
ชุมชนที่มีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะงานหัตถกรรมและสินค้าโอท็อปที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนผ่านการผลิตและจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับผู้ที่สนใจในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน
ชุมชนที่มีความโดดเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะงานหัตถกรรมและสินค้าโอท็อปที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนผ่านการผลิตและจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น ตลอดจนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับผู้ที่สนใจในวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน
บ้านนาจาน ตั้งอยู่ในตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่นี้มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปี โดยมีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากภาคเหนือและตั้งรกรากในพื้นที่นี้ ตำบลนาเยียได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอนาเยียเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 และยกฐานะเป็นอำเภอนาเยีย เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550 ปัจจุบันบ้านนาจานเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านโครงการ OTOP นวัตวิถี ซึ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและวิถีชีวิตของชุมชน
สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกพืช และทำนา ทำสวน ทำไร่ และการเกษตรต่าง ๆ มีปริมาณน้ำจากคลองส่งน้ำตลอดทั้งปี สภาพดินอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมสะดวก
พื้นที่อาณาเขตติดต่อ
- ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอพิบูลมังสาหาร
- ทิศตะวันตก ติดกับ อำเภอเดชอุดมและอำเภอวารินชำราบ
- ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอสว่างวีระวงศ์
- ทิศใต้ ติดกับ อำเภอเดชอุดม
สถานที่สำคัญในชุมชน
วัดโพธิ์ศรีนาจาน
วัดโพธิ์ศรีนาจาน ตั้งอยู่ที่ บ้านนาจาน หมู่ที่ 5 ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 4 เส้น จดที่ดินนาย เขียว ศรีแจ่ม ทิศใต้ประมาณ 4 เส้น จดทางสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ 2 เส้น จดคลอง สาธารณะ ทิศตะวันตกประมาณ 2 เส้น จดหมู่บ้าน มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถกว้าง 450 เมตร ยาว 12 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 ศาลา การเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 22 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2507 และกุฏิสงฆ์จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้
ประวัติวัดนาจาน ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2420 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2440 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 4.50 เมตร ยาว 12 เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระพิม พ.ศ. 2480-2486 รูปที่ 2 พระอ่อน พ.ศ. 2487-2490 รูปที่ 3 พระบุญ พ.ศ. 2491-2493 รูปที่ 4 พระพรมมา รุจิโร พ.ศ. 2474-2529 รูปที่ 5 พระคำต้น ถาวโร พ.ศ. 2530-2535 รูปที่ 6 พระสอน สิริธมฺโม ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ถึงปัจจุบัน
แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติแก้งใหญ่เทศบาลตำบลนาจาน
สถานที่เล่นน้ำช่วงฤดูร้อน ก่อนที่จะมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อก่อนใช้เป็นที่กักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับชาวบ้านในช่วงหน้าแล้ง ประมาณเดือนเมษายนของทุกปี ต่อมาชาวบ้านได้มีการกั้นกระสอบทรายเพื่อชะลอน้ำในบริเวณลำน้ำโดมแห่งนี้ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกิดขึ้นจากการกั้นน้ำคือโขดหินกลางลำน้ำโดมแห่งนี้จนเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวบ้านในละแวกนี้และบริเวณใกล้เคียง ในปัจจุบันนี้มีชื่อเสียงโด่งดังไปหลายที่ แก้งใหญ่มีวิวสวย น้ำใส เย็นสบาย เด็กเล่นได้ ผู้ใหญ่เล่นดี การเดินทางสะดวก รถเก๋งมาได้ มีที่จอดรถขนาดกว้าง มีร้านค้าขายสินค้าพื้นบ้าน
ชุมชนบ้านหนองหลักประกอบอาชีพหลัก คือ การทำนา ทำไร่
บ้านนาจาน มีวัฒนธรรมที่เด่นคือ วงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง
ภาษาอีสาน
เทศบาลตำบลนาจาน. (ม.ป.ป.). ข้อมูลสภาพทั่วไป. https://www.nachan.go.th/index/
เทศบาลตำบลนาจาน. (2566). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. https://www.nachan.go.th/