ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่สร้างศิลปินทางด้านการเป็น หมอลำ เเละ คนผลิตเครื่องดนตรีอีสาน ที่สำคัญเป็นการได้สืบสาน อนุรักษ์ และถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญาทางให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่สร้างศิลปินทางด้านการเป็น หมอลำ เเละ คนผลิตเครื่องดนตรีอีสาน ที่สำคัญเป็นการได้สืบสาน อนุรักษ์ และถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญาทางให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง
เมื่อครั้งที่ก่อตั้งชุมชนผู้คนที่เคลื่อนย้ายเพื่อมาหาพื้นที่ทำมาหากินแห่งใหม่ได้เดินทางมาหยุดพัก ณ บริเวณ"ต้นมะขามใหญ่" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่ ทำให้ผู้คนได้ตั้งชุมชนเเละได้เรียกสถานที่แห่งนี้ว่า "บ้านขามเฒ่า"
ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่สร้างศิลปินทางด้านการเป็น หมอลำ เเละ คนผลิตเครื่องดนตรีอีสาน ที่สำคัญเป็นการได้สืบสาน อนุรักษ์ และถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญาทางให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนที่สร้างศิลปินทางด้านการเป็น หมอลำ เเละ คนผลิตเครื่องดนตรีอีสาน ที่สำคัญเป็นการได้สืบสาน อนุรักษ์ และถ่ายทอดมรดกทางภูมิปัญญาทางให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง
จากคำบอกเล่าที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชน ได้กล่าวไว้ว่า เมื่อประมาณพ.ศ. 2135 มีท้าวลือคำหาญกับท้าวผาลาย เคลื่อนย้ายนำพาผู้คนมาจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เมื่อเดินทางมาได้ระยะหนึ่งได้มาหยุดพักบริเวณต้นมะขามใหญ่ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดนิมิตรมงคล บ้านขามเฒ่าในปัจจุบัน) บริเวณโดยรอบเป็นที่ราบใกล้ป่าทึบ ซึ่งเป็นที่อุดมสมบูรณ์ จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นและตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านขามเฒ่า” เวลาต่อมาได้มีผู้คนจากบ้านฟ้าหยาด (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร) ได้เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งบ้านเรือนภายในพื้นที่หมู่บ้านขามเฒ่า
เมื่อพ.ศ. 2408 ท้าวกวดมหาชัย (กวด) พาผู้คนจากเมืองร้อยเอ็ดจำนวนหนึ่งออกมาหาพื้นที่สำหรับตั้งบ้านเรือน และได้ตั้งบ้านลาดกุดนางใยภายหลังได้ยกฐานะเป็นเมืองมหาสารคาม ทำให้ได้รับโปรดเกล้าเป็น พระเจริญราชเดช ต่อมาชาวบ้านเหล่างิ้ว เมืองร้อยเอ็ด ได้อพยพมาสมทบทำให้ประชากรมากขึ้น พระเจริญราชเดช จึงได้สั่งให้เจ้าเมืองแสนมาปกครองบ้านขามเฒ่าและเกิดคดีพิพาทกับเจ้าเมืองท่าขอนยาง เจ้าเมือง แสนแพ้คดีถูกจองจำและเสียชีวิตในคุก ต่อมาพระเจริญราชเดช (ท้าวกวดมหาชัย) ได้แต่งตั้งท้าวทองคำขึ้น ปกครองแทน ท้าวทองคำต่อมาเห็นว่าบ้านขามเฒ่าใกล้กับเมืองท่าขอนยางอยู่ใกล้กันเกรงว่าจะเกิดมีเรื่อง พิพาทกันอีกจึงได้ย้ายจากบ้านขามเฒ่าไปตั้งเมืองใหม่ชื่อ เมืองโคกพระ ขึ้นตรงต่อเมืองมหาสารคาม ต่อมา ท้าวทองคำได้รับแต่งตั้งเป็นพระปทุมวิเศษและพระปทุมวิเศษได้แต่งตั้ง ให้ท้าวหมื่นราษฎร์ เป็นผู้ปกครองบ้านขามเฒ่าแทน เมืองโคกพระได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเมืองกันทรวิชัย (ปัจจุบัน คืออำเภอกันทรวิชัย) ต่อมาพ.ศ. 2485 เป็นต้นมา หมู่บ้านชามเฒ่าและหมู่บ้านใกล้เคียงเกิดการเปลี่ยนแปลง คือปลัดแสงขณะนั้นเป็นปลัดอำเภอ ได้สร้างถนนเส้นทางภายในหมู่บ้านและทำถนนทางเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านขามเฒ่ากับหมู่บ้านอื่น ทำให้มีการคมนาคมมีความสะดวกมากขึ้น ส่วนวิถีชีวิตของบางกลุ่มของบ้านขามเฒ่า มีความผูกพันกับการศิลปิน “หมอลำ” เมื่อ พ.ศ.2498 - 2519 เป็นช่วงที่กำเนิดหมอลำของหมู่บ้านและเป็นที่รู้จักในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง รวมไปถึงเป็นที่รู้จักระดับจังหวัดและระดับประเทศ ได้แก่ หมอลำอ๋ม หมอลำราตรี ศรีวิลัย หมอลำสุนทร จันเพ็ญ เด่นนภา ส่วนการแสดงของหมอลำ เป็นในลักษณะการร้องแนวลำโจทย์ลำแก้ ลำกลอน ลำพื้น ลำเกี้ยวพาราสี ฯ เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปหมอลำต้องปรับตัวให้ทันยุคสมัยการร้องลำแบบเดินต้องเปลี่ยนเป็น “หมอลำซิ่ง”
ด้านวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับการหาอยู่หากิน กล่าวคือ ในช่วงก่อน พ.ศ.2540 ระบบการผลิตข้าวหมู่ยังคงให้คนและสัตว์เลี้ยง เป็นแรงงานหลักในระบบการผลิต เช่นการพึ่งพาผู้คนในการช่วยกันทำนาลงแขก จนกระทั้ง พ.ศ.2540 เป็นต้นมา เริ่มใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนใช้ในระบบการผลิตข้าว ยกตัวอย่างเช่น รถเกี่ยวข้าว นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางการผลิตที่จากเดิมเป็นการผลิตเพื่อบริโภคและยังชีพในครอบครัวเป็นการผลิตเพื่อการค้าขายและเพื่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เมื่อถึงนอกฤดูทำนาคนในหมู่บ้านบางส่วนพากันออกไปหาทำงานที่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด
เมื่อ พ.ศ. 2532 เกิดการแยกหมู่บ้าน โดยแรกเริ่มนั้นทำการแยกเป็นสภาตำบลขามเฒ่าพัฒนา ทางสภาตำบลคันธารราษฎร์ได้มีมติให้แยกตำบลคันธารราษฎร์ออกเป็นตำบลขามเฒ่าโดยให้หมู่บ้าน วังบัว บ้านยาง โนนเขว่า ปอแดง หนองแปบ หนองข่า อยู่ภายใต้การปกครองของตำบลขามเฒ่า ต่อมา พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่าพัฒนา ซึ่งได้รับงบประมาณทางภาครัฐมาพัฒนาวิถีชีวิตและโครงสร้างพื้นฐานของตำบลให้ดีขึ้น ซึ่งต่อมา พ.ศ. 2551 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงไปเยี่ยมราษฎรที่หมู่บ้านขามเฒ่าพัฒนาได้พระราชทานเงินในการสร้างและปรับปรุงถนนใหม่ โดยให้ชื่อถนนว่า “ถนนเฉลิมพระเกียรติ (หัวขัว-สมศรี)” เนื่องจากเมื่อก่อนยังไม่มีถนนที่เดินทางเข้าออกหมู่บ้านที่สะดวก เมื่อมีถนนเข้ามาทำให้ผู้คนมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกในการสัญจรไปมา ซึ่งเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้
ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมาทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้เข้าไปศึกษาตัวชุมชน โดยทางมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรให้นิสิตลงพื้นที่ “โครงการหนึ่งหลักสูตรชุมชน” มีทุนวิจัยที่จัดขึ้นโดยอาจารย์เพื่อนำไปพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ลงไปศึกษาทุนวัฒนธรรมของชุมชนและเข้าไปส่งเสริมและพัฒนาทุนให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ทำให้ชาวบ้านมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ กล่าวโดยสรุปคือเป็นหมู่บ้านที่ให้ความสำคัญต่อการศึกษา ความเจริญมาจากการศึกษาและการค้า
บ้านขามเฒ่า หมู่ที่ 1 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ตั้งอยู่ในเขตการ ปกครองของตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านขามเฒ่าเมืองทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านยาง - บ้านโนนเขวา
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านขามเจริญ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหัวขั้ว
บ้านขามเฒ่า มีจำนวนประชากร เพศชาย 154 คน เพศหญิง 178 รวม 332 คน มีจำนวนบ้านเรือน 129 ครัวเรือน ภายในหมู่บ้านมีสถานที่สำคัญ ดังนี้ ต้นมะขามใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ของวัดนิมิตรมงคล) และมีศาลปู่ตา (ปู่เทียน ทะนะโลก) ที่พึ่งทางจิตใจของผู้คนในหมู่บ้าน ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน คือกลุ่มไท-ลาว และกลุ่มสายตระกูลที่เก่าแก่ของหมู่บ้าน ประกอบด้วย สุวรรณเลิศ วงสุวรรณ บุตรคำโชค ประทัศน์ เป็นต้น
- กลุ่มเครือข่าย ศิลปินหมอลำ
- กลุ่มผู้ประกอบอาชีพข้าวเกรียบ
- กลุ่มเครื่องจักรสาน
- นายสังเวียน ไปไหน เป็นหมอแคนประจำบ้านขามเฒ่า โดยนายสังเวียนได้เริ่มเป่าแคนตั้งแต่อายุ 9 ปี ซึ่งได้เรียนวิชาเป่าแคนมาจากพ่อของตน (พ่อเสาร์ ไปไหน) และเป่าแคนมาเรื่อยๆ จนถึง พ.ศ.2527 ได้เป่าแคนให้กับคณะหมอลำ ราตรี ศรีวิไล และสุนันท์ ฆ้อง 3 และได้รับงานมาเรื่อยๆ ทั้งรับงานกับสังกัดสำนึกงานของคณะหมอลำ และรับงานอิสระ และเมื่อ พ.ศ 2536 พ่อสังเวียนได้ย้ายมาที่บ้านขามเฒ่า จังหวัดมหาสารคาม แต่ก็ยังประจำอยู่กับสำนักงานคณะบันเทิง ให้กับคณะของ แม่จันเพ็ญ เด่นนภา แม่ทองแหวน แดนนภา ในช่วงนี้จะรับงานทั้งในชุมชนและนอกชุมชน ทุกคนได้ฟังหมอลำและหมอแคนอย่างทั่วถึง ( มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ) ซึ่งก่อนที่หมอแคนจะออกแสดงก็ได้มีการซักซ้อมกับหมอลำก่อน ซึ่งลายแคนหรือทำนองที่เป่านั้นส่วนใหญ่จะเป่า ลายแคน สุดสะแนน ลายน้อย ลายใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป่าลายสุดสะแนน ทั้งนี้ลายแคนก็ขึ้นอยู่กับประเภทของกลอนลำด้วย ประเภทของทำนองกลอนลำ เช่น ลำล่อง ลำเต้ย เป็นต้น การโชว์ลายแคนนั้นจะเป็นจุดเด่นของหมอแคนด้วย นอกจากนี้ อีกหนึ่งจุดเด่นที่เป็นศิลป์แสดงเป็นเอกลักษณ์ของพ่อสังเวียน ก็คือ “การกระโดดทืบเท้า” นั่นเอง นอกจากนี้ พ่อสังเวียนยังมีช่างแคนประจำตัวหรือสถานที่ทำแคนประจำอีกด้วย ซึ่งจะไปซ่อมแคนหรือสั่งแคนที่บ้านเหล่าขาม บ้านเขียดเหลือง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งแคนที่สังเวียนเป่าจะเป็น แคน 9 และ แคน 10
หมู่บ้านขามเฒ่า เป็นหมู่บ้านที่มีทุนทางด้านการเป็นศิลปิน “หมอลำ” ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีต เรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน การแสดงหมอลำนั้นเป็นทุนวัฒนธรรมอีกด้านหนึ่งที่นำไปสู่การสร้างชื่อเสียงและที่สำคัญอาชีพหมอลำสามารถรายได้กับศิลปินนำมาเลี้ยงคนในครอบครัว หมอลำที่เติบโตจากหมูบ้านแห่งนี้ประกอบด้วย หมอลำอุม หมอลำราตรี ศรีวิลัย หมอลำสุนทร จันเพ็ญ เด่นนภาฯ ปัจจุบันมีการฝึกหมอลำน้อย โดยมีการลำว่ากลอนปากเปล่าปล่อยเสียงเป็นจังหวะจะโคน ลำใส่แคนพร้อมกับฟ้อนร่ายรำอย่างถูกวิธี ทั้งชายหญิง นับว่าเป็นจุดที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวที่จะมาชมและฟังฝีปากหมอลำน้อย
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในภาษาราชการเป็นภาษาไทย ส่วนภาษาท้องถิ่น คือภาษาอีสาน (ภาษาไทลาว)
ด้านเศรษฐกิจ บ้านขามเฒ่า เป็นหมู่บ้านที่มีขนาดเล็กที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ผู้คนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับอาชีพเกษตรกรรม เป็นหลัก ภายใต้สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้คนบางส่วนที่เว้นว่างจากฤดูทำนา ทำให้ผู้คนจำนวนหนึ่งต้องเคลื่อนย้ายทิ้งถิ่นเข้าไปทำงานยังเมืองใหญ่ เพื่อหารายได้นำมาล่อเลี้ยงครอบครัว และใช้หนี้สินที่เกิดขึ้นจากภาคเกษตรกรรม ดังนั้นสิ่งที่ท้าทายสำหรับผู้คนในหมู่บ้าน คือการดิ้นร้นเพื่อสร้างรายมาล่อเลี้ยงผู้คนในครอบครัว
ชุมชนบ้านขามเฒ่า มีภูมิปัญญาในการทำข้าวเกรียบ นวดแผนไทย/หมอยาสมุนไพร ภูมิปัญญาช่างไม้/จักรสาน/ช่างเครื่องดนตรี
กัลยาณี ทองดอนแอ. (2545). การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านขามเฒ่าพัฒนา หมู่ที่ 1 ตำบลขามเฒ่าพัฒนาอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหสารคาม.
คณะกรรมการคณะทำงานด้านการสร้างชุมนุมเข็มแข็ง. (2553). แผนโครงการหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งต้นแบบ.บ้านขามเฒ่า หมู่ที่1 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
แผนโครงการหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งต้นแบบ.(2548).บ้านขามเฒ่า หมู่ที่ 1 ตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.