
รูปปั้นหลวงพ่อโต วัดบ้านบึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบึงเหนือ นอกจากนี้ยังมีมีภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ทอผ้ากะเหรี่ยง อาหารกะเหรี่ยง จักสานเครื่องใช้ในการเกษตร ส่วนวัฒนธรรมประเพณีของชาติพันธุ์ เช่น การแต่งกายกะเหรี่ยงสวมใส่ในงานประเพณีของชาวกะเหรี่ยง ประเพณีผูกแขนเรียกขวัญ ไหว้ต้นไม้ เล่นสะบ้า
เหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านบึงเหนือเนื่องจากท้ายหมู่บ้านมีสระน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ประชาชนส่วนใหญ่จึงเรียกสระน้ำขนาดใหญ่ว่า บึง จึงเอาลักษณะภูมิประเทศหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบึงน้ำ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านบึงเหนือ
รูปปั้นหลวงพ่อโต วัดบ้านบึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบึงเหนือ นอกจากนี้ยังมีมีภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ทอผ้ากะเหรี่ยง อาหารกะเหรี่ยง จักสานเครื่องใช้ในการเกษตร ส่วนวัฒนธรรมประเพณีของชาติพันธุ์ เช่น การแต่งกายกะเหรี่ยงสวมใส่ในงานประเพณีของชาวกะเหรี่ยง ประเพณีผูกแขนเรียกขวัญ ไหว้ต้นไม้ เล่นสะบ้า
สมัยเมื่อก่อน บ้านบึงเหนือดั้งเดิมเป็นหมู่บ้านของชาวกะเหรี่ยง ได้รวมตัวกันตั้งรกรากอยู่เป็นครอบครัว โดยอพยพมาจากบ้านหนองนกกระเรียน อำเภอจอมบึง และบางส่วนอพยพมาจากจังหวัดเพชรบุรี บ้านเมืองเหนือเป็นหมู่บ้านรวม ชนชาติส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง ต่อมา พ.ศ 2525 ได้แยกตัวออกมาจากหมู่บ้านหนองน้ำขุ่น คือ บ้านบึงเหนือและบ้านบึงใต้ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านบึงเหนือ คือ นายเช้า ทองกง เหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านบึงเหนือเนื่องจากท้ายหมู่บ้านมีสระน้ำขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ประชาชนส่วนใหญ่จึงเรียกสระน้ำขนาดใหญ่ว่า บึง จึงเอาลักษณะภูมิประเทศหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบึงน้ำ จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านบึงเหนือ
บ้านบึงเหนือ มีพื้นที่ทั้งหมด 3.86 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,300 ไร่ ห่างจากที่ทำการอำเภอบ้านคา โดยประมาณ 4 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดราชบุรีโดยประมาณ 61 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดหมู่ที่ 2 บ้านหนองน้ำขุ่น
- ทิศใต้ ติดหมู่ที่ 7 บ้านบึงใต้
- ทิศตะวันออก ติดหมู่ที่ 7 หนองพันจันทร์
- ทิศตะวันตก ติดหมู่ที่ 14 บ้านหนองไผ่ป่า
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ค่อนข้างราบเรียบ ทางทิศใต้ของหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่พื้นราบ สลับกับลูกคลื่นและมีความชัน ลักษณะดินทั่วไปเป็นดินเหนียว มีลำห้วยธรรมชาติแม่น้ำลำภาชีไหลผ่านบ้านบึงเหนือ ชาวบ้านใช้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญในการทำการเกษตร บริเวณริมแม่น้ำชาวบ้านจะปลูกพืชผัก ทำสวนผลไม้
สภาพบ้านเรือนของชาวบ้านบึงเหนือ บางบ้านจะเป็นเป็นอาคารคอนกรีตและบางบ้านยังคงบ้านไม้ชั้นเดียวฝาบ้านไม้ไผ่ฝ่าซีก แบบบ้านกะเหรี่ยงดั้งเดิม
สถานที่สำคัญในชุมชน
- การศึกษามีโรงเรียนบ้านบึง (สันติมโนประชาสรรค์) โรงเรียนบ้านคา (โรงเรียนมัธยมใกล้เคียงหมู่บ้าน) มีวัดบ้านบึง วัดโป่งเหาะ สำนักสงฆ์ (ธงทอง)
- รูปปั้นหลวงพ่อโต วัดบ้านบึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบึงเหนือ
บ้านบึงเหนือ มีจำนวนครัวเรือน 197 ครัวเรือน รวมประชากรทั้งสิ้น 574 คน
โพล่งกลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กลุ่มสตรีอาสา กลุ่มเยาวชน กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข กลุ่มผู้ใช้น้ำ กองทุนบทบาทสตรี กลุ่มอพปร. กลุ่ม อพป. สคบ. กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยง กลุ่มเลี้ยงหมู
โดยกลุ่มทอผ้าจัดตั้งปี 2540 มีสมาชิกประมาณ 30 คน มีประธาน คือ นางอารีย์ กงจก และกลุ่มปุ๋ย จัดตั้งปี 2558 มีสมาชิกประมาณ 50 คน มีประธาน คือ นายบุญมี คั้งยัง
วิถีชีวิตทำการเกษตรปลูกข้าวไร่แบบวิถีดั้งเดิม ซึ่งจะปลูกในช่วงเดือน 8 ในช่วงที่มีฝนตก จะทำให้ต้นข้าวเจริญงอกงาม เก็บเกี่ยวข้าวช่วงเดือนธันวาคม นอกจากนี้ยังปลูกผักเป็นเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักเพื่อการจำหน่าย ชาวบ้านในชุมชนจะเน้นการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นฐานการเรียนรู้และการสร้างจุดเรียนรู้ในการประกอบอาชีพการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง ชาวบ้านมีอาชีพทำเกษตรกรรมปลุกผัก ทำไร่ ในชุมชนจึงมีโรงปุ๋ยอินทรีย์
วิถีวัฒนธรรม
วัฒนธรรมประเพณี เช่น ภาษากะเหรี่ยง การแต่งกายกะเหรี่ยงสวมใส่ในงานประเพณีของชาวกะเหรี่ยง ประเพณีผูกแขนเรียกขวัญ ไหว้ต้นไม้ เล่นสะบ้า
วิถีทางเศรษฐกิจ
อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การทำเกษตรกรรม ทำไร่สับปะรด (ส่วนน้อย) ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกผัก ปลูกไม้ยูคา เลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงวัว เลี้ยงสุกร อาชีพค้าขาย ได้แก่ ขายผัก ผลไม้ ขายของชำ รับจ้างทั่วไป และพนักงานรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม
ทุนภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น |
1 | นายละห้อย เอี่ยมหนู | หมอยาสมุนไพร |
2 | นายเช้า ทองกง | จักสาน |
3 | นายอิทธิชัย คุ้งลิงค์ | จักสาน/งานช่าง |
4 | นางอารีย์ กงจก | ทอผ้ากะเหรี่ยง |
5 | นางสุด เพชรเม็ดเต็ง | ทอผ้ากะเหรี่ยง |
6 | นายบุญมี คั้งยัง | วัฒนธรรมประเพณี/ข้าวไร่/งานช่าง |
7 | นายปัญญา หงษ์ทอง | การละเล่นสะบ้า/งานช่าง |
8 | นายโสภา หงษ์ทอง | งานช่าง |
9 | นางกุ๋ยเลิ้ง คุ้งลึงค์ | อาหาร ขนม |
10 | นางจิตร คั้งยัง | อาหาร ขนม |
11 | นายบุญมี บุญรอด | แก๊สชีวภาพ |
12 | นางอารีย์ กงจก | ทอผ้า |
13 | นายเคลิก เรี่ยจี่ | ปุ๋ยชีวภาพ/การเกษตรปลูกผัก |
14 | นายสมยศ จินเทศ | ศาสนา/พิธีกรรม |
15 | นายโอม | การเลี้ยงชันโรง |
16 | นายสมพงษ์ สามงามยา | การเกษตรปลูกหัวไชเท้า |
17 | นางวาสนา ยอดแก้ว | การเกษตรปลูกสับปะรด |
18 | นางภัทรภร กาลิเทพ | งานเย็บผ้าม่าน |
19 | นางสาวไพลิน คาปูก | นวดแผนโบราณ |
20 | นางเกรียง ทองเอม | การเกษตร ปลูกผัก |
จุดแข็ง
- ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดี
- เป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติด
- ชาวบ้านมีที่ดินทำกิน
- มีภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง
- มีทุนวัฒนธรรมชุมชนวิถีชีวิตกะเหรี่ยง เช่น ทอผ้ากะเหรี่ยง อาหารกะเหรี่ยง งานจักสานเครื่องใช้ในการเกษตรกรรม
- มีความอุดมสมบูรณ์แม่น้ำลำภาชีใช้ทำการเกษตร
- มีความร่วมมือในการทำงานชุมชน
- มีการบริหารจัดการกองทุน กลุ่มอาชีพ กลุ่มกองทุน
- มีภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง
- หมู่บ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ผ้าทอกะเหรี่ยงตามเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านบึงเหนือ ศูนย์สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น มีฐานการเรียนรู้ในรูปแบบการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน มี 7 ฐาน ได้แก่ ฐานเลี้ยงหมูหลุม ฐานปุ๋ยอินทรีย์ ฐานการจัดการชุมชน ฐานทอผ้าและปักผ้ากะเหรี่ยง ฐานอาหารท้องถิ่น ฐานวัฒนธรรมประเพณีกะเหรี่ยง ฐานจักสาน ฐานการละเล่นสะบ้า
- มีหน่วยงานราชการในพื้นที่สนับสนุนการทำงานของชุมชน
- มีแหล่งท่องเที่ยว ที่พักและบริการ
ภาษากะเหรี่ยงและภาษาไทย
Dr.Choen Krainara. (6 พฤศจิกายน 2567). ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม บ้านบึงเหนือ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. https://www.slideshare.net/slideshow/