
"บ่อทอง" บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และภูมิปัญญาการทำผ้ามัดหมี่จากฝ้าย
แต่ก่อนบริเวณบ้านนาขอม มีชื่อว่า "บ้านตะกุดพยอม" เนื่องจากบริเวณหมู่บ้านมีต้นพยอมขึ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมาหลังมีการจัดตั้งโรงเรียน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านบ่อทอง" เนื่องจากบริเวณหมู่บ้านมีการค้นพบหินศิลาแลงลักษณะสี่เหลี่ยมเรียงกันเป็นเนิน ต่อมามีการร่ำลือกันว่าภายใต้กองหินนี้มีทองและของมีค่าอยู่ ชาวบ้านจึงพากันขุด แต่ขุดแล้วก็ไม่พบของมีค่าใด ๆ จึงใช้ชื่อบ่อทองเป็นชื่อหมู่บ้าน
"บ่อทอง" บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ และภูมิปัญญาการทำผ้ามัดหมี่จากฝ้าย
แต่ก่อนบริเวณบ้านนาขอม มีชื่อว่า "บ้านตะกุดพยอม" เนื่องจากบริเวณหมู่บ้านมีต้นพยอมขึ้นเป็นจำนวนมาก ต่อมาหลังมีการจัดตั้งโรงเรียน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านบ่อทอง" โดยแต่ก่อนขึ้นอยู่กับ ม.8 ต.วังน้ำลัด อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์ และที่เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านบ่อทอง เนื่องจากบริเวณหมู่บ้านมีการค้นพบหินศิลาแลงลักษณะสี่เหลี่ยมเรียงกันเป็นเนิน ต่อมามีการร่ำลือกันว่าภายใต้กองหินนี้มีทองและของมีค่าอยู่ ชาวบ้านจึงพากันขุด แต่ขุดแล้วก็ไม่พบของมีค่าใด ๆ จึงใช้ชื่อบ่อทองเป็นชื่อหมู่บ้าน (องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, (ฌ))
ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายโอน บุญนก ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันคือ นายสมร โภพา
ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม (ม.ป.ป. (ก); (ค); (ง); (ฉ)) ระบุว่า บ้านบ่อทองมีพื้นที่ 8,371 ไร่
สภาพทั่วไปของตำบลนาขอม พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง มีภูเขาล้อมรอบลาดเทไปทางทิศตะวันตกมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 150 – 1,780 เมตร มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นลูกคลื่นลอนตื้น
ลักษณะดินของตำบลนาขอม เป็นชุดดินที่ 55 กลุ่มดินลึกปานกลางถึงชั้นหินดิน เศษหิน ก้อนหินหรือลูกรัก ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือ เป็นด่าง การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง และชุดดินที่ 46 กลุ่มดินตื้นถึงก้อนหินหรือเศษ หิน และอาจพบชั้นหินพื้นภายในความลึก 150 เซนติเมตร จากผิวดินปฏิกิริยาดินเป็นกรดถึงปานกลาง การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
แหล่งน้ำสำคัญของตำบลนาขอม ได้แก่ คลองห้วยใหญ่ (ขนาดกว้าง 0.025 กิโลเมตร ยาว 17 กิโลเมตร) คลองชลประทาน (ขนาดกว้าง 0.020 กิโลเมตร ยาว 7 กิโลเมตร) คลองห้วยน้ำใส (ขนาดกว้าง 0.015 กิโลเมตร ยาว 6 กิโลเมตร) น้ำแห้งในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม น้ำท่วมในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม
บ้านบ่อทอง มีศูนย์กลางทางศาสนา/ความเชื่อ คือ วัดบ่อทอง และมีร้านค้า 6 ร้าน มีสถานีบริการน้ำมัน 3 แห่ง โรงสีข้าว 1 แห่ง
มีพื้นที่ป่า 5 ไร่ (ข้อมูลเมื่อปี 2563) มีการใช้ประโยชน์จากสัตว์ในท้องถิ่นบ้านบ่อทอง คือ ไก่งวง โดยเลี้ยงเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อจำหน่ายและเป็นอาหาร มีการใช้ประโยชน์จากพืชท้องถิ่นเพื่อเป็นอาหารและยารักษาโรค คือ ชะกูด กะเพราช้าง พะยอม และไก้ฟ้าพญาลอ
ข้อมูลจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม (ม.ป.ป. (ก)) ระบุว่า
บ้านบ่อทอง มีจำนวนประชากร 1,070 คน (ชาย 536 คน หญิง 534 คน) ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน (อายุ 20 - 59 ปี)
มีสถานศึกษา 2 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อทอง (ระดับชั้นเตรียมอนุบาล) มีนักเรียน 30 คน และโรงเรียนบ้านเนินบ่อทอง (อนุบาล 2 - ประถมศึกษาปีที่ 6) มีนักเรียน 134 คน
มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเนินบ่อทอง 1 แห่ง
ส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา เพราะมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีลำคลองอยู่รอบหมู่บ้าน หลังจากหมดฤดูกาลทำนาแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ ให้ลูกอยู่กับปู่ย่าตายายที่บ้าน คนเฒ่าคนแก่อยู่ที่บ้านก็จะทำงานเล็กน้อย เช่น ทำงานจักสานไว้ใช้หรือไว้ขาย ส่วนคนหนุ่มสาวที่ไม่ได้เรียนต่อส่วนใหญ่ ไม่ทำนาก็จะเข้าไปทำงานรับจ้างที่กรุงเทพฯ พอถึงเทศกาลวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันตรุษจีน จะกลับมาเยี่ยมบ้าน จัดกฐิน ผ้าป่ามาทอดที่วัดทุกปี (องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, ม.ป.ป. (ฌ))
บ้านบ่อทองปัจจุบัน (องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, ม.ป.ป. (จ)) มีพื้นที่ทำนา 400 ไร่ มีครัวเรือนที่ทำนา 176 ครัวเรือน มีพื้นที่สวน 50 ไร่ มีครัวเรือนที่ทำสวน 10 ครัวเรือน พืชสวนสำคัญได้แก่ มะม่วง มะนาว และน้อยหน่า มีพื้นที่ไร่ 30 ไร่ มีครัวเรือนที่ทำไร่ 15 ครัวเรือน พืชไร่สำคัญ เช่น มันสำปะหลัง และข้าวโพด นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรเลี้ยงโคราว 50 ตัว เป็ด 40 ตัว สุกร 10 ตัว และไก่ 200 ตัว
ประเพณีสำคัญของชุมชน (องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม, ม.ป.ป. (ฌ)) ได้แก่
การทำบุญผ้าป่าข้าวเปลือก หรือประเพณีก่อเจดีย์ข้าวเปลือก จะทำบุญกันในวันขึ้นปีใหม่ ช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม หลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวของทุกปี ซึ่งจะมีการเรี่ยรายข้าวเปลือกจากชาวบ้านในหมู่บ้าน นำมาทำบุญผ้าป่าข้าวเปลือก
นางยุภา รักไทย (ภูมิปัญญาการทำผ้ามัดหมี่จากฝ้าย)
บ่อทอง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะเป็นบ่อกลม ล้อมรอบด้วยหินแลงเรียงเป็นชั้น ค้นพบเมื่อกว่า 70 ปีก่อน ปัจจุบันเป็นที่สักการะของชาวบ้านเป็นอย่างมาก
ภูมิปัญญาการทำผ้ามัดหมี่ ทำจากฝ้าย ปัจจุบันมีการทำเป็นผลิตภัณฑ์ ผ้าถุง เมื้อ กางเกง เจ้าของภูมิปัญญาคือ นางยุภา รักไทย
ภาษาไทยกลาง
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ก)). "การเก็บข้อมูลพื้นฐานในท้องถิ่น." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f1.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ข)). "ข้อมูลการใช้ประโยชน์ของชีวภาพอื่น ๆ ในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f7.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ค)). "ข้อมูลการใช้ประโยชน์ของพืชในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f5.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ง)). "ข้อมูลการใช้ประโยชน์ของสัตว์ในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f6.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (จ)). "ข้อมูลการประกอบอาชีพในท้องถิ่น." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f2.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ฉ)). "ข้อมูลด้านกายภาพในท้องถิ่น." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f3.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ช)). "ข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f8.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ซ)). "ข้อมูลภูมิปัญญาในท้องถิ่น ตำบลนาขอม อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f9.pdf
องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม. (ม.ป.ป. (ฌ)). "ประวัติหมู่บ้าน ชุมชน วิถีชุมชน." ใน องค์การบริหารส่วนตำบลนาขอม อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์. (ออนไลน์). เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2568. เข้าถึงจาก https://www.nakhom.go.th/pdf/f4.pdf