Advance search

บ้านหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในชุมชนมีการทำเครื่องดนตรี (พิน) ไว้ขายสร้างรายได้ภายในชุมชน

หมู่ที่ 3
บ้านหนองกินเพล
หนองกินเพล
วารินชำราบ
อุบลราชธานี
อบต.หนองกินเพล โทร. 0 4525 1824
วรรณสุดา เจริญวงศ์
25 มี.ค. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
3 เม.ย. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
3 เม.ย. 2025
บ้านหนองกินเพล

ชาวบ้านในชุมชน และผู้นำชุมชนได้คิดชื่อหมู่บ้านกันขึ้นมาใหม่ และเนื่องจากในยุคนั้น การสัญจรรอนแรม การคมนาคม ไปมาหาสู่ของพ่อค้าคนทำมาหากิน จะเดินทางด้วยเท้า ด้วยเกวียนและเรือ โดยบังเอิญในสมัยนั้น ได้มีคณะที่ทำการค้าขาย (พ่อค้าแม่ค้า) และผู้สัญจรเดินทางผ่านระหว่างหมู่บ้าน อำเภอ อยู่เรื่อย ๆ แต่พอเดินทางมาถึงบริเวณทุ่งนา (ของบ้านท่ากกไฮ) ทุกวันจะมาถึงช่วงพระท่านตีกลองเพลเป็นประจำ ไม่ว่าจะจากฝั่งโน้น (ฝั่งอุบลราชธานี) หรือมาจากทางสำโรงก็ตามและทำเลที่บ้านท่ากกไฮ ก็เป็นทำเลเหมาะในการหยุดพักกินข้าวกลางวัน ซึ่งคนพื้นบ้านเรียกว่า "กินเพล"

ด้วยเป็นทำเลชายป่าไม้ยางใหญ่ ร่มรื่น มีฟืน มีแหล่งน้ำสะอาด เป็นหนองน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถหาปลามาเป็นอาหารกลางวัน ให้แก่คณะเดินทางได้ง่าย ชาวบ้านมีอัธยาศัยดีงาม ให้การช่วยเหลือเกื้อกูล พริกและผักสวนครัวในนาในไร่ ไม้ฟืนป่าก็พอเพียง คณะเดินทาง พ่อค้าต่าง ๆ จึงถือเป็นจุดพักกินอาหารกลางวัน จึงเป็นที่ติดปาก ของผู้คนที่สัญจรไปมาทุกคน จะพูดนัดหมายกันอย่างติดปากไว้ว่า "พ้อกันอยู่หนองกินเพลเด้อ" คือ ลักษณะการนัดพบกินข้าวเที่ยงกันที่ "บ้านท่ากกไฮ" นั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านและผู้นำชุมชน ได้ชื่อของหมู่บ้านใหม่ จากเดิมชื่อว่า "บ้านท่ากกไฮ" เป็น "บ้านหนองกินเพล"


ชุมชนชนบท

บ้านหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในชุมชนมีการทำเครื่องดนตรี (พิน) ไว้ขายสร้างรายได้ภายในชุมชน

บ้านหนองกินเพล
หมู่ที่ 3
หนองกินเพล
วารินชำราบ
อุบลราชธานี
34190
15.206650618670999
104.75822618675552
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล

ตำบลหนองกินเพล มีประวัติความเป็นมา เมื่อประมาณปี พ.ศ 2400 โดยได้มีชนกลุ่มหนึ่งจากอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เดินทางเร่ร่อนเพื่อหาที่อยู่อาศัย และที่ทำกินที่มีความอุดมสมบูรณ์ ตามเล่าขานมาถึงแม่น้ำมูลเลยหยุดพักกินข้าวและเห็นว่าเป็นที่ลุ่มที่ดอนเหมาะที่จะพักอยู่อาศัยจึงข้ามลำน้ำมูลมาฝั่งวารินฯ (อำเภอวารินชำราบในปัจจุบัน) และมีท่าน้ำติดแม่น้ำมูลเป็นทางเดินเกวียนสมัยก่อน ชนกลุ่มนี้ จึงได้ตั้งรกราก ปลูกบ้านขนาดเล็กขึ้นมา ในสมัยนั้นยังขาดผู้ใหญ่บ้านอยู่เพราะเป็นชนกลุ่มน้อย โดยมีชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านท่ากกไฮ"

ต่อมาชาวบ้านในชุมชนมีการสัญจรรอนแรม การคมนาคม ไปมาหาสู่ของพ่อค้าคนทำมาหากิน จะเดินทางด้วยเท้า ด้วยเกวียน และเรือ โดยบังเอิญในสมัยนั้น ได้มีคณะที่ทำการค้าขาย (พ่อค้าแม่ค้า) และผู้สัญจรเดินทางผ่านระหว่างหมู่บ้าน อำเภอ อยู่เรื่อย ๆ แต่พอเดินทางมาถึง บริเวณทุ่งนา (ของบ้านท่ากกไฮ) ทุกวันจะมาถึงช่วงพระท่านตีกลองเพลเป็นประจำ ไม่ว่าจะจากฝั่งโน้น (ฝั่งอุบลราชธานี) หรือมาจากทางสำโรงก็ตาม และทำเลที่บ้านท่ากกไฮ ก็เป็นทำเลเหมาะในการหยุดพักกินข้าวกลางวัน ซึ่งคนพื้นบ้านเรียกว่า "กินเพล"

ด้วยเป็นทำเลชายป่าไม้ยางใหญ่ ร่มรื่น มีฟืน มีแหล่งน้ำสะอาด เป็นหนองน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถหาปลามาเป็นอาหารกลางวัน ให้แก่คณะเดินทางได้ง่าย ชาวบ้านมีอัธยาศัยดีงาม ให้การช่วยเหลือเกื้อกูล พริกและผักสวนครัวในนาในไร่ ไม้ฟืนป่าก็พอเพียง คณะเดินทาง พ่อค้าต่าง ๆ จึงถือเป็นจุดพักกินอาหารกลางวัน จึงเป็นที่ติดปาก ของผู้คนที่สัญจรไปมาทุกคน จะพูดนัดหมายกันอย่างติดปากไว้ว่า "พ้อกันอยู่หนองกินเพลเด้อ" คือ ลักษณะการนัดพบกินข้าวเที่ยงกันที่ "บ้านท่ากกไฮ" นั่นเอง จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านและผู้นำชุมชน ได้ชื่อของหมู่บ้านใหม่ จากเดิมชื่อว่า "บ้านท่ากกไฮ" เป็น "บ้านหนองกินเพล"

แต่เดิมนั้น "บ้านหนองกินเพล" ขึ้นกับ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาก็มีการจัดตั้ง "บ้านหนองกินเพล" เป็น "ตำบลหนองกินเพล" อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยกำนันคนแรก ของตำบลหนองกินเพล คือ นายทองดี ปาคำศรี

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปตั้งอยู่เลียบแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลัก ไหลมาจากอำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ผ่านทางทิศเหนือของอำเภอวารินชำราบ ไปอำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอโขงเจียม ลงสู่แม่น้ำโขงและมีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 

พื้นที่อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

สถานที่สำคัญในชุมชน

  • ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ครูทองใส ทับถนน ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินพื้นบ้านครูภูมิปัญญาไทย ผู้เชี่ยวชาญในการเล่นและผลิตเครื่องดนตรีอีสานประเภทพิณ ท่านเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนักร้องลูกทุ่งอีสาน และเสียงพิณดนตรีประกอบละครและภาพยนตร์หลายเรื่อง เป็นต้นแบบของลายเพลงพิณโบราณอีสานและลายพิณประยุกต์ เป็นช่างฝีมือในการทำเครื่องดนตรีพิณ และที่สำคัญเป็นผู้ถ่ายทอดและสอนดนตรีพื้นเมืองอีสานให้กับลูกศิษย์เพื่อสืบสานดนตรีพื้นบ้านอีสานให้ดำรงอยู่ต่อไป

ชุมชนบ้านหนองกินเพล มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 284 ครัวเรือน และมีประชากรรวม 921 คน แบ่งเป็นเพศชาย 492 คน และเพศหญิง 429 คน 

ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สภาพสังคมส่วนใหญ่มีสภาพกึ่งเมืองกึ่งชนบท

ศาสนา

ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีวัดในพื้นที่ 9 วัด สำนักสงฆ์ 1 แห่ง ผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0 ของประชากรทั้งหมดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

วัฒนธรรม

ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล นับถือศาสนาพุทธ จึงมีความผูกพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและเป็นผู้มีจิตใจเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักสงบ มีประเพณีเก่าแก่ที่ยึดมั่นและถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมานาน เช่น ประเพณีบุญพระเวส เป็นการทำบุญเดือนสี่ โดยจัดให้มีการเทศน์มหาชาติที่วัด ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา กำหนดจัดงานในเดือนแปดของทุกปี เป็นประเพณีที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดอุบลราชธานี โดยการนำเทียนไปถวายวัดทุกวัดในเขตตำบลหนองกินเพล ประเพณีออกพรรษา คือการทำบุญออกพรรษาในเดือนสิบเอ็ด โดยการจัดทำปราสาทผึ้ง ภายในจะมีขนมจีน ข้าวต้ม กล้วย อ้อย เสื่อ หมอน ฝ้าย อาหารคาวหวาน นำไปทอดที่วัดเพื่อถวายพระ ขณะแห่ไปมีการร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนาน และมีการไหลเรือไฟ เป็นการนำเอาท่อนกล้วยหรือท่อนไม้มาทำเป็นเรือเวลาประมาณทุ่มเศษ ๆ ก็นำมาจุดไฟโดยใช้ขี้ไต้ หรือน้ำมันยาง แล้วปล่อยเรือให้ไหลไปตามน้ำ และตามวัดต่าง ๆ พระสงฆ์จะจัดทำเรือไฟเอาไว้ตรงหน้าโบสถ์ ซึ่งตอนกลางคืนจะมีการนำเอาดอกไม้ ธูป เทียน มาจุดเป็นพุทธบูชา ประเพณีแข่งขันเรือยาวประเพณีประจำปี กำหนดจัดงานหลังงานวันออกพรรษา คือ ประมาณเดือนสิบเอ็ด เป็นงานประเพณีที่ได้รับความสนใจของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก

1.คุณทองใส ทับถนน (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2567) ศิลปินมรดกอีสาน สาขาศิลปะการแสดงดนตรีพื้นบ้าน (พิณ) ปี พ.ศ. 2555 เป็นนักดนตรี และนักแสดงและนักแต่งเพลงชาวไทยที่มีชื่อเสียงและอดีตสมาชิกวงเพชรพิณทอง ทองใส ทับถนน เริ่มฝึกดีดพิณเมื่ออายุ 4 ปี โดยมีครูบุญ บ้านท่างอย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ฝึกสอนการดีดพิณเป็นคนแรก จนอายุได้ 8 ปี จึงได้เล่นพิณประกอบคณะหมอลำของนายปิ่น ทับถนน ผู้เป็นพ่อ จากนั้นจึงได้เรียนรู้ลายพิณโบราณกับครูบุญชู โนนแก้ว แห่งบ้านโนนสังข์ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ศิลปินมือพิณพื้นบ้านตาพิการ เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จึงได้ตระเวนเล่นดนตรีกับคณะหมอลำปิ่น ทับถนนเรื่อยมา

บ้านหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชุมชน ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ในชุมชนมีการทำเครื่องดนตรี (พิน) ไว้ขายสร้างรายได้ภายในชุมชน

ภาษาไทยถิ่นอีสาน


มักเกิดน้ำท่วมช่วงฤดูฝน ฤดูน้ำหลาก ฝนตกชุกชุม เพราะบริเวณชุมชนอยู่ใกล้ลำแม่น้ำมูล ทำให้น้ำในแม่น้ำเอ่อล้น เกิดน้ำท่วมได้ง่าย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ครูทองใส ทับถนน. (8 มกราคม 2560). ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย [รูปภาพ]. Facebook. https://www.facebook.com/1281673021952098/photos/

ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย ครูทองใส ทับถนน. (19 พฤษภาคม 2566). คุณทองใส ทับถนน [รูปภาพ]. Facebook. https://www.facebook.com/photo/

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (9 กันยายน 2559). ทองใส ทับถนน พ่อครูพิณ ศิลปินพื้นบ้านอีสาน. https://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไป. https://www.nongkinphen.go.th/about-us/general-info

อบต.หนองกินเพล โทร. 0 4525 1824