Advance search

โพนนางดำ

ชุมชนย่านการค้าตลาดเก่าอายุร้อยกว่าปี ซึ่งยังเป็นชุมชนใกล้แหล่งแม่น้ำเจ้าพระยา และมีสินค้า OTOP ที่สำคัญอย่าง ขนมหน้างาไส้ถั่ว กุยหลี

หมู่ที่ 2
ตลาดโพนางดำ
โพนางดำตก
สรรพยา
ชัยนาท
เทศบาลโพนางดำตก โทร. 0-5643-6460
พรบุญญา อุไรเลิศ
20 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
14 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
27 เม.ย. 2023
ตลาดโพนางดำ
โพนนางดำ

นิราศนครสวรรค์ของพระศรีมโหสถได้กล่าวถึงคำว่า โพแม่นางดำ หมายถึงแม่น้ำเป็นสีดำ ที่เป็นสีดำเพราะความมืดแต่ต่อมาถูกพูดถึงจนเพี้ยนเป็น ชุมชนบ้านโพนางดำ

ชุมชนย่านการค้าตลาดเก่าอายุร้อยกว่าปี ซึ่งยังเป็นชุมชนใกล้แหล่งแม่น้ำเจ้าพระยา และมีสินค้า OTOP ที่สำคัญอย่าง ขนมหน้างาไส้ถั่ว กุยหลี

ตลาดโพนางดำ
หมู่ที่ 2
โพนางดำตก
สรรพยา
ชัยนาท
17150
15.076335162905062
100.28687421618278
เทศบาลตำบลโพนางดำตก

ชุมชนบ้านโพนางดำเป็นชุมชนที่มีความผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมจีนคือ ระหว่างคนไทยที่ตั้งถิ่นอยู่แต่เดิมกับคนจีนโพ้นทะเลที่อพยพเดินทางเข้ามา และตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณตลาดโพนางดำมากว่า 100 ปี จนกลายเป็นชุมชนเก่าแก่

ชุมชนบ้านโพนางดำเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่อดีตโดยมีหลักฐานปรากฏในนิราศนครสวรรค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อครั้งเสด็จทางชลมารคในปี พ.ศ.2201 จากกรุงศรีอยุธยามายังเมืองนครสวรรค์ซึ่งในช่วงหนึ่งได้ปรากฏชื่อของชุมชนโพแม่นางดำในนิราศดังกล่าว เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์ได้เสด็จมาถึงเมืองอินทร์บุรีขบวนเรือเสด็จได้มาถึงวัดทะยาน ได้หยุดพักเพื่อสักการะพระพุทธรูปที่อุโบสถในช่วงเวลาเย็นใกล้ค่ำ และได้เดินทางออกจากวัดทะยานในช่วงเวลาค่ำที่พระจันทร์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้าแล้ว ในช่วงนี้เองที่นิราศได้ระบุถึงชุมชนบ้านโพแม่นางดำ

      แสงแขไขแข่งขึ้น     เวหา

จรจากทะยานไคลคลา      แล่นล้ำ

โดยเสด็จท้องมรรคา       ลุล่ง แดนนา

โพแม่นางดำน้ำ            คล่าวคล้ายคลองสินธุ์ฯ

ปัจจุบัน “วัดทะยาน” ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อปรากฏอยู่ในนิราศนครสวรรค์ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเรียกขานเป็น “วัดไทร” อยู่ในเขตอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ที่ติดกับจังหวัดชัยนาท ซึ่งใกล้กับชุมชนโพนางดำ 

ตลาดโพนางดำ ตั้งอยู่ที่ ชุมชนบ้านโพนางดำ เป็นตลาดของคนไทยเชื้อสายจีนที่มีบรรพบุรุษเป็นคนจีนที่เข้ามาสู่ประเทศไทย โดยมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ชาวจีนที่อพยพมาอยู่ที่ตลาดโพนางดำดังนี้

เมื่อคนจีนอพยพเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา มีคนจีนจำนวนหนึ่งมาตั้งหลักแหล่งที่ชุมชนบ้านโพนางดำและได้มีการแต่งงานกับคนไทยที่อยู่บริเวณพื้นที่นี้จนเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างคน 2 เชื้อชาติ ที่จะเห็นได้จากการสร้างบ้านเรือนของชุมชนที่ตลาดโพนางดำมักมีลักษณะเป็นห้องแถว 2 ชั้น ประเพณีก็มีทั้งประเพณีจีนและประเพณีไทย ทั้งนี้ประเพณีไทยได้รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนา เช่น งานแห่เทียนพรรษา งานทำบุญหลวงปู่หิน และตักบาตรข้าวสาร ส่วนประเพณีจีนได้แก่ งานงิ้วไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ (ปุงเถ่ากงม่า) ในระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ของทุกปี และประเพณีแห่มังกร โดยหลวงปู่หินซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านชุมชนโพนางดำ และศาลปุงเถ่ากงม่า ถูกสร้างอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกันเพื่อให้ทั้งคนไทยพุทธ ซึ่งคนไทยเชื้อสายจีนได้สักการบูชาตามความเชื่อของตนเอง โดยมีเรื่องเล่าเป็นตำนานสืบต่อกันมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนเกี่ยวกับหลวงปู่หิน และปุงเถ่ากงม่า 

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โพแม่นางดำ ถูกเรียกเพี้ยนเสียงเป็น โพนนางดำ และได้มีการแบ่งเขตการปกครองพื้นที่โดยเอากลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นตัวระบุเส้นแบ่งเขตจึงเกิดเป็น 2 ชุมชน คือ โพนนางดำออก และ โพนนางดำตก ต่อมาได้ถูกเพี้ยนเสียงเป็น โพนางดำ จนถึงปัจจุบัน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ       ติดต่อกับ ตำบลสรรพยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
  • ทิศใต้           ติดต่อกับ ตำบลประศุก อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  • ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ แม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลโพนางดำออก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ตำบลชีน้ำร้าย อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  • ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ ตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

สภาพทางกายภาพ

โดยทั่วไปตำบลโพนางดำตก เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน และยังมีคลองส่งน้ำชลประทาน 1 ช้าย 2 ซ้าย บรมธาตุซึ่งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่สำคัญของตำบล

จากข้อมูลสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ระบุจํานวนครัวเรือนและประชากรชุมชนตลาดโพนางดำ จํานวน 53 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 91 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 49 คน หญิง 42 คน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีมาอย่างยาวนาน และมีการเปิดชุมชนทำเป็นกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวให้คนมา ซึ่งสามารถให้นักท่องเที่ยวมาเรียนรู้วิถีการท่องเที่ยวแบบการใช้ชีวิตของคนในชนบท

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ 

ในสมัยก่อนผู้คนชุมชนตลาดโพนางดำ มักปลูกบ้านติดกันค่อนข้างหนาแน่นตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การคมนาคมสมัยนั้นเป็นการใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก การค้าขายจึงเป็นการค้าขายทางน้ำใช้เรือเป็นพาหนะสำคัญในการซื้อขาย และขนส่งสินค้า ส่งผลให้ตลาดโพนางดำในอดีตเป็นตลาดการค้าที่เจริญรุ่งเรืองเนื่องจากเป็นเมืองท่าขนาดเล็กในชุมชนชนบท มีคลอง และมีท่าเรือสำหรับการขนส่งสินค้า รูปแบบของตลาดเป็นบ้านเรือนที่ปลูกสร้างเป็นห้องแถว และเปิดเป็นร้านขายสินค้าทั้งด้านซ้าย และด้านขวาที่ทอดยาว ตั้งแต่หัวตลาดซึ่งเป็นด้านที่อยู่ติดกับแม่น้ำไปยังท้ายตลาด ร้านค้าแต่เดิมเป็นร้านทอง ร้านขายยา ร้านขายขนม ร้ายขายของชำ โรงเลื่อย โรงไม้ โรงหนัง และร้านขายอุปกรณ์ประมง บริเวณตรงกลางเป็นตลาดสดที่ขายของกิน ของใช้ และของประดับตกแต่งบ้าน เป็นต้น บริเวณด้านหน้าตลาดที่ติดกับแม่น้ำจะเป็นแพเติมน้ำมันและเป็นสถานที่ขายสินค้าต่าง ๆ

สินค้าที่มีชื่อเสียง มีการซื้อขายในตลาดโพนางดำมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เช่น ขนมหน้างากุยหลี ขนมโบราณ 100 ปี ซึ่งหากผ่านมาจังหวัดชัยนาทต้องไม่พลาดที่จะหาซื้อเป็นของฝาก หรือของที่ระลึกเพราะเป็นขนมหนึ่งเดียวของจังหวัดชัยนาทที่มีรสชาติอร่อย และมีความเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร 

จากความเจริญของชุมชนตลาดโพนางดำที่มีมาจนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2515 มีการตัดถนนผ่านบริเวณชุมชนตลาดโพนางดำจึงให้การคมนาคมทางเรือเริ่มซบเซาลง การคมนาคมทางบกเจริญขึ้นประชากรมีความสะดวกในการเดินทาง ประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีบ้านเรือนที่เปิดเป็นร้านค้าในตลาดโพนางดำได้ปิดบ้าน และร้านค้าเพื่ออพยพโยกย้ายจากชนบทไปอยู่ในเมือง และเจ้าของบ้านไม่ได้มีการขายบ้านให้กับชาวบ้านที่ยังคงอยู่ในตลาด ที่ประสงค์จะซื้อเพื่อทำประโยชน์หรือเปิดเป็นร้านค้าต่อจากเจ้าของเดิม ในปัจจุบันจึงมีร้านค้าเหลือเปิดค้าขายประมาณ 20 กว่าราย ส่งผลให้ตลาดโพนางดำมีบรรยากาศที่เงียบเหงา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

ตลาดโพนางดำ เป็นตลาดของคนไทยเชื้อสายจีน ที่มีบรรพบุรุษเป็นคนจีนโพ้นทะเลเชื้อสายแต้จิ๋วที่อพยพมาจากเมืองซัวเถา ประเทศจีนเข้ามาสู่ประเทศไทย ทั้งนี้ชาวจีนโพ้นทะเลเมื่ออพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ส่วนหนึ่งเลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ในชุมชนต่างจังหวัด ตลาดโพนางดำเป็นอีกหนึ่งสถานที่ในการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนอพยพเหล่านั้น ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของบรรพบุรุษชาวจีนที่อพยพมาตั้งรกรากมา และค้าขายอยู่ที่ตลาดโพนางดำมากกว่า 100 ปี มีที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีประชากรปลูกสร้างบ้านเรือนติดกันค่อนข้างหนาแน่นพอสมควรตามแนวริมแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้การคมนาคมสมัยนั้นเป็นการใช้เส้นทางคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก การค้าขายจึงเป็นการค้าขายทางน้ำใช้เรือเป็นพาหนะสำคัญในการซื้อขาย และขนส่งสินค้า ส่งผลให้ตลาดโพนางดำในอดีตเป็นตลาดการค้าที่เจริญรุ่งเรืองเนื่องจากเป็นเมืองท่าขนาดเล็กในชุมชนชนบท รูปแบบของตลาดเป็นบ้านเรือนที่ปลูกสร้างเป็นห้องแถวและเปิดเป็นร้านขายสินค้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ตั้งแต่หัวตลาดซึ่งเป็นด้านที่อยู่ติดกับแม่น้ำไปยังท้ายตลาด ร้านค้าแต่เดิมเป็นร้านทอง ร้านขายยา ร้านขายขนม ร้านขายของชำ โรงเลื่อย โรงไม้ โรงหนัง และร้านขายอุปกรณ์ประมง บริเวณตรงกลางเป็นตลาดสดที่ขายของกิน ของใช้ และของประดับตกแต่งบ้าน

ขนมหน้างาไส้ถั่ว กุยหลี มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ ตลาดโพนางดำ ตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 มีตำนานความอร่อยในเมืองไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จวบจนถึงปัจจุบัน ขนมหน้างาไส้ถั่ว มีความนุ่มหอมของเปลือก และความหอมหวานของไส้ถั่วที่นำมานึ่ง และบดก่อนนำมาเคี่ยวกับน้ำตาลจนมีความหอมของถั่วและความหวานของน้ำตาลโตนดกับไข่เค็ม ทำให้ขนมหน้างาไส้ถั่วรสชาติขนมที่ไม่เหมือนใคร

วัดสามนิ้ว วัดที่มีอายุมายาวนาน ซึ่งตำบลนางดำตกมักใช้ประกอบพิธีทางศาสนา และใช้เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนที่ต้องการมาพิธีทางศาสนา โดยบริเวณวัดมีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง ซึ่งสามารถใช้จัดกิจกรรมทางศาสนาได้ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ภายในวัดมีหอระฆังขนาดใหญ่สูง 3 ชั้น

ศาลปุงเถ่ากง – ม่า ศาลที่คนในชุมชนโพนางดำและใกล้เคียงทั้งชาวจีน และชาวไทยกราบไหว้บูชา ได้มีผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าเรื่องราวความเป็นมาของศาลว่าตั้งแต่เกิดมาก็เห็นศาลเจ้าตั้งอยู่แล้วจึงสันนิษฐานได้ว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย โดยไม่สามารถระบุปีที่สร้างได้แต่เมื่อนับอายุของศาลเจ้าคาดว่ามีอายุกว่า 100 ปี แต่เดิมศาลเจ้าเป็นเรือนไม้ทรงไทยตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ต่อมาจึงได้ย้ายมาตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยด้านหลังอยู่ติดกับโรงสีเก่าแก่ที่อยู่คู่กับชุมชน ด้านในศาลเจ้ามีกระถางธูปเป็นเหมือนตัวแทนของเทพเจ้าที่ให้คนในชุมชนทั้งชาวจีนและชาวไทยได้กราบไหว้บูชา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2502 ได้มีการปรับปรุงศาลเจ้าจากเรือนไม้ทรงไทยเป็นแบบปูนในปัจจุบัน ในทุกปีมีงานเทศกาลงิ้วเพื่อเป็นการอัญเชิญเทพเจ้ามาสถิต ณ กลางตลาดโพนางดำ มีมหรสพงิ้วเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชาวตลาดโพนางดำ และชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงได้กราบไหว้สักการบูชาเพื่อเป็นสิริมงคล และในทุก 12 ปี จะมีการเฉลิมฉลองครั้งยิ่งใหญ่โดยมีการจัดงานแห่อัญเชิญปุงเถ่ากงม่าไปรอบชุมชน เพื่อให้ลูกหลานและชาวชุมชนได้ขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุข

ในสมัยที่มีคนจีนอพยพเข้ามาในประเทศไทยที่ผ่านมามีคนจีนโพ้นทะเลจำนวนหนึ่งมาตั้งหลักแหล่งที่ชุมชนบ้านโพนางดำและได้มีการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างคน 2 เชื้อชาติ ดังจะเห็นได้จากการสร้างบ้านเรือนของชุมชนที่ตลาดโพนางดำมีลักษณะเป็นห้องแถว 2 ชั้น ประเพณีก็มีทั้งประเพณีจีนและประเพณีไทย ประเพณีจีนได้แก่ งานงิ้วไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่ (ปุงเถ่ากงม่า) ในระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ของทุกปี และประเพณีแห่มังกร โดยหลวงปู่หินซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านชุมชนโพนางดำ และศาลปุงเถ่ากงม่า ถูกสร้างอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกันเพื่อให้ทั้งคนไทยพุทธและ คนไทยเชื้อสายจีนได้สักการบูชาตามความเชื่อของตนเอง โดยมีเรื่องเล่าเป็นตำนานสืบต่อกันมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนเกี่ยวกับหลวงปู่หิน และปุงเถ่ากงม่า 

หลวงปู่หินศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคาพบูชาของชาวบ้านในชุมชนบ้านโพนางดำและชาวบ้าน บางตาฉ่ำ เป็นก้อนหินคล้ายศิลาแลงแต่เดิมเป็นก้อนหินอยู่บริเวณชายตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาจนกระทั่งมีชาวประมงหาปลาพบก้อนหินนี้แล้วจึงนำใส่เรือเพื่อไปทุบทำเป็นหินถ่วงอุปกรณ์หาปลาเพราะผิวโดยรอบมีลักษณะคล้ายปะการัง แต่เช้าวันรุ่งขึ้นปรากฏว่าก้อนหินได้กลับมาอยู่ ณ จุดเดิมจึงเป็นที่กล่าวขวัญถึงความศักดิ์สิทธิ์ ต่อมามีชาวบ้านคนหนึ่งได้เล่าว่าหลวงปู่หินได้เข้าฝันมาบอกว่าร้อนต้องการขึ้นมาอยู่ด้านบนชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจึงได้ช่วยกันยกหินขึ้นมาไว้ที่ใต้ต้นกอไผ่และเริ่มมีผู้คนมากราบไหว้ด้วยพวงมาลัยเพื่อขอให้ประสบความสำเร็จจากนั้นเมื่อมีผู้มาสักการะอย่างต่อเนื่องเจ้าของโรงสีในตลาดโพนางดำและชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างเพิงพักให้หลวงปู่หิน สิ่งของที่ชาวบ้านนำมากราบสักการะหลวงปู่หิน คือ พวงมาลัย ทองคำเปลว และลิเก ชาวบ้านจึงจัดงานประจำปีเพื่อสักการะหลวงปู่หินขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบัน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนตลาดโพนางดำโดยรอบมีการออกแบบ และพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเรียนรู้วิถีการท่องเที่ยวแบบวิถีชนบทมากขึ้น

ร้านแหนายเฮ้า

เป็นร้านแหที่มีชื่อเสียงร้านหนึ่งของจังหวัดชัยนาทซึ่งเริ่มขายมาตั้งแต่เมื่อครั้งยังไม่มีถนนตัดผ่านเข้ามาในตลาดโพนางดำ แหที่จำหน่ายในอดีตจะทำจากด้ายผ้าที่ย้อมด้วยยางตะโก เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทนทาน สมัยก่อนบริเวณตลาดโพนางดำจะมีต้นก้ามปูปลูกอยู่หลายต้นปัจจุบันถูกทำลายไปหมดแล้วและก้ามปูในพื้นที่อื่นก็ค่อนข้างหายาก การทำแหในปัจจุบันจึงได้พัฒนามาใช้เอ็นแทนด้ายดังเช่นสมัยก่อน โดยเอ็นจะมี 2 ลักษณะคือ เอ็นสีฟ้าเป็นเอ็นปอร์น และสีเขียวเป็นเอ็นเกลียว ทั้งนี้ทางร้านสั่งซื้อแหที่เป็นเนื้อเอ็นเปล่าๆ หลังจากนั้นนำมาติดตะกั่วโดยชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งได้มีการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านเป็น “กลุ่มทำอุปกรณ์ประมงบ้านโพนางดำ” ที่เป็นการนำเอ็นจากร้านแหนายเฮ้ามาทำการรุมหัวรุมท้ายใส่ตะกั่วจนข่ายพร้อมใช้งาน โดยการรุมข่ายนั้นจะเอาเชือกเข้าชุนแล้วนำเชือกอีกเส้นหนึ่งร้อยเข้าไปในข่ายแล้วเริ่มรุมข่ายเมื่อรุมเสร็จแล้วจึงทิ้งหัวและท้ายนำตะกั่วมาใส่ท้ายจะได้ข่ายพร้อมใช้งาน

แหที่จำหน่ายโดยร้านขายแหนายเฮ้าในตลาดโพนางดำ มีจุดเด่นที่แตกต่างจากแหที่จำหน่ายในพื้นที่อื่นคือเมื่อทอดแหลงไปในน้ำแหจะบานออกทำให้ปลาติดแหดีซึ่งเป็นเทคนิควิธีการเฉพาะในการติดตะกั่ว และการพัฒนาในการทำแหของชาวชุมชนตลาดโพนางดำมาจากการบอกต่อของลูกค้าถึงความต้องการของคุณสมบัติของแหที่ต้องการนำไปใช้ ซึ่งนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจชมสาธิตการทอดแหและทดลองทอดแหด้วยตนเองซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ไม่อาจหาได้โดยทั่วไป

เทศบาลตำบลโพนางดำตก. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก : https://www.phonangdamtok.go.th/.

เที่ยวยิ้มอิ่มใจ. (ม.ป.ป.). เรื่องเล่าท้องถิ่นตลาดโพนางดำ. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก : https://xn-82c3a4aada8a0c5cce4k0b7chm.com/.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชัยนาท. (2565). ขนมหน้างาไส้ถั่ว กุยหลี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก : https://chainat.prd.go.th/.

เทศบาลโพนางดำตก โทร. 0-5643-6460