Advance search

ชุมชนบ้านโป่งเป็นชุมชนชาวปกาเกอะญอที่มีผ้าทอกะเหรี่ยงเลื่องชื่อของหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านได้มีการผลักดันให้เกิดเป็นวิสาหกิจ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านโป่ง สินค้า OTOP ประจำชุมชน 

หมู่ที่ 12 ถนนแหล่งพาณิชย์
บ้านโป่ง
บ้านกาศ
แม่สะเรียง
แม่ฮ่องสอน
อบต.บ้านกาศ โทร. 0-5368-2173-5
กาญจนา ปรีกมล
11 ก.พ. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
28 พ.ค. 2023
พิสุทธิลักษณ์ บุญโต
28 เม.ย. 2023
บ้านโป่ง


ชุมชนบ้านโป่งเป็นชุมชนชาวปกาเกอะญอที่มีผ้าทอกะเหรี่ยงเลื่องชื่อของหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านได้มีการผลักดันให้เกิดเป็นวิสาหกิจ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านโป่ง สินค้า OTOP ประจำชุมชน 

บ้านโป่ง
หมู่ที่ 12 ถนนแหล่งพาณิชย์
บ้านกาศ
แม่สะเรียง
แม่ฮ่องสอน
58110
18.17359
97.93059
เทศบาลตำบลแม่สะเรียง

บ้านโป่ง ในเขตปกครองตำบลบ้านกาศ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนชาวปกาเกอะญอที่เข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่เมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานปรากกแน่ชัด แต่อาจสรุปได้จากประวัติศาสตร์อำเภอแม่สะเรียง หรือเมืองยวมในอดีต ดินแดนที่เคยเป็นถิ่นฐานอาศัยของชาวละว้าและปกาเกอะญอมาไม่น้อยกว่า 500 ปี และเคยเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนา ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ทางราชการได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเรียกชื่อว่า “อำเภอเมืองยวม” จนกระทั่งปี พ.ศ. 2467 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าชื่ออำเภอเมืองยวมนั้นไปพ้องกับอำเภอขุนยวมซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกันจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอแม่สะเรียง” ตามชื่อของลำน้ำแม่สะเรียงที่ไหลผ่านอำเภอแทน อำเภอแม่สะเรียงในอดีตเคยเป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศไทย แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่การปกครองโอนพื้นที่บางส่วนให้ขึ้นกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อำเภอแม่ลาน้อย และอำเภอสบเมย

จะเห็นว่า พื้นที่อำเภอแม่สะเรียงหรือเมืองยวมแห่งนี้ เดิมทีเคยเป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของชาวละว้าและ ปกาเกอะญอย่างน้อย 500 ปีมาแล้ว จนกระทั่งปัจจุบันในอำเภอแม่สะเรียงก็ยังปรากฏมีชาวละว้าและปกาเกอะญออาศัยอยู่เช่นเดียวกับชุมชนบ้านโป่ง ตำบลบ้านกาศ หนึ่งตำบลในปกครองของอำเภอแม่สะเรียง จึงอาจสันนิษฐานได้ว่าชาวปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในบ้านโป่งนี้อาจตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในชุมชนมายาวนานถึง 500 ปีแล้วก็เป็นได้ 

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศของชุมชนบ้านโป่งมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบเหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ทำสวน โดยมีแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญ คือ ห้วยแม่หาร และแม่น้ำยวม ลำน้ำที่เปรียบเสมือนเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงประชากรทั้งตำบลบ้านกาศ

สภาพภูมิอากาศ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเดือนมิถุนายน-เดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์

สถานที่สำคัญทางศาสนา

  • คริสตจักรแบ๊บติสต์บ้านโป่ง
  • คริสจักรร่มเกล้าแม่สะเรียง 

บ้านโป่งมีจำนวนครัวเรือน 297 หลังคาเรือน และประชากร 440 คน (แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2566-2570 เทศบาลตำบลแม่สะเรียง) ประชากรในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวปกาเกอะญอ ชาวไทใหญ่ และชาวพื้นเมือง 

ไทใหญ่, ปกาเกอะญอ

อาชีพหลัก : รับจ้างทั่วไป เกษตรกร ข้าราชการ      

อาชีพรอง : การทอผ้าผ้ากะเหรี่ยง จะมีทั้งเสื้อ กระเป๋า และซิ่นนุ่งห่ม

กลุ่มชุมชน

  • กลุ่มสมุนไพรบ้านโป่ง
  • กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านโป่ง
  • กลุ่มอาชีพหัตถกรรมผ้าทอกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติบ้านโป่งดอยช้าง

รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน

ในเวลากลางวันจะแยกย้ายกันไปทำงานและทำหน้าที่ของตน แล้วกลับมารับปะทานอาหารค่ำร่วมกับสมาชิกในครอบครัว แต่สำหรับบางครัวเรือนที่มีอาชีพทอผ้าเป็นอาชีพหลัก ซึ่งการทอผ้าจะทำที่บ้าน ชาวบ้านกลุ่มนี้จะทอผ้าอยู่ที่บ้านของตนได้ออกไปที่ใด เด็กและเยาวชนในชุมชนส่วนใหญ่จะเข้าเรียนตามช่วงอายุของตนเอง เด็กเล็กจะอยู่กับปู่ย่าตายาย เพราะพ่อแม่ออกไปทำงานหาเลี้ยงครอบครัว

ประเพณีท้องถิ่นสำคัญ

  • ประเพณีตานข้าวหย่ากู๊ เป็นประเพณีที่มีความผูกพันกับชาวบ้านผู้ทำการเกษตรมาช้านาน โดยมีความเชื่อว่าหลังจากทำนาหรือหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จต้องมีการระลึกถึงบุญคุณของข้าว (พระแม่โพสพ) ที่ได้คุ้มครองไร่นาให้ชาวนามีข้าวไว้หล่อเลี้ยงชีวิต และเมื่อได้ข้าวมาก็จะนำไปถวายวัดเพื่อเป็นสิริมงคล และข้าวนั้นต้องเป็นข้าวใหม่ในวัน “เหลินสาม” หรือเดือนสามซึ่งตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

  • ประเพณีปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานประเพณีสำคัยของชาวไทใหญ่ คำว่าปอย แปลว่า งาน ซึ่งหมายถึงงานเทศกาล งานมงคลต่าง ๆ ส่วนคำว่า ส่าง แปลว่า พระหรือเณร และคำว่า ลอง นั้นมาจากคำว่า อะลอง แปลว่า กษัตริย์ เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง งานบวชเณรของเด็กที่แต่งตัวอย่างกษัตริย์ ถือเป็นงานบุญใหญ่ที่จะจัดขึ้นในทุกๆปี ซึ่งผู้เป็นพ่อแม่ตลอดจนญาติมิตรของส่างลอง (ผู้ที่จะบวชเป็นเณร) จะต้องเตรียมข้าวของประกอบพิธีและการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ โดยผู้ที่จะบวชจะมีการขี่ช้างม้าหรือนั่งบนบ่าโดยไม่ให้เท้าแตะพื้น และมีการแต่งการประดับประดาเสมือนเป็นกษัตริย์นั่นเอง จะมีพิธีโกนผมเด็กที่จะเข้ารับเป็นส่างลอง มีพิธีอาบน้ำเงินน้ำทอง และแต่งกายให้ส่างลองด้วยชุดเจ้าชาย จะมีการแห่ขบวนส่างลองไปคารวะตามวัดต่าง ๆ จะมีการแห่ริ้วขบวนใหญ่ไปตามถนนสายหลักของหมู่บ้าน (Amezing Thailand, ม.ป.ป., ออนไลน์)

  • ประเพณีแห่เทียนเหง (เทียนพันเล่ม) เป็นประเพณีที่ชาวบ้านทุกพื้นที่ในอำเภอแม่สะเรียงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นเทศกาลในช่วงออกพรรษาหรือออกหว่า ภายในขบวนก็จะมีการละเล่นที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชน มีการแต่งกายสมมุติเป็นเทพบุตร เทพธิดา และสัตว์ป่าหิมพานต์นานาชนิด อีกทั้งยังมีการร่ายรำ เล่นดนตรีตลอดขบวน เช่น การฟ้อนโต การฟ้อนกิ่งกะหล่า มีฆ้องกลองสะล้อซอซึงเล่นประโคมกันอย่างสนุกสนาน ขบวนเทียนเหงแต่ละขบวนก็จะประดับประดาตกแต่งริ้วขบวนอย่างสวยสดงดงาม การประดับประดาราชวัตรประทีปโคมไฟ แต่ละขบวนก็จะมีขบวนดอกพันดอก พันกรวยเทียน พร้อมเครื่องไทยทาน ตลอดระยะทางที่ขบวนผ่านก็จะมีการแสดงต่าง ๆ มากมาย สร้างความประทับใจแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว ที่เฝ้าชมเป็นอย่างมาก และเมื่อขบวนแห่เทียนเหงที่แห่ไปตามถนนถึงวัดใดก็จะแยกย้ายนำเครื่องไทยธรรมและดอกไม้ธูปเทียนไปถวายเจ้าอาวาสวัดนั้น ๆ ประเพณีแห่เทียนเหงนับว่าเป็นประเพณีใหญ่และสำคัญที่สภาวัฒนธรรมอำเภอแม่สะเรียงและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกันให้การสนับสนุนให้มีขึ้นทุกปี (Maehongson Creative, 2563: ออนไลน์)

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

มรดกทางภูมิปัญญา

ผ้าทอกะเหรี่ยง ชุมชนบ้านโป่งเป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีการประกอบอาชีพทอผ้ากะเหรี่ยงเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้เช่นเดียวกับหลายหมู่บ้านในตำบลบ้านกาศ และอำเภอแม่สะเรียง ผ้าทอกะเหรี่ยงเป็นมรดกภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอหรือชาวกะเหรี่ยง ที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมของกลุ่มชนและท้องถิ่น ซึ่งผ้าทอกะเหรี่ยงกับการแต่งกายจะบ่งบอกสถานภาพทางสังคม ความโดดเด่นของผ้าทอกะเหรี่ยงเฉพาะพื้นที่นี้ คือ เป็นผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าตามภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต 

ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาไทยกลาง และภาษาเมือง อีกทั้งยังมีภาษากระเหรี่ยง ที่ชาวปกาเกอะญอใช้พูดคุยกันภายในชุมชน โดยในช่วงปิดเทอมใหญ่จะมีการเปิดเรียนภาษากะเหรี่ยงที่คริสตจักรกะเหรี่ยงแบ๊บติสต์บ้านโป่ง มีแม่บ้านจากกลุ่มสตรีทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กันธศีล พวงทอง. (2566). ประธานกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านโป่ง. (11 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์.

กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านโป่ง. (2565). ผ้าทอกะเหรี่ยงบ้านโป่ง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.facebook.com/profile. [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2564). วัดศรีบุญเรือง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน สืบสานประเพณีปอยส่างลองเฉลิมพระเกียรติ วันที่ 19-22 เมษายน 2564 พร้อมรับสามเณรบวชเรียนภาคฤดูร้อน. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://thainews.prd.go.th/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2566). โรงเรียนอนุบาลแม่สะเรียง (บ้านโป่ง) สืบฮีตสานฮอยย้อนรอยประเพณี ตานข้าวหย่ากู๊ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของชาวไทใหญ่. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://thainews.prd.go.th/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตร. (2565). ผ้าทอกะเหรี่ยง (ย้อมสีธรรมชาติ) จ.แม่ฮ่องสอน. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.gosmartfarmer.com/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

Amezing Thailand. (ม.ป.ป.). ประเพณีปอยส่างลอง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://thai.tourismthailand.org/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

Google earth. (2563). [ออนไลน์]. ได้จาก:  https://earth.google.com/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

Jack Chatree. (ม.ป.ป.). สอนภาษากระเหรี่ยง คริสตจักรแบ๊บติสต์บ้านโป่ง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://web.facebook.com/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

Maehongson Creative. (2563). ขบวนแห่เทียนเหง ประเพณีออกหว่า เทศกาลออกพรรษา ประจำปี 2563 อำเภอแม่สะเรียง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://www.facebook.com/MHSCRT/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

Tuthai. (ม.ป.ป.). คริสตจักรกะเหรี่ยงแบ๊บติสต์บ้านโป่ง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://tuthai.org/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

Tuthai. (ม.ป.ป.). คริสตจักรร่มเกล้าแม่สะเรียง. [ออนไลน์]. ได้จาก: https://tuthai.org/ [สืบค้นเมื่อวันทื่ 11 กุมภาพันธ์ 2566].

อบต.บ้านกาศ โทร. 0-5368-2173-5