Advance search

ตลาดลูกแก

เป็นชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณถนนแสงชูโต ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ตลาดลูกแก (ในพื้นที่ของตำบลดอนขมิ้น) ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านทางทิศตะวันตก และเป็นชุมชนแรกของจังหวัดกาญจนบุรี

ดอนขมิ้น
ท่ามะกา
กาญจนบุรี
ภัทรานิษฐ์ พิศวงค์
23 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
13 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
29 เม.ย. 2023
ตลาดท่ามะกา
ตลาดลูกแก


ชุมชนชนบท

เป็นชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณถนนแสงชูโต ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ตลาดลูกแก (ในพื้นที่ของตำบลดอนขมิ้น) ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านทางทิศตะวันตก และเป็นชุมชนแรกของจังหวัดกาญจนบุรี

ดอนขมิ้น
ท่ามะกา
กาญจนบุรี
71120
13.9178390551
99.7672054936
เทศบาลตำบลดอนขมิ้น

จากการบันทึกของนักประวัติศาสตร์ ชื่อ สถิต เลิศวิชัย ได้บันทึกไว้ว่าอำเภอท่ามะกานั้น เดิมชื่อ "อำเภอลาดบัวขาว" ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2445 โดยเอาพื้นที่เขตตำบลท่าผา ตำบลธรรมเสน และตำบลลาดบัวขาวรวมกันตั้งเป็น อำเภอลาดบัวขาว ซึ่งในสมัยนั้นยังขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี (ขณะนี้ที่ตั้งของอำเภอลาดบัวขาวเดิม เป็นที่ตั้งของวัดลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี อยู่ตรงข้ามวัดโกสินารายณ์ คนละฝั่งของแม่น้ำแม่กลองในปัจจุบัน) 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ย้ายที่ตั้งที่ว่าการอำเภอลาดบัวขาวมาตั้งใหม่ที่ตำบลพงตึก และได้เปลี่ยนชื่ออำเภอจากอำเภอลาดบัวขาวเป็น อำเภอพระแท่น ทั้งนี้เพราะในเขตอำเภอมีปูชนียสถานที่สำคัญในทางพระพุทธศาสนา คือ "พระแท่นดงรัง" 

ในปี พ.ศ. 2453 สมัยขุนศรีสรนาสน์นิคมหรือมหาจันทร์ ปุญสิริ เป็นนายอำเภอได้ย้ายที่ว่าการอำเภอพระแท่นจากตำบลพงตึกมาตั้งใหม่ที่หมู่บ้าน "ถ้ำมะกา" ทางด้านฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง โดยซื้อที่ดินของขุนอารักษ์อรุณกิจ จำนวน 10 ไร่ 20 ตารางวา เป็นเงิน 120 บาท และที่ดินของนายชื่น จำนวน 2 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา เป็นเงิน 120 บาท รวมเป็นเนื้อที่ของอำเภอ 12 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา ใช้เป็นที่สร้างที่ว่าการอำเภอพระแท่นหลังใหม่ เนื่องจากที่ท่าน้ำหน้าอำเภอมีต้นมะกาต้นใหญ่ 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 สมัยขุนรามบุรีรักษ์ (แอร่ม สุนทรศารทูล) เป็นนายอำเภอ จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอใหม่จากอำเภอพระแท่นเป็นอำเภอท่ามะกา ซึ่งยังคงขึ้นอยู่ท้องที่จังหวัดราชบุรี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2480 จึงได้โอนมาขึ้นอยู่กับท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีจนถึงปัจจุบัน

ชุมชนตลาดท่ามะกาเป็นชุมชนย่านการตลาดค้าบริเวณถนนแสงชูโต ซึ่งมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “ตลาดลูกแก” ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยมีแม่น้ำกลองไหลผ่านทางทิศตะวันตกและเป็นชุมชนแรกของจังหวัดกาญจนบุรีที่ใกล้กรุงเทพมหานครมากที่สุด โดยอำเภอท่ามะกาเป็นอำเภอที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองดังนี้

  • ทิศเหนือ จรดอำเภอพนมทวน และอำเภอสองพี่น้อง (จังหวัดสุพรรณบุรี)
  • ทิศตะวันออก จรดอำเภอกำแพงแสน (จังหวัดนครปฐม) และอำเภอบ้านโป่ง (จังหวัดราชบุรี)
  • ทิศใต้ จรดอำเภอบ้านโป่ง
  • ทิศตะวันตก จรดอำเภอท่าม่วง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในส่วนของการนับถือศาสนา ชาวบ้านในชุมชมตลาดท่ามะกาส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งมีวัดลำลูกแกเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของผู้คนในชุมชน โดยมีประเพณีที่สำคัญคือประเพณีทิ้งกระจาดและเทศกาลกินเจที่จัดขึ้นทุกปี 

ประเพณีทิ้งกระจาด

ประเพณีทิ้งกระจาดนี้ ตามคติความเชื่อของชาวจีน ถือเป็นการทำบุญ ทำทานให้แก่ภูตผีที่ไม่มีญาติทั้งหลาย ซึ่งจะปล่อยจากยมโลกมารับส่วนบุญบนโลกมนุษย์ปีละครั้ง ก่อนกลับไปรับผลกรรมที่เคยสร้างไว้เมื่อคราวเป็นมนุษย์ งานนี้จัดขึ้นทุกปีในช่วงกลางเดือน 7 ของจีน (ตรงกับเดือน 9 ของไทย) ไปจนถึงสิ้นเดือน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ประตูยมโลกเปิด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

วัดลูกแก ตั้งขึ้นในหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2400 ณ หมู่ที่ 7 ต.ดอนขมิ้น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ตำนานมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า "มีพระธุดงค์เดินทางมา 3 รูป จากทางภาคเหนือนั้นคือ ท่านหลวงพ่อแป้น ท่านหลวงพ่อดี ท่านหลวงพ่อเสือ ทั้ง 3 รูปได้เดินทางผ่านมาถึงบ้านปากท่อ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า 'บ้านลูกแก' จนถึงทุกวันนี้" สำหรับสถานที่บริเวณของวัดลูกแกในขณะนั้น เป็นสถานที่ที่เหมาะแก่การปฎิบัติธรรมของหลวงพ่อทั้ง 3 รูป ซึ่งชาวบ้านได้ทำการนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา ณ สถานที่แห่งนี้ โดยทำการแต่งตั้งให้ หลวงพ่อแป้น เป็นเจ้าอาวาสโดยในขณะนั้น ยังใช้ชื่อวัดว่า "วัดปากท่อ" 

ต่อมาหลวงพ่อแป้นและหลวงพ่อดีได้ทำการออกธุดงค์ และหลังจากการเสร็จธุดงค์ หลวงพ่อเสือได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทนหลวงพ่อแป้น ต่อมาหลวงพ่อเสือได้มรณะภาพ จึงได้ทำการแต่งตั้งให้หลวงพ่อขำเป็นเจ้าอาวาสแทน ต่อมามีผู้ที่มีจิตศรัทธาได้ทำการยกที่ดินถวายให้วัด 10 กว่าไร่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 กรมการศาสนาได้อนุญาตให้สร้างวัดได้ตามกฎหมายในปี พ.ศ.  2452 ต่อมาหลวงพ่อขำได้ทำการสร้างอุโบสถและหลังคามุงแฝกขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านได้รับการเรียนหนังสือและสร้างหอสวดมนต์ที่ทำด้วยไม้ฉลุทั้งหลัง ซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อขำกำลังสร้างกุฏิแต่ยังไม่เสร็จดีก็มรณะภาพลงเสียก่อน ต่อมา ท่านพระครูจริยาภอรัติ นามเดิม "โป๊ะ" ฉายา ธมฺมรโต นามสกุลเดิม สวนคุ้ม ท่านเป็นอดีตเจ้าคณะอำเภอท่ามะกา ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและท่านได้ทำการขยายเนื้อที่บริเวณวัด และได้ทำการสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุให้กับวัดลูกแกอย่างมากมายดังที่เห็นในปัจจุบัน

หาดทรายลูกแก หรือ lukkae beach (ลูกแกบีช) เป็นสถานที่เที่ยวแห่งใหม่ของ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ลักษณะหาดเป็นพื้นที่ยื่นไปริมแม่น้ำแม่กลองเป็นพื้นทรายละเอียดสีขาวครีมมีความยาวกว่า 500 เมตร เหมาะสำหรับการพักผ่อน เดินเล่น ออกกำลังกาย ชมวิวยามเย็น ชมพระอาทิตย์ตกริมแม่น้ำแม่กลอง นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่หลักจัดงานใหญ่ของชาวตลาดลูกแก งานถนนคนเดิน ที่ตั้งของหาดทรายลูกแกอยู่ด้านหลังวัดโพธิ์เย็น เป็นวัดที่มีความสำคัญเนื่องจาก วัดโพธิ์เย็นเป็นวัดฝ่ายมหายานที่มีโบสถ์แรกในประเทศไทยที่มีพัทธสีมาถูกต้องครบถ้วน ผู้ที่ศรัทธาจะบวชเป็นพระภิกษุในฝ่ายมหายานก็จะอุปสมบทได้ ณ วัดโพธิ์เย็นไม่ต้องออกเดินทางไปบวชยังประเทศอื่น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล



เทศบาลตำบลลูกแกได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณกลางน้ำแม่น้ำแม่กลองและบริเวณวัดโพธิ์เย็นเพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นสถานที่สำหรับออกกำลังกายสำหรับประชาชนในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

เทศบาลตำบลลูกแก. ข้อมูลสภาพทั่วไป. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก: http://lukkae.go.th/public/location/data/index/menu/24.

สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม. (2564). ชุมชนตลาดท่ามะกา (ตลาดลูกแก). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: https://culturalenvi.onep.go.th/site/detail/2622.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะกา. ประวัติและข้อมูลตำบล. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2566, จาก: http://tamaka.go.th/public/history/data/index/menu/22.