Advance search

ชุมชนมีจุดเด่นด้านภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน โดยเฉพาะคุณลุงสมาน ชูฝา ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาด้วยวิธีดั้งเดิม การเป่ากระหม่อมและรักษางูสวัด ซึ่งยังคงถูกสืบทอดและใช้ดูแลสุขภาพในชุมชน

หมู่ที่ 10
บ้านแสนกะบะ
จอมบึง
จอมบึง
ราชบุรี
ทม.จอมพล โทร. 0 3226 1830
ธนพร บุรีเลิศ
25 มี.ค. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
10 เม.ย. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
10 เม.ย. 2025
บ้านแสนกะบะ

ในเหตุการณ์รบระหว่างไทยกับพม่า ฝ่ายพม่าพ่ายแพ้ จึงได้ถูกยึดเครื่องศัสตราวุธ ช้าง ม้า พาหนะ เป็นจำนวนมาก ที่เหลือได้หนีกลับไปเมืองทวาย จากค่ายพม่าไปทางทิศตะวันออกแยกเหนือของบึง ประมาณ 2 กิโลเมตร มีพม่ามาประชุมพลกันจำนวนมาก เวลาเลี้ยงข้าวปลาอาหารไม่มีภาชนะใส่ จึงต้องใช้กะบะไม้แทนจานข้าว ซึ่งต้องใช้จำนวนถึงแสน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "บ้านแสนกะบะ"


ชุมชนมีจุดเด่นด้านภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้าน โดยเฉพาะคุณลุงสมาน ชูฝา ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาด้วยวิธีดั้งเดิม การเป่ากระหม่อมและรักษางูสวัด ซึ่งยังคงถูกสืบทอดและใช้ดูแลสุขภาพในชุมชน

บ้านแสนกะบะ
หมู่ที่ 10
จอมบึง
จอมบึง
ราชบุรี
70150
13.6054484221667
99.5903174579143
เทศบาลเมืองจอมพล

จากหนังสือไทยรบกับพม่าของสมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า พระเจ้าผดุง เมื่อเสวยราชย์ ได้ 3 ปี จึงคิดมาตีเมืองไทย ให้มีเกียรติยศเหมือนเช่น พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง ดังนั้นปีมะเส็ง พ.ศ. 2328 จึงได้เตรียมกองทัพ มีกำลังพลถึง 144,000 คน โดยจัดเป็นกระบวนทัพ 9 ทัพ อนอกแฝกคิดหวุ่น เป็นแม่ทัพถือพล 10,000 คน เข้ามาทางด่านบองตี้ ให้พระยาทวายเบิกกองหน้าถือพล 3,000 คน อนอกแฝกคิดหวุ่น เป็นกองหลวงถือพล 4,000 คน ให้เจ๊กสิบโบ่ เป็นกองทัพถือพล 3,000 คน กลายเป็นสมรภูมิ ระหว่างไทยกับพม่า ไทยชนะ ได้ยึดเครื่องศัตราวุธ ช้าง ม้า พาหนะ เป็นจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีกลับไปเมืองทวาย จากค่ายพม่าไปทางทิศตะวันออกแยกเหนือของบึง ประมาณ 2 กิโลเมตร มีพม่ามาประชุมพลกันจำนวนมาก เวลาเลี้ยงข้าวปลาอาหารไม่มีภาชนะใส่ จึงต้องใช้กะบะไม้แทนจานข้าว ซึ่งต้องใช้จำนวนถึงแสน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "บ้านแสนกะบะ" หมู่บ้านแสนกะบะได้แยกออกมาจากหมู่ที่ 3 ตำบลจอมบึง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2527

บ้านแสนกะบะ มีพื้นที่ ประมาณ 2,500 ไร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอ ระยะทาง 3 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับ บ้านวังมะเดื่อ หมู่ที่ 3 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
  • ทิศใต้ ติดกับ บ้านหนองบัวค่าย หมู่ที่ 2 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านตลาดควาย หมู่ที่ 5 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านสันดอน หมู่ที่ 12 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

สถานที่สำคัญในชุมชน

สถานที่สำคัญในหมู่บ้าน ได้แก่ สำนักสงฆ์สำปะแจ หอกระจายข่าว สนามกีฬา ศาลากลางบ้าน สวนการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ไร่สุขพ่วง   

บ้านแสนกะบะ มีประชากร จำนวน 221 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 744 คน เป็นชาย 373 คน และหญิง 371 คน

สภาพทางเศรษฐกิจของหมู่บ้าน คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย 71,897 บาท/คน/ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลัก คือ ทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป บางส่วนทำงานศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่น มีการจักสานโดยการใช้ไผ่ในการจักสาน เช่น กระบุง ตะข้อง ซึ่งปู่ย่า ตา ยาย จะมีการถ่ายทอดให้กับลูกหลาน

วิถีวัฒนธรรม

  • วัฒนธรรมประเพณี ทำบุญประเพณี 12 เดือนตามเทศประเพณีไทย

วิถีทางเศรษฐกิจ

  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ นวดไทย ช่างฝีมือ ชางไม้ ช่างเย็บกระเป๋าหนัง ปลูกผักปลอดสาร แปรรูปอาหาร เกษตรอินทรีย์ 
  • ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ แปรรูปอ้อยเป็นน้ำตาลอ้อยอินทรีย์วิถีไทย กล้วยตากพลังแสงอาทิตย์ แป้งกล้วย ชาย่านาง แปรรูปอาหารปลาส้ม ไซรัปกระเจี๊ยบ
  • ทำเกษตร ทำไร่อ้อย ไร่มันสัมปะหลัง ปลูกผักเกษตรอินทรีย์ รับจ้างทั่วไป

ภัยทางธรรมชาติ

  • ภัยแล้ง

ทุนชุมชนปราชญ์ท้องถิ่น

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล ภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น
1 นางบิน จินดาโชติ นวดแผนไทย
2 นางอรุณ สุขสวัสดิ์ นวดแผนไทย
3 นายไพเราะ ทองลิ่ม ช่างไม้
4 นายสมาน ชูฝา ช่างปูน
5 นายบุญมี ทองเอีย ถักแห ถักสวิง
6 นายสมหวัง สุขพ่วง นวดแผนไทย
7 นางพะยอม ฟักเขียว การเย็บกระเป๋าหนัง
8 นายผูก เผือกเย็น ปลูกพืชปลอดสารพิษ
9 นายวิชัย จันทร์ชิต ทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ ชีวภาพ
10 นายสมหวัง สุขพ่วง การทำน้ำกระเจี๊ยบ เข้มข้น
11 นางนิ่ม ฟักเขียว การทำปลาส้ม
12 นายเพ็ชร นานคง ไสยศาสตร์
13 นายนพพร ฟักเขียว การบริหารจัดการกลุ่ม
14 นางดาวเรือง สุขพ่วง จัดตั้งกลุ่มสนใจอาชีพ
15 นายอภิวรรษ สุขพ่วง เกษตรอินทรีย์

 

แหล่งเรียนรู้ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวชุมชน

ไร่สุขพ่วง ศูนย์การเรียนรู้ Earth Safe อินทรีย์วิถีไทย เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ด้วย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การปลูกผักในตะกร้า ทำการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก ทำปุ๋ยปลอดภัย เลี้ยงสัตว์แบบพึ่งพา (หมูป่า เป็ด ไก่ไข่ ปลาดุก) ทำอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ แปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เช่น น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วจากอ้อย กล้วยตาก เป็นต้น

ภาษาไทย

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.แหล่งน้ำธรรมชาติ 4 แห่ง ลักษณะเป็นหนองเล็ก ๆ จะเก็บน้ำธรรมชาติได้ถึงเดือนมกราคม ก็จะแห้งหมด 

2.พื้นที่สาธารณะ 4 แห่ง ดังนี้

  • สวนป่าเฉลิมพระเกียรติ มีเนื้อที่ทั้งหมด 70 ไร่ เป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์ไม้นานาชนิด รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารป่า ให้ชาวบ้านไว้หารับประทาน เช่น หน่อไม้ ผักหวานป่า ฯลฯ
  • เขาสามประแจ เป็นภูเขาขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ และผู้รักษาศีล เป็นที่ที่รวมสมุนไพรมากมาย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งอาหารป่าให้ชาวบ้าน เช่น หน่อไม้ลวก กลอย มันป่า ฯลฯ
  • เขากลางเนิน เป็นภูเขาขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ที่มีสมุนไพรมากมาย นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งอาหารป่าให้ชาวบ้าน เช่น หน่อไม้ลวก กลอย มันป่า ฯลฯ
  • ศูนย์ฝึกอาชีพ ชาวบ้านใช้สถานที่แห่งนี้ เพื่อการประชุมชาวบ้าน ในบางครั้งใช้เป็นสถานที่ในการอบรม ฝึกอาชีพ

3.พืชพรรณ/สมุนไพร มีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณป่าชุมชน และเขาสามประแจ

4.มีคลองชลประทาน ใช้เพื่อการเกษตร หอถังประปาหมู่บ้าน จำนวน 6 แห่ง ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค

5.กองทุนกลุ่มอาชีพ คณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) คณะกรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน (กพสม.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อาสาพัฒนาสังคม (อพม.) อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) อาสาสมัครแรงงาน หมอดินอาสา อาสาสมัครปศุสัตว์ อปพร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. ราชบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

เทศบาลเมืองจอมพล. (ม.ป.ป.). สำนักสงฆ์เขาสามประแจ. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม. จาก https://chomphon.thailocallink.com/travel/detail/

ทม.จอมพล โทร. 0 3226 1830