ชุมชนที่มีการปั้นเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่เริ่มตั้งชุมชน ปัจจุบันมีการปั้นเครื่องปั้นดินเผาบูรณาการในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ
มูลเหตุที่มาของชื่อ “บ้านหม้อ” เนื่องจากชาวบ้านที่อพยพมาเป็นชาวโคราชมีฝีมือในการปั้นหม้ออที่ทำด้วยดินเหนียว บริเวณพื้นที่ของบ้านหม้อมีดินเหนียวเหมาะแก่การปั้นหม้อจึงเลือกเอาพื้นที่เป็นที่ตั้งหมู่บ้าน และร่วมกันสร้างครอบครัวเริ่มต้นจาก 8-9 ครอบครัวและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การชื่อว่าบ้านหม้อทราบเพียงว่าผุ้สูงอายุพากันเรียกมาตลอด หรืออาจเป็นเพราะคนนในหมู่บ้านปั้นหม้อเกือบทุกครัวเรือนทุกคนจึงรับรู้ไปในทางเดียวกันว่าที่แห่งนี้ชื่อบ้านหม้อ และชาวบ้านเองก็ยอมรับว่าหมู่บ้านแห่งนี้ชื่อว่า “บ้านหม้อ”
ชุมชนที่มีการปั้นเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่เริ่มตั้งชุมชน ปัจจุบันมีการปั้นเครื่องปั้นดินเผาบูรณาการในรูปแบบที่หลากหลายและน่าสนใจ
บ้านหม้อเป็นชุมชนที่ตั้งมานานเกิน 120 ปีดังสามารถสืบทอดอายุของบุคคลกว่า 3 รุ่น แต่ช่วงที่เป็นจุดกำเนิดของการตั้งหมู่บ้านไม่มีผุ้ใดสามารถกำหนดได้อย่างแน่นอน แต่มีการเล่าต่อกันมาว่า ประชากรชาวบ้านหม้อสืบเชื้อสายมาจากชาวไทโคราช โดยอพยพมาจากจังหวัดนครราชสีมา เขตอำเภอพิมาย บัวใหญ่ โนนสูง และอำเภอโนนไทย ซึ่งปัจจุบันชาวโคราชยังไปมาหาสู่กันโดยเฉพาะร่วมงานพิธีสำคัญระหว่างกันมิได้ขาด
ในส่วนความเป้นมาของการย้ายถิ่นฐานไว้ว่า สำหรับเหตุผลการย้ายถิ่นฐานจากจังหวัดนครราชสีมาของชาวไทโคราชกลุ่มนี้เพื่อมาตั้งถิ่นฐานใหม่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเห็นแตกต่างกันเป้น 3 กลุ่มกล่าวคือ
กลุ่มที่ 1 เชื่อว่าการอพยพเดินทางของชาวไทยโคราชมีเหตุผลมาจากการขายของเร่ โดยสินค้าประเภทผ้าแพร ถ้วยชาม และเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ เดินทางโดยเกวียนมาจนถึงพื้นที่หมู่บ้านในปัจจุบัน ซึ่งมีนายคำ ชาวบ้านเรียกตาคำได้เดินทางมาจำหน่ายสินค้าบริเวณจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคามและกาฬสินธุ์ เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณบ้านหม้อปัจจุบัน เห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับมีหนองน้ำขนาดใหญ่และที่สำคัญผืนดินใต้ผิวน้ำบริเวณหนองน้ำแห่งนี้มีดินเหนียวที่สามารถเป็นวัสดุในการปั้นหม้อ ซึ่งเป็นหัตถกรรมที่พวกเขามีความชำนาญอยู่แล้ว อีกทั้งชุมชนต่างๆในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความต้องการในการใช้ภาชนะดินเผาจำนวนมาก จึงตัดสินใจตั้งรกรากอยู่บริเวณทิศเหนือของบ้านหม้อปัจจุบัน
กลุ่มที่ 2 เชื่อว่าการอพยพของชาวไทยโคราชที่เป็นบรรพชนของคนบ้านหม้อในระยะแรกอพยพมาจากบ้านแพงในเขตอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อประมาณ 120 ปีที่ผ่านมาโดยนายคำ มีเป้าหมายในการอพยพย้ายถิ่นฐานนั้นคือการแสวงหาที่อยู่ใหม่ เนื่องจากพื้นที่เดิมมีฝนแล้งติดต่อกัน8-9 ปี และเกิดโรคระบาด ชาวไทยโคราชกลุ่มดังกล่าวจึงตัดสินใจละทิ้งถิ่นฐานเดิม เพื่อแสวงหาที่อยู่ใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการผลิตเครื่องปั้นดินเผา จึงได้ตั้งรกรากบนพื้นที่แห่งนี้โดยเริ่มแรกมีเพียง 7-9 ครอบครัว ต่อมาเมื่อเครื่องปั้นดินเผาของชาวโคราชกลุ่มนี้ได้รับความนิยมจากชุมชนข้างเคียงและในเขตภาคอีสานมากขึ้น ต่อมาจึงมีการกลับไปเยี่ยมญาติและชักชวนกันมาตั้งที่อยู่ใหม่ด้วยกัน โดยยึดอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
กลุ่มที่ 3 เชื่อว่าชาวบ้านหม้อเป็นชาวไทโคราช มีวิถีชีวิตสืบต่อกันมาโดยการปั้นหม้อ มีความเป็นมาจากการที่ชาวโคราชจากอำเภอโนนสูง กล่มหนึ่งที่อพยพหนีภัยสงครามไทย-ลาว แล้วมาปักหลักทำมาหากินที่บริเวณบ้านหม้อในปัจจุบัน ประกอบกับพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีหนองน้ำตามธรรมชาติซึ่งมีดินเหนียวที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในการปั้นหม้อและทำเครื่องปั้นดินเผา ต่อมาจึงมีการแลกเปลี่ยนและค้าขายกับชุมชนใกล้เคียงกลายเป็นอาชีพที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมา
จากแนวคิดที่มาของชุมชนบ้านหม้อ ค้นพบว่าข้อความในแนวคิดทั้ง 3 ส่วนล้วนเป็นสาเหตุของการอพยพของบรรพบุรุษของชุมชนบ้านหม้อ แนวคิดทั้ง 3 มีปรากฏหารณ์ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฎในจดหมายเหตุเสด็จราชการมณฑลนครราชสีมา มณฑลอุดร และมณฑลร้อยเอ็ด ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทรงได้บันทึกเหตุการณ์ของการอพยพของชาวจีน
ข้อมูลทั่วไปของชุมชนบ้านหม้อ ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 239 หลังคาเรือน ประชากร 836 คน
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ วัดปรมัยยิกาวาส อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านแมด ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หนองนางเลิงเบ็ญ บ้านเชียงเหียน ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่แบ่งโดยแนวถนนในหมู่บ้านเป็นเกณฑ์ จะแบ่งเป็น 2 คุ้มคือ คุ้มตะวันออก กับ คุ้มตะวันตก แต่โดยความเป้นอยู่แล้วถือว่าเป็นคุ้มเดียวกันมีวัดภายในหมู่บ้านหนึ่งแห่งคือ วัดปรมัยยิกาวาส เป็นวัดที่ชาวบ้านใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ปัจจุบันจำนวนประชากรบ้านหม้อมีทั้งหมด 836 คน มีจำนวนบ้านเรือนทั้งหมด 239 หลังคาเรือน
ชุมชนบ้านหม้อนับว่าเป็นกลุ่มอาชีพที่ทำมาตั้งแต่ตั้งหมู่บ้านคือ อาชีพปั้นหม้อและเครื่องปั้นดินเผา จึงเป็นการรวมกลุ่มกันตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเพื่อการค้าขายเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก เพื่อจำหน่ายในพื้นที่ใกล้เคียงและต่างจังหวัด โดยใช้ดินเหนียวในหมู่บ้านที่เป็นดินเหนียวชนิดพิเศษเนื่องจาก มีสีดำ เหมาะแก่การทำเป็นเครื่องใช้ เช่น ครก หม้อ ถ้วย เป็นต้น
ชาวบ้านหม้อปัจจุบันมีอาชีพปั้นหม้อเป็นหลัก และจากการตั้งถิ่นฐานในเขตพื้นที่ชุมชนสามารถทำนาได้จึงทำนาเพื่อไว้รับประทานด้วย แต่อาชีพหลักคือการทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆเพื่อส่งขายตามร้านค้า และตามความต้องการของกลุ่มลูกค้า
ทุนชุมชนที่สำคัญของบ้านหม้อคือการมีดินเหนียวที่มีความพิเศษ คือ ดินเหนียวสีดำ ที่เหมาะแก่การทำเครื่องปั้นดินเผา และมีจำนวนมากสามารถทำเครื่องปั้นดินเผาได้อีกเป็นระยะเวลานาน
ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชุมชนบ้านหม้อมีเพียงอย่างเดียวคือการพัฒนาของเครื่องใช้ในครัวเรือน ซึ่งในอดีตใช้เครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเริ่มมีพลาสติก เซรามิก ที่มีความสวยงามและคงทนทำให้กระทบกับรายได้ของเครื่องปปั้นดินเผา แต่ชุมชนบ้านหม้อก็ไม่หยุดนิ่งเนื่องจากมีทุนที่สำคัญคือดิน และฝีมือ ประกอบกับการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยในพื้นที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้มีแนวคิดที่หลากหลายในการทำเครื่องปั้นดินเผาเพิ่มมากมาย และยังคงดำรงชีวิตได้อย่างต่อเนื่อง
ยศพร บรรเทิงสุข. (2556). การวิจัยแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นที่ชุมชนบ้านหม้อ ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
องค์การบริหารส่วนตำบลเขวา. (2563).หม้อดินเผา บ้านหม้อ.(ออนไลน์).ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566. จาก, http://www.tumbonkhwao.go.th/