั้งสองชุมชนบ้านแมดและบ้านส่องเหนือมีนัยยะใกล้เคียงกัน กล่าวคือ เลือกทำเลที่ใกล้เคียงแหล่งน้ำเพียงพอในฤดูแล้ง คือ ห้วยคะคาง มีพื้นที่ทุ่งสำหรับทำนาและการเกษตรอื่นๆคือ การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ทำให้คนทั้งสองชุมชนและชุมชนใกล้เคียงสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากห้วยคะคางได้ ที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่เนินสูงน้ำท่วมไม่ถึงในฤดูฝน ในอดีตเป็นบ้านยกพื้นใต้ถุนสูงโล่งใช้เป็นที่เก็บเครื่องมือการเกษตรและเป็นพื้นที่คอกสัตว์ การก่อสร้างบ้านเรือนมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและระหว่างชุมชนไม่ห่างกัมากนักเนื่องจากง่ายต่อการระวังภัย
ชุมชนชนบ้านส่องเหนือเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีประวัติการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่ยาวนานตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งขึ้นก่อนตั้งเมืองมหาสารคามจะยกฐานะขึ้นเป้นเมือง ทำเลที่ตั้งของชุมชนตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมืองจังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างไปประมาณ 5 กิโลเมตรและทางทิศเหนือชุมชนติดลำห้วยคะคาง อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านแมด
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านส่องใต้
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านนางใย
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านแวงน่าง
ชุมชนส่องเหนือ มีครัวเรือนทั้งหมด 292 ครัวเรือน มีประชากรอาศัยอยู่ทั้งหมดจำนวน 1,221 คน แยกเป็นเพศชายจำนวน 601 คน เพศหญิงจำนวน 620 คน
กลุ่มอาชีพ
- ปลูกผัก
- สมุนไพรพื้นบ้าน
อาชีพหลักส่วนมาก คือการค้าขายและรับราชการ การทำเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการทำอาชีพเสริมด้านออื่นๆ เช่น ทำนา ค้าขาย เลี้ยงสัตว์หรือรับจ้างอุตสาหกรรมในครัวเรือน
ทุนชุมชนที่สำคัญคือการอยู่ใกล้แหล่งน้ำที่สำคัญ คือห้วยคะคาง และมีหนองน้ำประจำหมู่บ้านที่เกิดจากความเชื่อว่าน้ำในหนองแห่งนี้จะไม่มีวันหมดและจะผุดขึ้นมาในวันพระ
ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ใช้ภาษาอีสานหรือภาษาท้องถิ่นในการสื่อสาร
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชุมชนบ้านส่องเหนือคือการเปลี่ยนแปลงเรื่องการขยายตัวของชุมชน ซึ่งเห็นภาพชัดเจนว่าเมื่อมีโรคระบาด น้ำท่วม ชุมชนก็จะย้ายหาที่อยู่ใหม่เพื่อหลีกหนีภัยธรรมชาติ และเมื่อมีการพัฒนาด้านการคมนาคม ชุมชนก็มีการขยับขยายเพื่อสร้างความเป็นระเบียบและนำความเจริญเข้าสู่ชุมชน
แววตา สุวรรณรินทร์. (2552). กระบวนการถ่ายทอดความรู้เรื่องผักพื้นบ้านจากแมคไปสู่ บ้านส่องเหนือ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร.มหาวิยาลัยเชียงใหม่.
เทศบาลเมืองมหาสารคาม. (2564)."คุณธรรมดี มีทักษะพื้นฐาน ด้านอาชีพ"โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใยสังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม.[ออนไลน์].facebook.https://www.facebook.com/photo/?.