ชุมชนที่มีอาชีพเจียระไนเพชรในอดีตและการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมของชุมชน เป็นชุมชนที่มีศักยภาพด้านงานช่างฝีมือ ชุมชนเกษตรกรรมที่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ชุมชนบ้านหนองขามตั้งชื่อตามภูมิประเทศที่ปรากฏหนองน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่และมีต้นมะขามเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลานั้นจึงตั้งชื่อบ้านว่า บ้านหนองขาม
ชุมชนที่มีอาชีพเจียระไนเพชรในอดีตและการเปลี่ยนแปลงเกษตรกรรมของชุมชน เป็นชุมชนที่มีศักยภาพด้านงานช่างฝีมือ ชุมชนเกษตรกรรมที่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ในอดีตก่อนปีพ.ศ. 2333 ประมาณ 200 ปีมาแล้ว บริเวณพื้นที่แถบบ้านหนองขามเป็นป่าดงดิบดิบขนาดใหญ่ เป็นป่าโคก มีต้นจิก ต้นกุง ต้นแดง และมีสัตว์ป่าหลายชนิดอาศัยอยู่ พื้นที่ป่ากว้างขวางกินพื้นที่หลายจังหวัด นายบิดและชาวบ้าน 15 ครอบครัวซึ่งแต่เดิมอยู่ที่บ้านดอกไม้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประสบกับภัยแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล 4-5 ปีติดต่อกันทำนาไม่ได้สภาพดินฟ้าไม่อำนวยหน้าแล้งก็แห้งแล้งจนน้ำขอดไม่สามารถทำการเกษตรเพื่อเลี้ยงชีพได้ ชาวบ้านจำนวนดังกล่าวจึงได้อพยพโยกย้ายหาถิ่นที่อยู่และที่ทำกินใหม่ ได้ย้ายมาอยู่พื้นที่บ้านทุ่งมน อำเภอสุวรรณภูมิ อาศัยอยู่ประมาณ10 ปีการทำมาหากินก็ยังคงฝืดเคืองเนื่องจากประสบภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง จึงได้ปรึกษาหารือเพื่ออพยพหาที่ทำกินแห่งใหม่อีกครั้ง โดยมีนายด้วงเป็นหัวหน้าคณะและครอบครัวทั้งสิ้น 8 ครอบครัวได้อพยพลงมาทางทิศตะวันตกและตั้งบ้านเรือนที่บ้านดงเมืองเห็น ตำบลบัวมาศ อำเภอท่าขอนยาง จังหวัดร้อยเอ็ด นายด้วงเห็นว่าชุมชนบ้านดงเมืองเห็นเป็นชุมชนขนาดใหญ่หาที่อยู่อาศัยหรือที่ทำกินยากลำบากจึงได้ย้ายและอพยพอีกครั้งมายังบ้านหนองโก แต่เมื่อมาอยู่ที่บ้านหนองโกก็เกิดวิกฤตจึงได้ย้ายมาฝั่งตะวันตกของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีหนองน้ำขนาดใหญ่และมีต้นมะขามต้นใหญ่อยู่ริมหนองจึงตั้งถิ่นฐานบริเวณนี้ เชื่อกันว่าหนองน้ำแห่งนี้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และมีพระภูมิหนองคอยดูแลรักษาทั้งผู้คนและวัวควายของชาวบ้าน วัดบ้านหนองขามก็ได้มีพระประจำวัดคือ พระท่านป้อง พระอุปัชฌาย์พรหมมี พระอาจารย์สอน พระอาจารย์พรมมา อาจารย์สาย อาจารย์อ่อน เดิมบ้านหนองขามอยู่ในเขตการปกครอวของตำบลบัวมาศ และตำบลกำพี้ จนปัจจุบันเป็นตำบลดอนงัว อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม การขยายตัวของหมู่บ้านในช่วงแรกเริ่มของการตั้งหมู่บ้านเป็นการอพยพตามญาติพี่น้อง
บ้านหนองขามอยู่ห่างจากอำเภอบรบือประมาณ 18 กิโลเมตร
- ทิศเหนือ ติดกับบ้านหนองเหล่า
- ทิศใต้ ติดกับบ้านหนองเสียว อำเภอวาปีปทุม
- ทิศตะวันออก ติดกับบ้านดอนงัว
- ทิศตะวันตก ติดบ้านนาเชือก
สภาพแวดล้อของชุมชนเป็นพื้นที่สูงหรือที่ดอน ส่วนบริเวณรอบหมู่บ้านเป็นที่ราบสูงใช้ในการทำนา ไม่ค่อนมีพื้นที่โคกสำหรับปลูกพืชไร่ สภาพของชุมชนเป็นดินร่วนปนทรายบางส่วนเป็นดินเค็ม
เมื่อแรกเริ่มการตั้งหมู่บ้านหนองขามมีสายตระกูลเก่าแก่ เช่น
- พรมพาน
- นามโคตร
- โคคลัง
- เดชสยา
- สมมาตร
- กานแก้ว
- โชติชุม
- ศักยภาพของผู้คนและองค์ความรู้ด้านการเจียระไนเพชร
- ชุมชนเกษตรกรรมที่ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการและใช้ภาษาท้องถิ่นอีสานในการสื่อสาร
บ้านหนองขามเป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพด้านช่างฝีมือโดยเฉพาะการเจียระไนเพชร อาชีพการเจียระไนเพชรของคนในชุมชนบ้านหนองขามเริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 ซึ่งในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2525-2526 มีคนหนุ่มสาวประมาณ 25-30 คน ได้อพยพเพื่อใช้แรงงานในกรุงเทพฯ บางส่วนได้ไปรับจ้างเจียระไนเพชรที่จังหวัดสุพรรณบุรี เช่น ที่บ้านท่าช้าง ตำบลสวนแตง จังหวัดสุพรรณบุรี หรือในพื้นที่บ้านคลองคือ ตำบลสวนแตง จังหวัดสุพรรณบุรี คนที่เข้าทำงานเจียระไนเพชรกลุ่มแรกคือ นายคูณ ทุ่งไธสง นายดอน ทุ่งไธสง นายคำพอง งามเทพ นายโฮม ชัดนำ นายหนู เพียงพา เมื่อเห็นช่องก็ได้ชักชวนคนในชุมชนเข้าไปรับจ้างและฝึกหัดกันมากขึ้น ในช่วงปีพ.ศ. 2528 คนในชุมชนบ้านหนองขามเข้าไปรับจ้างเจียระไนเพชรมากถึง 80 คน เป็นยุคที่บ้านหนองขามเงียบสงบและผู้คนน้อยเนื่องจากเข้าไปรับจ้างเจียระไนเพชรกันส่วนใหญ่ การฝึกหัดเจียระไนเพชรนั้นต้องเริ่มฝึกหัดตั้งแต่การตัด การโกน การแต่ง การจี้ โดยรายได้ในช่วงนั้น การแต่งกระรัตละ1.50 บาท การจี้(เจียระไน) กระรัตละ 3 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับฝีมือ ต่อมามีการลงทุนตั้งโรงงานเจียระไนเพชรในหมู่บ้านเนื่องจากคนที่ไปรับจ้างในพื้นที่ข้างนอกมีความชำนาญและสามารถนำมาทำเองที่หมู่บ้านได้ หลังพ.ศ. 2528 มีโรงงานเจียระไนในหมู่บ้านถึง 3 ที่ คือ ของนายไมตรี ทุนเพิ่ม ของนายหนู โคคลัง และของนายดอน ทุ่งไธสง ในช่วงดังกล่าวมีช่างในชุมชนกลับมาทำงานเจียระไนที่หมู่บ้านรวมทั้งมีช่างจากหมู่บ้านใกล้เคียงเข้ามาทำงานด้วย เช่นบ้านดอนงัว บ้านสะแพง กิจการเจียระไนเพชรเป็นที่นิยมในพื้นที่และเกิดเป็นการลงทุนทั้งการกู้ยืมเงินนอดระบบมาลงทุนซื้ออุปกรณ์การเจียระไน และมีโรงงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เจ้าของโรงงานเดิมทั้ง 3 เจ้าแรกเริ่มผันตัวมาเป็นพ่อค้าเพชรแทนช่างเจียระไนอีกทั้งยังขายอุปกรณ์การเจียระไนให้กับช่างและโรงงานต่างๆ
การเปลี่ยนแปลงของชุมชนบ้านหนองขามในช่วงพ.ศ. 2528 จึงส่งผลให้หมู่บ้านหนองขามจากหมู่บ้านเกษตรกรรมที่พึ่งพาธรรมชาติเป็นหลังปรับเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ยังคงอาชีพการทำนาและหารายได้จากงานอาชีพเจียระไนเพชร ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนรอบข้างอีกด้วย
วัฒนสาร ปานเพชร,วทัญญู แสนใจวุฒิ,วรนันท์ บุนนาค.การเจียระไนเพชร กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของชาวบ้าน บ้านหนองขาม ตำบลกำพี้ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม,2532
การเจียระไนเพชร.(2562).การเจียระไนเพชร. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จากhttps://web.facebook.com/photo/?fbid=1151082191755431&set=pcb.1151082265088757