Advance search

เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ อันมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน และเกี่ยวข้องกับชื่อของชุมชนรวมถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชน

หมู่ที่ 3
บ้านเจดีย์หัก
เจดีย์หัก
เมืองราชบุรี
ราชบุรี
อบต.เจดีย์หัก โทร. 0 3232 4510-1
คณาวุฒิ พุทธา
25 มี.ค. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
13 เม.ย. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
13 เม.ย. 2025
บ้านเจดีย์หัก

เดิมบริเวณนี้ใช้ชื่อหมู่บ้านว่า หมู่บ้านธาตุ ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนภาคเหนือที่อพยพเข้ามาอยู่เนื่องจากสงคราม และถูกกวาดต้อนให้เข้ามาอยู่ในเมืองราชบุรี ชาวบ้านเหล่านี้เป็นผู้นับถือเจดีย์ หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า "พระธาตุ" จึงใช้ชื่อหมู่บ้านว่าหมู่บ้านธาตุ ต่อมาในสมัยอยุธยาได้โดนพม่าโจมตีทางทิศตะวันตก เจดีย์ได้พังทลายชาวบ้านจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านเจดีย์หัก" และต่อมาทางราชการได้ตั้งชื่อเป็นตำบลเจดีย์หัก 


ชุมชนชนบท

เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ อันมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน และเกี่ยวข้องกับชื่อของชุมชนรวมถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชน

บ้านเจดีย์หัก
หมู่ที่ 3
เจดีย์หัก
เมืองราชบุรี
ราชบุรี
70000
13.54662459
99.79859367
องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก

ตำบลเจดีย์หัก เดิมเป็นหมู่บ้าน ชื่อว่า "หมู่บ้านธาตุ" ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนภาคเหนือที่อพยพเข้ามาอยู่เนื่องจากสงคราม และถูกกวาดต้อนให้เข้ามาอยู่ในเมืองราชบุรี และตั้งรกรากอยู่จนถึงปัจจุบัน ชาวบ้านเหล่านี้เป็นผู้นับถือเจดีย์ หรือที่ชาวเหนือเรียกว่า "พระธาตุ" จึงใช้ชื่อหมู่บ้านว่าหมู่บ้านธาตุ ต่อมาในสมัยอยุธยาได้โดนพม่าโจมตีทางทิศตะวันตก เจดีย์จึงพังทลายชาวบ้านจึงเรียก "เจดีย์หัก" ชาวบ้านเปลี่ยนชื่อว่าบ้านเจดีย์หัก ต่อมาทางราชการตั้งชื่อเป็นตำบลเจดีย์หัก และมีวัดอยู่หนึ่งวัด คือ "วัดเจดีย์หัก" แต่ว่าเจดีย์หักนั้นไม่เป็นมงคลจึงเปลี่ยนเป็น "วัดเจติยาราม" มาจนถึงทุกวันนี้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังคงเรียกติดปากว่าวัดเจดีย์หัก

วัดเจติยาราม หรือวัดเจดีย์หัก วัดเจติยาราม เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 ตำบลเจดีย์หัก อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี วัดนี้เป็นวัดโบราณมีอายุราว 200 ปี แต่ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มสร้างแต่เมื่อใด อยู่ห่างจากตัวจังหวัดมาทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมที่วัดนี้ชาวบ้านเรียกว่า "วัดบ้านธาตุ" และ "วัดเจดีย์หัก" มีพระเจดีย์ซึ่งสร้างในสมัยอู่ทองก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-17

สภาพโดยทั่วไป พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มพื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์

พื้นที่อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหลุมดิน และตำบลเกาะพลับพลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลดอนตะโก และตำบลห้วยไผ่
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหน้าเมือง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหินกอง    

สถานที่สำคัญในชุมชน

  • วัดเจติยาราม หมู่ที่ 3
  • ศาลเจ้าพ่อเฮ่งเจีย หมู่ที่ 3

ชุมชนบ้านเจดีย์หักมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,821 ครัวเรือน ประกอบด้วยประชากรชาย 1,713 คน และประชากรหญิง 1,931 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 3,644 คน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หักประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย อุตสาหกรรมผลิตเครื่องปั้นดินเผา และโรงงานต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ จะประกอบอาชีพมากกว่าคนละ 1 อาชีพ

ปฏิทินชุมชน

เดือน กิจกรรมสำคัญ
มกราคม -
กุมภาพันธ์ วันมาฆบูชา
มีนาคม -
เมษายน -
พฤษภาคม วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6), วันอัฏฐมีบูชา (แรม 8 ค่ำ เดือน 6)
มิถุนายน -
กรกฎาคม วันอาสาฬหบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8), วันเข้าพรรษา (แรม 1 ค่ำ เดือน 8)
สิงหาคม -
กันยายน -
ตุลาคม วันออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11), วันเทโวโรหณะ (แรม 1 ค่ำ เดือน 11), วันตักบาตรเทโว ประเพณีทำบุญตักบาตรที่เกี่ยวข้องกับวันเทโวโรหณะ
พฤศจิกายน วันลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
ธันวาคม -

 

1.นายน่วม เอี่ยมพุฒิ

เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขางานปั้น กระถางแดง เกิดเมื่อ พ.ศ. 2502 นายน่วม ได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อปี พ.ศ. 2520 ได้เป็นลูกจ้างอยู่ที่โรงโอ่งรวมศิลป์ ทำตั้งแต่นวด การผสม การปั้น ทำทรงต่าง ๆ ฝึกฝนจนชำนาญ ได้รับความรู้และประสบการณ์ทั้งหมดมาเปิดกิจการเองภายในครอบครัว จนมีลูกค้ามาสั่งสินค้าจำนวนมาก จึงต้องจ้างลูกจ้างมาช่วยจำนวน 9 คน ถ่ายทอดความรู้ทั้งหมดให้กับลูกจ้าง ปัจจุบันมีการจำหน่ายไปตามจังหวัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วนำมาประยุกต์ตามความต้องการของตลาด และได้ส่งต่อภูมิปัญญาให้กับลูกชาย คือ นายอำนาจ เอี่ยมพุฒิ

ทุนวัฒนธรรม

งานปั้นกระถางแดง โดยมีจุดเด่น ดินเหนียวที่นำมาปั้นมีคุณภาพดี วัสดุหาง่ายในท้องถิ่น สามารถออกแบบเองได้และเขียนลายได้ตามต้องการมีหลายแบบให้เลือก ทรงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม

ภาษาไทยกลาง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก. (ม.ป.ป.). สภาพทั่วไป อบต.เจดีย์หักhttp://www.chedihak.go.th/

องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมา และตราสัญลักษณ์ อบต.เจดีย์หัก. http://www.chedihak.go.th/

องค์การบริหารส่วนตำบลเจดีย์หัก. (2566). ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลเจดีย์หัก. http://www.chedihak.go.th/

Thai-tour. (ม.ป.ป.). เจดีย์หัก ราชบุรีhttps://www.thai-tour.com/place/1878

อบต.เจดีย์หัก โทร. 0 3232 4510-1