ชุมชนที่เป็นแหล่งผลิตผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดมหาสารคาม
มีโขลงช้างป่า มาดื่มน้ำและลงเล่นน้ำที่หนองน้ำ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าหนองเขื่อนช้าง จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านหนองเขื่อนช้าง
ชุมชนที่เป็นแหล่งผลิตผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดมหาสารคาม
บ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 13 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดมหาสารคาม ห่างจากศาลากลางจังหวัดมหาสารคามประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาการประกอบอาชีพหัตถกรรมผ้าทอ เป็นหมู่บ้านที่เจริญเท่าหมู่บ้านอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่อยู่ชานเมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหัตถกรรมผ้าฝ้าย ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดี จะเห็นได้จากประชาชนในหมู่บ้านมีกำลังการซื้อสิ่งอุปโภค บริโภคอย่างเพียงพอ สาธารณูปโภคมีน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านด้วย
บ้านหนองเขื่อนช้างได้ก่อตั้งเป็นหลักแหล่งมานานคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 ประชาชนกลุ่มแรกอพยพจากบ้านเมืองหงส์ เมืองทอง อำเภอจตุรพักรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายละคร ไม่ทราบนามสกุล เห็นว่าภูมิประเทศแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ ใกล้แหล่งน้ำ มีป่าไม้ทึบขนาดใหญ่ มีสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะมีโขลงช้างป่า มาดื่มน้ำและลงเล่นน้ำที่หนองน้ำ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าหนองเขื่อนช้าง ผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อ นายภักดี ได้ปกครองหมู่บ้านให้เกิดความสุขความเจริญตลอดมา
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2509 ทางราชการได้แบ่งเขตการปกครองบ้านหนองเขื่อนช้างออกเป็น 2 หมู่บ้านเป็นหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 13 ขึ้นกับตำบลท่าสองคอน อำเมือง จังหวัดมหาสารคาม ผู้นำหมู่ที่ 7 ชื่อนายหาญ แสงท้าว ทำหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้านและกำนันตำบลท่าสองคอนด้วย ส่วนผู้นำหมู่ที่ 13 คือนายประเสริฐ จำปาปี เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาพ.ศ.2521 ชาวบ้านหนองเขื่อนช้างเริ่มมีไฟฟ้าใช้ทำให้ชาวบ้านมีความสะดวกมากขึ้นจากการมีพัดลม ตู้เย็น ไฟแสงสว่าง และเครื่องใช้อื่นๆในครัวเรือน
บ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 13 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดมหาสารคาม ห่างจากศาลากลางจังหวัดมหาสารคามประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาการประกอบอาชีพหัตถกรรมผ้าทอ เป็นหมู่บ้านที่เจริญเท่าหมู่บ้านอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่อยู่ชานเมือง ชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพหัตถกรรมผ้าฝ้าย ทำให้มีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างดี จะเห็นได้จากประชาชนในหมู่บ้านมีกำลังการซื้อสิ่งของอุปโภค บริโภคอย่างเพียงพอ สาธารณูปโภคมีน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านด้วย มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อื่น ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ บ้านอุปราชและบ้านโนนตาล
- ทิศตะวันออก ติดกับ บ้านใหม่ อำเภอบรบือ
- ทิศตะวันตก ติดกับ บ้านดงเค็ง และบ้านดอนหัน
- ทิศใต้ ติดกับ บ้านหินลาด
บ้านหนองเขื่อนช้างเป็นชุมชนใหญ่มี 2 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 13 มีจำนวนประชากรรวม 1,217 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 340 หลังคาเรือน ครอบครัวเป็นลักษณะครอบครัวเดี่ยวประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิก 4 คน การปลูกบ้านเรือนจะปลูกอยู่บริเวณใกล้เคียงครอบครัวพ่อแม่หรือ ญาติ สมาชิกในครอบครัวหรือเครือญาติจะพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทุกๆด้าน การทำงานในครัวจะแบ่งหน้าที่กันทำตามความชำนาญและสภาพร่างกายและเพศเช่น ผู้ชายมักจะทำงานหนัก เช่น ทำนา ส่วนผู้หญิงจะเย็บผ้า ทอผ้า การแต่งงานมักจะแต่งงานกับคนในหมู่บ้านเดียวกันหรือหมู่บ้านเดียวกันหรือหมู่บ้านใกล้เคียง เริ่มจากการไปสู่ขอผู้ชายประมาณ 20-27 ปี เพื่อแต่งงานแล้วส่วนมากฝ่ายชายจะไปอยู่กับฝ่ายหญิงเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว
ชาวบ้านมีการพึงพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีลักษณะรวมเป้นกลุ่มเพื่อบ้านเดียวกัน ทำอะไรมักจะทำร่วมกัน เช่น กลุ่มทอผ้า กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอ กลุ่มเยาวชน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มสหกรณ์การเกษตร เป้นต้น กลุ่มต่างๆนี้ส่วนมากจะเป็นกลุ่มทางการผลิต ซึ่งทำประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับหมู่บ้าน
ชุมชนบ้านหนองเขื่อนช้างทำนาเป็นหลักเช่นเดียวกับชุมชนอื่นเมื่อว่างงานจากทุ่งนาผู้หญิงก็จะทอผ้าเนื่องจากผ้าทอเป็นสิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชาวบ้านหนองเขื่อนช้างคือการได้ดำเนินการกิจการทอผ้าพื้นเมืองและผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากสิ่งทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ และมาดำเนินการอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ.2514 โดยการแนะนำจากทางราชการ และวิทยาลัยครูมหาสารคาม ทำให้มีการปรับปรุงในเรื่องการออกแบบและเทคนิคการผลิต เทคนิคการประดิษฐ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดในปี พ.ศ.2524 จึงมีการรวมกลุ่มทอผ้าขึ้นทำให้สร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มมากขึ้น
อำนวย ภูวนา. (2540). กระบวนการบริหารการผลิตหัตถกรรมผ้าทอ : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
หัตถกรรมหนองเขื่อนช้าง. (2566). บ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2566, จาก https://cbtthailand.dasta.or.th/