
ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรพอเพียง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชุมชน ในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน การเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงชันโรง เผาถ่าน น้ำสัมควันไม้ เลี้ยงไส้เดือน ปลูกผักอินทรีย์ แปรรูปอาหาร เลี้ยงปลา การปลูกมะพร้าวเพื่อการส่งออก
บ้านคลองขุด เดิมเป็นชุมชนเป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมแบบผสมผสาน เช่น การปลูกพืชล้มลุก ปลูกพืชยืนต้น และการปลูกผลไม้ เป็นต้น เป็นหมู่บ้านสุดท้ายของตำบลเกาะศาลพระ เดิมหมู่บ้านคลองขุดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม การทำนา รายได้จากการทำนาไม่ได้ผลในเรื่องราคาเท่าที่ควร ประชาชนจึงหันมาประกอบอาชีพทำสวน ในการทำสวนต้องอาศัยน้ำเพื่อการประกอบอาชีพ ประชาชนในหมู่บ้านจึงได้ขุดที่นามาเป็นคลองเพื่อกักเก็บน้ำมาใช้ จึงเป็นที่เรียกขานชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านคลองขุด" มาจนถึงปัจจุบันนี้
ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรพอเพียง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชุมชน ในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน การเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงชันโรง เผาถ่าน น้ำสัมควันไม้ เลี้ยงไส้เดือน ปลูกผักอินทรีย์ แปรรูปอาหาร เลี้ยงปลา การปลูกมะพร้าวเพื่อการส่งออก
บ้านคลองขุด เดิมเป็นชุมชนเป็นพื้นที่ทำการเกษตรกรรมแบบผสมผสาน เช่น การปลูกพืชล้มลุก ปลูกพืชยืนต้น และการปลูกผลไม้ เป็นต้น เป็นหมู่บ้านสุดท้ายของตำบลเกาะศาลพระ เดิมหมู่บ้านคลองขุดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม การทำนา รายได้จากการทำนาไม่ได้ผลในเรื่องราคาเท่าที่ควร ประชาชนจึงหันมาประกอบอาชีพทำสวน ในการทำสวนต้องอาศัยน้ำเพื่อการประกอบอาชีพ ประชาชนในหมู่บ้านจึงได้ขุดที่นามาเป็นคลองเพื่อกักเก็บน้ำมาใช้ จึงเป็นที่เรียกขานชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านคลองขุด" มาจนถึงปัจจุบันนี้
ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ 1,268 ไร่ ลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เป็นดินเหนียว ร่วนซุย มีลำคลองขนาดเล็กที่ขุดขึ้นสำหรับใช้ในการทำการเกษตรกรรม สภาพภูมิอากาศทั่วไปเป็นแบบร้อนชื้น ส่วนใหญ่อาชีพหลักประกอบอาชีพทำสวน และมีครัวเรือนบางส่วนมีอาชีพรับจ้างทั่วไป มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลเกาะศาลพระ
- ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 8 ตำบลวัดเพลง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลบ่อกระดาน อำเภอปากท่อ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 ตำบลเกาะศาลพระ
สถานที่สำคัญในชุมชน มีสถานีวิทยุ-หอกระจายข่าว มีศูนย์การเรียนรู้
ประชากรมีจำนวนครัวเรือน 85 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งสิ้น 343 คน ชาย 171 คน หญิง 172 คน จำนวนผู้สูงอายุ 62 คน ชาย 30 คน หญิง 32 คน ผู้พิการ รวมทั้งสิ้น 16 คน ชาย 9 คน หญิง 7 คน ประกอบอาชีพหลัก คือ ทำสวน จำนวน 61 ครัวเรือน อัตราค่าจ้างแรงงานในหมู่บ้าน 300-350 บาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ย 67,775 บาท/คน/ปี
ชื่อกลุ่ม | ผู้นำ/ประธาน | ข้อมูลการจัดตั้ง/สมาชิก/กิจกรรมกลุ่ม ฯลฯ |
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง | นายสกล ทับทิมแดง | สมาชิก 132 ราย |
กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน | นายสกล ทับทิมแดง | |
กองทุนแม่ของแผ่นดิน | นายสกล ทับทิมแดง | |
กลุ่มทุนสงเคราะห์ราษฎรหมู่บ้าน | นายบุญสม ทับทิมแดง | สมาชิก 87 ราย |
กลุ่มสัจจะ | นายสกล ทับทิมแดง | สมาชิก 132 ราย |
วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ชุมชน
วิถีชีวิต ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำการเกษตรพอเพียง น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาชุมชน ในด้านต่าง ๆ เช่น การเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน การเลี้ยงผึ้ง เลี้ยงชันโรง เผาถ่าน น้ำส้มควันไม้ เลี้ยงไส้เดือน ปลูกผักอินทรีย์ แปรรูปอาหาร เลี้ยงปลา การปลูกมะพร้าวเพื่อการส่งออก
วิถีวัฒนธรรม
วัฒนธรรมประเพณี ทำบุญประเพณี 12 เดือน ตามเทศกาลประเพณี เช่น ทำบุญกลางหมู่บ้าน รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ เดือนเมษายน ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เดือนกรกฎาคม ประเพณีลอยกระทง เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
วิถีทางเศรษฐกิจ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การปลูกมะพร้าว แปรรูปมะพร้าว
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ไม้กวาดทางมะพร้าว มะพร้าว
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น |
1 | นายสกล ทับทิมแดง | ด้านบริหารจัดการ/กองทุน |
2 | นายสุเวช เลิศฤทธา | ด้านการเกษตร |
3 | นายวิโรจน์ มิ่งขวัญ | ด้านช่างก่อสร้าง |
4 | นายบุญสม ทับทิมแดง | ด้านการเกษตร |
5 | นายกุญชร เมืองเกษม | ด้านบริหารจัดการโครงการ |
6 | นางบัวลอย เสียงไพเราะ | ด้านสุขภาพ |
7 | นางสาวสุรีย์ เลิศฤทธา | ด้านบริหารจัดการกองทุน |
8 | นางสาวมาลี พิศคล้าย | ด้านบริหารจัดการกองทุน |
9 | นางสาวจิราพร ศรีสอาด | ด้านการเกษตร |
10 | นายบุญติ๊ด พิบูลรัตนากุล | ด้านการเกษตร |
11 | นางสาววรรณา เลิศฤทธา | ด้านนวดแผนโบราณ/สมุนไพร |
12 | นายสมเกียรติ ประพฤติกิจ | ด้านการเกษตร |
13 | นางรัตนา เกิดกล่ำ | ด้านการเกษตร |
14 | นายไพรัช วังแก้วหิรัญ | ผู้ทรงคุณวุฒิ |
15 | นางสาวสาวิตรี ประพฤติกิจ | ผู้นำกลุ่มอาชีพ/การเกษตร |
16 | นางบรรเจิด เมืองเกษม | ผู้นำกลุ่มบ้าน |
- ผู้นำหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะกรรมการหมู่บ้าน หัวหน้าคุ้ม ผู้นำกลุ่ม/องค์กรต่าง ๆ เป็นผู้เสียสละ มีความตั้งใจในการพัฒนาหมู่บ้านให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้าน
- ประชาชนในหมู่บ้าน มีความรัก ความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนชุมชน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนตามหลักประชาธิปไตย และดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
- มีแหล่งทุนในหมู่บ้านที่เข้มแข็ง เช่น กองทุนหมู่บ้าน
- มีกลุ่มและองค์กรที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา
- มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีน้ำเพียงพอต่อการทำการเกษตร และอุปโภคบริโภค
- มีเส้นทางการคมนาคมที่เชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ที่สะดวกในการสัญจรและขนส่งผลผลิต
- มีการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง
- มีแผนชุมชน ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในหมู่บ้าน ที่สมบูรณ์
- หมู่บ้านเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานตามเศรษฐกิจพอเพียง
- ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- มีเจ้าหน้าที่ของรัฐให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ
- มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
- มีแหล่งเรียนรู้ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ตำบลเกาะศาลพระ อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี เป็นศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตมะพร้าว มีการจัดทําแปลงสาธิตการจัดการมะพร้าว การผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่าย
ภาษาไทย
- การส่งเสริมการประกอบอาชีพและยกระดับรายได้แก่ประชาชน
- ศูนย์การเรียนรู้ศัตรูพืชชุมชนตำบลเกาะศาลพระ
- หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองขุด
- แปลงส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยผู้นำต้นแบบนางบัวลอย เสียงเพราะ
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง