
บ้านหนองขนานยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างดี เช่น การจัดกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ เช่น งานประเพณีสงกรานต์ การทำบุญตามประเพณีท้องถิ่น รวมถึงกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่สร้างความสามัคคีและความร่วมมือในชุมชน
ตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านเล่าว่า ในสมัยก่อนพื้นที่บริเวณนี้เป็นป่าและได้มีสัตว์ป่าบางชนิดออกมาหากินในเวลากลางคืน ชาวบ้านได้เข้าไปถางป่าเพื่อทำนา ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำป่าจากภูเขาไหลลงมาเป็นทางน้ำร่วมกันเป็นสองแอ่งพอถึงเดือนสิบสองปริมาณน้ำมากขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านว่า หนองขนาน ชาวบ้านได้เล่าเพิ่มเติมว่าสภาพที่ตั้งของหมู่บ้านหนองขนานในสมัยก่อนมีหนองน้ำที่มีเนื้อที่โดยประมาณ 1 ไร่ เป็นหนองน้ำที่มีความลึกกว่าหนองน้ำแห่งอื่นในหมู่บ้าน หนองกรดเป็นหนองน้ำอีกแห่งหนึ่งที่ทางอยู่ทิศตะวันออกของหนองขนาน โดยเป็นหนองน้ำแต่ขุดการเพิ่มเติม ลักษณะหนองน้ำทั้ง 2 แห่ง ตั้งอยู่ขนานกันจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน และในปัจจุบันพื้นที่ของหนองน้ำทั้ง 2 แห่งนั้นถูกเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่ทำนา ไม่มีหนองน้ำแล้ว
บ้านหนองขนานยังคงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างดี เช่น การจัดกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ เช่น งานประเพณีสงกรานต์ การทำบุญตามประเพณีท้องถิ่น รวมถึงกิจกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่สร้างความสามัคคีและความร่วมมือในชุมชน
ประวัติหมู่บ้าน บ้านหนองขนาน จากคำบอกเล่าของชาวบ้านเล่าว่าคนที่บ้านหนองขนานย้ายถิ่นฐานมาจากพื้นที่ใกล้เคียงส่วนหนึ่งมีทั้งคนไทยมอญ ไทย ที่ได้ขยับขยายพื้นที่ทำกินมาจาก วัดป่าไผ่ วัดคงคา บ้านชำแระ วังคา เขาชะงุ้ม มีบางส่วนที่เป็นคนเตาปูนโดยกำเนิด ตามคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้านเล่าว่า ในสมัยก่อนพื้นที่บริเวณนี้เป็นป่าและได้มีสัตว์ป่าบางชนิดออกมาหากินในเวลากลางคืน ชาวบ้านได้เข้าไปถางป่าเพื่อทำนา ในช่วงฤดูฝนจะมีน้ำป่าจากภูเขาไหลลงมาเป็นทางน้ำร่วมกันเป็นสองแอ่งพอถึงเดือนสิบสองปริมาณน้ำมากขึ้น ชาวบ้านจึงเรียกเป็นชื่อหมู่บ้านว่า หนองขนาน ชาวบ้านได้เล่าเพิ่มเติมว่าสภาพที่ตั้งของหมู่บ้านหนองขนานในสมัยก่อนมีหนองน้ำที่มีเนื้อที่โดยประมาณ 1 ไร่ เป็นหนองน้ำที่มีความลึกกว่าหนองน้ำแห่งอื่นในหมู่บ้าน หนองกรดเป็นหนองน้ำอีกแห่งหนึ่งที่ทางอยู่ทิศตะวันออกของหนองขนาน โดยเป็นหนองน้ำแต่ขุดการเพิ่มเติม ลักษณะหนองน้ำทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ขนานกันจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน และในปัจจุบันพื้นที่ของหนองน้ำทั้ง 2 แห่ง นั้นถูกเชื่อมต่อกันเป็นพื้นที่ทำนา ไม่มีหนองน้ำแล้ว
ลักษณะภูมิประเทศสภาพพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม มีระบบชลประทานค่อนข้างดีส่งน้ำไหลผ่าน เหมาะแก่การเพาะปลูกพืช และทำนา ทำสวน ทำไร่ และการเกษตรต่าง ๆ มีปริมาณน้ำจากคลองส่งน้ำตลอดทั้งปี สภาพดินอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมสะดวก สภาพบ้านเรือนอยู่แบบกระจายยังไม่หนาแน่น
พื้นที่อาณาเขตติดต่อกัน ดังนี้
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านดอนมะขามเฒ่า หมู่ที่ 3 ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านเขาราบ หมู่ที่ 6 และ หมู่ที่ 7 เนินหนองบัว ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม
- ทิศเหนือ ติดกับ หมู่ที่ 15 ตำบลหนองปลาหมอ และหมู่ที่ 4 ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองสระ หมู่ที่ 4 ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม
ลักษณะภูมิอากาศ อยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทยซึ่งมีสภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตโซนร้อน ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและกลุ่มลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ฤดู
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเริ่มพัดเข้าสู่จังหวัดราชบุรี และจะสิ้นสุดประมาณเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ หนาวปานกลาง
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ และสิ้นสุดลงราวต้นเดือนพฤษภาคม อากาศค่อนข้างร้อน และอบอ้าว
บ้านหนองขนาน มีครัวเรือนจำนวน 257 ครัวเรือน ประชากรประกอบด้วยเพศชาย 399 คน และเพศหญิง 405 คน รวมจำนวนประชากร 804 คน
การประกอบอาชีพ
- อาชีพหลัก ทำนา ทำไร่มัน ทำไร่อ้อย ทำสวน เลี้ยงวัว เลี้ยงวัวนม เลี้ยงวัวแม่พันธุ์ รับราชการ ค้าขาย
- อาชีพรอง รับจ้างทั่วไป
- อาชีพเสริม เพาะเห็ด เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดฟางโรงเรียน เย็บตุ๊กตา เผาถ่าน เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ หมูขุน และอื่น ๆ
กลุ่มอาชีพ
- กลุ่มเกษตรกรออมทรัพย์ทำนา
- กลุ่มเกษตรกรชาวนา
- กลุ่มเพาะเห็ด
เดือน | กิจกรรม |
มกราคม | เกี่ยวข้าวนาปี, ทำบุญขึ้นปีใหม่ที่วัดใกล้บ้าน, ทำบุญวันวิสาขบูชาและเวียนเทียนวัดใกล้บ้าน, จัดงานกิจกรรมวันเด็กที่องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน |
กุมภาพันธ์ | ปลูกข้าว เพาะปลูกข้าวนาปรัง |
มีนาคม | ดูแลแปลงข้าว หว่านปุ๋ย, ทำบุญกลางแจ้ง กลางทุ่ง |
เมษายน | ทำบุญกลางแจ้ง กลางทุ่ง, ทำบุญวันสงกรานต์ที่วัดใกล้บ้าน, จัดประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้สูงอายุ และ บวชนาคหมู่ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน |
พฤษภาคม | ดูแลแปลงนา |
มิถุนายน | เก็บเกี่ยวข้าวนาปรัง, ทำบุญประจำปี ศาลเจ้าแถวหนองกรด สนามคลี |
กรกฎาคม | เตรียมดินปลูกข้าวนาปี |
สิงหาคม | ปลูกข้าวนาปี |
กันยายน | ดูแลนาปี |
ตุลาคม | ดูแลนา |
พฤศจิกายน | ปลายเดือนเริ่มเกี่ยวข้าว |
ธันวาคม | เก็บเกี่ยวข้าวนาปี, ทำบุญสิ้นปี, สวดมนต์ข้ามปี, เก็บฟางขาย |
แพทย์แผนไทย / สมุนไพร / หมอพื้นบ้าน
- นายลอย จะเชิญ มีความสามารถด้านหมอยาโบราณ ตำยารักษาโรค
- นางสมศรี ผลอุดม มีความสามารถด้านหมอนวด
- นางสาวพยุง พันธุ์เพชร มีความสามารถด้านหมอนวด
ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม / ประเพณีท้องถิ่น
- นายละออง นุเจิ่น มีความสามารถด้านประเพณีท้องถิ่น การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นมัคนายก
ผู้มีความรู้ด้านการเกษตร
- นายสกุล นุเจิ่น มีความสามารถด้านจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว และต้นทุนการผลิต
ผู้มีความสามารถด้านการบริหารจัดการกลุ่ม/การบริหารจัดการกองทุน
- นายกิจธนศักดิ์ ขำเจริญ การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน
ภาษาไทย
วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2565). รายงานผลการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งมหาวิทยาลัย (U2T) ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. http://www.taopoon.org/
องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน. (20 กุมภาพันธ์ 2563). กลุ่มทำเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า หมู่5. http://www.taopoon.org/
นายอุทัย วงแวงน้อย, สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2564
นายกาหลง อนุกุล, สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2564
นายสน สุนเจริญ, สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2564
นายอุดม แย้มมา, สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2564
นายมิน จะเซิน, สัมภาษณ์, 24 กันยายน 2564