Advance search

ชุมชนตลาดกำแพงแสนเป็นเมืองเก่า ที่เป็นดินแดนขนาดใหญ่ และมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ โดยเมืองเก่ากำแพงแสนนั้นเป็นเมืองเก่าสมัยทวาราวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16

กำแพงแสน
กำแพงแสน
นครปฐม
ปพิชญา ทับสมุทร
10 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
13 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
29 เม.ย. 2023
ตลาดกำแพงแสน


ชุมชนชนบท

ชุมชนตลาดกำแพงแสนเป็นเมืองเก่า ที่เป็นดินแดนขนาดใหญ่ และมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ โดยเมืองเก่ากำแพงแสนนั้นเป็นเมืองเก่าสมัยทวาราวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16

กำแพงแสน
กำแพงแสน
นครปฐม
73140
14.001576
99.990624
เทศบาลตำบลกำแพงแสน

ชุมชนตลาดกำแพงแสน ตั้งอยู่ห่างจากเมืองโบราณกำแพงแสนประมาณ 6 กิโลเมตร โดยเมืองกำแพงแสนเป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีขนาดกว้างประมาณ 750 เมตร  มีโบราณวัตถุที่สำคัญ ในสมัยทวาราวดี อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 ตัวเมืองโบราณตั้งอยู่ด้านใต้ของลำน้ำห้วยยาง (คลองท่าสารบางปลา) ไหลจากทิศตะวันตกลงสู่แม่น้ำท่าจีนที่อำเภอบางเลน ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมมน

จากการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี พบหลักฐานโบราณสถานสมัยทวารวดี เช่น ซากฐานวิหาร เจดีย์ ธรรมจักรศิลา ลูกปัด หอยสังข์ ลายปูนปั้น เครื่องปั้นดินเผา หินบด และระฆังหิน เป็นต้น ปัจจุบันเมืองโบราณได้มีการใช้ประโยชน์เป็นค่ายลูกเสือกำแพงแสน

ชุมชนตลาดกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อยู่ห่างจากตัวเมืองนครประมาณ 30 กิโลเมตร ชุมชนตลาดกำแพงแสนมีอาณาเขตติดต่อจังหวัดใกล้เคียงถึง 3 จังหวัด ดังนี้

  • ทิศเหนือ       ติดกับ  อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ทิศใต้          ติดกับ  อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
  • ทิศตะวันออก  ติดกับ  อำเภอบางเลน และอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
  • ทิศตะวันตก   ติดกับ  อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ

เป็นที่ราบมีการทำนาในปัจจุบัน บริเวฯที่เป็นที่ดอนประมาณได้ว่าสูงกว่าระดับน้ำทะเลปัจจุบันประมาณ 6-8 เมตร พื้นที่ทั่วไปลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกลงสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอยู่ห่างตัวเมืองไปทางตะวันออกไม่เกิน 5 กิโลเมตร ที่ลุ่มเจ้าพระยานี้มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 2-3 เมตร ในช่วงฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมสูงเป็นบริเวณกว้าง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

OTOP นวัตวิถีชุมชนตลาดกำแพงแสน

โครงการ OTOP นวัตวิถีและผลิตภัณฑ์ OTOP นวัตวิถีของชุมชนกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นโครงการของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยการนำทุนที่มีอยู่ในชุมชน เช่น ทรัพยากรในชุมชน ภูมิปัญญา วิถีชีวิตและวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์และบริการ โดยการปรับผลิตภัณฑ์และบริการให้มีนวัตกรรม เน้นอัตลักษณ์และภูมิปัญญาในชุมชนสร้างสรรค์ OTOP ให้มีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ระลึกเพิ่มขึ้น ชุมชนกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นชุมชนที่มีทรัพยากรในชุมชน สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าและบริการตามนโยบายของภาครัฐ ชุมชนจึงรวมกลุ่มกันและนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนทั้งที่เป็นวัตถุดิบ องค์ความรู้ และกระบวนการผลิตตามภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาผสมผสานกับวิทยาการสมัยใหม่ สร้างสรรค์เป็นสินค้าสำหรับริโภคและสินค้าสำหรับอุปโภค ที่มีผลิตภัณฑ์ทั้งของกินของใช้ที่เป็นสินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียงหลากหลายประเภท

หมวดผลิตภัณฑ์บริโภค ทั้งหมด 11 อย่าง คือ

  • ชิฟฟ่อนเค้ก วรรณวนัช
  • เค้กหนองพงนก
  • กาแฟย้อนยุค (ชาชัก)
  • ลูกชิ้นเนื้อจระเข้
  • ขนมเปี๊ยะกุหลาบ
  • ข้าวเกรียบปากหม้อปากหม้อสมุนไพร มณีจันทร์
  • น้ำเห็ดหลินจือผสมน้ำผึ้ง
  • กล้วยกรอบทอง
  • KU Beef เนื้อโค
  • น้ำมันพริกกุ้ง และน้ำฟักข้าว

หมวดผลิตภัณฑ์อุปโภค ทั้งหมด 8 อย่าง คือ 

  • สบู่ฟักข้าวน้ำนมผึ้ง
  • แชมพูสีนิล เอสเนส์
  • กระเป๋าผ้าฐิติรัชต์
  • สบู่พนาไพล
  • ผลิตภัณฑ์หอมจัง
  • ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินผสม
  • สบู่นมแพะผสมขมิ้นและน้ำผึ้ง 
  • รองเท้าหนัง Nunlong

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสน

พระปลัดสุวัฒน์ สุชีโว เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เป็นพระนักพัฒนา ท่านส่งเสริมงานด้านการศึกษาและปฏิสังขรณ์ศาสนสถานภายในวัด เป็นการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่นกำแพงแสน ได้ทำการรวบรวมโบราณวัตถุต่าง ๆ ในท้องถิ่น และจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสนขึ้น ประกอบด้วยโบราณวัตถุหลากหลายประเภท ทั้งเป็นโบราณวัตถุในท้องถิ่น ได้แก่ โบราณวัตถุสมัยทวารวดี และโบราณวัตถุอื่นที่มีผู้มีศรัทธานำมาถวาย โดยพิพิธภัณฑ์กำแพงแสนจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ ไว้ในศาลาเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นอาคารชั้นเดียว ที่ไว้จัดแสดงวัตถุในตู้กระจก วัตถุที่จัดแสดง ได้แก่ โบราณวัตถุสมัยทวารวดีจากเมืองโบราณกำแพงแสน ประกอบไปด้วยเศษประติมากรรมปูนปั้น และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรม ภาชนะดินเผาสมัยต่าง ๆ เครื่องใช้ต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น เครื่องจักสาน และเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูปและพระพิมพ์เป็นของหลายยุคหลายสมัย และเปลือกหอยทะเลเป็นเปลือกหอยขนาดใหญ่สวยงาม ซึ่งได้มาจากการขุดบ่อดินในบริเวณชุมชนกำแพงแสน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สมหวัง ตงพิพัฒน์. (2518). การพัฒนาชุมชนในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม: ศึกษาเฉพาะกรณีความร่วมมือระหว่างราษฎรและรัฐบาล. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุจนาถ นรินทร์ และคณะ. (2564). การพัฒนาส่วนประสมการตลาดบริการของผลิตภัณฑ์โอทอปนวัตวิถี ชุมชนกำแพงแสน. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4 (2), 93-101.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (ม.ป.ป.). พิพิธภัณฑ์วัดกำแพงแสน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/390