Advance search

เรื่องราวของชุมชนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นการเลี้ยงช้างและพิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่อง มีพิธีสักการะศาลเจ้าพระยาตาประกำและพิธีทำบุญประจำปี

หมู่ที่ 2
บ้านสนามชัย
เจ็ดเสมียน
โพธาราม
ราชบุรี
ทต.เจ็ดเสมียน โทร. 0 3239 7032, 0 3239 7026
ธนพร บุรีเลิศ
25 มี.ค. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
5 เม.ย. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
5 เม.ย. 2025
บ้านสนามชัย


ชุมชนชนบท

เรื่องราวของชุมชนประวัติศาสตร์ท้องถิ่นการเลี้ยงช้างและพิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่อง มีพิธีสักการะศาลเจ้าพระยาตาประกำและพิธีทำบุญประจำปี

บ้านสนามชัย
หมู่ที่ 2
เจ็ดเสมียน
โพธาราม
ราชบุรี
70120
13.643961077411284
99.82081296658325
เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน

ความเป็นมาของบ้านสนามชัย มีการเล่าต่อกันมาว่า "ในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชุมชนหนึ่งซึ่งอยู่เหนือวัดสนามชัย เป็นชุมชนเชื้อสายเขมร หัวหน้าหมู่บ้านคุณพระอุเทน แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า พระวิเซนทร์ มีหน้าที่เป็นนายกองเลี้ยงช้างหลวง จัดหาช้างไว้ใช้ในราชการ พระอุเทน มีข้า-ทาส บริวารในการเลี้ยงช้างเป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้นที่นาด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นป่า พระอุเทนจึงคุมบริวารไปแผ้วถางป่าเป็นผืนนา การไปทำงานก็ใช้ช้างในการเดินทางและบรรทุกสัมภาระไป ปัจจุบันที่ดินที่เป็นป่าจากเดิมมาเป็นทุ่งนา มีชื่อตามสภาพ เช่น นาดงทอง นาลาดปลากราย นาหนองกระโด นาบ้านทุ่ง นาแถวตาล

ปรากฏว่ามีสตรีผู้หนึ่งในสมัยยังสาว ชื่อ ปู ตระกูล จันทร์ฉิม เป็นผู้ที่เก่งมากในการขี่ช้างในการจับช้างป่า เรียกว่า คล้องช้าง ก่อนจะไปจะต้องทำพิธี เช่น สังเวย ในทางไสยศาสตร์เพื่อความเป็นสวัสดีและปลอดภัย เรียกว่า พิธีปะกำช้าง ในพิธีจะต้องตั้งศาลขึ้นเรียกว่า ศาลตาปะกำ โดยการนำของใช้ในการคล้องช้าง เช่น เชือกหนัง ทำมาจากหนังควาย โซ่ ขอสับช้างและอื่น ๆ เข้าในพิธีหมอช้างทำพิธี เช่น สังเวยบูชา เมื่อคณะคล้องช้างเข้าไปในป่า เพื่อหาโขลงข้าง ภรรยาของผู้ที่ไปคล้องช้าง อยู่ที่บ้านจะต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม รักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ห้ามแต่งตัวด้วยของหอม ห้ามแต่งหน้า ห้ามทาน้ำมัน เพื่อความเป็นสวัสดีของคนที่ไป

คณะที่ไปคล้องช้าง มีหมอช้างซึ่งมีวิชากำบังไพร เสกใบไม้เสียบไว้ที่ศีรษะ นั่งอยู่บนคอช้างต่อซึ่งเป็นช้างแสนรู้ช้างป่าจะมองไม่เห็นคนที่นั่งอยู่บนคอช้างเมื่อต้อนช้างป่ารวมเป็นกลุ่มแล้วหมอช้าง เลือกช้างตัวที่มีลักษณะดี แล้วเอาช้างต่อเข้าชิด เอาบ่วงบาศสวมใส่ ขาหน้าของช้างป่าทั้ง 2 ข้าง เอาเชือกหนังคล้องคอช้างป่า ประกบกับคอช้างต่อ แล้วนำมาฝึกใช้งานต่อไป

ในสมัยพระอุเทน มีเหตุการณ์ที่ชาวบ้านไม่ลืมอยู่ครั้งหนึ่ง คือ พลายบัวบานตกมัน ดุมาก หมอช้างไม่สามารถบังคับได้ ช้างพลายบัวบานได้ออกอาละวาด ฆ่าผู้คนล้มตายหลายคน พระอุเทนและคณะจำต้องคิดกำจัดใช้อุบายโดยใช้หลุมพราง ขุดให้ลึกและพรางตาด้วยหญ้า แล้วใช้คนวิ่งล่อให้พลายบัวบาน ไล่กวดคนวิ่ง วิ่งหน้าหลุมพราง พลายบัวบานวิ่งไล่มา แล้วตกลงไปในหลุมพราง-ตาย หลุมนี้ ปัจจุบันเรียกว่า ตลุคบัวบาน มาจนทุกวันนี้

ที่ศาลตาปะกำ มีผีตีนโรง-ตีนศาล คนหนึ่งที่ถูกช้างเหยียบตาย ชื่อว่า ตาอยู่ ใครทำของหายหาไม่เจอหรือมีเรื่องอะไรเล็ก ๆ น้อย จะให้ช่วย บนตาอยู่ ด้วยเหล้าขาว 1 ขวด สำเร็จศักดิ์สิทธิ์มาก ปัจจุบันศาลตาปะกำ เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนในชุมชนเป็นอย่างมาก ใครมาบนบานปรารถนาสิ่งใดจะสำเร็จ มีละครชาตรีมาแก้บนเป็นประจำ

ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จมหาธีรราชเจ้า ได้ตราพระราชบัญญัติตั้งนามสกุลขึ้น พระอุเทน ได้ตั้งนามสกุลว่า "วงศ์ไอยรา" แปลว่า วงศ์ช้าง ข้า-บริวาร ของพระอุเทน ได้ขอใช้นามสกุลร่วมด้วย พระอุเทน ท่านใจดีอนุญาตให้ใช้นามสกุลร่วมด้วย นามสกุลนี้มี 4 พยางค์ ต่อมามีพระราชบัญญัติ นามสกุลที่มิได้พระราชทาน จะมี 4 พยางค์ไม่ได้ จึงตัดออก 1 พยางค์เหลือเพียง "วงศ์ยะรา"นามสกุลนี้มีมากในตำบลเจ็ดเสมียน ทายาทของตระกูลมีศีลธรรมมีฐานะมั่นคง เป็นคนดีของชาติ ทุก ๆ วันเสาร์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม มีการทำบุญที่ศาลตาปะกำ พระสงฆ์สวดมนต์เย็นเช้าวันรุ่งขึ้นพระสงฆ์มาฉันท์เช้า ประชาชนทั่วไปทั้งหมู่ 4-5 ร่วมกันทำบุญ เสร็จแล้วรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นประจำทุกปี

บ้านสนามชัย ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ห่างจากอำเภอโพธารามไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 7 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดราชบุรี ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 13 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 บ้านคลองมะขาม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 2, 3 และ 6 
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลดอนทราย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำแม่กลอง

การเดินทางเข้าถึงชุมชนทางรถยนต์ มีหลายเส้นทาง ได้แก่ 1) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เชื่อมโยงระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดต่าง ๆ ในภาคกลางและภาคใต้ 2) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (เดิม) (ถนนเพชรเกษม) เชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ เทศบาลตำบลเจ็ดเสมียนกับจังหวัดราชบุรี 3) ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3238 (แยก 4 เดิม-เจ็ดเสมียน) เชื่อมโยงพื้นที่ภายในเขตเทศบาลตำบลเจ็ดเสมียน 4) การคมนาคมขนส่งทางรถไฟ มีสถานีรถไฟบริเวณตลาดเจ็ดเสมียน เป็นเส้นทางรถไฟสายใต้ ที่ใช้ติดต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลาง กับจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้ และภาคตะวันตก ระบบสาธารณูปโภค มีไฟฟ้า น้ำอุปโภค บริโภค ครบทุกครัวเรือน

สถานที่สำคัญในชุมชน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลวัดสนามชัย โรงเรียนวัดสนามชัย วัดสนามชัย วัดตึกหิรัญราษฎร์ ศาลสมเด็จเจ้าพระยาตาประกำ ศาลต้นศรีมหาโพธิ์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อาชีพรับจ้าง ทำหัวผักกาดเค็ม (หัวไชโป้ว) ค้าขาย เกษตรกรรม พืชที่ปลูก ได้แก่ ข้าว อ้อย มะขามเทศมัน เลี้ยงสัตว์

กองทุนกลุ่มอาชีพ ได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชนบ้านศาลตาราม กลุ่ม อสม. กลุ่มทำปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้ดอกไม้จันทน์ ศูนย์บูรณาการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กลุ่มกีฬาเปตอง กลุ่มอาสาสมัครประชาธิปไตย

วิถีวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นการเลี้ยงช้างและพิธีกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงช้าง มีพิธีสักการะศาลเจ้าพระยาตาประกำและพิธีทำบุญประจำปี วัฒนธรรมประเพณี ทำบุญประเพณี 12 เดือน ตามเทศกาลประเพณี

วิถีทางเศรษฐกิจ

ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป บางส่วนทำผักกาดเค็ม (หัวไชโป้ว) ทำมาค้าขายที่ตลาดเจ็ดเสมียน บางส่วนทำนา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำหัวไชโป้ว น้ำมันไพรสด การทำขนมไทยพื้นถิ่น

ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ กลุ่มน้ำไพรสดบ้านตาประกำ สบู่ BUA BAN น้ำมันไพรสดกลุ่มผู้สูงอายุ

 

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น
1 นางสาวดวงใจ เอี่ยมสอาด ผู้นำด้านส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ และน้ำมันไพรสด
2 นายธนกร สดใส ด้านศิลปวัฒนธรรม/ผลิตภัณฑ์ชุมชน
3 นายมานพ มีจำรัส ด้านศิลปวัฒนธรรรม ปี 2548/ศิลปินแห่งชาติ สาขาการศิลปะการแสดงร่วมสมัย
4 นายบรรจง วงศ์ยะรา ผู้นำทางธรรมชาติด้านประวัติศาสตร์ชุมชน
5 นายพะยอม เทศกระทึก ผู้นำด้านการส่งเสริมสุขภาพ (ผู้สูงอายุ)
6 นางทองชาญ วังกะ ผู้สืบสานภูมิปัญญาขนมไทยพื้นถิ่น
7 นายเทวัญ โตพรกษา ผู้นำด้านการบริหารจัดการชุมชน
8 นางวรรญทนา ห่วงตระกูล ผู้นำด้านการบริหารจัดการชุมชน

ทุนชุมชน

ปราชญ์ท้องถิ่น เช่น ผู้นำด้านการบริหารจัดการชุมชน ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ (ดังตารางหัวข้อประวัติชีวิต)

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทำหัวไชโป้ว น้ำมันไพรสด การทำขนมไทยพื้นถิ่น มีคนเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ขุมชน

ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ กลุ่มน้ำไพรสดบ้านตาประกำ สบู่ BUA BAN น้ำมันไพรสดกลุ่มผู้สูงอายุ

แหล่งเรียนรู้ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวชุมชน

  • กลุ่มน้ำไพรสดบ้านตาประกำ และสบู่ BUA BAN
  • ศาลเจ้าพระยาตาประกำ
  • วัดสนามชัย
  • วัดศึกหิรัญราษฎร์
  • ที่พัก/โฮมสเตย์ ได้แก่ มาดา โฮมลอดจ บ้านไร่ปลายซอย ครูแว่ว โฮมสเตย์ดวงใจ"โฮมลอดจ์" ร้านอาหาร ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือริมคลอง ร้านสตงสเต็ก
  • ชุมชนสมเด็จฯตาประกำ แหล่งเรียนดูแลผู้สูงอายุสมุนไพร เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนยลวิถี
  • ต้นไม้ใหญ่บริเวณโรงเรียนวัดสนามชัย

ภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ทต.เจ็ดเสมียน โทร. 0 3239 7032, 0 3239 7026