
ชุมชนบ้านหนองหลัก มีจุดเด่นในด้านการอนุรักษ์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ หอพระไตรปิฏกหลักคำจันทร์ ที่เป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาและการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมและจัดกิจกรรมทางศาสนาในชุมชน นอกจากนี้ยังมีวิถีชีวิตเกษตรกรรมแบบยั่งยืนและการร่วมมือในชุมชนที่เข้มแข็ง
เกิดมีช้างป่าออกอาละวาดชาวบ้านจึงอพยพหลบหนี ด้วยเหตุดังกล่าว ชาวบ้านนาคำจึงย้ายถิ่นอพยพไปอยู่ที่บ้านหนองขุ่นบ้าง บ้านป่ากุงบ้าง ส่วนอีกกลุ่มประมาณ 10 ครอบครัว นำโดยก๊วนบ้านคือท้าวเพเมืองและท้าวโคตตะได้พาพวกอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพนสิม คุ้มป่าอ้อ (ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของวัดหนองหลักปัจจุบัน) ส่วนชาวบ้านโพนสิมอาจจะย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือถูกกลืนก็ไม่ทราบแน่ชัด เพราะว่าชาวบ้านนาคำย้ายเข้ามาเรื่อย ๆ ผู้มาอยู่ใหม่จึงตั้งชื่อบ้านใหม่ตามหนองช้างหมู่บ้านที่ใช้เป็นหลักในการตั้งหมู่บ้านว่า "บ้านหนองหลัก"
ชุมชนบ้านหนองหลัก มีจุดเด่นในด้านการอนุรักษ์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ หอพระไตรปิฏกหลักคำจันทร์ ที่เป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาและการเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการปฏิบัติธรรมและจัดกิจกรรมทางศาสนาในชุมชน นอกจากนี้ยังมีวิถีชีวิตเกษตรกรรมแบบยั่งยืนและการร่วมมือในชุมชนที่เข้มแข็ง
บรรพบุรุษของชาวบ้านหนองหลักนั้นเดิมเป็นชาวบ้านนาคำ ซึ่งอยู่ทิศตะวันออกของบ้านหนองขุ่น ปัจจุบันห่างจากบ้านหนองขุ่นประมาณ 20 เส้น (วัดป่าโพธิ์ศรี บ้านหนองขุ่นปัจจุบัน) ต่อมาได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านโพนสิม (บ้านหนองหลักปัจจุบัน) ซึ่งสาเหตุที่ย้ายสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากสาเหตุ 3 ประการ คือ
- เกิดสงครามกับชาวบ้านค้อใหญ่ดอนชัย (ลืออำนาจ ปัจจุบัน) ดังมีคำกล่าวว่า "ศึกบ้านค้อย่อใส่นาคำ" ชาวบ้านนาคำอาจพ่ายแพ้หรืออาจจะหลีกหนีภัยสงครามจึงได้หลบหนี
- หมู่บ้านนาคำห่างจากที่ทำมาหากินเนื่องจากไม่มีความอุดมสมบูรณ์เพราะเป็นที่ดอนจึงย้ายเพื่อหาสถานที่ที่อุดมสมบูรณ์
- เกิดมีช้างป่าออกอาละวาดชาวบ้านจึงอพยพหลบหนี ด้วยเหตุดังกล่าวชาวบ้านนาคำจึงอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ที่บ้านหนองขุ่นบ้าง บ้านป่ากุงบ้าง ส่วนอีกกลุ่มประมาณ 10 ครอบครัว นำโดยก๊วนบ้านคือท้าวเพเมืองและท้าวโคตตะ ได้พาพวกอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพนสิม คุ้มป่าอ้อ (ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของวัดหนองหลักปัจจุบัน) ส่วนชาวบ้านโพนสิมอาจจะย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือถูกกลืนก็ไม่ทราบแน่ชัด เพราะว่าชาวบ้านนาคำย้ายเข้ามาเรื่อย ๆ ผู้มาอยู่ใหม่จึงตั้งชื่อบ้านใหม่ตามหนองข้างหมู่บ้านที่ใช้เป็นหลักในการตั้งหมู่บ้านว่า "บ้านหนองหลัก" โดยมีท้าวเพเมืองเป็นผู้ปกครองต่อมาราว พ.ศ. 2352 ท้าวเพเมืองได้ถึงแก่กรรมชาวบ้านจึงตั้งให้ท้าวโคตตะเป็นผู้ปกครองต่อมาได้ยกขึ้นเป็นท้าวโคตรหลักคำและถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2419 เมื่อท้าวโคตรหลักคำถึงแก่กรรมลง ชาวบ้านได้เปลี่ยนการเรียกผู้ปกครองท้าวโคตหลักคำมาเป็น กำนันหมู่บ้านหนึ่งมีกำนันได้คนหนึ่ง มีพ่อบ้านได้ไม่กำหนด สมัยนั้นมีนายที เป็นกำนันผู้ใหญ่ มีผู้ใหญ่โงน พรพิพัฒน์ ผู้ใหญ่ดวงบุปผาเป็นผู้ปกครองสืบต่อมา จ่าบ้าน มีหน้าที่ประกาศข่าวแจ้งข่าวฉุกเฉินชาวบ้านเรียก "จ่าเติน"
ปัจจุบันบ้านหนองหลัก แบ่งเป็น 3 หมู่คือ หมู่ 2 นางมณี เมืองมูล เป็นผู้ใหญ่บ้าน, หมู่ 9 นายสมบัติ อัฒจักร เป็นผู้ใหญ่บ้าน, หมู่ 12 นายสุวรรณ ราศรี เป็นผู้ใหญ่บ้าน
สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ภายในชุมชน เหมาะแก่การเพาะปลูกพืช และทำนา ทำสวน ทำไร่ และการเกษตรต่าง ๆ มีปริมาณน้ำจากคลองส่งน้ำตลอดทั้งปี สภาพดินอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมสะดวก
พื้นที่อาณาเขตติดต่อ
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านสงยาง หมู่ที่ 10 ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านยางน้อย หมู่ที่ 8 ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านหนองแสง หมู่ที่ 2 ตำบลดุมใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองขุ่น หมู่ที่ 11 ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้านใช้การคมนาคมทางบกโดยทางรถยนต์ ในการติดต่อและขนส่งผลิตผลทางการเกษตรโดยมีเส้นทางที่สำคัญดังนี้
- ถนนชยางกูร หมายเลข 212 เชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดอุบลราชธานี
- ถนนบ้านหลักชัย หมายเลข 2210 เชื่อมการคมนาคมระหว่างอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ และตำบลเหล่าบก ไปจังหวัดอำนาจเจริญ
- ถนนสายบ้านหลักชัย ดุมใหญ่ หมายเลข 5175 เชื่อมการคมนาคมระหว่าง ตำบลเหล่าบก ตำบลดุมใหญ่
- ถนนสายบ้านหนองหลัก หมายเลข 3007 เชื่อมระหว่างตำบลเหล่าบก ตำบลยางโยภาพ
การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (เอกชน) 1 แห่ง
- สถานีโทรคมนาคมอื่นๆ 1 แห่ง
แหล่งน้ำตามธรรมชาติ
- ลำห้วย จำนวน 5 แห่ง
- ลำเซบก จำนวน 1 แห่ง
- บึง หนอง และอื่น ๆ จำนวน 30 แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ทรัพยากรดิน สภาพดินส่วนใหญ่มีสภาพเป็นดินทราย
- ทรัพยากรน้ำ มีลำเซบกไหลผ่านทางทิศเหนือและลำห้วยเวียงหลวงไหล ผ่านตรงกลางตำบล สภาพน้ำใต้ดินส่วนใหญ่สภาพเป็นน้ำเค็ม
สถานที่สำคัญในชุมชน
หอพระไตรปิฎกหลักคำจันทร์
วัดหนองหลัก จ.อุบลราชธานี มีหอไตรปิฎกหลักคำจันทร์ ที่สวยงามเอกลักษณ์เฉพาะของหอพระไตรฯ เสาธรรมจักรมี 8 เสาหมายถึง อริยมรรคมีองค์ 8 เสาไฟด้านทิศใต้รูปโคเป็นสัญลักษณ์พาหนะที่หลวงปู่หลักคําจันทร์ใช้ในการขนพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ ด้านทิศตะวันตกเป็นรูปช้างเนื่องจากเจ้าอาวาสรูปที่ 2 เป็นชาวจังหวัดสุรินทร์และมีช้างเป็นพาหนะจึงใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ มีพญานาครอบหอไตรทั้งหมด 22 ตน ภายในหอไตรมี พระพุทธศรีมงคลโสตถิชัยประดิษฐานอยู่ ที่มาของใบลานวัดหนองหลักมีที่มาอย่างน้อย 4 แห่งด้วยกันทั้งนี้เพราะวัดหนองหลักเป็นสำนักเรียนเก่าที่มีศิษยานุศิษย์จำนวนมากเอกสารใบลานจึงมีความหลากหลายทั้งยุคสมัยและแหล่งที่มา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- ใบลานจากเวียงจันทน์ เอกสารใบลานที่มาจากเมืองเวียงจันทน์หรือเอกสารใบลานล้านช้างพบว่ามีจำนวนหนึ่งซึ่งระบุว่าผู้สร้างเป็นเจ้ามหาชีวิตเมืองเวียงจันทน์ทั้งนี้เพราะว่าเจ้าอาวาสรูปที่ 2 วัดหนองหลัก คือ พระครูหลักคำ (จันทร์) ได้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎก ถึงเวียงจันทน์และเมื่อเดินทางกลับได้นำพระไตรปิฎกกลับมาด้วย
- ใบลานจากภาคกลางของไทย เอกสารที่มาจากภาคกลางของไทย เนื่องจากพระอุปัชฌาย์บุดดี (ทิ้งชั่ว) เจ้าอาวาสรูปที่ 5 ได้เดินทางไปศึกษาที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาประมาณ พ.ศ. 2429-2434 เมื่อท่านกลับมาที่วัดหนองหลักได้เปิดสอนมูลกัจจายน์และอักษรไทยขึ้นซึ่งตอนที่ท่านกลับมาน่าจะมีการนำเอกสารโบลานอักษรขอมและตำราต่าง ๆ กลับมาด้วยจากการสำรวจในเบื้องต้นใบลานที่น่าจะนำมาจากภาคกลางของไทยส่วนใหญ่จารด้วยอักษรขอมไทยเช่น ทศชาติ (พระเจ้าสิบชาติ) ฎีกาวิภัตติกถาสารสังคหะ เป็นต้น
- ใบลานที่บูรพาจารย์วัดหนองหลักสร้าง วัดหนองหลักเป็นวัดสำนักเรียนเก่าจึงมีบูรพาจารย์หลายท่านที่เขียนเอกสารใบลานไว้ซึ่งบูรพาจารย์เหล่านี้เป็นพระภิกษุสามเณรที่อยู่ในวัดหนองหลักได้เขียนเอกสารใบลานโดยบางผูกได้ระบุชื่อไว้ในด้านหลังของใบลานหรือระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบทอวสานพจน์
- ใบลานที่มาจากพื้นที่ใกล้เคียง/ภาคอีสาน เอกสารใบลานจากพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งอาจจะเป็นหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น บ้านสงยางหรือในเมืองที่ใกล้เคียงกันเช่นเมืองเขมราฐซึ่งในเบื้องต้นได้พบเอกสารใบลานที่พระภิกษุเมืองเขมราฐได้เขียนไว้หนึ่งเรื่องคือ พระบาลีบุคคลบัญญัติ
โรงเรียนอรรคธรรมวิทยา
วัดหนองหลัก ตำบลเหล่าบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เดิมโรงเรียนแห่งนี้ มีชื่อว่า สำนักเรียนวัดหนองหลักพ่อท่านหลักคำ ได้ไปศึกษาเล่าเรียนที่นครเวียงจันทร์ ประเทศลาว กลับมาจึงได้เปิดสอนบาลีมูลกัจจายน์ และพระไตรปิฏกโรงเรียนอัครธรรมวิทยา ได้เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีนักเรียนทั้งหมด 30 รูป และเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปี พ.ศ. 2525
พ.ศ. 2536 เปิดศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี ได้ยกระดับเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลีประจำอำเภอ
พ.ศ. 2539 ได้ยกระดับเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัด โรงเรียนอัครธรรมวิทยา ได้เปิดดำเนินการสอนมาเป็นเวลานาน เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างและวัดพัฒนาดีเด่นในปี พ.ศ. 2539 มีนักเรียนจบไปสามารถสอบเข้าทำงานในภาครัฐเป็นจำนวนมากและสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งภาครัฐและเอกชนและทางโรงเรียนยังได้จัดโควต้ามหาวิทยาลัยของภาครัฐให้แก่นักเรียนมีสิทธิ์เป็นนักเรียนทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยด้วย นอกจากนี้ยังมีสถาบันรองรับเข้าศึกษาต่อ ปัจจุบันมีพระครูศรีธรรมวิบูล เป็นอาจารย์ใหญ่ พระครูสุตโชติธาดา เป็นผู้จัดการ
หน่วยงานท้องถิ่น
- ศูนย์ อปพร.ตำบลเหล่าบก
- ศูนย์ข้อมูลข่าวสารตำบลเหล่าบก
- ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ตำบลเหล่าบก
- ศูนย์เศรษฐกิจชุมชนระดับตำบล
มวลชนจัดตั้ง
- กลุ่มลูกเสือชาวบ้าน จำนวน 3 กลุ่ม 380 คน
- อปพร. จำนวน 5 รุ่น 113 คน
อาชีพ
ชุมชนบ้านหนองหลักประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำไร่ อาชีพรองมักจะเป็นงานฝีมือ เช่น การทอเสื่อ การทอผ้า เย็บพรมเช็ดเท้า เย็บหมวก
ชุมชนบ้านหนองหลัก ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเป็นสังคมวิถีพุทธ ยึดถือประเพณีตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ อย่างในเดือนกันยายน จะมีประเพณีบุญสารทเดือนสิบ บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญข้าวจี่ นอกจากนี้ยังมีวันขึ้นปีใหม่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันสงกรานต์ เป็นต้น
1.นางมณี เมืองมูล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2
2.นายสมบัติ อัฒจักร ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9
3.นายสุวรรณ ราศรี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 12
ทุนทางวัฒนธรรม
หอพระไตรปิฎกหลักคำจันทร์ สวยงามเอกลักษณ์เฉพาะของหอพระไตร ฯ เสาธรรมจักรมี 8 เสาหมายถึงอริยมรรคมีองค์ 8 เสาไฟด้านทิศใต้รูปโคเป็นสัญลักษณ์พาหนะที่หลวงปู่หลักคําจันทร์ใช้ในการขนพระไตรปิฎกและคัมภีร์ต่าง ๆ ด้านทิศตะวันตกเป็นรูปช้างเนื่องจากเจ้าอาวาสรูปที่ 2 เป็นชาวจังหวัดสุรินทร์และมีช้างเป็นพาหนะจึงใช้ช้างเป็นสัญลักษณ์ มีพญานาครอบหอไตรทั้งหมด 22 ตน ภายในหอไตรมีพระพุทธศรีมงคลโสตถิชัย ประดิษฐานอยู่ที่มาของใบลานวัดหนองหลักมีที่มาอย่างน้อย 4 แห่งด้วยกันทั้งนี้เพราะวัดหนองหลักเป็นสำนักเรียนเก่าที่มีศิษยานุศิษย์จำนวนมากเอกสารใบลานจึงมีความหลากหลายทั้งยุคสมัย เป็นสถานที่สำคัญที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้านชุมชนบ้านหนองหลัก
ทุนทางเศรษฐกิจ
- ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรวัดหนองหลัก
- พรมเช็ดเท้าจากเศษผ้า
- หมวกกระดาษ
- เสื่อกกเก็บลาย
ภาษาอีสาน (สำเนียงอุบล)
องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าบก. (ม.ป.ป.). ผลิตภัณฑ์ในตำบล. https://laobok.go.th/post/
องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าบก. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสภาพทั่วไป. https://laobok.go.th/page
บ้านเมือง. (25 เมษายน 2565). ไปเที่ยวชม "หอไตรกลางน้ำ" กราบไหว้ขอพร "พระพุทธศรีมงคลโสตถิชัย" ที่วัดหนองหลัก. บ้านเมือง. https://www.banmuang.co.th/news/region/
วัดหนองหลัก. (22 กรกฎาคม 2564). ประวัติบ้านหนองหลัก. Facebook. https://www.facebook.com/watnonglak/posts/
Editorpukmudmuangthai. (8 กันยายน 2563). วัดหนองหลัก. Pukmudmuangthai. https://pukmudmuangthai.com/