Advance search

ศรีมหาราชา

ชุมชนชายทะเล ที่มีประวัติศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 

ศรีราชา
ศรีราชา
ชลบุรี
ณัฐวุฒิ บัวคลี่
10 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
9 เม.ย. 2023
ณัฐวุฒิ บัวคลี่
29 เม.ย. 2023
ศรีราชา
ศรีมหาราชา

คำว่า "ศรีราชา" มาจากคำว่า “ศรีมหาราชา” ซึ่งหมายถึง เป็นศรีสง่าขององค์ราชันย์ ชื่อ ศรีราชา มีต้นกำเนิดมาจาก “บริษัท ศรีราชาทุน จำกัด” ที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้ขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่ในขณะเดียวกัน มีข้อสันนิษฐานอีกข้อนึง ที่เชื่อว่าคำว่า ศรีราชา มีมาก่อนที่ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้นำมาใช้ เนื่องจากปรากฎอยู่ใน นิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่ ซึ่งกล่าวถึงการเดินเลียบทะเลไปตามชายหาดไปจนถึง "ศรีมหาราช" ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึง ศรีราชา นั่นเอง


ชุมชนชายทะเล ที่มีประวัติศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 

ศรีราชา
ศรีราชา
ชลบุรี
20110
13.16541078
100.9224688
เทศบาลเมืองศรีราชา

ในอดีตเมืองศรีราชามีวิวัฒนาการเริ่มต้นแต่เก่าก่อน จากหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ทางทิศใต้ของจังหวัดชลบุรี เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศที่ติดทะเลในปี พ.ศ. 2443 จอมพลมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงเกษตรพาณิชยการ (กระทรวงเกษตราธิการ หรือกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน) ได้ออกจากราชการมาประกอบกิจการโรงเลื่อยไม้ ชื่อ “บริษัท ศรีราชาทุน จำกัด” และต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ศรีมหาราชา” ณ บริเวณข้างบ้านเดิมของท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ปัจจุบันนี้กลายเป็นที่ตั้งตลาดเทศบาล

ในปี พ.ศ. 2446 ได้ย้ายโรงเลื่อยมาสร้างใหม่ที่บริเวณหลังตึก ริมถนนเจิมจอมพล สุดรั่วบริเวณสำนักงานบริษัท ศรีมหาราชา ด้านทิศใต้ก็คือบริเวณตันโพธิ์ใหญ่ ตรงข้ามธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาถนนเจิมจอมพล ปัจจุบันนี้ตึกแถวและธนาคารดังกล่าวได้ถูกรื้อและสร้างเป็นโครงการศรีราชานคร ในปี พ.ศ. 2451 ได้ย้ายโรงเลื่อยจากที่เดิมไปทางทิศตะวันออกติดถนนสุขุมวิท ทิศตะวันตกติดถนนเจิมจอมพล โดยอยู่ที่นี่มาจนกระทั่งกลายเป็นบริษัท ศรีมหาราชา ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นศูนย์การค้าศรีราชานคร

จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2510 เป็นตันมา บริษัทศรีมหาราชา ประสบภาวะขาดทุน ทำให้ในปี พ.ศ. 2527 บริษัทศรีมหาราชา ให้คณะทำงานของบริษัทปูนชีเมนต์ไทย เข้าบริหารงานทุกส่วนของบริษัทศรีมหาราชา ยกเว้นโรงงานที่นอนสายรุ้ง ยังอยู่ในความดูแลของบริษัทศรีมหาราชา แต่สภาวะการขาดทุนยังไม่ดีขึ้น ทำให้บริษัทไทยนวภัณฑ์ จำกัด จำเป็นต้องขายที่ดินของบริษัท ศรีมหาราชาทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์การค้าศรีราชานคร 

จากการก่อตั้งบริษัทศรีมหาราชา ทำให้เกิดชุมชนขนาดใหญ่ มีการจ้างแรงงานท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก จนทางราชการได้ย้ายอำเภอบางพระมาอยู่ในชุมชนศรีราชา และได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอบางพระมาเป็น “อำเภอศรีราชา” ในที่สุด ซึ่งเดิมบริษัท ศรีมหาราชาได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองศรีราชาในปัจจุบัน ทำให้มีการจ้างงานจากแรงงานท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก เมีองศรีราชาจึงกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าในตำบลศรีราชา เริ่มต้นจากการเป็นเมืองประมงท้องถิ่น สถานที่พักผ่อน เมืองท่องเที่ยวทางทะเล ทำให้เมืองศรีราชามีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเมืองชายทะเลอย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบันเมืองศรีราชาเปลี่ยนไปตามสภาวะแวดล้อมใหม่ อาทิเช่น การคมนาคมทางบกมีถนนสายต่าง ๆ เชื่อมโยงเข้ามาในเขตเมืองศรีราชา โดยมีการตัดถนนสุขุมวิทจนกลายเป็นถนนสายหลัก การคมนาคมทางน้ำระหว่างเกาะสีชังกับเมืองศรีราชามีเรือโดยสารบริการสำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว ด้านธุรกิจมีศูนย์การค้าและธุรกิจใหม่ ๆ ในเขตเมืองศรีราชา อาทิเช่น ศูนย์การค้าศรีราชานคร ศูนย์การค้าแปซิฟิคพาร์ค และห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ทำให้เมืองศรีราชามีศักยภาพทางด้านการบริการที่พร้อมสมบูรณ์

ชุมชนศรีราชา ตั้งอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทางประมาณ 116 กิโลเมตร มีพื้นที่รวม 4,058 ตารางกิโลเมตร แยกเป็นพื้นดิน 2,153 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 1,905 ตารางกิโลเมตร และเกาะลอย 0.112 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาว 2 กิโลเมตร มีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ เขตเทศบาลตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เขตเทศบางตำบลเจ้าพระยาสุรศักดิ์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ่าวไทย

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ

ชุมชนศรีราชา เป็นที่ราบเชิงเขาเลียบชายฝั่งทะเล มีเนินเขาที่ลาดเนินเขาสลับกับที่ลุ่มบางส่วน บางแห่งเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ พื้นที่ราบบริเวณด้านทิศใต้มีเกาะอยู่ 1 แห่ง คือ เกาะลอย เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลและมีเนินเขาสั้น ๆ เป็นส่วนใหญ่ จึงส่งผลทำให้อากาศเย็นสบาย โดยช่วงฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด ส่วนช่วงฤดูหนาวไม่หนาวมาก ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ประเพณีกองข้าวศรีราชา

ชุมชนศรีราชา มีวัฒนธรรมที่ปฏิบัติร่วมกันเป็นประจำในทุกปี คือ การประกอบประเพณีกองข้าว โดยจะจัดในข่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ ภายในเดือนเมษายน โดยจะจัดในทุก ๆ วันที่ 19 – 21 เมษายน ของทุกปี เป็นการประกอบพิธีภายในชุมชน และจุดกลางหรือสวนสาธารณะเกาะลอย โดยจะมีการนำพราหมณ์จากสำนักพระราชวัง มาเป็นผู้นำในการประกอบพิธี ในพิธีจะมีการบวงสรวงภูตผี ปีศาจ ด้วยอาหารคาวหวาน จากการร่วมมือของผู้คนในชุมชน ที่นำมาร่วมประกอบพิธีกันในทุก ๆ ปี นอกจากนี้ ยังมีการแสดงรำวงย้อนยุค ศิลปะ ประเพณี หรือการละเล่นต่าง ๆ ภายในงาน รวมไปถึงการจัดขบวนแห่ประกวดการตกแต่งรถจากหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่โดยมีความยาวร่วมขบวนกว่า 2 กิโลเมตร เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชนรวมไปถึงเพื่อเป็นการดึงดูดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของพื้นที่อีกด้วย

พิธีการวางพวงมาลาหน้ารูปปั้นจอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง - ชูโต)

ด้วยสำนึกต่อบุคคลสำคัญของชาวศรีราชา ชุมชนศรีราชา นำโดยเทศบาลเมืองศรีราชา จะมีการจัดพิธีการวางพวงมาลาหน้ารูปปั้น จอมพลและมหาอำมาตย์เอกเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง - ชูโต) ขึ้นในทุกปี โดยจะจัดทุกวันที่ 1 กรกฎาคม เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันอสัญกรรมของเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ โดยภายในพิธีจะมีตัวแทนจากทุกหน่วยงานในพื้นที่ เข้าร่วมการวางพวงมาลา ซึ่งจะจัดขึ้นที่รูปปั้นท่าน บริเวณลานหน้าเทศบาลเมืองศรีราชา

1. เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เดิมชื่อ เจิม แสง - ชูโต เกิดเมื่อวันที่ 28 มีนาคม ปี พ.ศ. 2394 ท่านเริ่มรับราชการเมื่อมีอายุเพียง 16 ปีเท่านั้น ขณะรับราชการได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่ทัพยกกำลังไปปราบพวกโจรฮ่อ จนสงบราบคาบ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2455 พวกเงี้ยวก่อการจลาจลเป็นขบถในมณฑลพายัพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ารับราชการเป็นแม่ทัพใหญ่ยกทัพไปปราบพวกเงี้ยวที่เป็นขบถ จนสงบราบคาบ หลังจากนั้นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงถวายบังคมทูลลาออกจาก ราชการกลับมาทำโรงเลื่อยที่ศรีราชาอีกครั้ง นอกจากนี้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียังเคยดำรงตำแหน่งองคมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชยการ เป็นผู้ก่อตั้งโรงทหารหน้า หรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน และท่านยังเป็นผู้ริเริ่มนำไฟฟ้าเข้ามาใช้เป็นคนแรกใน ประเทศไทย โดยทดลองใช้ที่กระทรวงกลาโหมได้รับพระราชทานยศจอมพลทหารบก

เกียรติคุณต่อศรีราชา

  • ผู้ก่อตั้งอำเภอศรีราชา การมาทำโรงเลื่อยไม้ที่ศรีราชาของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ทำให้เกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งต่อมาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี จึงได้กราบทูลต่อกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (สมุหเทศบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีน) ขอให้ย้ายที่ทำการอำเภอจากเดิมที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอบางพระมาอยู่ที่ ศรีราชา และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบางพระเป็นอำเภอศรีราชา ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา

  • ผู้ก่อให้เกิดโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เมื่อสมเด็จพระศรีรสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระบรมราชเทวีในพระบรมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสูญเสียสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า อีก 1 พระองค์ ในเวลาใกล้เคียงกัน ทำให้ทรงเสียพระทัยอย่างมาก ถึงกับประชวรหนัก เมื่อแพทย์หลวงถวายการรักษาจนพระอาการดีขึ้น จนได้แปรพระราชฐานมาประทับพักผ่อนที่ศรีราชาและโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีถวายอารักขา ระหว่างการประทับพักผ่อน ณ ศรีราชา สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงโปรดเกล้าให้หมอหลวงที่ตามเสด็จให้การรักษาพยาบาลแก่ชาวบ้านที่มาขอความ ช่วยเหลือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาเยี่ยมพระอาการพระพันวัส สาฯ จึงโปรดเกล้าพระราชทานชื่อโรงพยาลแห่งนี้ว่า โรงพยาบาลสมเด็จฯ นับแต่นั้นเป็นต้นมา นับได้ว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นปูชนียบุคคลที่ได้สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ ศรีราชาอย่างมากมาย ฉะนั้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี หน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน ตลอดจน พ่อค้า ประชาชน จึงร่วมกันจัดพิธีวางพวงมาลาเพื่อสักการะรำลึกถึงคุณความดีของท่านตลอดมาจน กระทั่งปัจจุบัน

บริษัทศรีมหาราชา จำกัด

เดิมชื่อ บ.ศรีราชาทุน จำกัด ก่อตั้งโดย จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2443 มีพื้นที่ 140ไร่ ใจกลางเมืองศรีราชา มีการว่าจ้างแรงงานเข้ามาทำงานในโรงเลื่อยเป็นจำนวนมาก และเริ่มมีการวางรางนำรถจักรไอน้ำมาใช้ขนส่งไม้ใน พ.ศ. 2448 พร้อมขยายเส้นทางรถไฟสำหรับขนไม้ในป่าสัมปทานเรื่อยมา จนในปี พ.ศ. 2451 ได้ทำการสร้างสะพานรถไฟข้ามทะเลแห่งแรกของไทย จากโรงเลื่อยของบริษัทไปถึงเกาะลอย เพื่อใช้ขนส่งไม้เข้ากรุงเทพฯ และส่งออก อีกทั้งยังทำให้เกาะลอยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของศรีราชา สร้างความเจริญต่อเมืองศรีราชาในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง

นับตั้งแต่สมัยที่มีการเข้ามาทำกิจการสัมปทานป่าไม้ และโรงเลื่อยไม้ ที่ศรีราชาของท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ทำให้เกิดชุมชนขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งแต่เดิมศรีราชาเป็นเพียงตำบล อยู่ในเขตของอำเภอบางพระ ต่อมาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้กราบทูลขอให้ย้ายอำเภอมาตั้งที่ศรีราชาเพราะเป็นชุมชนที่ใหญ่กว่า ในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนจากอำเภอบางพระ กล่าวคือ โดยเมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการมณฑลปราจีนบุรี ท่านได้ยกตำแหน่ง ตำบลศรีราชา ใน อำเภอบางพระ จังหวัดชลบุรี ขึ้นเป็น อำเภอศรีราชา และลด อำเภอบางพระ เป็น ตำบลบางพระ สังกัด อำเภอศรีราชา ท่านจึงถือเป็นผู้ก่อตั้ง อำเภอศรีราชา และได้กลายมาเป็นอำเภอศรีราชาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประเพณีกองข้าว

ประเพณีเป็นประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรีโดยแท้ที่สืบต่อ ๆ กันมาตามประวัติเล่าว่า “ประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ อาทิเช่น อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอพนัสนิคม ฯลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีได้เลือนหายไป ที่ศรีราชายังคงอนุรักษณ์ไว้อย่างต่อเนื่องและเหนียวแน่น จนกระทั่งกลายเป็นประเพณีเอกลักษณ์ของชาวศรีราชา โดยเฉพาะเมื่อ เทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานกองข้าวศรีราชา เริ่มแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา โดยกำหนดจัดงานประเพณีระหว่างวันที่ 19 - 21 เมษายน ของทุกปี”

ซอสพริกศรีราชา 

เป็นซอสพริกแบบหนึ่งของไทย ตั้งชื่อตามอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยผลิตขึ้นครั้งแรกเพื่อรับประทานกับอาหารที่ร้านอาหารทะเลท้องถิ่น ทำจากพริกหวาน น้ำส้มสายชูกลั่น กระเทียม น้ำตาลและเกลือ ซอสศรีราชาที่ไทยผลิตเจ้าแรกที่ศรีราชาพานิช ต้นกำเนิดมาจากเครือญาติตระกูลทิมกระจ่าง รวมถึงแบรนด์อื่น ๆ ต่างสืบทอดการทำน้ำพริกมาจาก ผู้เป็นพ่อ คุณกิมซัว ทิมกระจ่าง สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนศรีราชา เป็นชุมชนที่มีความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน อาทิเช่น ด้านกายภาพ ดัวยลักษณะเป็นสังคมเมือง จึงมีการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการเติบโตทางด้านสังคม ประชากร รวมถึงระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอีกด้วย จากเดิมเป็นชุมชนที่มีการอยู่ร่วมกันของกลุ่มแรงงานที่เข้ามาเป็นแรงกำลังให้กับบริษัทค้าไม้ขนาดใหญ่ หรือที่รู้กันในบริษัทศรีมหาราชา แต่ในปัจจุบัน บริบทด้านการใช้พื้นที่ในศรีราชาได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นเมืองสำหรับการท่องเที่ยว และอยู่อาศัย จึงนำมาสู่การขยายตัวทางด้านประชากรที่มีผลสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ เห็นได้ชัดจากการขยายตัวด้านอสังหาริมทรัพย์ คอนโด อาคารพาณิชย์ รวมไปถึงหมู่บ้านจัดสรร ที่ได้มีขึ้นทั่วพื้นที่บริเวณ เหล่านี้ล้วนกระทบถึงลักษณะการใช้ชีวิตของคนในชุมชน จากเดิมในรูปแบบอาชีพประมง ที่คล้อยไปกับสภาพแวดล้อมของชุมชน กลายมาเป็นกลุ่มธุรกิจที่จะตอบรับการท่องเที่ยวมากขึ้น อาทิ โรงแรมที่พัก ธุรกิจนำเที่ยว ร้านอาหาร รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เกรียงศักดิ์ วิพิศมากูล. (ม.ป.ป.). ซอสพริกศรีราชา ตราเกาะลอย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566, จาก https://www.konruksriracha.in.th/

ธวัชชัย ขำชะยันจะ. (ม.ป.ป.). จอมพล และ มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566, จาก https://sites.google.com/site/reincarnationthailand/

ประวัติเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี. (ม.ป.ป.). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566, จาก https://chaoprayasurasak.go.th/

ผดุงพล ใสเหลี่ยม. (2555). ซอสพริกศรีราชา ตรา ศรีราชาพานิช. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566, จาก https://www.konruksriracha.in.th/

สมพงษ์ สมวงศ์. (บรรณาธิการ). (2537). ๑๐๐ ปี ศรีราชา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ.

MGR Online. (เมษายน 22, 2559). “ศรีราชา” จัดพิธีกองข้าวยิ่งใหญ่ มีขบวนแห่ร่วมสร้างสีสันสวยงาม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2566, จาก https://mgronline.com/