
จุดเริ่มต้นของการสร้างทางรถไฟสายมรณะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ ปัจจุบันสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก มีอาหารที่ขึ้นชื่อเป็นเอกลักษณ์ ข้าวแกงใส่กระทงใบตอง ที่ขายมานานกว่า 40 ปี
ชุมชนหนองปลาดุกมีแม่น้ำลำธารและหนองเป็นส่วนมาก และมีปลาดุกอาศัยในน้ำอยู่เยอะ จึงเรียกกันว่า "หนองปลาดุก"
จุดเริ่มต้นของการสร้างทางรถไฟสายมรณะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ ปัจจุบันสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก มีอาหารที่ขึ้นชื่อเป็นเอกลักษณ์ ข้าวแกงใส่กระทงใบตอง ที่ขายมานานกว่า 40 ปี
หนองปลาดุก เป็นชื่อหมู่บ้านในเขตตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นสถานที่ตั้งของชุมทางรถไฟสายสำคัญ สายประวัติศาสตร์สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก นับเป็นสถานีรถไฟต้นทางของทางรถไฟสายมรณะ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ในสมัยสงครามโลกที่ญี่ปุ่นกำลังล่าอาณานิคมและเป็นมหาอำนาจ ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณหนองปลาดุก ที่นี่คือยุทธศาสตร์ที่สำคัญในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้สร้างสถานีรถไฟเพื่อทำเป็นจุดขนส่งเสบียง นับเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้างทางรถไฟสายสงครามเส้นทางหนองปลาดุก(บ้านโป่ง) มุ่งหน้าไปกาญจนบุรี ทองผาภูมิ ด่านเจดีย์สามองค์ และตันบูซายัตในเขตประเทศเมียนมา ในการก่อสร้างครั้งนี้ญี่ปุ่นได้จับชาวไทยไปเป็นเชลยและใช้แรงงานในการสร้างสถานีรถไฟ คนไทยจึงเรียกสถานีรถไฟนี้ว่า ทางรถไฟมรณะ สถานะที่สำคัญของหนองปลาดุก คือ การเป็นสถานีรถไฟชุมทาง มีเส้นทางแยกออกไป 3 สาย สายหนึ่งคือเส้นทางรถไฟสายใต้เส้นทางหลักที่เริ่มต้นจากกรุงเทพและธนบุรีมุ่งหน้าไปหาดใหญ่ มาเลเซีย และสิ้นสุดปลายรางที่สิงคโปร์ อีกสายไปสุดปลายทางที่สถานีสุพรรณบุรี และอีกสายหนึ่งคือเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์และสายท่องเที่ยวที่สำคัญนั่นคือสายน้ำตก (สายกาญจนบุรี)
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มี 3 ฤดู คือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน-กันยายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนและดินเหนียวปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลางมีความเหมาะสมอย่างดีสําหรับปลูกข้าวและปลูกพืชไร่
พื้นที่อาณาเขตติดต่อที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตําบล
ตําบลหนองกบตั้งอยู่ในอําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากอําเภอบ้านโป่งประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม 19.72 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,325 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อําเภอเมืองนครปฐม
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตําบลหนองอ้อ อําเภอบ้านโป่ง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อําเภอเมืองนครปฐม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตําบลปากแรต และตําบลหนองอ้อ อําเภอบ้านโป่ง
สถานที่สำคัญในชุมชน
- วัดหนองปลาดุก ตั้งอยู่เลขที่ 166 บ้านหนองปลาดุก หมู่ 6 ตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110 หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 0 3236 8032 ทั้งนี้วัดหนองปลาดุก ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2871 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2509 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 14 ไร่ 40 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือและทิศใต้จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกจดทางสาธารณประโยชน์ มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 93 ตารางวา อาคาเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2513 กุฏิสงฆ์ วิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2529 ศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2532 ศาลาบำเพ็ญกุศล ปัจจุบันมี พระครูวรพรตธาดา เป็นเจ้าอาวาส
- สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
ชุมชนหนองปลาดุก ประกอบด้วย จำนวน 259 ครัวเรือน จำนวนประชากรชาย 380 คน หญิง 436 คน รวมมีประชากรทั้งสิ้น 816 คน
ปฏิทินชุมชน
เดือน | กิจกรรมสำคัญ |
มกราคม | - |
กุมภาพันธ์ | วันมาฆบูชา |
มีนาคม | - |
เมษายน | - |
พฤษภาคม | วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6), วันอัฏฐมีบูชา (แรม 8 ค่ำ เดือน 6) |
มิถุนายน | - |
กรกฎาคม | วันอาสาฬหบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8), วันเข้าพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดือน 8) |
สิงหาคม | - |
กันยายน | - |
ตุลาคม | วันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11), วันเทโวโรหณะ (แรม 1 ค่ำ เดือน 11), วันตักบาตรเทโว ประเพณีทำบุญตักบาตรที่เกี่ยวข้องกับวันเทโวโรหณะ |
พฤศจิกายน | วันลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12) |
ธันวาคม | - |
ใช้ภาษาไทยกลางในการสื่อสาร
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกบ. (ม.ป.ป.). ข้อมูลเกี่ยวกับ อบต. https://www.nong-kob.go.th/
อบต.หนองกบ บ้านโป่ง ราชบุรี. Facebook. https://www.facebook.com/
Wikiwand. (มป.ป.). ชุมทางหนองปลาดุก. Wikiwand. https://www.wikiwand.com/th/articles/
วัดหนองปลาดุก. (ม.ป.ป.). หลวงพ่อทองสุข วัดหนองปลาดุก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี. Facebook. https://www.facebook.com/WatNongpladuk/
ดารีมมม_กินเที่ยว. (27 กันยายน 2564). ภาพถ่ายสถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก. Wongnai. https://www.wongnai.com/attractions/