Advance search

บ้านทรัพย์เจริญ วิถีถิ่นและธรรมชาติบริสุทธิ์ที่รอคุณมาค้นพบ ท่ามกลางขุนเขาสลับซับซ้อนของ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซ่อนอยู่ชุมชนเล็ก ๆ ที่อบอวลไปด้วยรอยยิ้มและมิตรภาพ "บ้านทรัพย์เจริญ" หมู่บ้านที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ของวิถีชีวิตชนเผ่าพื้นเมืองและธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์

หมู่ที่ 7
ทรัพย์เจริญ
วาเล่ย์
พบพระ
ตาก
อบต.วาเล่ย์ โทร. 0 5503 0198
ญาณิศา ลาภลิขิต
20 พ.ค. 2025
ปัญญา ไวยบุญญา
14 ก.ค. 2025
วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
21 พ.ค. 2025
ทรัพย์เจริญ

สำหรับที่มาของชื่อ "บ้านทรัพย์เจริญ" แม้จะไม่มีข้อมูลระบุชัดเจนในแหล่งที่ค้นพบ แต่ชื่อดังกล่าวอาจสะท้อนถึงความหวังของชุมชนในการมีความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของการตั้งชื่อหมู่บ้านในประเทศไทย


บ้านทรัพย์เจริญ วิถีถิ่นและธรรมชาติบริสุทธิ์ที่รอคุณมาค้นพบ ท่ามกลางขุนเขาสลับซับซ้อนของ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซ่อนอยู่ชุมชนเล็ก ๆ ที่อบอวลไปด้วยรอยยิ้มและมิตรภาพ "บ้านทรัพย์เจริญ" หมู่บ้านที่เต็มไปด้วยเสน่ห์ของวิถีชีวิตชนเผ่าพื้นเมืองและธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์

ทรัพย์เจริญ
หมู่ที่ 7
วาเล่ย์
พบพระ
ตาก
63160
16.3855887094217
98.74053463345285
องค์การบริหารส่วนตำบลวาเล่ย์

บ้านทรัพย์เจริญ หมู่ที่ 7 ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีประวัติความเป็นมาที่เชื่อมโยงกับการตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านในพื้นที่ตำบลวาเล่ย์ ซึ่งเริ่มต้นประมาณปี พ.ศ. 2475 โดยมีราษฎรกลุ่มแรกนำโดย นายดรอง ทิศแหนมวงษ์ อพยพเข้ามาตั้งรกรากในพื้นที่ป่าเบญจพรรณที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีแนวเขตติดต่อกับประเทศเมียนมา ชาวบ้านได้แผ้วถางป่าเพื่อทำไร่ทำนา และพื้นที่นี้เคยเป็นเส้นทางผ่านไปยังอำเภออุ้มผาง ต่อมามีผู้คนจากหลายพื้นที่เข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนและมีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่ ๆ ขึ้นในพื้นที่ตำบลวาเล่ย์ 

ชุมชนบ้านทรัพย์เจริญ เป็นชุมชนชาติพันธุ์ม้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังงหวัดตาก พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นหุบเขากว้างใหญ่ โอบล้อมด้วยเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่จึงเป็นที่ดอนและพื้นที่สูงสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบระหว่างหุบเขาและที่ราบลุ่มน้ำเมย มีลำคลอง ลำห้วยที่สำคัญอีกหลากหลาย เป็นแหล่งต้นน้ำเมยที่มีต้นน้ำจากเทือกเขาตะนาวศรีฝั่งพม่าที่ติดกับพรมแดนไทย เป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ มีผืนป่าที่ยังคงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีพืชพันธุ์ไม้กึ่งเขตหนาว โดย หมู่บ้านทรัพย์เจริญ ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลพบพระ อำเภอพบพระ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา    

บ้านทรัพย์เจริญ โดยสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง รายงานจำนวนประชากร หมู่ที่ 7 บ้านทรัพย์เจริญ ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 1,279 คน โดยแยกเป็นประชากรชาย 658 คน ประชากรหญิง 621 คน จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น 205 หลังคาเรือน (ข้อมูลเดือนมกราคม 2568)

บ้านทรัพย์เจริญ เป็นชุมชนที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง อาศัยอยู่ภายในชุมชน โดยชาติพันธุ์ม้งอพยพเข้ามาในประเทศไทยช่วงศตวรรษที่ 19 เดิมชาวม้งมีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงธรรมชาติด้วยการปลูกพืชพื้นบ้านและเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพในการปลูกพืชเชิงพาณิชย์เพื่อตอบสนองระบบตลาด นอกจากนี้ชาวม้งบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงอาชีพไปค้าขายและเป็นผู้ประกอบการในภาคธุรกิจการท่องเที่ยว

ม้ง
  • ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. บ้านวาเล่ย์ ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านวาเล่ย์ เป็นศูนย์ที่พัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่เป็นแบบอย่างโดยมีแกนนำที่เข้มแข็ง เป็นศูนย์เรียนรู้ที่เป็นตัวอย่างของจังหวัด เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากวัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่มเพื่อต้องการทำกิจกรรม เดินตามรอยพ่อ น้อมนำหลักคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการปลูกผักริมรั้ว ครัวกินได้ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นจากกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความรัก ความสามัคคี

เทศกาลปีใหม่ม้ง หรือ "น่อ เป๊ โจ่วฮ์"

เทศกาลปีใหม่ม้ง หรือ "น่อ เป๊ โจ่วฮ์" (Naw Pê Zhaw) เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวม้งในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในช่วงระหว่างวันที่ 23-29 ธันวาคม เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชนเผ่าม้ง

1.นายจงเย้ แซ่ย่าง ผู้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ

2.นางเจ่อ แซ่ท้าว ผู้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ

3.นายยรรยง แซ่ท้าว ปราชญ์ชุมชนผู้รู้เรื่องขนบธรรมเนียม ความเชื่อการทำนายกระดูกไก่

ทุนวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น

1.เทศกาลปีใหม่ม้ง หรือ "น่อ เป๊ โจ่วฮ์" (Naw Pê Zhaw) เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวม้งในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งจัดขึ้นทุกปีในช่วงระหว่างวันที่ 23-29 ธันวาคม เพื่อสืบสานวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชนเผ่าม้ง

2.พิธีกรรมทำนายกระดูกไก่ หรือที่ชาวม้งเรียกว่า "แซะฉัว" (Xya Tsov) เป็นหนึ่งในพิธีกรรมดั้งเดิมที่สำคัญในวัฒนธรรมของชาวม้ง ผู้ที่ทำพิธีจะมาทำพิธีที่บ้านจองผู้ที่ต้องการทำนาย เนื่องจากการทำพิธีต้องเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และบรรพบุรุษของผู้ที่รับการทำนายด้วยอุปกรณ์ คาถา ขั้นตอนและการทำนายจากกระดูกไก่ มีดังต่อไปนี้

  • อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนายทายทักจากกระดูกไก่ ได้แก่ ฆ้อง ไม้ตีฆ้อง ธูป เขาเสี่ยงทาย (เขาวัว)
  • คาถาคำทำนายจากกระดูกไก่และคาถาแก้เคล็ดจากการทำนายจากกระดูกไก่

ขั้นตอนการเตรียมไก่ก่อนทำนายจากกระดูกไก่

  • ไก่ที่ใช้ในการทำนายทายทักควรใช้ไก่ที่มีอายุ 2-3 เดือน เนื่องจากไก่ในช่วงอายุนี้กระดูกจะไม่แข็งเกินไปเพื่อให้ง่ายต่อการแกะกระดูกส่วนต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำนาย ในพิธีกรรมเรียกขวัญจะใช้ไก่ 2 ตัว ตัวผู้ 1 ตัว และตัวเมีย 1 ตัว ถ้าในกรณีทำนายทั่วไปจะใช้ไก่เพียงตัวเดียว 
  • เตรียมไก่ที่จะใช้ในการทำนาย
  • เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนาย
  • เตรียมจานที่ใส่ข้าวสารแล้วนำไข่กับธูปมาปักในจานข้าวสาร (กรณีที่ใช้ไข่ จะใช้ไข่นั้นเพื่อใช่ปลอบขวัญ เนื่องจากขวัญนั้นชอบไข่ถ้าไม่ใช้ไข่ในการเรียกขวัญ ขวัญนั้นอาจไม่กลับมา)
  • ทำพิธีไล่คาถาในการเรียกขวัญ
  • ทำพิธีไล่คาถาการทำนายโดยใช้ธูปหนึ่งดอก
  • นำธูปที่ใช้ไล่คาถามาปักไว้ที่ หิ้งของผู้ประกอบพิธี หรือที่ชาวม้งเรียกอีกอย่างว่า ท่าเน้ง
  • ต้มน้ำร้อนเพื่อลวกไก่
  • นำไก่ที่จะใช้ทำนายมาฆ่า
  • นำไก่ที่จะฆ่าแล้วมาลวกกับน้ำร้อน ประมาณ 20 วินาที เพื่อที่ขนไก่อ่อนต่อการถอนขน และหนังไก่จะได้ไม่ลอก
  • นำไก่ที่ลวกแล้วมาถอนขนให้สะอาด
  • นำไก่ที่ถอนขนแล้วมาลวกประมาณ 10 นาที เพื่อให้หนังไก่ไม่สุกจนเกินไปให้ทนต่อการถลอก
  • นำไก่ที่ลวกได้แล้วมาทำพิธีอีกครั้ง
  • ทำพิธีไล่คาถาอีกครั้งหนึ่ง
  • ทำการทำนายและดูผลของการทำนาย

การทำนาย ถ้าเป็นการทำนายในเรื่องของสามีภรรยา ลูกชายลูกสาว พ่อแม่ ข้างซ้ายจะเป็นตัวแทนของผู้ชายและข้างขวาจะเป็นตัวแทนของผู้หญิงเสมอ แต่ถ้าทำนายในเรื่องของคดีความการค้าขาย การแข่งขัน ข้างซ้ายจะเป็นตัวแทนของเราและข้างขวาจะเป็นตัวแทนของผู้อื่นเสมอ

เขาวัวเสี่ยงทาย เขาวัวเสี่ยงทายนั้นใช่กรณีเรียกขวัญ และใช้ในการพูดคุยซักถามเรื่องต่าง ๆ จากเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์และคนที่ตายไปแล้ว

ทุนกายภาพ 

ชุมชนบ้านทรัพย์เจริญ เป็นชุมชนชาติพันธุ์ม้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นหุบเขากว้างใหญ่ โอบล้อมด้วยเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่จึงเป็นที่ดอนและพื้นที่สูงสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบระหว่างหุบเขาและที่ราบลุ่มน้ำเมย มีลำคลอง ลำห้วยที่สำคัญอีกหลากหลาย เป็นแหล่งต้นน้ำเมยที่มีต้นน้ำจากเทือกเขาตะนาวศรีฝั่งพม่าที่ติดกับพรมแดนไทย เป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ มีผืนป่ายังคงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีพืชพันธุ์ไม้กึ่งเขตหนาว 

ทุนมนุษย์ 

  • นายจงเย้ แซ่ย่าง ผู้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ
  • นางเจ่อ แซ่ท้าว ผู้ประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อ
  • นายยรรยง แซ่ท้าว ปราชญ์ชุมชนผู้รู้เรื่องขนบธรรมเนียมความเชื่อการทำนายกระดูกไก่

ชุมชนบ้านทรัพย์เจริญ ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ใช้ภาษาม้งเป็นภาษาหลักในการสื่อสารและภาษาไทย สำหรับการติดต่อราชการ การเรียน หรือสื่อสารกับคนภายนอกชุมชน 


พิธีกรรมความเชื่อ การทำนายทายทักจากกระดูกไก่

ชาวม้งเชื่อเรื่องการทำนายจากกระดูกไก่ เนื่องมาจากมีบุคคลตัวอย่างมีผลเป็นไปตามการทำนายทุกครั้ง และรวมไปถึงการปลูกฝังมาตั้งแต่เล็กจนโตว่าสิ่งเหล่านี้ เหตุการณ์เหล่านี้เป็นไปตามคำทำนาย การสืบทอดของการทำนายทายทักจากกระดูกไก่จึงมีการสืบทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น เพราะเกิดจากความเชื่อที่เจอจากประสบการณ์จริง และประสบการณ์จากคนรอบข้างชาวม้งจึงยังคงรักษาขนบธรรมเนียมการทำนายจากกระดูกไก่มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้รู้ทิศทางที่จะดำเนินชีวิตในวันข้างหน้าอย่างปลอดภัย แต่ยังไม่มีผู้รวบรวมไว้เป็นหนังสือ เนื่องจากการสืบทอดนั้นชาวม้งจะสืบทอดกับแบบสอนปากต่อปากจึงทำให้จำได้ยากโดยเฉพาะคนรุ่นหลังขาดการศึกษาวัฒนธรรมของตนเอง สาเหตุเพราะการที่ลูกหลานชาวม้งรุ่นหลังพอจบจากการศึกษาแล้ว มักจะหางานทำและอยู่ในเมืองใหญ่มากกว่าการกลับมาทำงานในชนบท

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พัชรพร โภคินกิจกิตติกุล. (2557). การศึกษาคำทำนายจากกระดูกไก่ของชาวม้ง. ภาคนิพนธ์. วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2568

กรมการปกครอง. (2567). ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2568. https://stat.bora.dopa.go.th

ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร. (2564). กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ชาติพันธุ์ม้ง. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2568. https://ethnicity.sac.or.th

สยามรัฐออนไลน์. (2562). ผู้นำชนเผ่าม้งร่วมทำ พิธี "เจ้เช้ เจ้โชง". สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2568. https://siamrath.co.th

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2556). ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส.บ้านวาเล่ย์เหนือ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2568. https://projects.rdpb.go.th

วัชรินทร์รัตน์ ศรีสมุทร และคณะ. (2565). ชุมชนกับการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม ตำบลวาเล่ย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก. วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2568. https://so09.tci-thaijo.org

องค์การบริหารส่วนตำบลวาเล่ย์. (2567). โครงการสืบสานประเพณีปีใหม่ม้ง ประจำปี 2567. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2568. https://wale-local.go.th

อบต.วาเล่ย์ โทร. 0 5503 0198