Advance search

ชุมชนบ้านคำปุนเป็นหนึ่งในแหล่งวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี โดดเด่นในด้านการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะ "ผ้ากาบบัว" ซึ่งเป็นผ้าทอเอกลักษณ์ของจังหวัดที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ บ้านคำปุนเป็นศูนย์กลางของการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าทอไทยอีสาน มีการนำเทคนิคการทอแบบโบราณมาประยุกต์เข้ากับลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผลงานของชุมชนเป็นที่ต้องการของนักสะสมและผู้ที่ชื่นชอบงานหัตถศิลป์

หมู่ที่ 9
บ้านคำปุน
หนองกินเพล
วารินชำราบ
อุบลราชธานี
อบต.หนองกินเพล โทร. 0 4525 1824
วรรณสุดา เจริญวงศ์
25 มี.ค. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
3 เม.ย. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
3 เม.ย. 2025
บ้านคำปุน


ชุมชนชนบท

ชุมชนบ้านคำปุนเป็นหนึ่งในแหล่งวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี โดดเด่นในด้านการทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะ "ผ้ากาบบัว" ซึ่งเป็นผ้าทอเอกลักษณ์ของจังหวัดที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ บ้านคำปุนเป็นศูนย์กลางของการอนุรักษ์และพัฒนาผ้าทอไทยอีสาน มีการนำเทคนิคการทอแบบโบราณมาประยุกต์เข้ากับลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผลงานของชุมชนเป็นที่ต้องการของนักสะสมและผู้ที่ชื่นชอบงานหัตถศิลป์

บ้านคำปุน
หมู่ที่ 9
หนองกินเพล
วารินชำราบ
อุบลราชธานี
34190
15.19568236218467
104.82714134890594
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล

บ้านคำปุน อ.วารินชำราบ ผลิตและอนุรักษ์ผ้าพื้นเมืองอุบลราชธานีที่มีชื่อเสียง ได้สืบสานอนุรักษ์มายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม ผ้าโบราณที่สูงค่า กรรมวิธีการผลิต ผ้าทอพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบ้านคำปุนและงานศิลป์ด้านอื่น ๆ อีกมากมาย บ้านคำปุน อยู่ภายในบริเวณอาคารแบบไทยอีสาน เป็นทั้งแหล่งผลิตและแหล่งเรียนรู้ถึงกระบวนการถักทอผ้าไหมของไทยที่สั่งสมมานานปี เพื่อสืบสานภูมิปัญญาตั้งเดิมของท้องถิ่น โดยมีผู้ให้ความรู้แก่ช่างทอในปัจจุบันคือ นางคำปุน ศรีใส ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ พ.ศ. 2537 และบุตรชาย คือ นายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2544 ทั้งยังเป็นผู้คิดค้นและออกแบบผ้าลายกาบบัว ผ้าเอกลักษณ์จังหวัดอุบลราชธานี ตลอดจนบ้านคำปุนยังเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัว "บ้านคำปุน" อีกด้วย 

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปตั้งอยู่เลียบแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก ไหลมาจากอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผ่านทางทิศเหนือของอำเภอวารินชำราบ ไปอำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอโขงเจียม ลงสู่แม่น้ำโขงและมีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 

พื้นที่อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านคำน้ำแซ่บ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านท่าข้องเหล็ก หมู่ที่ 1 ตำบลคำน้ำแซ่บ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านช่างหม้อ หมู่ที่ 5 ตำบลคำน้ำแซ่บ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศใต้ ติดกับ ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

สถานที่สำคัญในชุมชน

พิพิธภัณฑ์บ้านคำปุน

บ้านคำปุน เป็นแหล่งผลิตงานหัตถศิลป์ผ้าทอมือ และแหล่งอนุรักษ์ศิลปะพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดอุบลราชธานี มีลักษณะกึ่งพิพิธภัณฑ์เป็นของเอกชน ตั้งอยู่เลขที่ 331 ถนนศรีสะเกษ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

บ้านคำปุนประกอบด้วยกลุ่มอาคารไม้ ในแบบสถาปัตยกรรมอีสาน มีช่างทอผ้ามากกว่า 30 คน ผลิตผ้าไหมด้วยกี่ทอมือตามแบบโบราณ นับตั้งแต่การเตรียมเส้นไหม จนถึงการย้อม และทอผ้าทอมือที่มีชื่อเสียงของบ้านคำปุน คือ ผ้าไหมมัดหมี่ทอผสมเทคนิคจก ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งผลิตเดียวในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการคิดค้นผ้าไหมแบบต่าง ๆ เช่น ผ้ามัดหมี่สอดเส้นพุ่งด้วยลูกปัดแก้ว หรือหินต่าง ๆ และเม็ดเงิน รวมทั้งผ้าทอยกทองแบบอุบลฯ นอกจากนี้บ้านคำปุนยังเป็นผู้คิดค้น "ผ้ากาบบัว" คือเป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดอุบลราชธานีด้วย

บ้านคำปุน มีจำนวนประชากรรวม 7,306 คน แบ่งเป็นประชากรเพศชาย ชาย 3,656 คน และเพศหญิง 3,650 คน

ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ทำนา ทำสวน ประมง เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ) มีการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมเครื่องจักสาน เข่งปลาทู ปั้นอิฐ ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง ประชากรบางส่วนอพยพไปทำงานต่างจังหวัด

วิถีวัฒนธรรม

ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

วิถีทางเศรษฐกิจ

ชุมชนบ้านคำปุน มีวิถีชีวิตดั้งเดิมในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมักใช้แรงงานคนและทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตเพื่อการยังชีพ เช่น การเกษตร ประมง และปศุสัตว์ ส่วนผู้สูงอายุมักจะทอผ้า แล้วนำมาขายส่งให้กับพิพิธภัณฑ์บ้านคำปุน ซึ่งเป็นที่กระจายสินค้าหลัก ทำให้เกิดรายได้ภายในชุมชน

ภัยทางธรรมชาติ

มักเกิดน้ำท่วมช่วงฤดูฝน ฤดูน้ำหลาก ฝนตกชุกชุม เพราะบริเวณชุมชนอยู่ใกล้ลำแม่น้ำมูล ทำให้น้ำในแม่น้ำเอ่อล้น เกิดน้ำท่วมได้ง่าย

ชุมชนบ้านคำปุน ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไปเป็นหลัก เป็นสังคมวิถีพุทธ ยึดถือประเพณีตามฮีตสิบสองคองสิบสี่ มีแหล่งเรียนรู้ภายในหมู่บ้านและมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันสงกรานต์ บุญสารทเดือนสิบ บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญข้าวจี่

1.นางคำปุน ศรีใส ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์-ถักทอ พ.ศ. 2537 

2.นายมีชัย แต้สุจริยา ศิลปินดีเด่นจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2544 

พิพิธภัณฑ์บ้านคำปุน

พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งทุนทางวัฒนธรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อชุมชนในหลายมิติ ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นสถานที่จัดแสดงสิ่งของทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ แต่ยังเป็นศูนย์กลางในการอนุรักษ์และถ่ายทอดองค์ความรู้รวมถึงส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนให้เข้มแข็ง สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน ผ่านการจัดแสดงวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในชุมชน โดยเฉพาะการอนุรักษ์การทอผ้ากาบบัว ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาวจังหวัดอุบลราชธานี

ภาษาอีสาน (สำเนียงอุบลราชธานี)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คำปุน. (2559). นิทรรศการบ้านคำปุน [แผนพับ]. อุบลราชธานี: บ้านคำปุน. https://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/

งานข้อมูลท้องถิ่นและจดหมายเหตุ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2559). บ้านคำปุน. https://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/

อบต.หนองกินเพล โทร. 0 4525 1824