Advance search

ชุมชน "บ้านถ้ำผึ้ง" มีการอยู่อาศัยแบบช่วยเหลือกันด้วยความรักใคร่สามัคคี ประกอบกับเป็นพื้นที่มีธรรมชาติอันสมบูรณ์ และมีวัฒนธรรมชุมชนที่โดดเด่น กระทั่งได้รับรางวัลชุมชนยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2551

หมู่ที่ 5
ต้นยวน
พนม
สุราษฎร์ธานี
ฐิติมา ขวัญสุข
19 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
14 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
บ้านถ้ำผึ้ง

บ้านถ้ำผึ้ง เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อมาจากภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งมีถ้ำและภายในถ้ำมีผึ้งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อ "บ้านถ้ำผึ้ง"


ชุมชนชนบท

ชุมชน "บ้านถ้ำผึ้ง" มีการอยู่อาศัยแบบช่วยเหลือกันด้วยความรักใคร่สามัคคี ประกอบกับเป็นพื้นที่มีธรรมชาติอันสมบูรณ์ และมีวัฒนธรรมชุมชนที่โดดเด่น กระทั่งได้รับรางวัลชุมชนยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2551

หมู่ที่ 5
ต้นยวน
พนม
สุราษฎร์ธานี
84250
8.79180224229159
98.86801193972177
องค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน

บ้านถ้ำผึ้ง ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลายและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในปี พ.ศ. 2546 ทางทบวงมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการโครงการนำร่อง (โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก) ในชุมชนมากกว่า 100 ชุมชน ใน 9 ภูมิภาค และบ้านถ้ำผึ้งได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ เนื่องมาจากบ้านถ้ำผึ้งเป็นหมู่บ้านที่มีภูเขาล้อมรอบมีทรัพยากรป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และสวยงาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน สวนกาแฟ และสวนผลไม้ และยังเป็นหมู่บ้านที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ทั้งป่าต้นน้ำที่สามารถจัดเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ บึงมหัศจรรย์น้ำดันทรายดูด หรือน้ำพุเย็น ถ้ำประวัติศาสตร์สมรภูมิ ถ้ำลอด น้ำตกธารพฤกษา น้ำพุร้อน จุดชมวิว ดอกไม้สีดา บ้านพักโฮมสเตย์ เเละอาหารพื้นบ้าน เป็นต้น 

กิจกรรมของการท่องเที่ยวของบ้านถ้ำผึ้งในปัจจุบันนี้ได้พัฒนาและขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวและดูงานตลอดทั้งปี สังเกตได้จากรางวัลต่าง ๆ ที่ได้รับ เช่น รางวัลลูกโลกสีเขียว ปี พ.ศ. 2547 รางวัลหมู่บ้านท่องเที่ยวยอดเยี่ยม ปี พ.ศ. 2549 และรางวัลป่าชุมชนยอดเยี่ยม ปี พ.ศ. 2551 กิจกรรมที่มีความโดดเด่น คือการศึกษาธรรมชาติสิ่งมหัศจรรย์บ่อน้ำดันทรายดูด ท่องเที่ยวเรียนรู้ประวัติศาสตร์ถ้ำสมรภูมิ ปลูกป่าบริเวณป่าต้นน้ำ อาหารพื้นเมืองต้อนรับนักท่องเที่ยว ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสวนผลไม้ตามฤดูกาล หากแต่กิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ เหล่านี้มีเพียงกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านถ้ำผึ้งที่ดำเนินการกันเองเพียงกลุ่มเดียว ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจและยังไม่เห็นความสำคัญของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าตลอดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น จึงเกิดปัญหาของความไม่เข้าใจกันระหว่างความต้องการของนักท่องเที่ยว คนในชุมชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

บ้านถ้ำผึ้ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (หมู่บ้าน อพฟ.) มีประชากรประมาณ 349 ครัวเรือน มีการตั้งซุ้มบ้านขึ้นมา เพื่อให้สะดวกต่อการพัฒนาโดยแบ่งเป็น 8 ซุ้มบ้าน ดังนี้

  1. บ้านบางคุย
  2. บ้านถ้ำผึ้ง
  3. บ้านบางเลา
  4. บ้านบางคุยใต้
  5. บ้านบางคุยเหนือ
  6. บ้านถ้ำแขนนอน
  7. บ้านพรุกำ
  8. บ้านคลองล้ำเลิศ

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของบ้านถ้ำผึ้ง เป็นพื้นที่ราบล้อมรอบด้วยภูเขา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สวนยางพารา ไม้ผล และกาแฟ เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณบ้านถ้ำผึ้งยังมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่งดงามอย่างน้ำตก และทะเลหมอกยามเช้า

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง

การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ภายใต้ชื่อ “กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง” ซึ่งเป็นแนวคิดและความพยายามของชาวบ้านที่จะผนวกเรื่องการพัฒนาและงานอนุรักษ์ป่าเข้ามาไว้ด้วยกัน เพราะเมื่อป่าเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้ประโยชน์กับชุมชนเป็นเหตุให้ทุกคนก็ต้องช่วยรักษาป่าไว้

ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 จึงได้มีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง นอกจากนี้ยังมีการจัดทำที่พักแบบโฮมสเตย์ จำนวน 9 หลัง และรับรองด้วยอาหารพื้นบ้าน เพื่อต้องรับนักท่องเที่ยวจากภายนอก และเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนทางธรรมชาติ

1. บ่อน้ำดันทรายดูด

บ่อน้ำดันทรายดูดอยู่ในพื้นที่ป่าชุมชน ประมาณ 200 กว่าไร่ ลักษณะเป็นบึงที่มีทรายละเอียด น้ำใส บริเวณก้นบึงจะมีแรงดันของอากาศ ทำให้ทรายถูกน้ำดันขึ้น หากปรบมือเสียงจากการปรบมือจะทำให้เพิ่มแรงดันและบริเวณใกล้เคียงกันเป็นบ่อน้ำดูด หากมีการสมผัสจะมีความรู้สึกคล้าย ๆ มีกระแสไฟฟ้าซ้อตเข้าที่มือ

2. น้ำตกบางคุยและถ้ำน้ำลอด

น้ำตกบางคุยเป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีธารน้ำไหลผ่านโขดหินสวยงามเเละมีต้นกำเนิดจากต้นน้ำผุดไหลลงสู่คลองชะอุ่น ส่วนถ้ำน้ำลอดเป็นถ้ำที่สามารถเดินทะลุจากด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งได้ ระยะทางประมาณ 100 เมตร มีลำธารที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในอดีตชุมชนบ้านถ้ำผึ้งได้เกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ต้นน้ำเพื่อเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ทางการเกษตร เป็นเหตุทำให้พื้นที่ป่าต้นน้ำเสื่อมโทรมและเกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ เช่น ดินเสื่อมคุณภาพ มีการชะล้างพังทลายสูง เกิดการกัดเซาะหน้าดินพัดพาตะกอนไปทับถมตามแหล่งน้ำก่อให้เกิดปัญหาทางด้านคุณภาพน้ำจนเกิดการขาดแคลนน้ำ และยังเพิ่มโอกาสในการเกิดอุทกภัย ในปี พ.ศ. 2525 – 2527 พื้นที่ป่าของชุมชนมีวิกฤตเรื่องของการปลูกกาแฟทำให้มีการบุกรุกป่ากันมาก ประกอบกับการทำสัมปทานป่าไม้ทำให้น้ำแห้ง คนรุ่นเก่าจึงได้แนะนำให้กันป่าต้นน้ำเอาไว้ และกันพื้นที่ในตอนนั้นประมาณ 300 ไร่ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกเกิดขึ้นและขอร้องไม่ให้ทำลายป่าไม้ 

ปี พ.ศ. 2531 ได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ สร้างความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน ทำให้ชุมชนเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างพึ่งพาอาศัยมากขึ้น จนกระทั่งได้มีการจัดตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าขึ้น และได้มีการกันพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติมอีก 4 แปลง รวมป่าชุมชนมีพื้นที่ประมาณ 1,600 ไร่ 

ชุมชนบ้านถ้ำผึ้งได้ถูกพัฒนาจนผ่านการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน

นายบุญทัน บุญชูดำ ประธานกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า ปี พ.ศ. 2564 - 2566 กรมการท่องเที่ยวได้ประกาศให้วิสาหกิจกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง และวิสาหกิจกลุ่มท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์บ้านถ้ำผึ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์อาเซียน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผ่านการรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาเซียน อีก 1 รางวัล โดยมาตรการผ่านเกณฑ์ท่องเที่ยวเป็นข้อกำหนดของประเทศสมาชิกอาเซียนดำเนินการร่วมกันตรวจประเมินและออกใบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน ให้แก่ สถานประกอบการและชุมชนที่ผ่านการตรวจประเมิน และได้รับการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งทางการท่องเที่ยวอาเซียนทุกมาตรฐานด้านมาตรฐานโรงแรมสีเขียวอาเซียน มาตรฐานการบริการสปาอาเซียน ทางมาตฐานโฮมสเตย์อาเซียน ทางมาตรฐานห้องน้ำสาธารณะอาเชียน ทางมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาเซียน และทางมาตรฐานเมืองท่องเที่ยวสะอาดอาเซียน

ชุมชนบ้านถ้ำผึ้งที่จะเปิดการท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาแล้วมีความสุขกับการท่องเที่ยวในพื้นที่ อันเนื่องจากการเป็นป่าชุมชน 1,630 ไร่ ถ้ำน้ำลอด ธารน้ำตกบางคุย จุดชมวิวควนสองแดน บ่อดัน-ทรายดูด บ้านโฮมสเตย์ ผลิตภัณฑ์ OTOP อาหารพื้นบ้าน และมีป่ามีต้นน้ำ อีกทั้งชาวบ้านมีความรักใคร่สามัคคีช่วยกันพัฒนาจึงเป็นที่มาของการรับรางวัลครั้งนี้

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (ม.ป.ป). ชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง(กลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566, จาก https://thailandtourismdirectory.go.th/

วรารัตน์ วัฒนชโนบล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ต้นน้ำ กรณีศึกษาชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 

สถาบันลูกโลกสีเขียว. (2561). ชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ชุมชมแห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566, จาก https://www.greenglobeinstitute.com/

องค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน. (ม.ป.ป). กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566, จาก http://www.tonyuan.go.th/

อังคณา ฤทธิกุล. (2558). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านถ้ำผึ้ง ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 7(2), 134-143.

TNN สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2564). วิสาหกิจกลุ่มท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านถ้ำผึ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานีกวาด 3 รางวัลมาตรฐานการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2564-2566. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2566, จาก https://thainews.prd.go.th/