บ้านกู่เต้า ชุมชนวัฒนธรรมแหล่งเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อารยธรรมชาวไทลื้อและชาวล้านนา ซึ่งถูกถ่ายทอดและบอกเล่าผ่านปูชนียสถานเจดีย์บรรจุอัฐิทรงน้ำเต้าคว่ำภายในวัดบ้านกปู่เต้า
"บ้านกู่เต้า" เป็นชื่อเรียกหมู่บ้านที่เรียกตามชื่อวัดประจำชุมชนที่สร้างมาก่อน คือ วัดกู่เต้า คำว่า "กู่" แปลว่า ที่บรรจุกระดูกหรือขี้เถ้าที่เผาศพ ส่วนคำว่า "เต้า" นั้นแปลได้ 2 ควายหมาย หนึ่งแปลว่า ผลแตงโม อีกหนึ่งแปลว่าขี้เถ้า รวมความว่าเป็นที่บรรจุกระดูกและเถ้าถ่านที่เผาศพ ตามเจตจำนงค์การสร้างวัดเพื่อบรรจุอัฐิเจ้านายพม่า อดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้น โดยสร้างเจดีย์ทรงน้ำเต้าคว่ำ หรือบาตรคว่ำ 5 ใบ แต่บ้างก็ว่าเป็นทรงแตงโมคว่ำ 5 ชั้น เป็นเจดีย์สำหรับบรรจุอัฐิ
บ้านกู่เต้า ชุมชนวัฒนธรรมแหล่งเรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์อารยธรรมชาวไทลื้อและชาวล้านนา ซึ่งถูกถ่ายทอดและบอกเล่าผ่านปูชนียสถานเจดีย์บรรจุอัฐิทรงน้ำเต้าคว่ำภายในวัดบ้านกปู่เต้า
ชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้า ตั้งอยู่ในตำบลศรีภูมิ ควบตำบลช้างเผือกบางส่วน แขวงนครพิงค์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้าเรียกโดยทั่วไปว่าบ้านกู่เต้าช้างเผือกควบกันไป เนื่องจากชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้ามีอนุสาวรีย์เจ้าพ่อช้างเผือกอันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชา ยึดเหนี่ยวจิตใจ และถือเป็นเสื้อบ้านเสื้อเมืองของประชาชนในหมู่บ้านกู่เต้า ชาวบ้านจึงนำคำว่า ช้างเผือกเข้ามาผนวกในชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกู่เต้าช้างเผือก”
แต่เดิมเขตบ้านกู่เต้าช้างเผือกมีคุ้มเจ้าเจ้านายฝ่ายเหนือที่อยู่อาศัยในเขตบ้านกู่เต้าช้างเผือก คือ คุ้มของพระพิจิตรโอสถ หมอหลวงประจำองค์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่หลายพระองค์ ได้แก่ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 8 (พ.ศ. 2444-2452) เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ 9 (พ.ศ. 2454-2482) และพระราชชายาเจ้าดารารัศมี (พ.ศ. 2416-2476) ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนประสิทธิ์เวชสาตร (พ.ศ. 2449)
ชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้า หรือบ้านกู่เต้า ตั้งอยู่บริเวณวัดกู่เต้า ตำบลสรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุนับร้อยปี เรื่องราวประวัติความเป็นมาของบ้านกู่เต้าเริ่มจากการก่อสร้างวัดกู่เต้าหรือวัดเวฬุวนาราม เพื่อสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิของเจ้านายชาวพม่าซึ่งเป็นผู้ปกครองเมืองเชียงใหม่ในสมัยที่เชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นของพม่า ลักษณะเจดีย์เป็นรูปน้ำเต้าคว่ำ หรือรูปแตงโมซ้อนกัน 5 ลูก จึงได้ชื่อว่า กู่เต้า ซึ่งหมายถึง น้ำเต้าหรือแตงโม ประชาชนเป็นคนพื้นเมืองและชาวพม่าบางส่วน แต่ถูกกลืนแต่ภายหลังถูกกลืนสัญชาติเป็นชาวไทยภาคเหนือทั้งหมด หรือที่เรียกว่าชาวไทใหญ่ในปัจจุบัน กระทั่งปี พ.ศ. 2543 เทศบาลนครเชียงใหม่ได้มีประกาศยกฐานะพื้นที่วัดกู่เต้าและบริเวณโดยรอบเป็นเป็นชุมชนบ้านกู่เต้า ก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้าในเวลาต่อมา
อาณาเขต
- ทิศเหนือ เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผ่านแนวบ้านพักอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ไปตามถนนพัฒนาช้างเผือก ไปจนถึงโกดังกระเทียม
- ทิศใต้ เริ่มตั้งแต่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ตามแนวถนนสนามกีฬาไปจนถึงอนุสาวรีย์ช้างเผือก
- ทิศตะวันออก บริเวณตลอดแนวคลองแม่ข่า (คลองเงิน)
- ทิศตะวันตก บริเวณตลอดแนวถนนช้างเผือกฝั่งตะวันออกจนถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เรื่อยไปจนถึงตึกแถวติดสวนหย่อมอนุสาวรีย์ช้างเผือก
สถานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
วัดกู่เต้า
วัดกู่เต้าหรือวัดเวฬุวันวนารามวิหาร ศาสนสถานประจำชุมชนบ้านกู่เต้า สำหรับชื่อเรียก “กู่เต้า” นั้น เป็นภาษาไทยยวนหรือภาษาของคนไทยดั้งเดิมที่อยู่ในดินแดนลานนาไทย ชื่อหลังของวัดนี้มี 2 พยางค์ คำหน้า คือ กู่ แปลว่าที่บรรจุกระดูกหรือขี้เถ้าที่เผาศพ ส่วนคำว่า เต้า นั้นแปลได้ 2 ควายหมาย หนึ่งแปลว่า ผลแตงโม อีกหนึ่งแปลว่าขี้เถ้า รวมความว่าเป็นที่บรรจุกระดูกและเถ้าถ่านที่เผาศพเจ้านายชาวพม่าตามรูปร่างของบาตรคว่ำแบบ 5 ใบเถา คือ ใหญ่ที่สุดอยู่ชั้นล่าง ใบเล็กที่สุดอยู่ข้างบน ส่วนยอดมีฉัตรอันเป็นสัญญาลักษณ์ของเจดีย์แบบพม่าซึ่งปรากฏอยู่ตามเจดีย์ของวัดในนครเชียงใหม่หลายแห่ง บางวัดแม้มิใช่ความสวยงามกว่ายอดเจดีย์โล้น จึงถือเป็นธรรมเนียมในการสร้างเจดีย์
ชื่อวัดเวฬุวันวิหารกู่เต้านี้ปรากฏในพงศาวดารโยนกในรัชกาลของพระเจ้ายอดเชียงรายระหว่าง พ.ศ. 2030–2036 เนื้อความว่า ในแผ่นดินพระเจ้าเชียงใหม่พระมหาราชมังชวยเทามีพระราชบุตรพระยาเมืองใต้คนหนึ่งชื่อสุริยวงศ์ บวชเป็นภิกษุขึ้นมาอยู่วัดเวฬุวันวิหารกู่เต้า หัวเวียงเชียงใหม่
ชาวบ้านกู่เต้าส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร ทั้งการทำสวน ทำนา บางส่วนเป็นลูกจ้างรับจ้างในโรงเลื่อยไม้ โรงคัดยาสูบ อีกทั้งยังมีการค้าขายสินค้าพื้นบ้าน เช่น หนังปอง ปั้นหม้อดินเผา และบางส่วนประกอบอาชีพรับราชการ
กิจกรรมทางสังคม ประเพณี และเทศกาลต่าง ๆ
บ้านกู่เต้ามีประเพณีและเทศกาลสำคัญที่ปฏิบัติต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ได้แก่ ประเพณีเข้าพรรษาประเพณีออกพรรษา ประเพณีงานทำบุญข้าวใหม่ ประเพณีบวชลูกแก้ว (ปอยส่างลอง) รวมถึงประเพณีพิธีกรรมตามแนวทางของศาสนาพุทธ และชาวไทใหญ่
ประเพณีบวชลูกแก้ว (ปอยส่างลอง)
ทุกวันที่ 23 - 24 เดือนมีนาคมของทุกปี ในหมู่บ้านจะมีงานประเพณีบวชลูกแก้ว (ปอยส่างลอง) ภาคฤดูร้อนของวัดกู่เต้า การบวชลูกแก้วปอยส่างลอง เป็นประเพณีการบรรพชาสามเณรตามแบบล้านนาไทใหญ่ แต่ปกติแล้วจะมีการจัดงานอยู่ประมาณสามวัน เหตุผลที่ต้องจัดประเพณีนี้ในช่วงเดือนมีนาคม หรือเดือนเมษายน เนื่องจากเป็นช่วงหน้าแล้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ว่างเว้นจากการทำนาทำไร่ และเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็ก ๆ ด้วย ซึ่งแต่ละวันจะมีการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ตามประเพณี ดังนี้
- วันที่ 1 นำบรรดาเด็กชายมาเข้าพิธีโกนผมแต่ไม่โกนคิ้ว (พระพม่าไม่โกนคิ้ว) แต่งหน้าทาปาก สวมเสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม และโผกผ้าแบบพม่า ประดับด้วยมวยผมของบรรพบุรุษที่เก็บรักษาไว้ แล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ เสร็จแล้วนำเด็กน้อยเรียกว่า "ส่างลอย หรือลูกแก้ว" ไปขอขมา และรับศีลรับพรตามบ้านญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ
- วันที่ 2 มีการแห่ส่างลองหรือลูกแก้วกับขบวนเครื่องไทยทานไปตามถนนสายต่าง ๆ ในวันนี้จะมีผู้มาร่วมขบวนมากมาย โดยให้ส่างลองหรือลูกแก้วขี่ม้า หรือถ้าไม่มีม้าก็จะขี่คอคน เรียกว่า "พี่เลี้ยง" หรือ "ตะแปส่างลอง"
- วันที่ 3 จะแห่ส่างลองหรือลูกแก้วไปตามถนนอีกครั้ง จากนั้นก็ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีบวชเป็นสามเณรที่วัด
การแต่งกาย เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านจะแต่งกายเหมือนกับเด็กทั่วไปที่ใส่เสื้อยึดกางเกงขาสั้น ผู้สูงอายุจะนุ่งผ้าซิ่นกับเสื้อกล้าม ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ หากเป็นวันสำคัญทางศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่จะแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทใหญ่ ผู้ชายสวมเสื้อคอกลมแขนยาว ผ่าหน้า ติดกระดุมผ้าคล้ายไส้ไก่ขมวดเป็นปมพร้อมตกแต่งลวดลาย สวมกางเกงขาก๊วยเป้าต่ำ ผู้หญิงสวมเสื้อผ่าหน้าหรือเสื้อป้าย แขนกระบอก เอวสั้น ตกแต่งลวดลายสวยงามด้วยการปักหรือฉลุผ้าตามขอบกระดุม ที่กลัดเสื้ออาจจะใช้กระดุมผ้าหรือพลอยกลัดกับหูกระดุม ซิ่นที่นุ่งนั้นมีการต่อหัวซิ่นด้วยผ้าเนื้อนิ่มสีดำพับทับแล้วเหน็บที่หัวซิ่น ใช้เข็มขัดเงินคาดทับการโผกหัวพันผ้าห้อย แต่สำหรับการโพกหัวนั้นเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายที่ชาวไทใหญ่สวมใส่ตามปกติในชีวิตประจำวัน
1. นายวชิรา วชิรนคร อายุ 68 ปี ประธานชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้าคนปัจจุบัน ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ ดูแล ประสานงาน ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ให้กับคนในชุมชน
ภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ เป็นภาษาหลักที่ใช้สื่อสารกันในชุมชน
ภาษาไทใหญ่ หรือ ภาษาไต หรือบ้างก็เรียก ภาษาฉาน เป็นภาษาตระกูลขร้า-ไท เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษาไทย ถูกใช้โดยคนไทใหญ่ในหมู่บ้าน โดยลักษณะของภาษานี้จะใกล้เคียงกับคำเมืองและภาษาอีสานในประเทศไทย
ตั้งแต่ก่อตั้งหมู่บ้านมาจนปัจจุบัน ชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้าได้มีพัฒนาการความเจริญมากขึ้นเรื่อย ๆ มีสถานศึกษา มีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยทั้งแบบถาวร และแบบชั่วคราว หรือเรียกว่าประชากรแฝง มีการก่อสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัยใหญ่โต ปัจจุบันนี้ บ้านกู่เต้าจึงกลายเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรจำนวนมาก
ชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้า. (ม.ป.ป.). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ภุมภาพันธ์ 2566. จาก: https://www.google.com/maps
มติชน. (2565). วัดกู่เต้า ล้านนาคำเมือง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ภุมภาพันธ์ 2566. จาก: https://www.matichonweekly.com/
วชิรา วชิรนคร. ประธานชุมชนพัฒนาบ้านกู่เต้า. (15 กุมภาพันธ์ 2566). สัมภาษณ์.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2559). ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ไทในล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ภุมภาพันธ์ 2566. จาก: http://site.sri.cmu.ac.th/
สนิท สัตโยภาส. (2556). ภาษากับความมั่นคงในชีวิต: กรณีศึกษาแรงงานพม่าในแขวงนครพิงค์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
TTM พาเที่ยว. (2555). วัดกู่เต้า หรือ วัดเวฬุวนาราม เชียงใหม่. [ออนไลน์]สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ภุมภาพันธ์ 2566. จาก: https://event.thaiticketmajor.com/