หมู่บ้านแห่งนี้เดิมทีเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้ปกคลุมหนาแน่น มีสัตว์ป่าอยู่อาศัยอย่างชุกชุม ทางทิศเหนือของหมู่บ้านมีสภาพเป็นทุ่งกว้าง พื้นที่ป่าแห่งนี้เริ่มมีประชาชนเข้าอาศัย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 หรือ 150 ปีมาแล้ว
ด้วยในระยะแรกของการตั้งถิ่นฐาน ชาวบ้านประกอบอาชีพตัดไม้มาทำเป็นเสาเรือน ค้าขายกับพ่อค้าต่างถิ่น จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านว่า หมู่บ้านท่าเสา
หมู่บ้านแห่งนี้เดิมทีเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้ปกคลุมหนาแน่น มีสัตว์ป่าอยู่อาศัยอย่างชุกชุม ทางทิศเหนือของหมู่บ้านมีสภาพเป็นทุ่งกว้าง พื้นที่ป่าแห่งนี้เริ่มมีประชาชนเข้าอาศัย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 หรือ 150 ปีมาแล้ว
ประวัติความเป็นมาบ้านท่าเสา ในบริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ เดิมทีเป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้ปกคลุมหนาแน่น มีสัตว์ป่าอยู่อาศัยอย่างชุกชุม ทางทิศเหนือของหมู่บ้านมีสภาพเป็นทุ่งกว้าง พื้นที่ป่าแห่งนี้เริ่มมีประชาชนเข้าอาศัย เมื่อประมาณ พ.ศ.2400 หรือ 150 ปีมาแล้ว โดยมีประชาชนกลุ่มแรกอพยพเข้ามมาถางป่าปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยประมาณ 4-5 ครัวเรือน ชนกลุ่มนี้เดินทางอพยพมาจากอำเภอบางกระโด และคูบัว จังหวัดราชบุรี เนื่องจากพื้นที่ในจังหวัดดังกล่าว เกิดปัญหาน้ำท่วมไม่สามารถทำการเกษตรได้ปัญหาโจรผู้ชายชุกชุม อีกทั้งการทำมาหากินที่ยากลำบากเพราะไม่มีที่ดินในการทำไร่ทำนา เนื่องจากคนที่อพยพมาก่อนรุ่นแรก ๆ ได้จับจองที่ดินทำกินกันหมด การอพยพมาครั้งนี้ เดินทางอพยพหนีความยากจน และปัญหาน้ำท่วมเพื่อไปหาที่ทำกินแหล่งใหม่โดยในครั้งแรกนั้นมีบางครอบครัวเดินทางไปในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เจอกับสภาพปัญหาน้ำท่วมอีกสุดท้ายจึงต้องถอยกลับมา จนมาพบสภาพป่าอันเป็นที่ดอนของหมู่บ้านท่าเสาปัจจุบัน จึงตั้งรกรากถากถางป่าเพื่อใช้พื้นที่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย และเป็นการจับจองพื้นที่ทำกินเป็นของตนเอง ส่งผลให้ในระยะแรกชาวบ้านกลุ่มนี้ประกอบอาชีพตัดไม้มาทำเป็นเสาเรือนขาย โดยจะนำเสาเรือนไปซื้อขายกันบริเวณท่าน้ำที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ซึ่งจะมีเรือของพ่อค้าที่เดินทางมาจากจังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง จอดรอเพื่อรับซื้อเสาเรือนดังกล่าว หรือบางรายอาจจะนำเสาเรือนใส่เรือของตนเองล่องไปขายเพื่อให้ได้ราคาที่ดีกว่าขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อถึงที่ จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านว่า หมู่บ้านท่าเสา ส่วนราษฎรที่อพยพมาครั้งนี้ล้วนเป็นคนไทยยวนที่อดีตเคยอาศัยอยู่ภาคเหนือ
ชุมชนบ้านท่าเสา เป็นหมูบ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งของตำบลห้วยม่วง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีพื้นที่ประมาณ 2,461 ไร่ซึ่งเป็นที่ดินสาธารณะ 4 ไร่ ที่ดินทำประโยชน์ 2,524 ไร่แบ่งเป็นเนื้อที่ทำนา ทำไร่ ทำสวน เนื้อที่เลี้ยงกุ้งและเป็นที่สำหรับปลูกสร้างที่อยู่อาศัย 33 ไร่
น้ำถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชนทั่วไป แหล่งน้ำที่สำคัญในขุมชนบ้านท่าเสาที่ใช้บริโภคในอดีตและปัจจุบ้นเป็นน้ำตามธรรมชาติ คือ น้ำฝนที่ตกในช่วงฤดูฝน โดยชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะรองน้ำใส่ตุ่มขนาดใหญ่หลายใบ โดยจะตั้งเรียงรายไว้บริเวณหลังบ้าน ซึ่งสามารถเก็บไว้บริโภคตลอดทั้งปี ส่วนแหล่งน้ำที่ใช้อุปโภคของชุมชนในอดีต จะใช้น้ำจากบ่อน้ำที่วัดท่าเสา บ่อน้ำของโรงเรียนวัดท่าเสาและสระเก่าท่าเสา ที่ประชากรในชุมชนสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี ต่อมามีการขุดเจาะแหล่งน้ำจากบ่อน้ำบาดาลเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ส่งผลให้ในปัจจุบันมีแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคในชุมชนเพิ่มขึ้น ได้แก่ แหล่งน้ำจากบ่อน้ำตื้น แหล่งน้ำจากคลองชลประทาน แหล่งน้ำจากบ่อบาดาล เป็นต้น ซึ่งแหล่งนี้ต่างทำหน้าหน้าที่เป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของคนในชุมชนแตกต่างกันไป เช่น แหล่งน้ำจากคลองเหลืองวิไล คลองหนองสรวง คลองชลประทาน เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร ส่วนแหล่งน้ำจากบ่อบาดาลที่จัดเก็บไว้ในหอถังจัดเป็นแหล่งน้ำประปาที่สำคัญของชุมชน เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค
ระบบครอบครัวและเครือญาติของชาวไทยยวนบ้านท่าเสาเป็นลักษณะครอบครัวขยายและเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ประชากรของบ้านท่าเสามีเชื้อสายไทยยวนที่อพยพยพมาจากจังหวัดราชบุรี ปัจจุบันมีครัวเรือนทั้งสิ้น 148 หลังคาเรือน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 671 คน เมื่อลูกชายแต่งงานแล้วจะพาสะใภ้มาอยู่กับครอบครัวใหญ่ ส่วนลูกสาวเมื่อแต่งงานแล้วจะย้ายไปอยู่กับครอบครัวฝ่ายชาย หรือขึ้นอยู่กับความจำเป็นอื่น ๆ เช่น กรณีลูกสาวเป็นลูกคนเล็ก พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะให้พาเขยเข้ามาอยู่ในบ้านเพื่อช่วยกันทำมาหากินเลี้ยงดูพ่อแม่และครอบครัวฝ่ายหญิงและเพื่อช่วยกันทำมาหากินเลี้ยงดูพ่อแม่และครอบครัวฝ่ายหญิง หรืออาจจะขึ้นอยู่กับการตกลงของแต่ละครอบครัว ส่วนใหญ่เมื่อแต่งงานไปสักพักก็จะแยกครอบครัวไปเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือสร้างบ้านอยู่ใกล้บริเวณบ้านของพ่อแม่เป็นส่วนมาก
ลำดับญาติ (ภาษาไทยกลาง-ภาษาไทยยวน)
- ทวด = คุณหม่อน
- ปู่ ย่า ตา ยาย = ป้อคุณ แม่คุณ
- พี่เขย = ปี่จาย
- พี่สะใภ้ = ปี่นาง
- ลุง ป้า = ลุง ป้า
- ลูกสะใภ้ = ลูกไป้
- ทิด = หนาน
- อา น้า = อา
- พี่ชายที่บวชแล้ว = อ้ายหนาม
- พ่อ แม่ = อี่ป้อ อี่แม่
- พี่สาว = เอื้อย
- พี่ชาย = อ้าย
ไทยวน
ลักษณะโครงสร้างของชุมชน เมื่อเริ่มก่อตั้งหมู่บ้านมีสภาพเป็นถนนดิน หรือที่ขาวบ้านเรียกว่า ทางเกวียน ในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นถนนลาดยางมีเส้นทางการคมนาคมสัญจรไปมาสะดวกสบายและราดยางตลอดสาย สามารถติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี ได้สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งถนนในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านก็สะดวกมีทางลาดยางเหมือนถนนสายหลักเพราะได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีโครงการพัฒนาชุมชน รวมทั้งโครงการไฟฟ้าและน้ำประปา ทำให้ชุมชนได้รับการพัฒนาพื้นฐานของคนในชุมชน
โครงสร้างทางอาชีพ ชาวไทยยวนบ้านท่าเสาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลัก คือการทำเกษตรกรรม การทำนาและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป สัตว์ที่เลี้ยงคือ วัว เพื่อใช้ประโยชน์ในการทำนา ถ้าถึงฤดูเก็บเกี่ยว บริเวณลานบ้านทุกหลังจะมีกองข้าวตั้งสูงหลายต่อหลายกอง นอกจากนั้นบริเวณใต้ถุนบ้านก็จะพบคอกวัวที่ใช้ไม้ไผ่ลำยาว ๆ ล้อมเป็นคอกมีวัวนอนอยู่ใต้ถุนบ้านในคอก ส่วนมูลวัวนั้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยไว้ใส่ใปในสวนหรือนาที่ปลูกข้าว หรือพืชผักต่อไป
ปัจจุบันอาชีพการทำนาของชาวไทยยวนบ้านท่าเสาลดลงเนื่องจากประสบปัญหาหลายอย่าง เช่น ฝนไม่ตกตามฤดูกาล น้ำน้อย และตัวเลือกในการประกอบอาชีพที่เพิ่มขึ้น เช่น การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ รับจ้าง และทำไร่อ้อย
ศาสนา
ชาวไทบ้านท่าเสามีการนับถือพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ และมีความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณบรรพบุรุษ ซึ่งมีการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการเลี้ยงผีบรรพบุรุษหรือผีปู่ย่าทุกปี
ประเพณี พิธีกรรม
พิธีกรรมการเลี้ยงผีปู่ย่า พิธีกรรมการเลี้ยงผีปู่ย่าของชาวไทยยวนบ้านท่าเสา เป็นความเชื่อที่มีอิทธิพลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวไทยยวนบ้านท่าเสาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยยวนจะมีความเชื่อและยอมรับว่าบรรพบุรุษของตนเองเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก ปู่แสนย่าแสน หรือบางทีก็เรียก ปู่แถนย่าแถน คือผีบรรพบุรุษจะคอยปกปักรักษาลูกหลานในตระกูล
ผีปู่ย่า มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ในกลุ่มเครือญาติ คนที่อยู่ในกลุ่มเครือญาติเดียวกันต้องเป็นผู้นับถือผีสายตระกูลร่วมกัน เรียกว่า ผีเดียวกัน และต้องเป็นการสืบทอดทางสายมารดาเพราะการนับถือผีปู่ย่าจะเป็นการถ่ายทอดผ่านทางผู้หญิงเท่านั้น โดยจะตั้งอยู่ที่บ้านต้นตระกูล แยกออกเป็น 2 ที่ตั้งดังนี้ หิ้งผีปู่ย่า สร้างเป็นหิ้งไว้ในห้องนอนบริเวณหัวนอน หรือตรงเสาเอกของเรือน หิ้งผีปู่ย่าเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตดวงวิญญาณของผีย่า ห้ามสำหรับผู้ชายที่มิได้นับถือผีเดียวกันเข้าไปในห้องที่อยู่ของผีย่าอย่างเด็ดขาด ผีปู่ย่าอยู่บนเรือนนี้บางครั้งก็เรียกว่า ผีบ้านผีเรือน มีหน้าที่ดูแลบ้านและค่อยคุ้มครองให้คนในตระกูล หอผีปู่ย่า คือ หอผีซึ่งจะสร้างไว้ข้างล่างใกล้ ๆ โดยสร้างเป็นเรือนหลัง ๆ อยู่ข้างล่างนอกชายคา เป็นหอผีที่ชาวไทยยวนบ้านเสาเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตดวงวิญญาณของผีปู่ โดยเชื่อว่าผีปู่ย่าจะแยกกันอยู่คนละที่ไม่ได้อยู่รวมกัน เพื่อแยกกันทำหน้าที่ดูแล คุ้มครองลูกหลาน
พิธีกรรมการเลี้ยงผี มีการจัดอาหารคาวหวาน เซ่นไหว้ผีปู่ย่าหรือผีบรรพบุรุษ ซึ่งทำได้ใน 2 ระดับ ได้แก่การเลี้ยงผีระดับครอบครัว กำลังผีจะทำหน้าที่เลี้ยงผี โดยทั่วไปจะเลี้ยงในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันตรุษ วันสารท วันสงกรานต์ ของทุกปีหรือถ้าสายตระกูลไหนเคร่งครัดก็จะเลี้ยงทุกวัน โดยนำเครื่องเซ่นไหว้มีอาหารคาวหวาน และน้ำ ไปวางบนหิ้งผีปู่ย่าและจุดธูปบอกกล่าวทำการอัญเชิญผี นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงผีกรณีที่มีการผิดผี กรณีต้องเพิ่มปริมาณเครื่องเซ่นไหว้เป็นสองเท่าเพราะเป็นการทำผิดจารีตประเพณี
ระดับกลุ่มเครือญาติ เรียกว่าการเลี้ยงปาง จะเลี้ยงที่บ้านกำลังผีเป็นงานใหญ่ซึ่งเป็นการเลี้ยงผีร่วมกันในกลุ่มเครือญาติที่นับถือผีสายตระกูลเดียวกัน ในวันเลี้ยงปางนั้นญาติพี่น้องจะต้องเดินทางมาร่วมพิธีกันหมด หรือหากมาไม่ได้ต้องส่งตัวแทนหรือสิ่งของเครื่องเซ่นไหว้มาช่วย โดยทั่วไปการเลี้ยงปางจะทำทุก ๆ 3 ปี
ไทยยวนเป็นกลุ่มที่มีภาษาและตัวอักษรเป็นของตนเองใช้มาตั้งแต่ครั้งมีถิ่นฐานอยู่ที่ล้านนา เมื่อถูกกวาดต้อนมาอยู่ในภาคกลางของประเทศไทยก็ได้นำเอาภาษาและอักษรของตนเข้ามาใช้ด้วย ภาษาพูดไทยยวนยังคงใช้กันอยู่ในหมู่คนสูงอายุ
ลักษณะภาษาของไทยยวนบ้านท่าเสาจะคล้ายกับภาษาเหนือ ต่างที่คำลงท้ายเป็นประโยคเป็นลักษณะเฉพาะถิ่น เช่น เน่อ เด้อ เด๊ ผ่องเน่อ แตกต่างจากภาษาเหนือ ที่จะลงท้ายว่า เจ้า
ภาษาไทยยวน | ภาษาไทยกลาง |
ไปแอ่วบ้านข้อยผ่องเน่อ | ไปเที่ยวบ้านหนูบ้างนะ |
เป๋นไอ้หยังเด๊ | เป็นอะไรเหรอ |
กิ่นข้าวกับไอ่หยังเด๊ | กินข้าวกับอะไรเหรอ |
บ้ออ้ายอย่าแก้งน้องเด้อ | พี่ชายอย่ารังแกน้องนะ |
จ้วยเอื้อยเยียะงานผ่องเด้อ | ช่วยพี่สาวทำงานบ้างนะ |
เยียะไอ้หยังเด๊ป้อคุณ | ทำอะไรเหรอปู่ |
อำพร ขุนเนียม. (2546). พิธีกรรมและประเพณีของชาวไทยยวนบ้านท่าเสา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันราชภัฎนครปฐม, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.