Advance search

ชุมชนเกษตรกรรมที่อาศัยอยุ่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน ชุมชนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชนบท มีโบราณสถานที่อาจไม่มีรูปแบบชัดเจนแต่มีเรื่องราวและซากหลงเหลืออยู่บ้าง

หมู่ที่14
บ้านเม่นใหญ่
แก่งเลิงจาน
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
วิสาหกิจชุมชน โทร. 09-0082-5036, อบต.แก่งเลิงจาน โทร. 0-4397-1207
ณัฐพล นาทันตอง
20 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
28 เม.ย. 2023
บ้านเม่นใหญ่

เนื่องจากบริเวณที่ตั้งบ้านเม่นใหญ่มีเม่นจำนวนมาก เข้ามากัดกินพืชผัก ผลไม้ทำความเสียหายให้กับชาวบ้านอยู่เป็นประจำ จึงเป็นที่มาของ บ้านเม่นใหญ่


ชุมชนชนบท

ชุมชนเกษตรกรรมที่อาศัยอยุ่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำแก่งเลิงจาน ชุมชนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชนบท มีโบราณสถานที่อาจไม่มีรูปแบบชัดเจนแต่มีเรื่องราวและซากหลงเหลืออยู่บ้าง

บ้านเม่นใหญ่
หมู่ที่14
แก่งเลิงจาน
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
44000
16.1566139
103.2492918
องค์การบริหารส่วนตำบลแก่งเลิงจาน

บ้านเม่นใหญ่ก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นเมื่อใดไม่มีใครทราบแน่ชัด จากการบอกเล่าของนายสอน สาพิมาน กล่าวว่า ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านอพยพมาจากบ้านโนน อำเภอวาปีปทุม เมื่อประมาณ 200 ปีเศษแล้ว สาเหตุที่ที่ได้ชื่อว่าบเนเม่นใหญ่เนื่องจากในบริเวณนั้นมีเม่นมากเข้ามากัดกินพืชผัก ผลไม้ทำความเสียหายให้กับชุมชนเป็นประจำ ภายหลังมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ และปัจจุบันได้หมดไปจากชุมชน

สภาพปัจจุบันบ้านเม่นใหญ่ บริเวณที่ตั้งบ้านเป็นที่ดอนรอบๆเป็นที่ราบลุ่มสำหรับทำนา มีพื้นที่ประมาณ 1,850 ไร่ แหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูกอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านชื่อ หนองห้าง ส่วนน้ำดื่มดื่มจากน้ำบ่อบาดาล และการเก็บกักน้ำฝนไว้กิน ซึ่งจะมีโอ่งสำหรับเก็บน้ำทุกบ้าน การประกอบอาชีพชาวบ้านส่วนมากประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ การปลูกมันสำปะหลัง ปอ และเลี้ยงไหม เพื่อนำผลผลิตใช้บริโภคในครัวเรือน

อาณาเขตบ้านเม่นใหญ่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ ดังนี้

  • ทิศเหนือ          ติดกับ  แก่งเลิงจาน บ้านดอนตูมดอนโด ตำบลแก่งเลิงจาน

  • ทิศตะวันออก     ติดกับ บ้านท่าแร่ บ้านหนองจิก ตำบลแก่งเลิงจาน

  • ทิศตะวันตก      ติดกับ  บ้านดงเค็ง ตำบลแก่งเลิงจาน
  • ทิศใต้             ติดกับ  บ้านหนองใหญ่ ตำบลแก่งเลิงจาน  

บ้านเม่นใหญ่มีประชากรทั้งหมด 403 คน ชาย 182 หญิง 221 คน

การประกอบอาชีพชาวบ้านส่วนมากประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ การปลูกมันสำปะหลัง ปอ และเลี้ยงไหม เพื่อนำผลผลิตใช้บริโภคในครัวเรือน

ชุมชนบ้านเม่นใหญ่ยังใช้ชีวิตแบบชนบท เพราะมีความหลากหลายทางชีวภาพเช่น การหาปลาโดยใช้เครื่องมือโบราณ การเก็บเห็ด การใช้พืชสมุนไพรในการไล่แมลง การใช้พืชสมุนไพรรักษาโรค การทอผ้าไหม การทอผ้าฝ้าย การย้อมสีจากเปลือกไม้

  • นายเหลือ แสนบุญ : เป็นปราชญ์ที่มีความรู้เรื่องการแต่งแก้สะเดาะเคราะห์ พิธีกรรมทางศาสนา พิธีไล่ผีสาง พิธีค้ำโพธิ์ค้ำไทร พืชสมุนไพร

  • นายเกิ่ง คำทุม  : มีความรู้เรื่องพิธีกรรมทางศาสนา ประวัติกู่โบราณบ้านเม่นน้อย พืชสมุนไพร

  • นายไพบูลณ์ เพชรไพฑูรย์  : มีความรู้เรื่องสมุนไพรกำจัดแมลง สมนุไพรที่เป็นยาพื้นบ้าน พืชสมุนไพรที่ใช้ย้อมสี

กู่โบราณบ้านเม่นน้อย เป็นภูมิปัญญาที่เป็นชุดความรู้ในเรื่อง ประวัติความเป็นมาของกู่ ความเชื่อ ความศรัทธา โดยวิธีการบนบานเรื่องต่างๆขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชน ชนิดของหินที่สร้างกู่และการเปลี่ยนแปลงสภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีปราชญ์ชาวบ้านให้ความรู้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทวน ยุทธพงษ์. (2556). วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของชาวอีสาน : ศึกษากรณีบ้านเม่นใหญ่ ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไทยคดีศึกษา เน้นมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

ทรงรัตน์ ศรสารคาม. (2553). กระบวนการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านเม่นใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กู่หนองบัว. (2563).กู่หนองบัว บ้านเม่นน้อย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.(ออนไลน์).ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566 https://www.facebook.com/586109664733250/posts.

วิสาหกิจชุมชน โทร. 09-0082-5036, อบต.แก่งเลิงจาน โทร. 0-4397-1207