
ชุมชนเก่าแก่ที่มีมายาวนานและปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองเก่า มีทั้งพระธาตุพระอานนท์ มีประแก้วประจำเมืองที่สำคัญ ตลอดจนสัมผัสสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของชุมชนบ้านสิงห์ท่า
พ.ศ. 2315 พระเจ้าราชวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าแห่งเมืองเวียงจันทน์ และไพร่พลทั้งหลายอพยพมาอาศัยอยู่ที่ ดงผีสิงห์ ต่อมาได้สร้างเมืองขึ้นที่นี่ และตั้งชื่อว่า เมืองสิงห์ท่า
ชุมชนเก่าแก่ที่มีมายาวนานและปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองเก่า มีทั้งพระธาตุพระอานนท์ มีประแก้วประจำเมืองที่สำคัญ ตลอดจนสัมผัสสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของชุมชนบ้านสิงห์ท่า
บ้านสิงห์ท่ามีประวัติความเป็นมาอันยาวนานเกี่ยวพันกับเมืองหนองบัวลำภูหรือ “นครเขื่อนขันฑ์กาบแก้วบัวบาน” (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) และเกี่ยวพันกับเมืองอุบล กล่าวคือ ประมาณปี พ.ศ. 2314 พระเจ้าตา พระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทร์ อพยพครอบครัวและบริวารหนีมาตั้งรกรากใหม่ เนื่องจากไม่พอใจเจ้านครคนใหม่ โดยชื่อเมืองหนองบัวลุมภู ขนะเดียวกันพระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งเป็นเจ้านครเวียงจันทร์ เกิดหวาดระแวงจึงยกทัพจากนครเวียงจันทร์มาปราบปราม พระเจ้าตาถูกข้าศึกยิงด้วยอาวุธปืนและฟันดาบจึงถึงแก่พิราลัยในที่รบ เจ้าพระวอ เจ้าคำผง และฝ่ายหน้าผู้เป็นน้องทั้งสองของเจ้าพระวอ อีกทั้งเจ้าก่ำ เจ้าทิดพรม ได้ยกทัพฝ่าหนีออกจากเมืองหนองบัวลุมภูไปพึ่งพาเจ้านครจำปาศักดิ์ ขบวนทัพของเจ้าพระวอได้เดินทางตามลุ่มน้ำชีมาพักกับเจ้าคำสูผู้ครองบ้านสิงห์ท่า(ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) ภายหลังต่อมาพระวอดำริว่า หากอยู่กับเจ้าคำสูแล้ว ถ้าเวียงจันทร์ยกทัพมาก็จะเป็นการลำบาก และจะเกิดสงครามกันต่อไป เมื่อประชุมตกลงกันแล้วจึงพาไพร่พลอพยพลงไปตามลำน้ำมูล และสร้างเมืองใหม่ที่ดอนวังกอง เขตนครจำปาศักดิ์ ตามรับสั่งของพระเจ้าองค์หลวงเจ้านครจำปาศักดิ์ โดยพระวอได้ขุดคูสร้างค่ายขึ้นเรียกว่า “ค่ายบ้านดู่บ้านแก”
ต่อมาในปี พ.ศ.2331 เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารทราบเรื่อง จึงได้ยกทัพมาปราบอีกจนเจ้าพระวอถึงแก่ความตาย เจ้าคำผงน้องเจ้าพระวอและบริวารจึงได้อพยพต่อไปยังเกาะกลางลำน้ำมูลเรียกว่า “ดอนมดแดง” แต่เนื่องจากเป็นที่ต่ำไม่เหมาะสมแก่การสร้างเมืองจึงอพยพขึ้นลำน้ำมูลถึงห้วยแจระแม แล้วมาสร้างเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ่งเมื่อปีกุน พ.ศ.2322 แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี จึงได้รับโปรดเกล้าพระราชทานนามเมืองว่า “เมืองอุบล” เพื่อเป็นการรำลึกถึงเมืองเดิมของ(เจ้าคำผง) คือเมืองหนองบัวลุมภู จากนั้นเจ้าคำผงจึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็นเจ้าเมืองคนแรกได้รับพระราชทานทินนามว่า “พระประทุมสุรราช” หลังจากนั้นต่อมาฝ่ายหน้าน้องของพระปทุมสุรราชเจ้าเมืองอุบลพร้อมกับนางอูสา ไพร่พลญาติวงศาอีกส่วนหนึ่งได้ขอแยกตัวไปอยู่บ้านสิงห์ท่า ซึ่งเจ้าคำสูปกครองอยู่ พระปทุมสารราชไม่ขัดข้อง จึงแยกย้ายกันไปทำมาหากินที่บ้านสิงห์ท่า ได้ปรับปรุงและสร้างบ้านสิงห์ท่าจนเจริญรุ่งเรือง
จากเรื่องราวดังกล่าว จังหวัดยโสธรมีความเกี่ยวพันกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ.2325 จากเจ้าหน้าที่ฝ่ายหน้าได้ช่วยปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้วเขาโองที่นครจำปาศักดิ์ตามใบบอกของพระปทุมสารราช เจ้าฝ่ายหน้าไปรับสถาปนาขึ้นเป็น “เจ้าพระยาวิชัยราชขัติยวงศา” ครองนครจำปาศักดิ์ตามบัญชาของพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พ.ศ.2354 เจ้าพระยาวิชัยราชขัติยวงศาถึงแก่พิราลัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัยโปรดให้เจ้าหนูหลานนครจำปาศักดิ์ครองนครจำปาศักดิ์สืบไป ฝ่ายเจ้าราชวงศ์สิงห์บุตรเจ้าพระนาวิชัยราชขัติยวงศากลับมาอยู่บ้านเดิมบ้านสิงห์ท่าได้นำเอาอัฐิของเจ้าพระยาวิชัยราชขัตติยวงศากลับมาด้วย และนำมาก่อเจดีย์บรรจุไว้ที่วัดมหาธาตุใกล้กับพระธาตุพระอานนท์ ซึ่งยังปรากฏอยู่ปัจจุบัน
ส่วนบริเวณบ้านสิงห์ท่า ปัจจุบันได้กลายสภาพเป็นเขตธุรกิจเมืองเก่า บ้านเรือนของชุมชนแห่งนี้มีรูปแบบศิลปกรรมจีนผสมยุโรป ยังเหลือให้เห็นสองข้างทางถนนศรีสุนทร ถนนอุทัยรามฤทธิ์และถนนวิทยะธำรงค์ อาคารบางแห่งยังสมบูรณ์อยู่มาก บอกถึงบรรยากาศความเป้นอดีต ขณะที่อีกหลายแห่งถูกปล่อยให้ทรุดโทรมรกร้างขาดการดูแล การอาศัยของผู้คนในย่านนี้พบว่า ยังมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทุกๆเช้ามีสังคมเล็กๆแห่งนี้ยังมู้สูงอายุเรอใส่บาตร เนื่องจากชุมชนแห่งนี้ล้อมไปด้วยวัดหลายวัดที่เป็นที่นับถือของคนในชุมชนเช่น วัดสิงห์ท่าเป็นวัดคู่เมืองนี้ วัดมหาธาตุเป็นที่ตั้งของพระธาตุพระอานนท์ พระพุทธบุศยรัตน์พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวยโสธรวัดศรีไตรภูมิและวัดศรีธรรมาราม(พระอารามหลวง) นอกจากนี้ยังมีร้านค้าบริการต่างๆเช่น ร้านข้าวเปลือก ร้านขนมจีน ร้านขายปลาส้ม กลุ่มผลิตบั้งไฟ ร้านทำลอดช่อง ซึ่งเป็นร้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัดยโสธร
บ้านสิงห์ท่าตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สภาพของพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบสูงพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกับ 5 จังหวัดดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดมุกดาหาร
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดศรีสะเกษ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดอุบลราชธานี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดร้อยเอ็ด
ชุมชนสิงห์ท่า มีครัวเรือนทั้งหมด 209 ครัวเรือน มีประชากรอาศัยอยู่ทั้งหมดจำนวน 456 คน แยกเป็นเพศชายจำนวน 220 คน เพศหญิงจำนวน 236 คน
คนพื้นที่มีวีชีวิตที่เรียบง่าย ภายใต้ร่องรอยของความเจริญรุ่งเรือในอดีต ยามเช้ามีพระบิณฑบาตเรียบง่าย ชาวบ้านออกมาตักบาตร จิบชา กาแฟ นั่งพูดคุยกันแลกเปลี่ยนข่าวสาร วิ่งออกกำลังกายบริเวณริมบึงใหญ่ เต้นแอโรบิคที่สวนเข็มบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอ
- วัดสิงห์ท่า เป็นวัดที่มีประวัติการสร้างพร้อมกับการสร้างเมืองยโสธร ถือได้ว่าเป็นวัดแห่งแรกของเมืองยโสธร เป็นวัดศูนย์รวมชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองยโสธร ผู้คนที่ตั้งชุมชนอยู่โดยรอบเรียกว่า คุ้มวัดสิงห์ท่า
- วัดมหาธาตุ ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองยโสธรมาตั้งแต่แรกสร้างเมือง ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมือง โบราณสถานที่สำคัญในวัดคือพระพุทธบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยเชียงแสน เป็นพระบูชาคู่บ้านคู่เมืองของยโสธรที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศาเจ้าเมืองยโสธรคนแรก พระธาตุยโสธร พระธาตุยโสธร หรือ พระธาตุอานนท์ ตั้งอยู่หน้าอุโบสถ เป็นพระธาตุรุ่นเก่าที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนยอดคล้ายพระธาตุพนม ภายในพระธาตุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ การก่อสร้างได้รับอิทธิพลศิลปะลาวที่นิยมสร้างขึ้นเมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับประวัติการตั้งเมืองและประวัติของวัดมหาธาตุฉบับหนึ่งว่า สร้างราว พ.ศ. 2321 โดยท้าวหน้า ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำผา ซึ่งเดิมเป็นเสนาบดีเก่าของกรุงศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ต่อมาได้อพยพผู้คนภายใต้การนำของพระวอ พระตา ราว พ.ศ. 2313-2319 มาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นี้ ลักษณะพระธาตุ ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ส่วนยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อยและทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำทุกปีในเดือนมีนาคม หอไตร เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานของวัด ตั้งอยู่ตรงกลางสระทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะแบบหอไตรภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจาก เวียงจันทน์ มีซุ้มประตู และบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม มีลวดลายการตกแต่ง ฝาผนัง ซึ่งเป็น ลักษณะผสมแบบภาคกลางทำให้กล่าวได้ว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์
- สถาปัตยกรรมเมืองเก่า สังเกตได้ว่าในสมัยก่อน เมืองใดที่ตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำส่วนมากจะมีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะกับการค้าขาย ซึ่ง บ้านสิงห์ท่า แห่งนี้ ตั้งอยู่ริม แม่น้ำชี ทำให้ในอดีตกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้า เมื่อฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคนี้ ก็มีการเผยแพร่วัฒนธรรมและสร้างบ้านเรือนต่างๆ รวมถึงการมาพักอาศัยของชาวจีน ทำให้ที่นี่มีวัฒนธรรมที่ผสมกลมกลืนระหว่าง ไทย จีน และฝรั่งเศส จจุบัน บ้านสิงห์ท่า ได้พัฒนามาเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ไม่ว่าใครก็ต้องไปเยือนเมื่อมาถึง ยโสธร หากมองไปรอบๆ จะสังเกตได้ว่าสถาปัตยกรรมของที่นี่มีลักษณะแบบชีโน-โปรตูกีส ซึ่งเริ่มมาจากยามที่ฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพล ก็ได้นำช่างฝีมือจากเวียดนามมาตกแต่งบ้านเรือน ทำให้มีกลิ่นอายแบบจีนและตะวันตกผสมผสานเข้าด้วยกัน ส่วนใหญ่อาคารเรือนจะคุมโทนให้อยู่ในสีพาสเทล สร้างด้วยไม้ผสมปูน พวกบานประตูในย่านนี้จะเป็นบานเฟี้ยม ทำให้บรรยากาศที่ บ้านสิงห์ท่า แห่งนี้มีบรรยากาศที่คลาสสิก
นอกจากนี้ยังมีร้านค้าบริการต่างๆเช่น ร้านข้าวเปลือก ร้านขนมจีน ร้านขายปลาส้ม กลุ่มผลิตบั้งไฟ ร้านทำลอดช่อง ซึ่งเป็นร้านที่มีชื่อเสียงของจังหวัดยโสธร
ปัจจุบันบ้านสิงห์ท่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดยโสธร เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและยังสามารถอนุรักษ์วิถีชีวิตความดั้งเดิม ตลอดจนอนุรักษ์โบราณสถาน วัตถุสิ่งของที่มีคุณค่า และยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสามารถรองรับนักท่องเที่ยวเข้ามาชมวีถีชีวิตของชาวชุมชนสิงห์ท่า
อภิญญา สุพิชญ์. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา บ้านสิงห์ท่า อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นรีรัตน์ ธงภักดิ์. (2552). การพัฒนาศักยภาพโฮมสเตย์ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการท่องเที่ยวและ การโรงแรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาปัตย์บ้านสิงห์ท่า. (2566). บ้านสิงห์ท่า ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร.(ออนไลน์).ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2566.จาก, https://travel.trueid.net/detail/Q8q1raNybWg8.