
เป็นหมู่บ้านที่มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน
จากสมัยก่อนบริเวณที่เรียกว่า "คลองรางสีหมอก" เคยเป็นคอกม้าขนาดใหญ่บริเวณนี้จะเป็นจุดที่ชุมนุมรวมม้าจำนวนมาก ซึ่งม้าส่วนใหญ่ที่เลี้ยงจะมีลักษณะรูปร่างเป็นม้าสีหมอก จึงทำให้ชาวบ้านเรียกบริเวณดังกล่าวว่า "บ้านรางสีหมอก" คือบริเวณโรงเรียนบ้านรางสีหมอกในปัจจุบัน
เป็นหมู่บ้านที่มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน
จากสมัยก่อนบริเวณที่เรียกว่า "คลองรางสีหมอก" เคยเป็นคอกม้าขนาดใหญ่บริเวณนี้จะเป็นจุดที่ชุมนุมรวมม้าจำนวนมาก ซึ่งม้าส่วนใหญ่ที่เลี้ยงจะมีลักษณะรูปร่างเป็นม้าสีหมอก จึงทำให้ชาวบ้านเรียกบริเวณดังกล่าวว่า "บ้านรางสีหมอก" คือ บริเวณโรงเรียนบ้านรางสีหมอกในปัจจุบัน
ลักษณะภูมิประเทศ มีขนาดพื้นที่ 1,780 ไร่ หรือ 2,848,000 ตารางกิโลเมตร ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การเกษตร ในหมู่บ้านคลองขุดตลอดแนว มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ 8 ตำบลแพงพวย
- ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ 5 ตำบลสี่หมื่น
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับหมู่ 1 ตำบลท่านัด
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ 4 ตำบลแพงพวย
การประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่จะทำเกษตรกรรม พืชที่ปลูกเป็นหลัก ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง, ข้าวโพดฟักอ่อน, ว่านหางจระเข้
การเดินทางเข้าหมู่บ้าน โดยทางรถยนต์ระยะทางจากอำเภอเมืองราชบุรี ไปทางทิศใต้ของตัวเมืองราชบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3339 ระยะทางประมาณ 5.250 กิโลเมตร
สาธารณูปโภค มีไฟฟ้า โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ และประปาหมู่บ้านครอบคลุมทุกครัวเรือน
สถานที่สำคัญในชุมชน สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน โรงเรียนบ้านรางสีหมอก ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านรางสีหมอก ศูนย์กีฬาหมู่บ้านรางสีหมอก สหกรณ์การเกษตรบ้านรางสีหมอก
มีประชากร จำนวน 221 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 744 คน เป็นชาย 373 คน และหญิง 371 คน
การประกอบอาชีพส่วนใหญ่จะทำเกษตรกรรม พืชที่ปลูกเป็นหลัก ได้แก่ หน่อไม้ฝรั่ง, ข้าวโพดฟักอ่อน, ว่านหางจระเข้
กองทุนกลุ่มอาชีพ
ชื่อกลุ่ม | ผู้นำ/ประธาน | ข้อมูลการจัดตั้ง/สมาชิก/กิจกรรมกลุ่ม ฯลฯ |
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านรางสีหมอก | - | - |
กองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านรางสีหมอก | - | - |
สหกรณ์การเกษตรบ้านรางสีหมอก | นายกิมเส็ง จันทร์มงคลชัย | ก่อตั้งปี 2549 |
กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยหมัก | - | ก่อตั้งปี 2547 |
กลุ่มการทำน้ำส้มควันไม้ | - | ก่อตั้งปี 2550 |
กลุ่มผู้ผลิตหน่อไม้ฝรั่งบ้านรางสีหมอก | นายกำพล จันทร์งาม | ก่อตั้งปี 2539 |
กลุ่มผู้ผลิตมะพร้าวน้ำหอม | นายจรัญ เจริญทรัพย์ | - |
วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ชุมชน
ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรพอเพียง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชุมชน ในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน การเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงชันโรง เผาถ่าน น้ำสัมควันไม้ เลี้ยงไส้เดือน ปลูกผักอินทรีย์ แปรรูปอาหาร เลี้ยงปลา การปลูกมะพร้าวเพื่อการส่งออก
วิถีวัฒนธรรม
วัฒนธรรมประเพณี ทำบุญประเพณี 12 เดือน ตามเทศกาล ประเพณี
วิถีทางเศรษฐกิจ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การปลูกมะพร้าว แปรรูปมะพร้าว
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป เช่น แป้งกล้วย
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น |
1 | นายจรัญ เจริญทรัพย์ | การเกษตรปลูกมะพร้าว |
2 | นายเสรี อรรคพิมานกูล | การปลูกมะพร้าว แปรรูปมะพร้าว |
3 | นายพรชัย บุษผามาศ | เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน การเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงชันโรง ผลิตภัณฑ์แปรรูป เช่น แป้งกล้วย นำผึ้งชั้นโรงเผาถ่าน น้ำส้มควันไม้ เลี้ยงไส้เดือน ปลูกผักอินทรีย์ แปรรูปอาหาร เลี้ยงปลา |
4 | นายกำพล จันทร์งาม | การเกษตร ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง |
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การปลูกมะพร้าว แปรรูปมะพร้าว
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ มะพร้าวน้ำหอม ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป เช่น แป้งกล้วย น้ำส้มควันไม้
แหล่งเรียนรู้ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวชุมชน
- ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สินค้าเกษตร ตําบลท่านัด อําเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตมะพร้าว มีการจัดทำแปลงสาธิตการจัดการมะพร้าว 11 ฐานการเรียนรู้ที่ 1 การเพิ่มมูลค่าผลผลิต แนะนำในเรื่องการทำการเกษตรในแนวทางที่พึ่งพาตนเองได้ ทั้งเชิงการ ผลิต การแปรรูป และการจัดจําหน่าย ฐานการเรียนรู้ที่ 2 สถานีการผลิตปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้ความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยตามคำวิเคราะห์ดิน การใช้ ปุ๋ยสั่งตัด การใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต ฐานการเรียนรู้ที่ 3 สถานีการผลิตและการใช้สารชีวภัณฑ์ ให้ความรู้เรื่องวิธีการการผลิตและการใช้สารชีวภัณฑ์ใน การกำจัดแมลงศัตรูพืช ฐานการเรียนรู้ที่ 4 สถานีการเลี้ยงและแยกรังชันโรง ให้ความรู้ในเรื่องวิธีการเลี้ยงชันโรงและวิธีแยกรังชันโรง แปลงเรียนรู้ : สาธิตวิธีการปลูกมะพร้าว และการบริหารจัดการในสวนอย่างไรให้ผลผลิตมีคุณภาพ
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านรางสีหมอก เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกษตรกรผู้สนใจได้รับความรู้ นำไปปฏิบัติได้ มีกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารสหกรณ์การเกษตรบ้ารางสีหมอก การทำปุ๋ยหมัก การคัดแยกหน่อไม้ฝรั่ง การทำน้ำส้มควันไม้ การปลูกหน่อไม้ฝรั่งและข้าวโพดฟักอ่อน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต การดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้กองทุนแม่ของแผ่นดิน วิถีชีวิตชุมชนในการทำเกษตรปลอดภัยและการดำรงชีวิตแบบพอเพียง การจัดการชุมชนส่งเสริมสวัสดิภาพ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชน เช่นการทำน้ำว่านหางจระเข้ การทำผลไม้ออมสินจากเศษกระดาษ เป็นต้น
- ศูนย์เรียนรู้องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด /ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติส่งเสริมการเลี้ยงผึ้ง /ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ รูปแบบโคก หนอง นา โมเดล เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน การเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงชันโรง เผาถ่าน น้ำส้มควันไม้ เลี้ยงไส้เดือน ปลูกผักอินทรีย์ แปรรูปอาหาร เลี้ยงปลา
- ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ ตำบลท่านัด โดยนายพรชัย บุษผามาศ ปราชญ์ท้องถิ่น
ภาษาไทย
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง