
ชุมชนบ้านดอนมะขามเฒ่ามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีความผูกพันกับธรรมชาติ ชาวบ้านยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างดี เช่น การทำบุญประจำปีและกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีรากฐานจากวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ
ที่มาของชื่อหมู่บ้านดอนมะขามเฒ่า จากคำบอกเล่าเมื่อในอดีตคนแรกที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านคือมีคนชื่อตาเฒ่าประกอบกับในพื้นที่มีต้นมะขามเยอะบวกกับเป็นพื้นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง และอีกคำบอกเล่าจากชุดข้อมูลเดิมขององค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูนที่กล่าวถึงประวัติหมู่บ้านว่าเดิมหมู่บ้านตรงนี้เป็นที่ดอนมีคนแก่อยู่ตรงที่ดอนทั้งหมด 9 คน และมีต้นมะขามขึ้นอยู่ในพื้นที่ ชาวบ้านจึงเรียกกันต่อ ๆ มาเป็นชื่อหมู่บ้าน ปัจจุบันในหมู่บ้านยังคงปรากฏต้นมะขามที่ถูกกล่าวขานกันอยู่
ชุมชนบ้านดอนมะขามเฒ่ามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและมีความผูกพันกับธรรมชาติ ชาวบ้านยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างดี เช่น การทำบุญประจำปีและกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีรากฐานจากวิถีชีวิตของบรรพบุรุษ
ประวัติความเป็นมาของบ้านดอนมะขามเฒ่า จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่าว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนไทยมอญ ไทย จีน ซึ่งหมู่บ้านดอนมะขามเฒ่าแบ่งออกเป็น 5 ชุมชน ที่ชาวบ้านแบ่งออกเป็น 5 ชุมชนก็เพราะแบ่งตามสภาพพื้นที่มีความแตกต่างกันที่สภาพของพื้นที่ ประกอบด้วย 1.ชุมชนดอนมะขามเฒ่า เป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 2.ชุมชนเขาน้ำพุสภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นเขาที่มีบ่อน้ำ ปัจจุบันแหล่งน้ำใหญ่ที่สุดของหมู่บ้าน 3.ชุมชนบ่อพุ เมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้วมีบ่อน้ำบนภูเขาชาวบ้านจะขึ้นเขาไปเอาน้ำข้างบนเขาน้ำพุ 4.ชุมชนสนามคลี และ 5.ชุมชนห้วยตาเซาะ เพราะเป็นลักษณะพื้นที่เป็นห้วยน้ำ หรือเรียกอีกอย่างว่า ห้วยท่าเซาะ พอน้ำมาก็จะไหลเซาะไปตามพื้นที่ต่าง ๆ
ที่มาของชื่อหมู่บ้านดอนมะขามเฒ่า จากคำบอกเล่าเมื่อในอดีตคนแรกที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านคือมีคนชื่อตาเฒ่าประกอบกับในพื้นที่มีต้นมะขามเยอะบวกกับเป็นพื้นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง และอีกคำบอกเล่าจากชุดข้อมูลเดิมขององค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูนที่กล่าวถึงประวัติหมู่บ้านว่าเดิมหมู่บ้านตรงนี้เป็นที่ดอนมีคนแก่อยู่ตรงที่ดอนทั้งหมด 9 คน และมีต้นมะขามขึ้นอยู่ในพื้นที่ ชาวบ้านจึงเรียกกันต่อ ๆ มาเป็นชื่อหมู่บ้าน ปัจจุบันในหมู่บ้านยังคงปรากฏต้นมะขามที่ถูกกล่าวขานกันอยู่
สภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับเนินเขามีคลองชลประทานส่งน้ำไหลผ่าน เหมาะแก่การเพาะปลูกพืช และทำนา ทำสวน ทำไร่และการเกษตรต่าง ๆ มีปริมาณ น้ำจาก คลองส่งน้ำตลอด ทั้งปี สภาพดินอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมสะดวก การดำรงชีพของประชาชนเรียบง่าย
พื้นที่อาณาเขตติดต่อ
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านหนองกลางดง หมู่ที่ 6 ตำบลชำแระ อำเภอโพธาราม
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านหนองสระ หมู่ที่ 4 ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านมาบแค หมู่ที่ 15 ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอบ้านโป่ง
- ทิศใต้ ติดกับ ดอนโพธิ์-ห้วยตาเซาะ หมู่ที่ 2 ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม
สถานที่สำคัญในชุมชน
ต้นมะขาม พื้นที่และต้นมะขามที่ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าเป็นพื้นที่และต้นมะขามเดิมที่เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน
วัดนครทิพย์ ที่ตั้ง 150 หมู่ 3 บ้านเขาน้ำพุ ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ผู้ขออนุญาตสร้างวัด คือ นายนคร สุขสวัสดิ์ ได้ประกาศจากสำนักพระพุทธศาสนา วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ในการจัดตั้งวัด อาศัยตามความข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงประกาศตั้งเป็นวัดขึ้นในพระพุทธศาสนามีนามว่า วัดนครทิพย์ ปฐมเจ้าอาวาส พระครู โสภณ มงคลกิจ (ปัญญา ฐิตโสภโณ)ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556 เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระสมุดิเรก อติเรกสุโภ ปัจจุบันมีพระจำพรรษาทั้งหมด 3 รูป , เณร 1 รูป , แม่ชี 1 องค์ และ อุบาสิกา 1 ท่าน
บ้านดอนมะขามเฒ่ามีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 404 ครัวเรือน ประชากรประกอบด้วยเพศชาย 597 คน เพศหญิง 645 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 1,242 คน
- กลุ่มผู้เพาะเห็ดนางฟ้า
- กลุ่มเกษตรกรเพื่อการผลิต
เดือน | กิจกรรม |
มกราคม | เริ่มไถนา เตรียมปลูกข้าว, ทำบุญขึ้นปีใหม่ที่วัดนครทิพย์ เขาน้ำพุ, เวียนเทียนที่วัดนครทิพย์ เขาน้ำพุ |
กุมภาพันธ์ | เตรียมดิน ปลูกข้าว เพาะปลูกข้าวนาปรัง |
มีนาคม | ทำนาปรัง ดูแลแปลงข้าว หว่านปุ๋ย |
เมษายน | จัดประเพณีสงกรานต์, ทำบุญวันสงกรานต์, รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้สูงอายุสถานที่ใกล้บ้าน |
พฤษภาคม | ดูแลแปลงนา |
มิถุนายน | เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง |
กรกฎาคม | เตรียมดินปลูกข้าวนาปี |
สิงหาคม | ปลูกข้าวนาปี |
กันยายน | ดูแลแปลงนาปี |
ตุลาคม | ทำบุญวันออกพรรษา ที่วัดใกล้บ้าน, ดูแลแปลงนา |
พฤศจิกายน | เตรียมเก็บเกี่ยวข้าวนาปี |
ธันวาคม | เก็บเกี่ยวข้าวนาปี |
เก็บเกี่ยวข้าวนาปี, ทำบุญสิ้นปี, สวดมนต์ข้ามปี, เก็บฟางก้อนขาย |
ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณีท้องถิ่น
- นายอัมรินทร์ อะละมาลา มีความสามารถด้านพิธีกรรมทางศาสนา
งานฝีมือต่าง ๆ
- นายล้วน หุ่นโกน มีความสามารถด้านช่างไม้
ผู้มีความรู้ด้านการเกษตร
- นายบุญจันทร์ หุ่นโกน มีความสามารถด้านการเลี้ยงวัว
ผู้มีความสามารถด้านการบริหารจัดการกลุ่ม/การบริหารจัดการกองทุน
- นายแหลม อะละมาลา มีความสามารถด้าน บริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
- นายอำนาจ เนตรสน มีความสามารถด้าน บริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
ภาษาไทย
วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2565). รายงานผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย (U2T) ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. http://www.taopoon.org/
นายสมพงศ์ โยธา, สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2564
นายประเสริฐ หุ่นโกน, สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2564
นายสมจิต ชูเชิด, สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2564