Advance search

เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอวาปีปทุมและเป็นสถานที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านประเพณีของคนในตำบลเสือโก้ก คือประเพณีสรงกู่โบราณสถาน นมัสการหลวงปู่ชุน

หมู่ที่ 2 ถนนหนองปิง-สนาม (2380)
บ้านสนาม
เสือโก้ก
วาปีปทุม
มหาสารคาม
ไกรวิทย์ นรสาร
10 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
28 เม.ย. 2023
ไกรวิทย์ นรสาร
29 เม.ย. 2023
บ้านสนาม

ที่มาของชื่อชุมชน ที่มาแรกกล่าวว่าในอดีตบริเวณป่าใกล้กับชุมชนมีพื้นที่ราบคล้ายกับเป็นลานกว้างคล้ายกับสนามคนในชุมชนเชื่อกันว่าพื้นที่ตรงนั้นคงเคยถูกใช้เป็นสนามรบมาก่อน ส่วนที่มาของชื่อชุมชนอีกแนวคิดหนึ่งนั้นเชื่อกันว่าคำว่า สนาม แผลงออกมาจากตระกร้าหนาม แผลงเป็น ซ่าหนาม เรียกต่อๆกันจึงกลายเป็นสนาม จนกลายเป็นชื่อของชุมชนว่าบ้านสนามจนถึงปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอวาปีปทุมและเป็นสถานที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางด้านประเพณีของคนในตำบลเสือโก้ก คือประเพณีสรงกู่โบราณสถาน นมัสการหลวงปู่ชุน

บ้านสนาม
หมู่ที่ 2 ถนนหนองปิง-สนาม (2380)
เสือโก้ก
วาปีปทุม
มหาสารคาม
44120
15.9166631
103.4562483
องค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก

ชุมชนบ้านสนามตั้งชุมชนขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2378 โดยแม่ใหญ่มะโฮง(ยายมะโรง)เป็นผู้นำพาญาติพี่น้องลูกหลานอพยพมาจากบ้านตากแดด-หัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เดินทางรอนแรมมาพบกับสถานที่ตั้งชุมชน เห็นว่ามีแหล่งน้ำให้ใช้ในการอุปโภคบริโภคและทรัพยากรอาหารมีความอุดมสมบูรณ์ดี จึงได้เลือกพื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นที่ตั้งของชุมชน นอกจากกลุ่มของแม่ใหญ่มะโฮงและยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้โยกย้ายถิ่นฐานเข้ามาตั้งยังชุมชนบ้านสนามคือกลุ่มของพ่อใหญ่หลวงพินิจพร้อมด้วยลูกหลาน อพยพหนีความอดอยากจากบ้านเปลือย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด(ต่อมาคือต้นตระกูลปัญจะแก้ว) นอกจากนี้ยังมีญาติพี่น้องของตระกูลนี้ อพยพมาเพิ่มอยู่เรื่อยๆ และกลุ่มคนจากชุมชนใกล้ๆ เช่น บ้านวังจาน อำเภอวาปีฯ บ้านสาวแห่ อำเภอสุวรรณภูมิ อพยพเข้ามาเพิ่มอยู่เรื่อยๆ บริเวณที่ตั้งชุมชนมีลักษณะเป็นเนินดินสูงๆ คล้ายกับมีคนทำเป็นสนามรบในสมัยก่อน ฉะนั้นจึงเป็นเหตุให้เรียกชื่อชุมชนว่าบ้านสนามสืบมาจนปัจจุบัน

ต่อมาเห็นว่าที่ตั้งของชุมชนอยู่ห่างไกลจากหนองน้ำไม่สะดวกต่อการนำมาใช้ จึงย้ายชุมชนไปตั้งใหม่ใกล้ๆหนองใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งชุมชนในปัจจุบัน ส่วนที่เดิมปัจจุบันคือที่ตั้งของเนินดินเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านสนามและมีผู้บริจาคลานโนนบ้านให้เนื้อที่ของบริเวณโรงเรียนรวมทั้งหมด 15 ไร่

อีกหลายปีต่อมา เมื่อมีประชากรมากขึ้น มีกลุ่มคนจากบ้านสนามบางกลุ่มได้ย้ายไปตั้งชุมชนใหม่ คือ บ้านศาลาและบ้านหนองหว้า ผู้ที่ไปตั้งบ้านศาลาคือพ่อใหญ่สี คันธะเนตร พ่อใหญ่ตากวน  พ่อใหญ่ด้วง (มาจากบ้านดงน้อย) เหตุที่ออกมาตั้งเพราะอยู่ใกล้ที่นาและสวน อีกทั้งหนองน้ำคือหนองศาลา (ทางการได้สร้างเป็นชลประทานเมื่อปี 2527

ชุมชนบ้านสนาม ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดมหาสารคามและอยู่ห่างจากตัวอำเภอวาปีปทุมราว 12 กิโลเมตร พื้นที่ตั้งของชุมชนตั้งอยู่บริเวณที่ดอน รอบๆของชุมชนเป็นทุ่งนา ลักษณะพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก เมื่อฝนตกดินไม่อุ้มน้ำและชะล้างหน้าดินออกไป แร่ธาตุในดินมีน้อย ทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลดีนัก การคมนาคมและการรับรู้ข่าวสารสภาพถนนในหมู่บ้านมีถนนลาดยางตัดยางตัดผ่าน 1 กิโลเมตร เป็นทางหลวงสายมหาสารคาม แกดำ-วาปีปทุม ถนนคอนกรีต 1 เส้นอยู่กลางบ้านยาว 508 เมตร ซึ่งได้รับงบประมาณสร้างจากองค์การบริหารส่วนตำบลเสือโก้ก ในปี พ.ศ. 2543 ถนนเส้นอื่นๆในหมู่บ้านเป็นถนนลูกรังยาว 1,392 เมตร  รวมถนนในหมู่บ้านทั้งหมดยาว 2,900 เมตร บริเวณกลางหมู่บ้านมีสนามกีฬา 1 แห่งสร้างเมื่อปี พ.ศ.2542 การติดต่อสื่อสารภายในหมู่บ้านใช้หอกระจายข่าว ตั้งอยู่บริเวณกลางบ้านที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การรับรู้ข่าวสารภายนอกจากสื่อต่างๆ วิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ต่างๆ โทรศัพท์ ทั้งของสาธารณะและโทรศัพท์มือถือซึ่งนิยมกันอย่างแพร่หลาย

ปัจจุบันประชากรของชุมชนบ้านสนามมีจำนวนประชากรทั้งหมด 736 คน มีจำนวนครัวเรือน 197 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่อยู่กันแบบเครือญาติ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันอย่างญาติพี่น้อง โดยประชากรส่วนใหญ่คือกลุ่มชาติพันธ์ลาวอีสาน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและมีบางครอบครัวที่นับถือศาสนาคริสต์ มี 8 ครอบครัว ในปัจจุบันมีการสืบทอดประเพณีบุญตามฮีต 12 คอง 14 โดยจะมีการจัดงานบุญประเพณีประจำเดือนในทุกๆเดือน แต่บุญประเพณีที่สำคัญที่สุดคือ บุญประเพณีสรงกู่โบราณสถาน นมัสการหลวงปู่ชุน ที่จะจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน หรือช่วงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกๆปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

คนในชุมชนบ้านสนามใช้ภาษาลาวอีสานในการพูดคุยสื่อสารกันในชีวิตประจำวันและใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้ในการติดต่อราชการ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล