Advance search

บ้านแขก

ชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จสะท้อนวิถีชีวิตของชาวมุสลิมและเป็นแหล่งอาหารฮาลาลที่ตลาดรอมาฎอน ได้แก่ ขนมบดินและขนมกะรี อีกทั้งการมีสถาปัตยกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่งดงามในพื้นที่ชุมชน อย่าง มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน

ซอยอิสรภาพ 15 ถนนอิสรภาพ
หิรัญรูจี
ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ละอองทิพย์ ทรัพย์ศิริ
20 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
15 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
29 เม.ย. 2023
มัสยิดบ้านสมเด็จ
บ้านแขก


ชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จสะท้อนวิถีชีวิตของชาวมุสลิมและเป็นแหล่งอาหารฮาลาลที่ตลาดรอมาฎอน ได้แก่ ขนมบดินและขนมกะรี อีกทั้งการมีสถาปัตยกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่งดงามในพื้นที่ชุมชน อย่าง มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน

ซอยอิสรภาพ 15 ถนนอิสรภาพ
หิรัญรูจี
ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
10600
13.7356072
100.4904538
กรุงเทพมหานคร

ชุมชนมุสลิมที่มัสยิดบ้านสมเด็จ เป็นชาวมุสลิมเชื้อสายมลายูที่มาจากหัวเมืองทางตอนใต้ เป็นผู้มีฝีมือทางการช่างและการก่อสร้างอย่างดีเยี่ยม ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องมุสลิมจากจังหวัดปัตตานีและจังหวัดสตูล ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในงานช่างและเป็นบุคคลระดับผู้นำศาสนาตลอดจนทายาทเจ้าเมืองปัตตานี เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) นำพี่น้องมุสลิมชาวปัตตานีและชาวสตูลเดินทางมาจากหัวเมืองทางตอนใต้ถึงพระนคร ได้ประทานที่ดินต่อจากหมู่บ้านลาวเป็นที่อยู่อาศัยบริเวณด้านหลังจวนของท่าน หรือบ้านท่านผู้หญิงพัน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน จรดริมคลองบางไส้ไก่ถึงคลองซอย (คลองเชื่อมคลองบางไส้ไก่ข้างวัดน้อยกับคลองสานข้างวัดพิชัยญาติ) เรียกคลองสานย้อนมาเกือบจรดจนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์โดยแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้ทำกุโบร์ ใช้ทำสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ส่วนพื้นที่ที่เหลือท่านสั่งให้แบ่งปันกันไปใช้สอยเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพ จากการที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ประทานที่ดินให้พี่น้องมุสลิมได้อยู่อาศัยในครั้งนั้น ผู้คนจึงพากันเรียกมุสลิมกลุ่มนี้ว่า ‘ก๊กสมเด็จ’ หรือ ‘มุสลิมบ้านสมเด็จ’ หรือ ‘บ้านแขก’ ซึ่งคำว่าบ้านแขกนี้ตามความเข้าใจของคนทั่วไปว่ามุสลิมคือแขก แต่มุสลิมกลุ่มนี้จะเรียกตัวเองว่า ‘มุสลิมบ้านสมเด็จ’ ครั้นตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันแล้วพี่น้องมุสลิมกลุ่มนี้จะสร้างสุเหร่าขึ้นมาเป็นหลังแรก ริมคลองซอย (ซึ่งแยกจากคลองซอยบางไส้ไก่ไปจรดคลองสาน) ตรงข้ามกับวัดน้อย (หิรัญรูจี) โดยสร้างเป็นเรือนไม้ชั้นเดียวเรียกว่า ‘บาแล’ ใช้สำหรับประกอบศาสนกิจและสอนอัลกุรอาน ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่กันไว้สำหรับกุโบร์และมัสยิดด้านทิศตะวันตกหันหน้ามาทางกุโบร์มีบ่อน้ำไว้ใช้อยู่ด้านหน้าจึงเรียกว่าเป็นอ่างอเนกประสงค์ พี่น้องมุสลิมบ้านสมเด็จหลายคนจึงได้มีโอกาสเข้ารับราชการในหน่วยงานต่าง ๆ จนได้รับความชอบตามความสามารถที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และได้รับพระราชทานนามสกุลมีร่วมกันสร้างสุเหร่าเรียบร้อยแล้ว พร้อมใจเชิญท่านตวนกูโนเป็นอิหม่าม (ถือเป็นอิหม่ามคนแรกของมัสยิดบ้านสมเด็จ) ท่านผู้นี้เป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองปัตตานีและเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการศาสนาอิสลาม จึงทำหน้าที่นำการปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้งสอนศาสนา อีกทั้งยังเป็นต้นสกุล “บินตวนกู” ในปัจจุบัน

โดยสุเหร่าหลังแรกใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจช่วงระยะหนึ่ง จึงร่วมกันคิดจะสร้างสุเหร่าให้แข็งแรงและถาวรกว่านี้ ท่านอิหม่าม ตวนกู พร้อมด้วยฮัจยีกาฮาและตวนฮัจยีอิบรอฮีม (ครูเฮม) ซึ่งเป็นผู้อาวุโสในสมัยนั้นมีความเห็นว่าถ้าจะสร้างสุเหร่าใหม่ควรย้ายไปสร้างทางทิศเหนือ เพราะสถานที่เดิมนั้นมีบ้านเรือนอยู่ไม่กี่หลัง คนที่จะมาร่วมกิจกรรมในสุเหร่ามีความลำบาก ส่วนด้านทิศเหนือเป็นจุดกึ่งกลางของชุมชนมีบ้านเรือนหนาแน่นกว่าการคมนาคมก็สะดวกกว่า มีพื้นที่ที่จะสามารถขยายตัวได้มากกว่า จึงรื้อมัสยิดหลังเก่าไปสร้างใหม่บริเวณด้านเหนือของกุโบร์ ริมคลองซอย (แยกจากหน้าวัดบางไส้ไก่ทะลุคลองซอยวัดน้อยไปวัดพิชัยญาติ) สร้างเป็นเรือนไม้ขยายใหญ่กว่าเดิมห่างจากลำคลองประมาณ 30 วา มีบริเวณด้านหน้ากว้างขวางส่วนที่ติดกับลำคลอง ขุดสระน้ำไว้ใช้เพราะบริเวณนี้น้ำจะขึ้นลงเป็นเวลา และตามบ้านเรือนมักจะมีการกักบ่อน้ำอยู่ทุก ๆ บ้าน

อาณาเขตติดต่อชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ซอยหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ วัดหิรัญรูจี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบางไส้ไก่ และชุมชนสามัคคีศรีสุพรรณ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ คลองบางไส้ไก่

ระบบเครือญาติ

ชาวมุสลิมในชุมชนบ้านสมเด็จส่วนใหญ่เชื้อสายมลายู มาจากเมืองปัตตานีและเมืองไทรบุรี ส่วนใหญ่มีฝีมือทางการช่าง มัสยิดหลังแรกสร้างอยู่ริมคลอง โดยมีตวนกูโน ซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าเมืองปัตตานีเป็นอิหม่าม ส่วนอิหม่ามคนที่ 2 คือฮัจญี เป็นชาวสตูล นอกจากนั้นยังมีมุสลิมจากอินเดียเข้ามาตั้งถิ่นฐานรวมอยู่ในชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จทางนี้ด้วย โดยแบ่งนามสกุลเป็นเชื้อสายเจ้าจากเมืองปัตตานี เช่น สกุลบินตวนกู, เด่นอุดม, บูรณานุวัตร, และบูรพงศ์ ส่วนนามสกุลอื่น ๆ เช่น เกียรติธารัย, ดลขุมทรัพย์, ซำเซ็น, อาริยะ, ชาญใบพัด, มิตรสมาน, อดุลยพิจิตร, โกบประยูร และรุจิระอัมพร เป็นต้น ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นเครือญาติเดียวกัน เมื่อมีคนเสียชีวิตจะมีประกาศในชุมชน ซึ่งคนในชุมชนต่างจะเดินทางไปเยี่ยมไปร่วมละหมาดญะนาซะฮุ หรือการละหมาดให้แก่ผู้เสียชีวิต และเมื่อมีงานอื่น ๆ จะเป็นลักษณะเชิญให้ไปร่วมงานเช่นเดียวกัน

ชาติพันธุ์

ชาวมุสลิมในชุมชนมุสลิมบ้านสมเด็จเป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ หรือสายซุนนะฮ์ ส่วนใหญ่จะพบชาวมุสลิมที่นับถือนิกายนี้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล จากอิทธิพลการอพยพเจ้าเมืองปัตตานีและสตูล ที่มีฝีมืองานช่างเข้ามาช่วยสร้างเมืองในสมัยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ โดยมีมัสยิดนูรุ้ลมู่บีนที่เป็นมัสยิดเก่าแก่อันเป็นศูนย์กลางของชุมชนในสายซุนนะห์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การละหมาด 5 เวลา

หออะซาน ภายในบริเวณมัสยิด ทำงานทุกวันวันละห้าครั้งเป็นกิจวัตรหนึ่งที่สำคัญของชาวมุสลิม เพราะเป็นการเข้าเฝ้าพระผู้เป็นเจ้า (พระอัลเลาะห์) ที่ส่วนมากจะเป็นผู้ชายมาละหมาดที่มัสยิด เนื่องจากผู้หญิงมีภาระที่จะต้องดูแลบ้าน หรือหากมีครอบครัวก็จะต้องดูแลลูก ผู้หญิงชาวมุสลิมที่มีครอบครัวจึงไม่นิยมเดินทางมาละหมาดที่มัสยิด ชาวมุสลิมชุมชนบ้านสมเด็จจะมีการทำพิธีการละหมาดของศาสนาอิสลาม

การละหมาด คือการนมัสการพระเจ้าเป็นการแสดงความเคารพต่อพระเจ้า เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อแสดงความภักดีและเพื่อสำรวมจิตละลึกถึงพระเจ้า ดังนั้นการละหมาดจึงเป็นการขัดเก่าจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นการฝึกให้ชาวบ้านมุสลิมในพื้นที่มีความตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบในหน้าที่ ให้อยู่ในระเบียบวินัย รักษาความสะอาด และเป็นการบริหารร่างกายอย่างดียิ่ง ซึ่งภายในหนึ่งวันชาวบ้านมุสลิมในชุมชน จะต้องทำการละหมาดวันละ 5 เวลา ดังนี้

1. เวลาย่ำรุ่ง เรียกว่า ละหมาด ซุบหฺ ปฏิบัติ 2 ร็อกอะฮ์ ในเวลา 04.52 น.

2. เวลากลางวัน เรียกว่า ละหมาด ดุฮฺริอฺ ปฎิบัติ 4 ร็อกอะฮ์ ในเวลา 12.22 น.

3. เวลาเย็น เรียกว่า ละหมาด อะซัร ปฎิบัติ 4 ร็อกอะฮ์ ในเวลา 15.33 น.

4. เวลาพลบค่ำ เรียกว่า ละหมาด มัฆริบ ปฎิบัติ 3 ร็อกอะฮ์ ในเวลา 18.31 น.

5. เวลากลางคืน เรียกว่า ละหมาด อิชาอ์ ปฎิบัติ 4 ร็อกอะฮ์ ในเวลา 19.43 น.

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน  เป็นอาคารสถาปัตยกรรมทางศาสนาของชาวมุสลิมในชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของผู้คนในชุมชน มีชื่อเรียกว่า ‘สุเหร่าบ้านสมเด็จ’ หรือ ‘มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน’ ที่เรียกกันในปัจจุบันเป็นแหล่งกำเนิดของชาวมุสลิมในแขวงธนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2497 ท่านอิหม่ามและคณะกรรมการมีมติให้รื้ออาคารส่วนหน้าของสุเหร่าที่ชำรุดมากออก แล้วสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเท่าอาคารเดิม ส่วนหลังคาเทดาดฟ้าคอนกรีตเสริมเหล็กสูงเท่าหลังคาอาคารมัสยิดทำหออาซานในลักษณะแปดเหลี่ยมสองชั้นคล้ายรูปทรงหออาซานเดิม เมื่อการออกแดดเรียบร้อยได้มีการวางศิลาฤกษ์ราวกลางปี พ.ศ. 2498 การก่อสร้างดำเนินไปอย่างช้า ๆ ตามอัตภาพใช้เวลาประมาณ 2 ปี โครงสร้างจึงแล้วเสร็จราวกลางปี พ.ศ. 2500 แรกเริ่มมัสยิดนี้มีหลายชื่อแต่พี่น้องชาวมุสลิมบ้านสมเด็จพอใจจะใช้ชื่อ ‘สุเหร่าบ้านสมเด็จ’ เมื่อมัสยิดเสร็จสมบูรณ์แล้ว ท่านอิหม่ามมานิต เกียรติธนารัย ได้เลยขอคำปรึกษาจากท่านอาจารย์อะหมัดซีฮาบุดดีน บิน ซอและห์ (ครูสวัสดิ์) ซึ่งท่านถือกำเนิดเป็นลูกบ้านสมเด็จผู้หนึ่งได้กรุณาตั้งชื่อให้ว่า ‘มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน’ เมื่อปี พ.ศ. 2501 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2505 อาคารมัสยิดเริ่มชำรุดโดยเฉพาะกระเบื้องว่าวมุงหลังคา ซึ่งใช้มาเกินกว่า 50 ปี หมดสภาพไม่สามารถซ่อมแซมได้เพราะวัสดุหายาก จึงมีมติให้เปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องลูกฟูกและขยายตัวอาคารด้านข้างออกไปทั้งสองด้าน ด้านละ 2 เมตร ให้เสมอกับตัวอาคารส่วนหน้าที่เสร็จแล้วเป็นแนวเดียวกัน และมีความเห็นว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นของประชากร จึงทำห้องใต้ดินไว้เก็บของ ด้านปีกขวาของอาคารจึงก่อสร้างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

อาหารฮาลาลชาซีลอน ชาวมุสลิมนิยมดื่มชาในทุกช่วงเวลาจนกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มของชาวมุสลิมในชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ เพียงแต่ไม่ใช่วัฒนธรรมทางศาสนา แต่มาจากวิถีชีวิตของคนภายในชุมชนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของผู้คนในชุมชนเมื่อดื่มชาร่วมกัน และมีความเชื่อว่าควันชาที่ลอยขึ้นอบอวลสามารถทำให้จิตใจของผู้คนในบริเวณนั้นใสสะอาดบริสุทธิ์ ชาซีลอน ของประเทศศรีลังกามีลักษณะพิเศษ คือมีกลิ่นหอมและมีสีน้ำตาลอมแดง ประโยชน์ของการดื่มชา คือช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด รักษาระดับความดันโลหิต และป้องกันอาการหวัดไอ ฯลฯ ชาวมุสลิมในชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จจึงมีนิสัยที่ชอบดื่มชาเป็นพิเศษ

ขนมบดิน เป็นขนมบดินเป็นขนมโบราณของชาวมุสลิมในชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จทำมาจากแป้งเค้กผสมกับไข่ไก่ นมข้นหวาน น้ำตาลทราย เนยกี แล้วนำมาอบจนขึ้นฟู ตกแต่งหน้าเค้กด้วยลูกเกดหรือผลไม้ เช่น ฟักทองเชื่อม ทำให้มีรสสัมผัสที่นุ่มละมุน มีกลิ่นหอมรสชาติหวานมัน โดยขนมบดินนิยมทำในช่วงงานบุญหรืองานสำคัญทางศาสนาอิสลามโดยเฉพาะในวันฮารีรายอซึ่งเป็นวันที่ชาวไทยมุสลิมออกมาพบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้องเพื่อเฉลิมฉลองหลังจากที่ได้ออกจากเทศกาลถือศีลอด หรือวันเราะมะภอน ในแต่ละปี

ขนมกะรีมัน  เป็นขนมโบราณของชาวมุสลิมรับประทานเฉพาะในโอกาสพิเศษอย่างประเพณีถือศีลอด เป็นขนมที่ทำจากแป้ง มัน และเครื่องแกง มีรสชาติคล้ายกับกะหรี่ปั๊บ

ชาวมุสลิมชุมชนบ้านสมเด็จได้รับอิทธิพลทางภาษามาจากชาวมุสลิมปัตตานีและสตูลทางภาคใต้ของประเทศไทยจึงมีภาษาของตนเองเรียกว่า ‘บอซอ นายู’ หรือ ‘บาฮาซอ นายู’ แปลว่า ภาษามลายู และเรียกตนเองว่า ‘ออแร นายู’ แปลว่า คนมลายู ในสังคมทั่วไปจะมีการเรียกภาษามลายูปัตตานีว่า ‘ภาษายาวี’ หรือภาษาอิสลาม ภาษาแขก ภาษามลายถิ่น และภาษามลายูถิ่นปัตตานี คำพื้นฐานในภาษามลายูส่วนใหญ่เป็นคำสองพยางค์ เช่นเดียวกับคำพื้นฐานของภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เช่น นาซิ แปลว่า ข้าว และมาแก แปลว่า กิน เป็นต้น ภาษามลายูปัตตานี เป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และการเน้นเสียงหนัก - เบา ไม่ใช่ลักษณะสำคัญของภาษานี้ ดังนั้น การออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์ใดของคำจะไม่ทำให้ความหมายของคำนั้นเปลี่ยนแปลง เช่น มาซัม แปลว่าเปรี้ยว ไม่ว่าจะออกเสียงเน้นหนักที่พยางค์แรก หรือพยางค์หลังจะมีความหมายคงเดิม

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จยังมีจุดที่น่าสนใจอื่น ๆ คือตรอกชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จของชาวบ้านในชุมชนเป็นจุดศูนย์รวมของอาหารฮาลาล รสชาติจากชาวมุสลิมโดยตรง เช่น ปางะ ข้าวเหนียวเหลืองหน้าไก่ กุ้งสเต๊ะซอสแกงเผ็ด และแกงซาลาเนื้อ เป็นต้น

ชนัญรักฒ์ สุวรรณวัฒน. (2560). การศึกษาความรู้ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจอาหารฮาลาล ของชุมชนบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.วารสารสารสนเทศ. 16(1), 99-112.

ปราณี นามวิชัย. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ กรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

มุสลิมไทยโพสต์. (ม.ป.ป.). วิธีการละหมาด 5 เวลา วิธีการละหมาดของอิสลามเวลาในการละหมาดขั้นตอนการละหมาดฟัรดู. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/18174.

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2550). การศึกษาองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เขตธนบุรี. (เอกสารอัดสำเนา)