Advance search

บางใหญ่

ในปัจจุบันพื้นที่ย่านบางใหญ่มีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จนทำให้กลายเป็นจุดศูนย์กลางทางการค้า ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เช่น เซ็นทรัลเวสต์เกต และอิเกีย บางใหญ่ จึงได้เป็นจุดศูนย์กลางทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การใช้ชีวิต รวมไปถึงการคมนาคมแบบครบวงจร เพราะเป็นพื้นที่ที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงตัดผ่านมุ่งตรงเข้าใจกลางเมืองกรุงเทพฯ

เสาธงหิน
บางใหญ่
นนทบุรี
ปพิชญา ทับสมุทร
20 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
14 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
29 เม.ย. 2023
บางใหญ่


ในปัจจุบันพื้นที่ย่านบางใหญ่มีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จนทำให้กลายเป็นจุดศูนย์กลางทางการค้า ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เช่น เซ็นทรัลเวสต์เกต และอิเกีย บางใหญ่ จึงได้เป็นจุดศูนย์กลางทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจ การใช้ชีวิต รวมไปถึงการคมนาคมแบบครบวงจร เพราะเป็นพื้นที่ที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงตัดผ่านมุ่งตรงเข้าใจกลางเมืองกรุงเทพฯ

เสาธงหิน
บางใหญ่
นนทบุรี
11140
วิสาหกิจชุมชน โทร. 0-2459-4194, เทศบาลบางใหญ่ โทร. 0-2985-8491
13.876667
100.403889

พื้นที่ที่เป็นอำเภอบางใหญ่เดิมทีอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบางใหญ่ (บางกรวย) และอำเภอบางบัวทอง ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวางมาก ในปี พ.ศ. 2460 ทางราชการได้พิจารณาแบ่งตำบลบางใหญ่และบางม่วงจากอำเภอบางใหญ่ (บางกรวย) และแบ่งตำบลบางแม่นาง เสาธงหิน และบ้านใหม่ ฉะนั้นจากอำเภอบางบัวทองจึงมาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอบางแม่นาง เพื่อความสะดวกในการปกครอง

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2464 กิ่งอำเภอบางแม่นางได้รับโอนตำบลบางเลนจากอำเภอนนทบุรีมาอยู่ในการปกครอง และยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอบางแม่นาง ตามประกาศกระทรวงนครบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งในท้องที่หมู่ที่ 2 ตำบลบางม่วง บริเวณปากคลองบางใหญ่แยกคลองอ้อมนนท์และคลองบางกอกน้อย ประชาชนจึงนิยมเรียกอำเภอนี้ว่า “บางใหญ่” ตามไปด้วย จนกระทั่งในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2473 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนชื่ออำเภอบางแม่นางเป็น อำเภอบางใหญ่ ตามความคุ้นเคยของประชาชน ส่วนอำเภอบางใหญ่ (เดิม) นั้นเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบางกรวย แทน เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน

ใน ปีพ.ศ. 2486 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเพราะได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวัดนนทบุรีถูกยุบลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณราชการ อำเภอบางใหญ่ถูกโอนไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี พร้อมกับอำเภอบางบัวทองและอำเภอบางกรวย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2489 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดนนทบุรีขึ้นมาอีกครั้ง อำเภอบางใหญ่จึงกลับมาอยู่ในการปกครองของทางจังหวัดจนถึงปัจจุบัน

ในอดีตอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรีและย่านบางใหญ่ ยังเป็นแค่พื้นที่ชานเมืองและห่างไกล ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผัก สวนไร่นา สวนทุเรียน สวนผลไม้ และสวนผัก เป็นต้น อีกทั้งยังมีการประกอบอาชีพเครื่องปั้นดินเผาที่ถือว่าเป็นอาชีพที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ     ติดกับ ตำบลแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
  • ทิศใต้        ติดกับ ตำบลศาลากลาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
  • ทิศตะวันตก  ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม

ตำบลบางใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 8,314 ไร่ หรือประมาณ 13,302 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านบางโสน

หมู่ที่ 2 บ้านคลองบางใหญ่

หมู่ที่ 3 บ้านเจ้า

หมู่ที่ 4 บ้านบางคูลัด

หมู่ที่ 5 บ้านบางใหญ่

หมู่ที่ 6 บ้านสี่แยกคลองโยง

สภาพภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองประปามหาสวัสดิ์ไหลผ่านทิศตะวันออกของตำบล มีแหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ คลองสะเทิน คลองลาดละมุด คลองผู้ใหญ่แก้ว และคลองนราภิรมย์ พื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน ความสูงของพื้นที่ประมาณ 4 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีประเพณีการทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่สืบสานต่อเนื่อง อีกทั้งการเป็นอยู่แบบเครือญาติ ผูกพันและพึ่งอาศัยกันให้ความเคารพนับถือพระสงฆ์ ผู้อาวุโสและผู้นำชุมชน

1. ชุมชนบางใหญ่มีการรวมกลุ่มของเกษตรกร โดยได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานรัฐ เช่น การส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาชุมชน องค์การบริหารตำบล เทศบาล ได้แก่ กลุ่มทิพมาศเบญจรงค์ กลุ่มหัตถกรรมจิ๋วไม้ และกลุ่มอาชีพสตรีศิลป์ประดิษฐ์

2. กลุ่มทิพมาศเบญจรงค์ เป็นการผลิตเครื่องเบญจรงค์โดยการปรับขนาดจากเบญจรงค์ขนาดใหญ่เป็นของจิ๋ว ได้รับการคัดสรรให้เป็นสินค้าโอทอประดับ 3 ดาว โดยผลงานชิ้นแรกที่ทำออกมาคือ ชุดเชี่ยนหมาก โถ กาน้ำชา และปิ่นโต ทางบ้านทิพมาศเบญจรงค์ใช้ทองคำแท้ ไม่มีการผสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต ดังนั้น ลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มชนชั้นกลางขึ้นไป หรือหน่วยงานภาครัฐฯ ที่สั่งซื้อเพื่อให้เป็นของที่ระลึกในการเดินทางไปเยี่ยมเยือนบุคลสำคัญของประเทศนั้น ๆ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง ปัจจุบันบ้านทิพมาศเบญจรงค์ไม่มีหน้าร้าน เน้นนำสินค้าออกบูธแสดงในงานต่าง ๆ หรือลูกค้าขาประจำจะมาเลือกซื้อโดยตรงที่บ้าน ย่านบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

สำหรับจุดเด่นของเบญจรงค์จิ๋วที่นอกจากการใช้ทองคำแท้ มีการเน้นที่รายละเอียดของงาน และการนำไปใช้งานไม่ต่างจากเบญจรงค์ขนาดปกติ คือกาน้ำชาสามารถใส่น้ำและเทออกได้จริง ในขณะที่ปิ่นโตแยกออกมาเป็นชั้น ๆ ได้

3. กลุ่มหัตถกรรมจิ๋วไม้ กลุ่มหัตถกรรมจิ๋วไม้เป็นสินค้าโอทอปของชุมชนบางใหญ่ จัดอยู่ในสินค้าโอทอปประเภทของใช้ ของประดับตกแต่งและของที่ระลึก โดยอยู่ในความดูแลของคุณประทุมพร ตันศิริ

4. กลุ่มอาชีพสตรีศิลป์ประดิษฐ์ เป็นกลุ่มชุมชนที่การรวมตัวกันจัดทำและจำหน่ายสินค้าประเภทศิลปะประดิษฐ์หลายชนิด เช่น การทำผ้าบาติค การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติค เสื้อผ้าบาติคสำเร็จรูป และดอกไม้ประดิษฐ์จากใยบัว เป็นต้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วัดอัมพวัน

สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดบางม่วง" สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ "หอไตรกลางน้ำ" เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สมบูรณ์ที่สุด เป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง มีความสมบูรณ์ในด้านสถาปัตยกรรมไทยที่มีลักษณะเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ยกใต้ถุนสูงตั้งอยู่ในสระน้ำขนาดเล็ก โดยชั้นล่างโล่งไม่มีพื้น และฝาชั้นบนเป็นตัวหอขนาด 2 ห้อง

  • ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุนตอนบน เป็นซี่ลูกกรงไม้กลึงเสากรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ดประตูหูช้างเครื่องลำยอง ซึ่งเป็นไม้จำหลักหลังคาที่ซ้อน 2 ชั้น มีปีกนก 1 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชายหน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำ
  • ผนังด้านนอกทาสีลูกฟักด้วยสีแดงตัดขอบขาว และตัวไม้เครื่องบันอื่น ๆ ทาสีขาวตัดเหลี่ยมสีแดง
  • ส่วนเสาลงพื้นสีขาวเขียนลายแดงให้ดูสวยงามเด่นชัด และหน้าบานประตูเข้าหอไตรจะเป็นบานไม้ที่ลงรักปิดทองลายพุ่มข้าวบิณฑ์อกเลา ซึ่งเป็นไม้จำหลักลายดอกพุดตานลูกฟักเหนือประตู จะเห็นเป็นภาพนกข้างละตัวเหนือขึ้นไป และเป็นภาพพระอาทิตย์พระจันทร์ในห้องสกัดท้ายหอไตร เป็นที่เก็บพานตะลุ่ม และฐานพระพุทธรูปไม้จำหลักจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีมณฑปพระพุทธบาท ซึ่งภายในมีพระพุทธบาทจำลองทำด้วยโลหะประดิษฐานอยู่บนฐานปูน

ส่วนพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของวัดแห่งนี้คือ “พระพุทธมงสุโขทัย” ประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ ภายในกุฏิเจ้าอาวาสยังมีพระปางเทริดสะดุ้งมารมีลักษณะเหมือนใส่หมวกอยู่ในท่ายืนตรงมีต้นกำเนิดมาจากสมัยอยุธยา

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ขณะที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปลายปี พ.ศ. 2554 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดที่อยู่อาศัยย่านบางใหญ่ เพราะเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตน้ำท่วมดังกล่าว ทำให้ยอดขายที่อยู่อาศัยย่านนี้ชะลอตัว หลายโครงการต้องเร่งฟื้นความมั่นใจเพื่อกู้ยอดขาย แต่หลายผู้ประกอบการเลือกที่จะหันไปพัฒนาโครงการย่านนี้เป็นการชั่วคราวก่อน

แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป ประกอบกับภาครัฐเริ่มประกาศแผนลงทุนโครงการคมนาคมใหม่ ๆ ทั้งเส้นทางมอเตอร์เวย์ที่วิ่งไปทางกาญจนบุรี รถไฟฟ้าสายสีม่วงเตาปูน - บางใหญ่ ดึงกลุ่มทุนค้าปลีกรายใหญ่อย่างกลุ่มเซ็นทรัลให้เข้ามาปักธงย่านบางใหญ่ บริเวณทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ใกล้กับรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีตลาดบางใหญ่ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ภาพรวมของย่านบางใหญ่กลับมาคึกคักอีกครั้ง

บางใหญ่ มีการเจริญเติบโตด้วยตัวเองมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่ยังไม่มีรถไฟฟ้าสายสีม่วงเกิดขึ้น เนื่องจากมีชุมชนที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่นิยมสร้างโครงการบ้านจัดสรร เพราะการเดินทางสะดวกทั้งรถไฟฟ้าและถนนที่เชื่อมต่อกัน

นอกจากนี้ บางใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงเรียน ที่เกิดขึ้นเพื่อรองรับชุมชนขนาดใหญ่ที่มีมานาน และแผนพัฒนาโครงการมอเตอร์เวย์บางใหญ่-กาญจนบุรี เชื่อมต่อระหว่างฐานการผลิตและส่งออกกับประเทศพม่า ซึ่งดึงให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่อย่างเซ็นทรัลเวสต์เกต และอิเกียบางใหญ่ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ย่านบางใหญ่กลายเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก และเริ่มเห็นการเกิดขึ้นของโครงการคอนโดมิเนียมรอบโครงการเชิงพาณิชย์รองรับความต้องการที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งงาน


การขยายตัวของชุมชน เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากมีการพัฒนาถนนสายหลักขึ้น เริ่มตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2475 – 2500 ได้แก่ ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนอรุณอัมรินทร์ และถนนบางกรวย – ไทรน้อย การเข้าถึงของถนนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่ มีการตัดถนนเล็ก ๆ ในรูปแบบของการเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) ทำให้การตั้งถิ่นฐานขยายตัวในตำแหน่งที่เป็นจุดเชื่อมของลำน้ำและถนน ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ ถนนจะขนานไปกับลำน้ำ ทำให้เกิดเป็นระยะทางระหว่างน้ำกับถนน โดยมีบ้านและสวนอยู่ระหว่างกลาง การขยายตัวจึงเกิดขึ้นจาก 2 ด้าน คือการขยายตัวของพื้นที่ถนนและด้านที่อยู่ติดริมน้ำ ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานมาก่อน เกิดการขยายตัวตามแนวลำน้ำเป็นหลัก

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
ddproperty. (2562). บางใหญ่. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.ddproperty.com/areainsider/บางใหญ่กนกวรรณ เชยกลิ่นพุฒ และกนิษฐา ชิตช่าง. (2565). ผลกระทบต่อพื้นที่สีเขียวในตำบลเสาธงหินและตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ อันเนื่องมาจากการขยายตัวของจังหวัดนนทบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2525 – 2564. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 48(2). 73 - 92.กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2554). เขตการใช้ที่ดิน ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ใน เอกสารวิชาการเลขที่ 5 (0304)/03/54. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1.