Advance search

ชุมชนบ้านเหล่ามะละกอ ชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะด้านการเกษตรอินทรีย์ที่เป็นหัวใจสำคัญของการดำรงชีวิตของผู้คนที่นี่

หมู่ที่ 15
บ้านเหล่ามะละกอ
ทุ่งหลวง
ปากท่อ
ราชบุรี
ทต.ทุ่งหลวง โทร. 0 3222 9971
ธนพร บุรีเลิศ
25 มี.ค. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
3 เม.ย. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
3 เม.ย. 2025
บ้านเหล่ามะละกอ


ชุมชนบ้านเหล่ามะละกอ ชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านการดำเนินชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง โดยเฉพาะด้านการเกษตรอินทรีย์ที่เป็นหัวใจสำคัญของการดำรงชีวิตของผู้คนที่นี่

บ้านเหล่ามะละกอ
หมู่ที่ 15
ทุ่งหลวง
ปากท่อ
ราชบุรี
70140
13.41034710417986
99.66506174027317
เทศบาลตำบลทุ่งหลวง

สมัยสงครามเก้าทัพในปี พ.ศ. 2328 ซึ่งมีพม่าได้จัดกองทัพใหญ่เข้ามาถึง 9 ทัพ ยกทัพผ่านมาบริเวณเชิงเขา แล้วให้ทหารถางป่า เพื่อพักค้างแล้วจึงยกทัพผ่านไป ต่อมาได้มีชาวบ้านมาอาศัยอยู่กลุ่มใหญ่ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากพื้นที่อื่น มาจับจองเป็นที่อยู่อาศัย ปลูกสร้างบ้านเรือนประกอบอาชีพ ล่าสัตว์ หาของป่าต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นอาชีพทำนาทำไร่ ปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ และทำงานรับจ้างนอกพื้นที่ บ้านเหล่ามะละกอแยกเมื่อ ปี พ.ศ. 2542 ชาวบ้านส่วนใหญ่มาจาก หมู่ที่ 11 ตำบลทุ่งหลวงจะอาศัยกันอย่างญาติพี่น้อง มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รักความสงบถ้อยทีถ้อยอาศัย นับถือเชื่อฟังผู้สูงอายุในชุมชน นับเป็นครอบครัวชนบทอย่างแท้จริง ต่อมาหลังจากเศรษฐกิจตกต่ำทำให้การประกอบอาชีพต่าง ๆ ประสบกับการขาดทุน รายได้ไม่พอรายจ่ายต้นทุนการผลิตในภาคเกษตรสูงราคาผลผลิตตกต่ำ ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ประชาชนในชุมชนได้เกิดการปรึกษาหารือเพื่อที่จะหาทางในการแก้ไขปัญหา ร่วมกันโดยการนำของ ผู้ใหญ่ สมยศ องอาจ ได้นำแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจแบบพอเพียงมาใช้ในชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ชุมชนยังได้รับรางวัลและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ดังนี้

1.หมู่บ้านดีเด่น "หมู่บ้านอยู่เย็น เป็นสุข" (Smart Village) โล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปี 2549

2.รางวัลหมู่บ้านต้นแบบยอดเยี่ยมระดับประเทศ ในการประกวดผู้ว่าราชการจังหวัดกับการพัฒนาการแบบบูรณาการการมีส่วนร่วมกับผู้นำของสำนักงานพัฒนาระบบข้าราชการ ปี 2554

3.รางวัลสังคมแห่งการเรียนรู้ต้นแบบรุ่นที่ 2 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ปี 2559

4.จังหวัดราชบุรีได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง บ้านเหล่ามะละกอ ในปี 2562 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมภูมิปัญญา และองค์ความรู้และขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นที่ชุมชน หมู่บ้าน หน่วยงานภาครัฐ เอกชน เข้ามาศึกษาต้นแบบการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้พัฒนาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงด้านการบริหารจัดการชุมชน

ขนาดของพื้นที่ 3,900 ไร่ ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา ดินร่วนปนทราย ลักษณะภูมิอากาศอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูร้อน ฤดูหนาว การเดินทางคมนาคมอยู่ห่างจากอำเภอปากท่อประมาณ 15 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดราชบุรี ประมาณ 26 กิโลเมตร เดินทางเข้าหมู่บ้านถนนทางหลวงชนบท เส้นทางภายในหมู่บ้านความยาว 3.75 กิโลเมตรเป็นถนนคอนกรีต และถนนลูกรัง 6 เส้นทาง ความยาว 120 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ 

  • ทิศเหนือ ติดต่อ บ้านเนินหมู่ที่ 16
  • ทิศใต้ ติดต่อ บ้านหนองเด่น หมู่ที่ 14
  • ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านพุคาย หมู่ที่ 4
  • ทิศตะวันตก ติดต่อ บ้านหนองวัวดำ หมู่ที่ 11 

สถานที่สำคัญในชุมชน

สถานที่สำคัญในชุมชน ได้แก่ โรงเรียนวัดสันติการราม และโรงเรียนวัดสันติการามวิทยา ในพระบรมราชานุเคราะห์ วัดสันติการาม (พุพลับ) ศูนย์สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ประชากรมีจำนวน 215 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 812 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ การเกษตร เช่น ทำไร่ ปลูกพืชผักและเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลัก ส่วนอาชีพรองคือ รับจ้างทั่วไป ผลผลิตทางการเกษตรด้านพืชผักผลไม้ จะรวบรวมส่งจำหน่าย ยังตลาดขายส่งในจังหวัดราชบุรี สาธารณูปโภคทุกหลังคาเรือนมีไฟฟ้าใช้ มีอินเทอร์เน็ตโครงการเน็ตประชารัฐ มีหอกระจายข่าว

  • กลุ่มเกษตรอินทรีย์บ้านเหล่ามะละกอ เป็นศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ทำหน้าที่ฝึกอบรมเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดราชบุรี โครงการอบรมเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ มีการศึกษาดูงาน ปฏิบัติจริง จัดทำเกษตรผสมผสาน พื้นที่ 1 ไร่ เพื่อให้เกษตรลดรายจ่ายในครัวเรือน ปลูกผัก ผลไม้ และสร้างแหล่งอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน
  • มีเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ใช้วัดเป็นศูนย์กลางคือ วัดสันติการาม ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
  • กลุ่มอาชีพชุมชน ได้แก่ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ กลุ่มฌาปนกิจ กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา กลุ่มกองทุนบทบาทสตรี กลุ่ม อสม. กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท กลุ่มเกษตรอินทรีย์ (ทำปุ๋ยหมัก) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) ศูนย์สงครามเคราะห์ประจำหมู่บ้าน กลุ่มโครงการแก้ปัญหาความยากจน (กข.คจ)

วิถีชีวิตชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตร น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำเกษตรปลูกผักอินทรีย์ ปลูกผักขายส่งตลาดศรีเมือง ทำไร่อ้อย ปลูกฝรั่ง  เลี้ยงหมู เลี้ยงวัว 

วิถีวัฒนธรรม          

วัฒนธรรมประเพณี ทำบุญประเพณี 12 เดือนตามเทศกาลประเพณีไทย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ลอยกระทง เข้าพรรษา ออกพรรษา รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นต้น 

วิถีทางเศรษฐกิจ

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ฮอร์โมนไข่ สมุนไพรไล่แมลง เผาถ่าน เก็บน้ำส้มควันไม้ การทำจุลินทรีย์ ท้องถิ่น จุลินทรีย์หน่อกล้วยการผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ การทำน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน การทำสบู่ การเลี้ยงกบ เลี้ยงปลาเลี้ยงไก่ไข่
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นคือ หัตถกรรมเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักชีวภาพ สมุนไพรไล่แมลง ฮอร์โมนไข่ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ สบู่สมุนไพร ผักกางมุ้ง สมุนไพรพื้นบ้าน น้ำพริกเผา น้ำดื่มสมุนไพร เป็นต้น

ภัยทางธรรมชาติ

  • ภัยแล้ง

ปราชญ์ท้องถิ่น

ลำดับที่  ชื่อ-สกุล ภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น
1 นายอุบล แช่มช้อย การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ, ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ, ฮอร์โมนไข่, สมุนไพรไล่แมลง, เผาถ่าน, เก็บน้ำส้มควันไม้, การทำจุลินทรีย์, จุลินทรีย์หน่อกล้วย, การผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์, การทำน้ำยาซักผ้า, น้ำยาล้างจาน,  การทำสบู่, การเลี้ยงกบ, เลี้ยงปลาเลี้ยง, ไก่ไข่
2 นายคีรี ลี้ฐิตินันท์ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
3 นายใช้ วาที่กรุณา การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
4 นายสำรวย สรรเสริญ การทำฮอร์โมนไข่
5 นายประเทือง ผูกน้อย การทำฮอร์โมนไข่
6 นายส่วน ปานกลัด การทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ, การขยายเชื้อ BI
7 นายบุญจันทร์ นิ่มน่วม                             การทำสมุนไพรไล่แมลง, การทำสารสมุนไพรป้องกันโรคพืช, การทำสมุนไพรป้องกันเชื้อรา, การทำสารสมุนไพรสูตรรวม
8 นางบิลอน สว่างพื้น การทำแชมพูสระผม สูตรใบหญ้านาง, อัญชัน, มะกรูด, การทำน้ำยาล้างจาน สูตรนุ่มมือ (ไม่ใช้น้ำขี้เถ้า), การทำสบู่ก้อนใส สูตรสมุนไพร, การทำน้ำยา ซักผ้า
9 นางกุลณิชา ทองมาก การทำแชมพูสระผม สูตรใบหญ้านาง, อัญชัน, มะกรูด, การทำน้ำยาล้างาน สูตรนุ่มมือ (ไม่ใช้น้ำขี้เถ้า), การทำสบู่ก้อนใส สูตรสมุนไพร, การทำน้ำยา ซักผ้า
10 นายสมบัติ องค์อาจ การทำเตาถ่านแบบครอบครัว
11 นายเก้ว ฉินนวกิจ การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ในครัวเรือน
12 นายเฉลียว สรรเสริญ การทำจุลินทรีย์ท้องถิ่น, การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย
13 นายเล็ก ชุ่มจันทร์ การเลี้ยงหมูต้นทุนต่ำ (หมูหลุม), การเลี้ยงกบคอนโด

ชุมชนบ้านเหล่ามะละกอ มีศักยภาพของชุมชนที่เป็นทุนชุมชนปราชญ์ท้องถิ่นและทรัพยากรทางธรรมชาติและอื่น ดังนี้

ทุนภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ฮอร์โมนไข่ สมุนไพรไล่แมลง เผาถ่าน เก็บน้ำส้มควันไม้ การทำจุลินทรีย์ ท้องถิ่น จุลินทรีย์หน่อกล้วยการผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์ การทำน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน การทำสบู่ การเลี้ยงกบ เลี้ยงปลาเลี้ยงไก่ไข่ การทำเตาถ่านแบบครอบครัว การผลิตก๊าซชีวภาพใช้ในครัวเรือน การเลี้ยงหมูต้นทุนต่ำ (หมูหลุม), การเลี้ยงกบคอนโด เป็นต้น

ทุนทรัพยากรธรรมชาติ/ทรัพยากรอื่น ๆ แหล่งน้ำในหมู่บ้านมี 2 สาย คือ ลำห้วยพุพลับ และลำห้วยแห้ง เป็นแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นเองเป็นสระน้ำสาธารณประโยชน์ จำนวน 9 แห่ง เป็นแหล่งอุปโภคและบริโภคในหมู่บ้าน มีสวนสมุนไพร ป่าชุมชน กลุ่มสวัสดิการชุมชนโรงสีชุมชน 

แหล่งเรียนรู้ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเหล่ามะละกอ ศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นศูนย์ส่งเสริมและเผยแพร่การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้เพื่อการพึ่งพาตนเอง เปิดให้ชาวบ้านหรือผู้ที่สนใจวิชาการการสร้างอาชีพจากเกษตรหลายอาชีพเข้ามาเรียนรู้กิจกรรมฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ฐานจุลินทรีย์หน่อกล้วย ฐานน้ำยาอเนกประสงค์ ฐานแก๊สชีวภาพ ฐานจุลินทรีย์เบญจคุณ ฐานสมุนไพรไล่แมลง ฐานปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ฐานปุ๋ยหมักชีวภาพ ฐานเก็บน้ำส้มควันไม้ ฐานการทำฮอร์โมนไข่ ฐานเลี้ยงหมูหลุม ฐานจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ฐานจุลินทรีย์ท้องถิ่นธนาคารต้นไม้ โคกหนองนา โมเดล เกษตรทฤษฎีใหม่

ภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กรมการพัฒนาชุมชน. (24 มกราคม 2566). บ้านเหล่ามะละกอ จ.ราชบุรี. https://cddportal.cdd.go.th/

ทต.ทุ่งหลวง โทร. 0 3222 9971