
ชุมชนบ้านหนองขามยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยดั้งเดิม มีงานบุญประจำปีและกิจกรรมท้องถิ่นที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมของชุมชนอย่างชัดเจน และยังมีหัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาการทอผ้าจกไท-ยวน ขั้นตอนการทอผ้าและเป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอของชุมชน
ชุมชนบ้านหนองขามยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยดั้งเดิม มีงานบุญประจำปีและกิจกรรมท้องถิ่นที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมของชุมชนอย่างชัดเจน และยังมีหัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาการทอผ้าจกไท-ยวน ขั้นตอนการทอผ้าและเป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอของชุมชน
เนื่องจากมีถิ่นฐานเดิมอยู่แถบอาณาจักรล้านนา ดินแดนทางตอนเหนือของประเทศไทย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2347 จากเหตุการณ์บ้านเมือง ชาวไท-ยวน ถูกกวาดต้อนจากเมืองเชียงแสนมาอยู่กรุงเทพ และขยายครัวเรือนไปตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น สระบุรี ราชบุรี เป็นต้น โดยจังหวัดราชบุรีมีการอพยพไปตามตำบลต่าง ๆ ของอำเภอเมืองราชบุรี เช่น ตำบลคูบัว ตำบลหินกอง ตำบลดอนตะโก ตำบลอ่างทอง ตำบลเจดีย์หัก ตำบลดอนแร่ เป็นต้น
บ้านหนองขาม ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เป็นหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี ที่มีวัฒนธรรมไท-ยวน และภูมิปัญญาเป็นเสน่ห์แห่งวิถีชีวิต มีการอนุรักษ์และสืบทอดการทอผ้าพื้นเมือง ซิ่นตีนจกและมีสถาปัตยกรรมที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ มากมาย เช่น กราบขอพรรอยพระพุทธบาทที่ศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขา ณ วัดนาหนอง ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดนาหนอง และวัดทุ่งหญ้าคมบาง ตลอดจน มีต๋าหลาดไท-ยวน วัดนาหนองซึ่งตลาดชุมชนที่ให้นักท่องเที่ยวได้มาชมวัฒนธรรมไท-ยวน ชิมอาหารรสเด็ดพื้นถิ่น ช้อปสินค้าดี สินค้าพื้นถิ่น หลากชนิดและสัมผัสธรรมชาติที่น่ารื่นรมย์
สถานที่สำคัญในชุมชน
สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน เช่น โรงเรียนวัดนาหนอง (วิธานราษฎร์อนุกูล) ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี วัดนาหนอง ต๋าหลาดไท-ยวน
บ้านหนองขาม ประกอบด้วยครัวเรือนจำนวน 221 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 744 คน เป็นชาย 373 คน และหญิง 371 คน
ไทยวนมีศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี เป็นศูนย์เรียนรู้การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าของชุมชน เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาการทอผ้าจกไท-ยวน รวมทั้งขั้นตอนการทอผ้าและเป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอของชุมชน
บ้านหนองขาม คนในชุมชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายไท-ยวน มีบรรพบุรุษอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากทางตอนเหนือของไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ทำให้มีวิถีชีวิต วัฒนธรรม เป็นอัตลักษณ์ทั้งทางภาษา การแต่งกาย การทอผ้า อาหารท้องถิ่น และประเพณีวิถีชีวิต ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรพอเพียง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชุมชน ในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดตั้งต๋าหลาดไท-ยวน การทำโรงเพาะเห็ด ทำเกษตรอินทรีย์ ปลูกพืชผักสวนครัว
วิถีวัฒนธรรม
วัฒนธรรมประเพณี ทำบุญประเพณี 12 เดือน ตามเทศกาล ประเพณีไทย เช่น งานบุญประเพณีเดือน 3 ตักบาตรข้าวต้มมัด มีกิจกรรมปิดทองอดีตเจ้าอาวาสวัดนาหนอง นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง แห่ผ้าแดงไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาทจำลอง ตักบาตรข้าวต้มมัด หรืองาน ตักบาตรเทโวช่วงเทศกาลออกพรรษา งานเทศน์มหาชาติ เป็นต้น การนมัสการมีศิลปะการแสดง “เซิ้งดอนแร่”
วิถีทางเศรษฐกิจ
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ผ้าจกและผ้าทอไท-ยวนมีลวดลายอัตลักษณ์ เป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน มีผลิตภัณฑ์ไทยที่มีต่อยอดจากทุนวัฒนธรรม เช่น กระเป๋า พวงกุญแจ ย่าม เสื้อแต่งผ้าจก
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น |
1 | พระครูวินัยธร อำนาจอนุภทโท | ศาสนาและวัฒนธรรม |
2 | นางสุวภัทร ตำหนิงาม | กระเป๋าผ้าจก |
3 | นางพนมพร องอาจ | ย่ามผ้าจก |
4 | นางวรรธนี โสดยวง | ผ้าจก |
5 | นางสาวดลตวรรณ มณีจันทร์ | ผ้าจก |
6 | นางนิภา มณีจันทร์ | ผ้าจก |
7 | นางมณฑิรา มณีจันทร์ | ขนมพื้นบ้าน |
8 | นางทองดำ จาโสด | ขนมพื้นบ้าน |
9 | นางจุฬาลักษณ์ มณีจันทร์ | อาหารพื้นบ้าน |
- ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดี
- เป็นพื้นที่ปลอดยาเสพติด
- ชาวบ้านมีที่ดินทำกิน
- มีภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่นด้านการทอผ้าจกไท-ยวนที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ
- หมู่บ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานตามเศรษฐกิจพอเพียง
- ปัจจัยทางสาธารณสุข โรงพยาบาล มีการบริการด้านสาธารณสุขอย่างทั่วถึงผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง เสียสละ รับผิดชอบ
- ปัจจัยแหล่งสินเชื่อ และการออมทรัพย์ บริเวณแหล่งชุมชน มีธนาคารหลายแห่ง
- อาหารพื้นบ้าน เช่น แกงหยวกกล้วย แกงหน่อไม้ ยำหัวปลี เป็นต้น
- แหล่งเรียนรู้ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
- ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านราชบุรี เป็นศูนย์เรียนรู้การสืบทอดภูมิปัญญาด้านการทอผ้าของชุมชน เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาการทอผ้าจกไท-ยวนขั้นตอนการทอผ้าและเป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอของชุมชน
- วัดนาหนอง มีงานศิลปะที่สำคัญเป็นแหล่งท่องเที่ยว คือ รอยพระพุทธบาทบนยอดเขา วัดนาหนอง จิตรกรรมฝาผนัง ธรรมาสน์ทรงบุษบก บนศาลาการเปรียญ ที่กระดานคอสอง เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ทศชาติชาดกและภาพปริศนาธรรม
- ต๋าหลาดไท-ยวน วัดนาหนองเป็นตลาดวิถีชุมชนเปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ให้นักท่องเที่ยวมาชมวัฒนธรรมไท-ยวน ชิมอาหารรสเด็ดพื้นถิ่นและจับจ่ายซื้อสินค้าผ้าจกไท-ยวน พืชผลทางการเกษตร
- จุดชมวิวทุ่งนา สะพานไม้ อยู่ริมถนนตรงข้ามต๋าหลาดไท-ยวนและจุดชมวิวบนยอดเขารอยพระพุทธบาทบริเวณวัดนาหนอง
ภาษาไทยวน
- ทางขึ้นรอยพระพุทธบาท วัดนาหนอง
- แหล่งท่องเที่ยวชุมชนต๋าหลาดไท-ยวน ตั้งตรงข้ามวัดนาหนอง
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
เที่ยวราชบุรี.com. (ม.ป.ป.). ต๋าหลาดไท-ยวน วัดนาหนอง. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2568. จาก https://เที่ยวราชบุรี.com/สถานที่เที่ยวราชบุรี
ไทยโพสต์. (23 กันยายน 2563). บวร On Tour เที่ยวชุมชนวัดนาหนอง จ.ราชบุรี สัมผัสวิถีไท-ยวน. https://www.thaipost.net/main/