
เรื่องเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนที่สืบย้อนไปตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ชุมชนมีความหลากหลายของพืชพันธุ์ มีประเพณีท้องถิ่นที่น่าสนใจ เช่น ประเพณีทำบุญข้าวเปลือกหรือประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก ภูมิปัญญาสำคัญ เช่น การทำขันโตก
มีเรื่องเล่ากันมาว่า สมัยเมืองละโว้กำลังรุ่งเรือง และสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของขอม พระร่วงจึงส่งส่วยเป็นเครื่องบรรณาการ เมื่อพระร่วงเดินทางกลับสุโขทัยก็ต้องผ่านทางที่ขอมอาศัยอยู่ ซึ่งขอมทำนาได้ 1 ไร่ ได้ถูกพระร่วงลอบตีพ่ายไป ทุ่งที่เกิดการสู้รบในสมัยนั้นเรียกว่า "ทุ่งขอม" หรือ "ทุ่งนาขอม" ปัจจุบันจึงเรียกบ้านที่ตั้งอยู่บริเวณทุ่งนั้นว่า "บ้านนาขอม"
เรื่องเล่าประวัติศาสตร์ของชุมชนที่สืบย้อนไปตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ชุมชนมีความหลากหลายของพืชพันธุ์ มีประเพณีท้องถิ่นที่น่าสนใจ เช่น ประเพณีทำบุญข้าวเปลือกหรือประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก ภูมิปัญญาสำคัญ เช่น การทำขันโตก
ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม (ม.ป.ป. (ฌ)) ระบุว่า สมัยเมืองละโว้กำลังรุ่งเรือง และสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของขอม พระร่วงจึงส่งส่วยเป็นเครื่องบรรณาการ เมื่อพระร่วงเดินทางกลับสุโขทัยก็ต้องผ่านทางที่ขอมอาศัยอยู่ ซึ่งขอมทำนาได้ 1 ไร่ ได้ถูกพระร่วงลอบตีพ่ายไป ทุ่งที่เกิดการสู้รบในสมัยนั้นเรียกว่า "ทุ่งขอม" หรือ "ทุ่งนาขอม" ปัจจุบันจึงเรียกบ้านที่ตั้งอยู่บริเวณทุ่งนั้นว่า "บ้านนาขอม"
ผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่
- นายสังขาร เชื้อวงศ์
- นายล้วน พิมขนิษฐ์
- นายเจริญ ถาวรชาติ ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2536 - 2551
- นายน้อย นาดี ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - 2553
- นายสุวรรณ สร้อยสด ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2553 - 2561
- นายธงชัย พลเยี่ยม ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน
ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม (ม.ป.ป. (ก); (ค); (ง); (ฉ)) ระบุว่า บ้านนาขอมมีพื้นที่ 4,050 ไร่
สภาพทั่วไปของตำบลนาขอม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง มีภูเขาล้อมรอบลาดเทไปทางทิศตะวันตกมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150 – 1,780 เมตร มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นลูกคลื่นลอนตื้น
ลักษณะดินของตำบลนาขอม เป็นชุดดินที่ 55 กลุ่มดินลึกปานกลางถึงชั้นหินดิน เศษหิน ก้อนหินหรือลูกรัก ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือ เป็นด่าง การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และชุดดินที่ 46 กลุ่มดินตื้นถึงก้อนหินหรือเศษ หิน และอาจพบชั้นหินพื้นภายในความลึก 150 เซนติเมตร จากผิวดินปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงปานกลาง การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
แหล่งน้ำสำคัญของตำบลนาขอม ได้แก่ คลองห้วยใหญ่ (ขนาดกว้าง 0.025 กิโลเมตร ยาว 17 กิโลเมตร) คลองชลประทาน (ขนาดกว้าง 0.020 กิโลเมตร ยาว 7 กิโลเมตร) คลองห้วยน้ำใส (ขนาดกว้าง 0.015 กิโลเมตร ยาว 6 กิโลเมตร) น้ำแห้งในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม น้ำท่วมในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม
มีการใช้ประโยชน์จากสัตว์ในท้องถิ่น คือ โคพันธุ์บราห์มัน โดยเลี้ยงเป็นแม่พันธุ์เพื่อจำหน่าย
มีการใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่น เพื่อเป็นอาหารและยารักษาโรค คือ สบู่ดำ รากสามสิบ ขมิ้นชัน ว่านหอมแดง มะตูม มะหาด ต้นจันทน์ และกระโดน
ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม (ม.ป.ป. (ก)) ระบุว่า
บ้านนาขอม มี188 ครัวเรือน จำนวนประชากร 624 คน (ชาย 297 คน หญิง 327 คน) ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 20 - 59 ปี)
มีสถานศึกษา 2 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาขอม (ระดับชั้นเตรียมอนุบาล) มีนักเรียน 39 คน และโรงเรียนบ้านนาขอม (อนุบาล 2 - มัธยมศึกษาปีที่ 3) มีนักเรียน 212 คน
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาขอม 1 แห่ง
ส่วนใหญ่มีอำชีพทำนา เพราะมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีลำคลองอยู่รอบหมู่บ้าน หลังจากหมดฤดูกาลทำนำแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ ให้ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายที่บ้าน คนเฒ่าคนแก่อยู่ที่บ้านก็จะทำงานเล็กน้อย เช่น ทำงานจักสานไว้ใช้หรือไว้ขาย ส่วนคนหนุ่มสาวที่ไม่ได้เรียนต่อส่วนใหญ่ ไม่ทำนาก็จะเข้าไปทำงานรับจ้างที่กรุงเทพฯ พอถึงเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันตรุษจีน จะกลับมาเยี่ยมบ้าน จัดกฐิน ผ้าป่ามาทอดที่วัดทุกปี (องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, ม.ป.ป. (ฌ))
บ้านนาขอมปัจจุบัน (องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, ม.ป.ป. (จ)) มีพื้นที่ทำนา 300 ไร่ มีครัวเรือนที่ทำนา 15 ครัวเรือน มีพื้นที่สวน 74 ไร่ มีครัวเรือนที่ทำสวน 30 ครัวเรือน พืชสวนสำคัญได้แก่ ชมพู่ มะม่วง มะนาวโห่ และมะละกอ มีพื้นที่ไร่ 30 ไร่ มีครัวเรือนที่ทำไร่ 20 ครัวเรือน พืชไร่สำคัญ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และยูคาลิปตัส นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรเลี้ยงไก่อยู่ราว 500 ตัว มีร้านค้า 3 ร้าน มีสถานีบริการน้ำมัน 2 แห่ง
ประเพณีสำคัญของชุมชน (องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, ม.ป.ป. (ฌ)) ได้แก่
การทำบุญข้าวเปลือก หรือประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก จะทำบุญกันในเดือนมกราคม หลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวของทุกปี ซึ่งจะมีการเรี่ยรายข้าวเปลือกจากชาวบ้านในหมู่บ้าน นำมาทำบุญก่อเจดีย์ข้าวเปลือก
การทำบุญหมู่บ้าน จะทำบุญกันในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคมของทุกปี แล้วแต่ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านจะตกลงกัน ไม่กำหนดวันแน่นอน ซึ่งจะมีการเรี่ยรายเงินจากชำวบ้านในหมู่บ้าน
มีศูนย์กลางทางศาสนา/ความเชื่อ คือ วัดนาขอม
นายชม ภูชะ (ภูมิปัญญาการทำขันโตก) - เกิดเมื่อ พ.ศ. 2490 เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจักสาน โดยเฉพาะการทำขันโตก ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่า ขันโตก เป็นเครื่องจักสานที่สวยงาม มีความแข็งแรง ประณีต และใช้ประโยชน์ได้จริง โดยภูมิปัญญานี้ได้มาจากการเรียนรู้และคิดค้นเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสวยงามและเข้ากับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวบ้าน ผลงานที่ได้รับการยกย่องของนายชม ภูชะ คือการนำผลิตภัณฑ์ขันโตกที่ทำขึ้นไปแสดงในสินค้า OTOP ทั้งระดับอำเภอ และจังหวัด นายชม ภูชะ ยังสามารถเป็นวิทยากรสอนการทำขันโตกให้กับคนที่สนใจได้
นายบัวหา ชาสูงเนิน (ภูมิปัญญาการทำมีดพก)
(ข้อมูลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, ม.ป.ป. (ช); (ญ))
ภูมิปัญญาการทำขันโตก นำโดย นายชม ภูชะ จุดเด่นของขันโตกของที่นี่คือมีความทนทาน ใช้ลายแบบดั้งเดิม โดยใช้วัตถุดิบคือไผ่สีสุก ซึ่งเป็นไม้ที่ทนทานและหาได้ง่ายในพื้นที่
ภูมิปัญญาการทำมีดพก นำโดย นายบัวหา ชาสูงเนิน จุดเด่นของมีดพกที่นี่คือมีความแข็งแรงและสวยงาม โดยทำจากเห,้กแหนบรถที่มีความแข็งแรง ทนทาน ด้ามทำจากไม้มะขาม ไม้ชิงชัน ไม้มะกรูด ไม้ประดู่ เป็นต้น
(ข้อมูลจาก องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, ม.ป.ป. (ช))
ภาษาไทยอีสาน, ภาษาไทยกลาง
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ก)). "การเก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f1.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ข)). "ข้อมูลการใช้ประโยชน์ของชีวภาพอื่น ๆ ในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f7.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ค)). "ข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f5.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ง)). "ข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสัตว์ในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f6.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (จ)). "ข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f2.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ฉ)). "ข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f3.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ช)). "ข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f8.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ซ)). "ข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f9.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ฌ)). "ประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f4.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ญ)). "ภูมิปัญญาการทำขันโตก." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/news-detail?hd=2&doIP=1&checkIP=chkIP&id=128005&checkAdd=chkAddum%3D85989_ypk