
ชุมชนบางโตนด เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และประชากรส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกี่ยวกับตาลโตนด อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสผ่านมาทางแม่น้ำ แม่กลอง มาถึงจุดที่ตั้งของหมู่ที่ 5 ทรงเห็นว่ามีการปลูกและประกอบอาชีพจากตาลโตนดกันมาก จึงพระราชทานชื่อให้ว่า "หมู่บ้านบางโตนด"
ชุมชนบางโตนด เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และประชากรส่วนใหญ่มีการประกอบอาชีพเกี่ยวกับตาลโตนด อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจ
ตำบลบางโตนด ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5) เนื่องจากได้เสด็จประพาสผ่านมาทางแม่น้ำ แม่กลอง มาถึงจุดที่ตั้งของหมูที่ 5 (บ้านบางโตนดในปัจจุบัน) รัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่ามีการปลูกและประกอบอาชีพจากตาลโตนดกันมาก จึงพระราชทานชื่อให้ว่า "หมู่บ้านบางโตนด" แต่เดิมแบ่งเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลบางโตนด และตำบลสมถะ ต่อมาได้รวมบ้านสมถะบางส่วนมาเป็นบ้านสมถะของตำบลบางโตนดในปัจจุบัน และบ้านสมถะบางส่วน รวมกับตำบลหนองกลางนา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ในปัจจุบัน
ลักษณะโดยทั่วไปของตำบลบางโตนด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอโพธาราม เป็นที่ราบฝั่งแม่น้ำแม่กลองพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เป็นท้องทุ่งกว้าง เป็นที่ริมน้ำบางแห่ง บางครั้งมีปริมาณน้ำฝนมากก็อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
- พื้นที่ทั้งหมด 11,337 ไร่ หรือ 18.17 ตารางกิโลเมตร
- พื้นที่ทำการเกษตร 7,551 ไร่ อุณหภูมิเฉลี่ย 25-28 องศาเซลเซียส
แหล่งน้ำ
- แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ คลองบางสองร้อย และแม่น้ำแม่กลอง
- แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น คลองชลประทานเต็มพื้นที่ โดยมีคลองสำคัญ 3 สาย ได้แก่ คลอง 2 R , คลอง 7 R 2 R และคลอง 9 R 2R, บ่อน้ำตื้น จำนวน 5 แห่ง, บ่อน้ำบาดาล จำนวน 4 แห่ง, ประปาหมู่บ้าน จำนวน 6 แห่ง
พื้นที่อาณาเขตติดต่อ
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลเจ็ดเสมียนและตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม
- ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม
- ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลนางแก้วและตำบลท่าชุมพล อำเภอโพธาราม
- ทิศใต้ ติดกับ ตำบลหนองกลางนา อำเภอเมืองราชบุรี
สถานที่สำคัญในชุมชน
- วัดศรีประชุมชน
- วัดบางโตนด
- วัดสมถะ
- โรงเรียนวัดศรีประชุมชน
- โรงเรียนวัดสมถะ
- สถานีอนามัยบ้านน้ำตก
- สถานีอนามัยบ้านบางโตนด
ตำบลบางโตนดมีชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ไทย ลาว เขมร ที่กระจัดกระจายอพยพมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่จากอดีตถึงปัจจุบัน
บางโตนด ตำบลบางโตนด อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 5,122 คน แยกเป็นประชากรชาย 2,462 คน ประชากรหญิง 2,660 คน จำนวนหลังคาเรือน 1,818 หลังคาเรือน ตำบลบางโตนดมีชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ไทย ลาว เขมร ที่กระจัดกระจายอพยพมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่จากอดีตถึงปัจจุบัน
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ ข้าว ไม้ผล พืชไร่ และพืชผัก มีการเลี้ยงสัตว์และทำประมงน้ำจืด ได้แก่ การเลี้ยงโคเนื้อ ไก่ เป็ด สุกร แพะ และปลา
กลุ่มอาชีพ
- วิสาหกิจชุมชนผักปลอดสารพิษ
- กลุ่มแม่บ้านเกษตรบางโตนด
- กลุ่มผลิตสร้อยคอสแตนเลสบ้านหัวกรวด
- วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้าบางโตนด
- วิสาหกิจชุมชนผักคุณภาพวิถีเกษตรแนวใหม่ใส่ใจผู้บริโภค
ด้านการเกษตร
ข้าวนาปรัง : ปลูกเดือนมีนาคม-เมษายน เก็บเกี่ยวปลายเดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกรกฎาคม
ข้าวนาปี : ปลูกเดือนกรกฎาคม-กลางเดือนสิงหาคม เก็บเกี่ยวเดือนธันวาคม-มกราคม
ด้านการนับถือศาสนา
ประชาชนในตำบลบางโตนดส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยมีวัดในพระพุทธศาสนา 3 แห่ง ได้แก่ วัดสมถะ วัดบางโตนด และวัดศรีประชุมชน
ด้านประเพณี
เดือนเมษายน งานสรงน้ำผู้สูงอายุและสรงน้ำพระ ในวันสงกรานต์
เดือนกรกฎาคม มีประเพณีเข้าพรรษา
พิธีต้อนรับของชาวบ้านบางโตนด : พิธีต้อนรับบุคคลที่มาเยี่ยมเยียนตำบลบางโตนด หรือไปร่วมกับตำบลใกล้เคียง โดยกลุ่มแม่บ้านทั้ง 6 หมู่ มีประมาณ 20 คน จะแต่งกายด้วยชุดไทยโบราณ นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบเฉียง เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยโบราณให้คนรุ่นหลังได้เห็น เครื่องแต่งกายของผู้หญิงในอดีต
ด้านเศรษฐกิจ
ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์และรับจ้าง ร้อยละ 73 ทำนาปลูกข้าว โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว ปีละ 32,538 บาท
1.นายสมพงษ์ สุวรรณมาลี ปราชญ์ด้านการเกษตร
โดยลุงพงษ์เล่าว่า ลุงมีความสนใจด้านการเกษตรมาตั้งแต่เด็ก ถูกสั่งสอนให้อยู่กับดิน นา สวน ไร่ มาตั้งแต่เล็ก ๆ อยู่กับคำว่าเกษตรมานาน ทั้งสอนเด็กนักเรียน สอนชาวบ้านในชุมชน หรือกระทั่งลงมือทำเกษตรด้วยตัวเอง ปัจจุบันทำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักคุณภาพวิถีเกษตรแนวใหม่ใส่ใจผู้บริโภคขึ้นมาเพื่อเป็นต้นแบบให้กับชาวบ้านคนที่สนใจ เกษตรกรในชุมชนนำไปทำในพื้นที่ของตนเองได้ เพราะผู้ที่จะเริ่มทำต้องมีความพร้อมพอสมควร และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนจากการนำผักไปขายได้
- กลุ่มขนมทองม้วนสูตรโบราณบางโตนด
- วัดบางโตนด
ใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างกัน ขณะผู้คนบางส่วนในตำบลบางโตนด มีเชื้อสายมาจากเขมร ประชาชนบางส่วนจึงใช้ภาษาเขมรในการสื่อสารกัน
- ปัญหาด้านการค้าขายสินค้า เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่าย
- ปัญหาน้ำประปาไหลเบาและมีน้ำแดง
- ปัญหาไฟส่องสว่างริมถนนภายในหมู่บ้านมีไม่ทั่วถึง
ศิรินทิพย์ วิเศษรจนา. (29 สิงหาคม 2562). “ทองม้วนสูตรโบราณบางโตนด” สู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. https://web.codi.or.th/
วรวุฒิ สุวรรณมาลี. (3 เมษายน 2565). ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางโตนด. GoToKnow. https://www.gotoknow.org/posts/
สุภาวดี รัตนมาศ และคณะ. (ม.ป.ป.). วัดบางโตนด. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2568, จาก http://www.waterfront.uni.net.th/river/