Advance search

ชุมชนชาวไทยองที่มีถิ่นฐานภูมิลำเนาจากรัฐฉานของพม่า และแคว้นสิบสองปันนาของจีน 
หมู่ที่ 2
บ้านล้องเดื่อ
ประตูป่า
เมืองลำพูน
ลำพูน
เทศบาลประตูป่า โทร. 0-5300-0798
ยศพนธ์ ยุพิพิษ
2 ก.พ. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
28 พ.ค. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
28 เม.ย. 2023
บ้านล้องเดื่อ


ชุมชนชาวไทยองที่มีถิ่นฐานภูมิลำเนาจากรัฐฉานของพม่า และแคว้นสิบสองปันนาของจีน 
บ้านล้องเดื่อ
หมู่ที่ 2
ประตูป่า
เมืองลำพูน
ลำพูน
51000
18.63768034
98.99640664
เทศบาลตำบลประตูป่า

บ้านล้องเดื่อ หมู่ ตำบลประตูป่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ปัจจุบันปรากฏเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง หรือกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองยอง ทางด้านทิศตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า และเขตสิบสองปันนาในมณฑลยูนนานของจีน ภายหลังได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนในจังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 1

จากตำนาน ชาวเมืองยองนั้นได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ่งและเมืองอื่น ๆ ในสิบสองปันนา ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูนและเชียงใหม่ ราวศตวรรษที่ 19 ด้วยสาเหตุของสงคราม เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา พี่น้อง พระสงฆ์ และไพร่พลจากเมืองยองจำนวน 20,000 คน เข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา แม่ปิง ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นจึงเรียกคนที่มาจากเมืองยองว่า ชาวไทยอง  

ลักษณะภูมิประเทศ

บ้านล้องเดื่อ มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ดอนและราบลุ่มอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ราบเชียงใหม่–ลำพูน หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย พื้นที่เกษตรกรรมเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทานแม่น้ำปิงเก่า เหมาะต่อการเกษตร ในฤดูน้ำหลากมีพื้นที่บางส่วนที่อยู่ทางแทบฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง จะถูกน้ำท่วมขังเป็นประจำทุกปี

วัดล้องเดื่อ

วัดล้องเดื่อ เป็นปูชนียสถานเก่าแก่ประจำชุมชนบ้านล้องเดื่อ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2395 โดยมีพระโกศระจากอำเภอหางดงเป็นผู้ก่อตั้งวัด อาณาเขตทางด้านทิศเหนือประมาณ 30 วา จดถนนสาธารณะ ทิศใต้ประมาณ 30 วา จดลำเหมือง ทิศตะวันออกประมาณ 35 วา จดถนนสาธารณะ และทิศตะวันตก ประมาณ 35 วา จดหมู่บ้านพื้นที่หมู่บ้าน

บ้านล้องเดื่อมีประชากรทั้งสิ้น 100 ครัวเรือน 599 คน ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านมีทั้งชาวไทยองและชาวพื้นเมืองเดิม

ยอง

สืบเนื่องจากลักษณะภูมิประเทสของชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ซึ่งส่งผลต่อการประกอบอาชีพของชาวบ้าน ชาวบ้านล้องเดื่อส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้หลัก คือ ลำไย รองลงมา คือ กระเทียม และพืชผักต่าง ๆ ส่วนข้าวนั้นชาวบ้านล้องเดื่อจะปลูกเพื่อเก็บไว้บริโภคเป็นหลัก เมื่อเหลือจากการบริโภคจึงจะนำออกจำหน่าย 

ประเพณีสลากย้อมเมืองลำพูน

ประเพณีสลากย้อมเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีทานสลากภัตร ซึ่งเป็นประเพณีประจำปีที่ชาวลำพูนทั่วทุกพื้นที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับชาวบ้านชุมชนบ้านล้องเดื่อ ในวันที่ 10-13 เดือนกันยายนของทุกปี ชาวลำพูนจะไปรวมตัวกันที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ประเพณีสลากย้อมนี้เป็นการทำบุญประจำปีก่อนออกพรรษา มีการถวายทานเพื่อเป็นพุทธบูชาของหญิงสาว เนื่องจากมีความเชื่อว่าการถวายสลากย้อมของหญิงสาวได้รับอานิสงส์ผลบุญสูงยิ่ง เทียบเท่ากับการบวชของผู้ชาย

ลักษณะพิเศษของทานสลากย้อม คือ การนำประวัติของหญิงสาวที่เป็นเจ้าภาพของงาน หรือเป็น “ผู้ทานสลากย้อม” มาแต่งเป็นคำประพันธ์ นำมาผูกเล่าทำนองโบราณเป็นเรื่องตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้คนที่มาเที่ยวได้รับรู้ถึงประวัติและความดีงามของผู้ทานสลากย้อม ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับการ เรียกขวัญ (ฮ้องขวัญ) นาคที่กำลังจะบวช ซึ่งตามประเพณีล้านนาจะมีการเล่าเป็นทำนองเทศน์ล้านนา บอกเล่าประวัติของผู้ที่กำลังจะบวชให้รู้ว่าเป็นผู้ที่กำลังทำความดี สละทุกอย่างเพื่อก้าวเข้าสู่บวรพระพุทธศาสนา ภายในงานจะมีการ “ประกวดต้นสลากย้อม สูงไม่เกิน 12 เมตร” เป็นการประกวดการสร้างสลากย้อมที่สมบูรณ์ มีคติความเชื่อในเรื่องศาสนาและความงดงามของการสร้างสลากย้อมที่เน้นความสวยงาม ประณีต บรรจง แต่ทรงคุณค่า ลงตัวในทรวดทรงและการใช้วัสดุท้องถิ่นมาเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ยังมี “ขบวนแห่ต้นสลากย้อมสูง 8 เมตร และสูง 4 เมตร” แห่จากหน้าศาลากลาง ผ่านถนนอินทยงยศ ถึงแยกประตูลี้ผ่านถนนรอบเมืองในเข้าสู่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร พร้อมการแสดงประกอบตลอดทาง

นอกจากนี้ยังมี “การประกวดการฮ่ำกะโลง” เพื่ออนุรักษ์ส่งเสริมการอ่านเรื่องราวเป็นทำนองโบราณ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของประเพณีสลากย้อมมิให้สูญหาย ซึ่งได้รับความสนใจโดยเฉพาะจากเยาวชนคนรุ่นใหม่จำนวนมาก

1. นายนิพล ชัยวินิจ  ผู้นำชุมชนบ้านล้องเดื่อ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ภาษาที่ใช้พูดคุยสื่อสารในชุมชนบ้านล้องเดื่อ ได้แก่ ภาษายอม คำเมือง และภาษาไทยกลาง แต่สำหรับตัวอักษรนั้นจะใช้อักษรไทย 



ภาษายอง ซึ่งเป็นภาษาพูดที่เป็นเอกลักษณ์ สำเนียงแปลกแตกต่างจากภาษาคำเมือง บ้านที่อยู่อาศัย ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะหาดูได้ยาก แต่ยังมีให้เห็นใน อ.ป่าซาง อ.บ้านธิ และ อ.เมือง ซึ่งลักษณะของบ้านชาวยองนั้น จะนิยมสร้างบ้านไม้ ใต้ถุนโล่ง หลังคาจะไม่มีกาแล แต่จะมีรูปนกยูง ซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่ชาวยองเคารพนับถือประดับอยู่แทน ศิลปะการฟ้อนรำบางอย่าง เช่น ฟ้อนยอง ฟ้อนดาบ การทำกลองหลวง ความเคารพ ยึดถือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รักความสงบ

ชาวไตยองนับเป็นชาติพันธุ์ บรรพบุรุษคนลำพูน ที่รักษารากเหง้าของตนเองได้นานกว่า200 ปี ซึ่งเยาวชนรุ่นหลังควรจะภาคภูมิใจ ยึดรากเหง้าวิถีชีวิตดั้งเดิมของบรรพบุรุษรักษาไว้

ไทลื้อ หรือไทยอง?

“คนยอง” เป็นกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองยอง มีชื่อเป็นภาษาบาลีว่า “มหิยังคนคร” ผู้เฒ่าผู้แก่เรียกว่าเมืองเจงจ้าง (เชียงช้าง) ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงตุง ทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน อาจมีหลายคนสงสัยว่าชาวไทลื้อและไทยองนั้นแตกต่างกันอย่างไร ไทยองใช่ไทลื้อหรือไม่?

ชาวไทยองจริงแท้แล้วคือกลุ่มคนที่สืบเชื้อสายชาติพันธุ์เดียวกันกับชาวไทลื้อ แต่ที่เรียกว่าไทยอง เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองยอง ชาวยองเริ่มเป็นชื่อที่รู้จักมากขึ้นในภาคเหนือหลังจาก พ.ศ. 2348 เมื่อกลุ่มไทลื้อจากเมืองยองได้ถูกอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน-เชียงใหม่ และกระจายไปอยู่ในหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนา และเรียกตนเองว่า “คนยอง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงที่มาของบ้านเมืองเดิมของตน

จังหวัดลำพูน. (2562). ประเพณีสลากย้อม. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.lamphun.go.th/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566].

เทศบาลตำบลประตูป่า. (ม.ป.ป.). ประวัติเทศบาล. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.pratupa.go.th/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566].

ไทลื้อ อัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ไท. (2551). เชียงใหม่ : โครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บ้านล้องเดื่อ. (2565). [ออนไลน์]. ได้จาก: https://earth.google.com/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566].

พระสุริยันต์ ชาณะวีโร. พระลูกวัดวัดล้องเดื่อ และพระอาจารย์สอนวิชาธรรมะ. (8 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์.

สำนักศิลปวัฒนธรรมราชภัฏเชียงใหม่. (ม.ป.ป.). กลุ่มชาติพันธุ์ไทยอง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.culture.cmru.ac.th/ [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566].

เทศบาลประตูป่า โทร. 0-5300-0798