Advance search

บ้านโคกสง่า

หมู่บ้านงูจงอาง

ชุมชนที่ภูมิปัญญาด้านยาสมุนไพร คนในชุมชนสร้างฐานะจากการเร่ขายยาสมุนไพรและเป็นชุมชนที่มีการแสดงงู/เลี้ยงงูจงอางเป็นจำนวนมาก

หมู่ 6
โคกสง่า
ทรายมูล
น้ำพอง
ขอนแก่น
ไกรวิทย์ นรสาร
20 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
28 เม.ย. 2023
ไกรวิทย์ นรสาร
29 เม.ย. 2023
บ้านโคกสง่า
หมู่บ้านงูจงอาง

ที่มาของชื่อชุมชนบ้านโคกสง่า ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน สันนิษฐานได้ว่าชุมชนคงจะตั้งอยู่บนที่ดอน ส่วนที่มีของชื่อหมู่บ้านงูจงอางนั้น มาจากชาวบ้านโคกสง่าแต่เดิมมีอาชีพขายยาสมุนไพรควบคู่กับการทำนามาแต่รุ่นปู่ย่าตายาย การขายยาสมุนไพรในสมัยก่อนต้องเดินเท้าไปเร่ขายยาตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อปี พ.ศ. 2494 พ่อใหญ่เคน ยงลา หมอยาบ้านโคกสง่าจึงได้คิดหางูเห่ามาแสดงเพื่อเป็นการดึงดูดคนมาดู แทนที่จะต้องเดินไปขายยาในทุกๆ หมู่บ้านเช่นเคย ปรากฏว่าการแสดงประสบความสำเร็จสามารถเรียกคนมาดูได้มากพอสมควร แต่เนื่องจากงูเห่านั้นมีอันตรายมากสามารถพ่นพิษได้ไกลถึง 2 เมตรพ่อใหญ่จึงเปลี่ยนมาใช้งูจงอางแสดงแทนและถ่ายทอดวิชาแสดงงูให้คนในหมู่บ้าน เมื่อว่างเว้นจากการเกษตร ชาวบ้านจะรวมกลุ่มเดินทางออกเร่แสดงงูเพื่อขายยาสมุนไพร ส่วนการแสดงที่หมู่บ้านนั้นจะจัดขึ้นบริเวณลานวัดศรีธรรมา และรอบๆ บริเวณก็จะมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงูจงอาง รวมทั้งมีโรงเรือนเพาะเลี้ยงงูจงอางอยู่ด้วย จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านงูจงอาง    


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่ภูมิปัญญาด้านยาสมุนไพร คนในชุมชนสร้างฐานะจากการเร่ขายยาสมุนไพรและเป็นชุมชนที่มีการแสดงงู/เลี้ยงงูจงอางเป็นจำนวนมาก

โคกสง่า
หมู่ 6
ทรายมูล
น้ำพอง
ขอนแก่น
40140
หมู่บ้านงูจงดาง โทร. 0-4392-4070, อบต.ทรายมูล โทร. 0-4300-0933
16.695143586501484
102.92819979228219
องค์การบริหารส่วนตำบลทรายมูล

ประมาณปี พ.ศ. 2455 มีครอบครัวของนายผิว แสงชัยกับเพื่อนๆ อีก 3-4 ครอบครัว ได้ย้ายถิ่นฐานขากบ้านหนองหว้า ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่โคกหนองซำหมู ซึ่งเป็นหมู่บ้านโคกสง่าในปัจจุบัน เมื่อก่อนนี้ใช้ชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านหนองซำหมู” เพราะเห็นว่าบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมีแอ่งน้ำขนาดเล็กที่มีรอยหมูป่าเที่ยวลงมาดื่มน้ำในแอ่งน้ำนั้น บางครั้งก็จะพบร่องรอยการนอนเกือกกลิ้งโคลนตมของหมูป่าในบริเวณนั้นด้วย นอกจากนี้นายผิว แสงชัย ได้พิจารณาว่าบริเวณนั้นเป็นเนินสูงที่สวยงาม เป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง ถัดจากเนินที่เลือกตั้งหมู่บ้านลงมาก็เป็นที่ราบลุ่มสามารถทำนาได้ ทางด้านทิศตะวันออกอ้อมลงไป ทางด้านทิศใต้ของเนินยังมีลำห้วยก้มเข็มไหลลง ไปบรรจบกับลำห้วยเก้าคตที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเนินน่าจะเป็นอู่ข้าว-อู่น้ำที่ดีพอสมควร จึงได้ตัดสินใจตั้งหลักปักฐานตั้งบ้านเรือนอยู่ตรงนั้นเลย ต่อจากนั้นก็มีผู้คนทยอยย้ายบ้านเรือนเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานเพิ่มจำนวนครัวเรือนมากขึ้นเป็นลำดับ จนถึงปี พ.ศ. 2460  มีครัวเรือนทั้งสิ้น 26 ครัวเรือน ได้ประชุมชาวบ้านและมีมติเลือกนายผิว แสงชัยเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2494 นายเคน ยงลา ได้ตำราสมุนไพรประเภทรากไม้สรรพคุณใช้แทนการอยู่ไฟคลอดลูก แก้แม่ลูกผิดสำแดงเป็นยาฟอกเลือด สร้างโลหิต ปะสะน้ำนม นอกจากจะใช้ได้กับคนแล้วนายเคนยังเคยทอลองใช้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น โค กระบือ ม้า สุกร และสุนัข มีสรรพคุณได้ผลเป็นที่น่าพอใจยิ่ง โดยใช้รากไม้ 3 ชนิด จึงใช้ชื่อว่า “ยาสามราก” และนายเคน ได้นำยาสามรากนี้ไปเร่ขาย ตามหมู่บ้านต่างๆ แต่การขายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะต้องขึ้นโฆษณาสรรพคุณของบนบ้านแทบทุกหลังคาเรือน ทำให้เสียเวลาและขายได้น้อย จังได้คิดหาวิธีที่จะเอาคนมารวมกันในจุด ๆเดียว เพื่อสะดวกในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ในที่สุดก็ได้เลือกงูเห่า (เพราะเคยเห็นการนำงูเห่ามาเล่นกลตามหมู่บ้านต่างๆในการขายพระ ผ้ายันตร์ หรือแม้ แต่การขายยาสมุนไรพต่างๆ) มาเล่นกลเป็นตัวช่วยดึงดูดให้มีผู้มาชมมากขึ้น โดยการทำกล่องไม้ใส่งูเห่าหาบเร่ไปตามหมู่บ้านต่างๆ ในการหาบเร่งูเห่าและสมุนไพรไปขายแต่ละครั้ง จำเป็นต้องใช้ลูกหาบ 2-4 คน พอเดินทางถึงหมู่บ้านเป้าหมายแต่ละหมู่บ้านก็จะประกาศให้คนมาดูงูโดยปากเปล่า หากหมู่บ้านใดมีต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นมะขาม ต้นฉำฉา ต้นมะม่วง ลูกหาบก็จะปืนขึ้นไปประกาศบนต้นไม้ให้คนมาดูงู เมื่อมีคนมารวมกันแล้วก็ปล่อยงูให้คนดูแล้วเอายาสมุนไพรออกมาโฆษณาสรรพคุณ สำหรับหมู่บ้านเล็กจะใช้จุดเดียว หากหมู่บ้านใหญ่ก็ใช้หลายจุดตามความเหมาะสม วิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกและง่ายกว่าวิธีเดิม แต่การเล่นกับงูซึ่งเป็นอสรพิษ มีหลายครั้งที่นายเคน ยงลา และคนในครอบครัวโดนงูเห่าพ่นพิษใส่ตา กว่าจะรักษาหายต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์ วิธีที่จะทำให้งูเห่าไม่พ่นพิษนั้นสามารถทำได้โดยการรีดพิษออก แต่นายเคน ยงลาไม่ทำ เพราะเขาสงสารงู กลัวงูเจ็บปวดหรือไม่สบาย นายเคนได้เล่นโชว์งูเห่าอยู่ 3-4 ปี จนปี 2499 จึงได้หาวิธีจับงูจงอางมาแสดงแทน โดยจับงูจงอางตัวแรกได้ที่ป่าใกล้หมู่บ้านคำบอล ตำบลโคกใหญ่ อำเภอน้ำพองในปัจจุบัน การเที่ยวเร่ขายสมุนไพรก็ใช้วิธีหาบเร่ เหมือนเดิม จะเปลี่ยนแปลงบ้างก็คือการเชิญชวนคนให้มารวมกันโดยการตีกลองให้ดังคล้ายการเล่นกลแล้วปล่อยงูจงอางออกมาให้คนดู แล้วหยิบสมุนไพรขึ้นมาโฆษณาขาย ต่อมาลูกหาบของนายเคนเห็นว่าการเร่ขายสมุนไพรทำรายได้ดีพอยึดเป็นอาชีพได้ จึงพัฒนาตนเองเปลี่ยนจากการเป็นลูกหาบมาเป็น “นายหาบ(หัวหน้า)” เพราะมีประสบการณ์การเรียนรู้เรื่องการจับงูและสมุนไพรจากนายเคนมาแล้ว จากลูกหาบที่กลายเป็นนายหาบคนแล้วคนเล่า ก็กระจายขยายไปทั้งหมู่บ้านในการเดินทางจะอาศัยรถยนต์โดยสารประจำทาง เมื่อถึงจังหวัด-อำเภอ-ตำบล-หรือหมู่บ้านเป้าหมายก็จะลงจากรถโดยสารแล้วหาบเร่ขายไปเรื่อยๆ พอตกเย็นก็จะหาที่ประกอบอาหารและพักผ่อนหลับนอน ส่วนมากจะอาศัยศาลาวัด ศาลากลางหมู่ หรือบ้านผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งการเร่ขายโดยอาศัยรถยนต์โดนสารประจำทางนี้จะใช้เวลาครั้งละ 1-2 สัปดาห์ ก็จะขายหมดหรือต้องกลับมาเตรียมสัมภาระและสมุนไพรใหม่ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการใช้รถปิดอัพเป็นพาหนะ มีเครื่องขยายเสียงติดบนหลังคารถ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือไม่เกิน 10 วันก็เดินทางกลับ เมื่อปี 2538 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เห็นว่า หมู่บ้านโคกสง่า เลี้ยงงูจงอางไว้มากก็เลยมีการจัดหางบประมาณมาก่อสร้างกรงเพาะเลี้ยงงู ให้ชาวบ้านนำงูมาเลี้ยงรวมกันไว้ที่กรงส่วนกลางซึ่งสถานที่อยู่ที่วัดศรีธรรมา ในปัจจุบันย้ายออกจากวัดมาอยู่ที่สาธารณะประโยชน์ดอนปู่ตา ในวันที่ 8 มกราคม 2554 ให้ใช้ชื่อว่าหมู่บ้านงูจงอางแห่งประเทศไทย บ้านโคกสง่า รวมเวลาจากปีที่ก่อตั้งจึงถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 28 ปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปัจจุบันประชากรบ้านโคกสง่า มีจำนวนทั้งหมด 644 คนโดยคนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ลาวอีสาน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

นายเคน ยงลา : หมอยาสมุนไพรและเป็นผู้ริเริ่มในการนำงูมาเป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้คนในการเร่ขายยา 

- ภูมิปัญญาด้านยาสมุนไพร

- แหล่งจัดแสดงและการแสดงโชว์งูจงอาง

- การขายยาสมุนไพรแบบเร่

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปี 2538 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เห็นว่า หมู่บ้านโคกสง่า เลี้ยงงูจงอางไว้มากก็เลยมีการจัดหางบประมาณมาก่อสร้างกรงเพาะเลี้ยงงู ให้ชาวบ้านนำงูมาเลี้ยงรวมกันไว้ที่กรงส่วนกลางซึ่งสถานที่อยู่ที่วัดศรีธรรมา ในปัจจุบันย้ายออกจากวัดมาอยู่ที่สาธารณะประโยชน์ดอนปู่ตา ในวันที่ 8 มกราคม 2554 ให้ใช้ชื่อว่าหมู่บ้านงูจงอางแห่งประเทศไทย


กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ปรางค์ พระเมือง (ผู้ให้สัมภาษณ์). ไกรวิทย์  นรสาร (ผู้สัมภาษณ์). สถานที่บ้านเลขที่ 98 หมู่ 6 ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561