Advance search

ชุมชนบ้านหนองตื่นเป็นชุมชนที่การตั้งบ้านเรือนตามรูปแบบของคนอีสาน หมู่บ้านแห่งนี้ยังเป็นสนามวิจัยของนักวิชาการคนดังเช่น ชาร์ล เอฟ คายส์

บ้านหนองตื่น
เขวา
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
วิสาหกิจชุมชน โทร. 09-0347-1836, อบต.เขวา โทร. 0-4302-9501
ณัฐพล นาทันตอง
22 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
24 เม.ย. 2023
ณัฐพล นาทันตอง
28 เม.ย. 2023
บ้านหนองตื่น

เรื่องเล่าเกี่ยวกับการตั้งชื่อบ้าน หลังจากการย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านโพนงาม จังหวัดร้อยเอ็ด วันหนึ่งมีราษฎรในหมู่บ้านสองคนชื่อ ตาอินทร์กับตาจันทร์ได้ล่าไก่ป่าที่ท้ายหมู่บ้าน ขณะตาอินทร์ซุ่มอยู่บนตนไม้ได้เกิดเสียงดังข้างๆจึงนึกว่าเป็นเสือ ด้วยความกลัวและตกใจถึงกับกลั้นอุจจาระไม่อยู่ ทำให้อุจจาระตกลงมาถูกตาจันทร์ที่ซุ่มอยู่ใต้ต้นไม้ ตาจันทร์ตกใจได้ยินเสียงอุจจาระหล่นถูกใบไม้แห้งนึกว่าเป็นเสียงเสือกระโจนตะครุบ ตาจันทร์ตกใจวิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต(ภาษาพื้นบ้านเรียกอาการตื่น) ถึงกับจับไข้หัวโกร๋น จากการบอกเล่าถึงความตกใจของตาจันทร์และประกอบกับบริเวณที่เกิดเหตุมีหนองน้ำธรรมชาติและยังไม่มีชื่อ ชาวบ้านจึงเรียกกันต่อๆมาว่า “หนองตื่น” และเรียกชื่อหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

ชุมชนบ้านหนองตื่นเป็นชุมชนที่การตั้งบ้านเรือนตามรูปแบบของคนอีสาน หมู่บ้านแห่งนี้ยังเป็นสนามวิจัยของนักวิชาการคนดังเช่น ชาร์ล เอฟ คายส์

บ้านหนองตื่น
เขวา
เมืองมหาสารคาม
มหาสารคาม
44000
16.12586625
103.4113938
องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา

ชาวบ้านหนองตื่นบางกลุ่มเดินทางมาจากหมู่บ้านโพนงาม จังหวัดร้อยเอ็ด เนื่องจากเดินทางมานมัสการปรางกู่บ้านเขวา ขณะพักแรมเห็นว่าพื้นที่ทิศใต้ปรางค์กู่บ้านเขวามีพื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร จึงได้ถากถางเพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำการเกษตร มีการตั้งบ้านเรือนประมาณ 10-15 หลังคาเรือนต่อมามีการอพยพมาเพิ่มเติมเป็น 20-25 หลังคาเรือน  กลุ่มที่อพยพต่อกันมาคือกลุ่มบ้านหนองโด จังหวัดร้อยเอ็ด และบ้านโนนสังข์ จังหวัดร้อยเอ็ด ทำให้ชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้น

สภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านหนองตื่นโดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายกับชาวอีสานโดยทั่วไป อาชีพหลักของชาวบ้านคือการทำการเกษตร เนื่องจากสภาพดินเป็นดินร่วนทราย จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนวิ๔ชีวิตในช่วงแรกตั้งชุชนอาศัยปัจจัยสี่เป็นหลักเนื่องจากมนุษย์นอกจากจะพึ่งพาอาศัยกันและยังพึ่งพาธรรมชาติอีกด้วย แม้ความเจริญด้านเทคโนโลยีปัจจุบันจะแผ่ขยายเข้ามาในหมู่บ้านแต่ชาวบ้านยังมีความเชื่อเคารพนับถือในสิ่งเหนือธรรมชาติอยู่เสมอมา

บ้านหนองตื่น ตั้งอยู่บริเวณหลังวิทยาลัยเกษตรมหาสารคาม ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกฉียงใต้ของตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ระยะทางห่างจากตัวจังหวัด 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 700 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ          ติดต่อกับ         บ้านเขวาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

  • ทิศใต้             ติดต่อกับ         บ้านเหล่าวิไล อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

  • ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ         บ้านนกกระโดก อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

  • ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ         บ้านห้วยแอ่ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ชาวบ้านหนองตื่นมีอาชีพทำนาเป็นหลัก โดยสามารถทำนาได้ปีละครั้ง การทำนาอาศัยน้ำตามธรรมชาติคือ น้ำฝน น้ำจากห้วยแอ่ง สระวัด และสระดอนตาปู่(ดอนปู่ตา) ชาวบ้านมีการบำรุงดินตามวิธีการทางการเกษตรอย่างถูกวิธี เนื่องจากอยู่ใกล้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคามจึงได้รับความรู้ด้านการทำการเกษตรอยู่อย่างต่อเนื่อง นอกจากอาชีพทำนา

อาชีพทำสวน เนื่องจากสภาพที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย และเป้นที่ลุ่ม มีพื้นที่ติดกับห้วยแอ่ง ชาวบ้านจึงใช้พื้นที่เพาะปลูกพืชผักชนิดต่างๆเช่น ผักกาด ผักกะหล่ำปลี แตงกวา ถั่ว เป็นต้น

อาชีพเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพหนึ่งชาวบ้านนิยมทำเป็นอาชีพเสริมสัตว์ที่เลี้ยงมากคือ การเลี้ยงโคพันธุ์ต่างๆ ปัจจุบันมีจำนวนโคพันธุ์จำนวนมาก นอกจากนั้นเมื่อว่างเว้นจากการทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์แล้วชาวบ้านผู้หญิงก็จะทอผ้าเพื่อเก็บไว้ใช้ในงานประเพณี ถ้ามีมากสามารถขายได้ ส่วนผู้ชายเมื่อว่างเว้นก็จะไปรับจ้างเพื่อหารายได้ระหว่างว่างเว้นจากการทำนา

ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านหนองตื่นมีทั้งหมด 735 คน มีจำนวนบ้านเรือนทั้งหมด 199 หลังคาเรือน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านหนองตื่นมีอาชีพทำนาเป็นหลัก โดยสามารถทำนาได้ปีละครั้ง การทำนาอาศัยน้ำตามธรรมชาติคือ น้ำฝน น้ำจากห้วยแอ่ง สระวัด และสระดอนตาปู่(ดอนปู่ตา) ชาวบ้านมีการบำรุงดินตามวิธีการทางการเกษตรอย่างถูกวิธี เนื่องจากอยู่ใกล้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคามจึงได้รับความรู้ด้านการทำการเกษตรอยู่อย่างต่อเนื่อง นอกจากอาชีพทำนา

อาชีพทำสวน เนื่องจากสภาพที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย และเป้นที่ลุ่ม มีพื้นที่ติดกับห้วยแอ่ง ชาวบ้านจึงใช้พื้นที่เพาะปลูกพืชผักชนิดต่างๆเช่น ผักกาด ผักกะหล่ำปลี แตงกวา ถั่ว เป็นต้น

อาชีพเลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพหนึ่งชาวบ้านนิยมทำเป็นอาชีพเสริมสัตว์ที่เลี้ยงมากคือ การเลี้ยงโคพันธุ์ต่างๆ ปัจจุบันมีจำนวนโคพันธุ์จำนวนมาก นอกจากนั้นเมื่อว่างเว้นจากการทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์แล้วชาวบ้านผู้หญิงก็จะทอผ้าเพื่อเก็บไว้ใช้ในงานประเพณี ถ้ามีมากสามารถขายได้ ส่วนผู้ชายเมื่อว่างเว้นก็จะไปรับจ้างเพื่อหารายได้ระหว่างว่างเว้นจากการทำนา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สภาพทั่วไปของบ้านหนองตื่น มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างพื้นฐานในระดับหนึ่ง ได้แก่ การมีถนนเชื่อมโยงกับภายนอก การมีไฟฟ้า แต่วิธีการผลิตยังเป็นการทำนาและอาศัยน้ำฝนและหาอาหารจากธรรมชาติ ที่สำคัญคือความเชื่อเรื่องผีปู่ตาเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นในเรื่องความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ การงาน ชาวบ้านได้นำความเชื่อเรื่องผีปู่ตาเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วย

บ้านหนองตื่นเป็นชุมชนที่เป็นที่รู้จักของนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จำนวนมากเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ศาสตราจารย์ Charles Fenton Keyes นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน ได้รับทุนฟูลไบรท์ มาเป็นอาจารย์แลกเปลี่ยนที่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ได้ชื่อว่า มิตรสนิทของชาวไทย ซึ่งนอกจากจะทำการศึกษาวิจัยเรื่องราวต่างๆ ของชนชาวไทยแล้ว ยังได้บันทึกภาพประวัติศาสตร์ในอดีตของประเทศไทยไว้มากมาย ซึ่งท่านจะเห็นได้ในบรรดาภาพเก่าเล่าอดีตจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดมหาสารคามที่ได้ไปใช้ชีวิตกับครอบครัวชาวบ้านที่บ้านหนองตื่น ตำบลเขวา จังหวัดมหาสารคาม ทำให้มีภาพพื้นที่บ้านหนองตื่นอยู่ในจำนวนภาพถ่ายที่ถ่ายทั้งหมดของท่าน นอกจากนั้นยังมีภาพถ่ายที่เกี่ยวข้องกับเมืองมหาสารคามจำนวนมากด้วย

ศิริรักษ์ จรัณยานนท์. (2542). ความเชื่อเรื่องผีปู่ตาของชาวบ้านหนองตื่น ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาร์ล เอฟ คายส์. (2506). ภาพจากฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก, https://www.sac.or.th/databases/anthroarchive/collection_detail.php?collection_name=CK&level_name=collection.php

วิสาหกิจชุมชน โทร. 09-0347-1836, อบต.เขวา โทร. 0-4302-9501