Advance search

เป็นชุมชนริมคลองเก่าเเก่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า โดยมีวัดปากคลองมะขามเฒ่าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชน

ถนนประชาราษฎร์บำรุง
มะขามเฒ่า
วัดสิงห์
ชัยนาท
ฐิติมา ขวัญสุข
15 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
14 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
ปากคลองมะขามเฒ่า


ชุมชนชนบท

เป็นชุมชนริมคลองเก่าเเก่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า โดยมีวัดปากคลองมะขามเฒ่าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชน

ถนนประชาราษฎร์บำรุง
มะขามเฒ่า
วัดสิงห์
ชัยนาท
17120
15.262823
100.055104
องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเฒ่า

ชุมชนบ้านปากคลองมะขามเฒ่าเป็นชุมชนเก่าแก่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีนขณะที่ไหลผ่านจังหวัดชัยนาทจะถูกเรียกว่า คลองมะขามเฒ่า) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ชุมชนตั้งอยู่บริเวณถนนประชาราษฎร์บำรุง มีตลาดต้นน้ำท่าจีนที่อยู่คู่กับวัดปากคลองมะขามเฒ่าและตลาดสดอายุกว่าร้อยปี ซึ่งตัวอาคารยังคงเห็นเป็นอาคารไม้โดยส่วนใหญ่ผสมผสานกันกับตึกร่วมสมัยบ้างเป็นช่วง ๆ แต่ยังคงบรรยากาศตลาดสดที่ผู้คนจะออกมาซื้ออาหารและเครื่องใช้สอยในช่วงเย็น

ตำบลมะขามเฒ่ามีระยะทางห่างจากที่ทำการอำเภอวัดสิงห์ ประมาณ 3 กิโลเมตร ตำบลมะขามเฒ่ามีเนื้อที่ประมาณ 21.161 ไร่ หรือ 34.59 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,269 คน แบ่งเป็นชายจำนวน 2,526 คน หญิงจำนวน 2,743 คน รวมจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,743 ครัวเรือน โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทต.วัดสิงห์ อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาถ และต.หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาถ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.หนองน้อย อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาถ และต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาถ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาถ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.หนองขุ่น อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาถ และต.หนองน้อย อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาถ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านในชุมชนปากคลองมะขามเฒ่าส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย มีคุณภาพชีวิตที่ดี เนื่องจากมีการเข้าถึงการศึกษา และมีบริการทางสาธารณสุขที่ครบถ้วน ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะนับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก มีวัดเป็นศูนย์รวมทางจิตใจ คือ วัดปากคลองมะขามเฒ่าที่เป็นวัดหลักของชุมชน ชาวบ้านให้การนับถือหลวงปู่ศุขเป็นอย่างมาก 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข เกสโร เกิด พ.ศ. 2390 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บ้านมะขามเฒ่า (ปัจจุบันเรียก บ้านปากคลอง) ต.มะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ในวัยหนุ่มท่านเคยได้แต่งงานกับหญิงสาวจนมีบุตรด้วยกันหนึ่งคน เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทเพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดา ที่วัดโพธิ์ทองล่าง จ.นนทบุรี โดยมีพระอธิการเชย จันทสิริ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์และท่านก็จำพรรษาอยู่ที่นี้ หลวงปู่ศุขท่านได้อยู่ปรนนิบัติอาจารย์ซึ่งเป็นพระที่เคร่งครัดในด้านวิปัสสนา จึงได้ศึกษาพระธรรมวินัยและเรียนวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนเวทมนตร์คาถา ต่อมาท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์มาจำพรรษาอยู่ที่วัดสามง่าม ปทุมวัน เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมเพิ่มเติมและย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงครามบางลำพู ที่นี่ท่านได้พบกับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร จึงได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ ร่วมกัน ท่านทั้งสองจึงมีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษ

ต่อมาปี พ.ศ. 2435 ท่านได้ธุดงค์เข้าเขตชัยนาทมาจำพรรษาอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน ท่านได้บูรณะซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมขึ้นมาใหม่ ชาวบ้านต่างพากันเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติและพระเวทวิทยาคมของท่าน ท่านได้มีศิษย์เอกเป็นถึงเชื้อพระวงศ์ คือ "กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์" ท่านได้ถ่ายทอดวิชาอาคมต่าง ๆ ให้กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์จนหมด รวมถึงมีตำนานเกี่ยวกับกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ที่ได้นำผ้าเจียดจากหลวงปู่ศุขไปแจกให้แก่ทหารเรือ เพื่อทำการทดลองอาคมโดยมี "ยัง หาญทะเล" ซึ่งเป็นทหารคนสำคัญเป็นผู้รับอาสาทดลอง และเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ตรงกับปลายรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว "หลวงปู่ศุข" มรณภาพ นับพรรษาได้ 54 พรรษา 

ทุนวัฒนธรรม

วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) บรรยากาศที่ให้ความสุขสงบทั้งกายและใจ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีทิวทัศน์สวยงามรื่นรมย์ มีต้นมะขามเก่าแก่ตั้งตระหง่านเป็นจุดเด่นอยู่บริเวณหน้าวัดติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยา จึงทำให้เป็นที่มาของชื่อ "วัดปากคลองมะขามเฒ่า" หรือวัดหลวงปู่ศุข ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่ผู้คนให้ความเคารพเลื่อมใส แม้วันนี้ท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 ด้วยวัย 76 พรรษา แต่ความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อหลวงปู่กลับมิเคยจางหายหรือลดเลือนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความศักดิ์สิทธิ์ด้านวิชาอาคมและเครื่องรางของขลัง สะท้อนให้เห็นได้จากความนิยมในพระเครื่องหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่าที่ยังคงมีอยู่สูงมาก และผู้คนนิยมนำไปสักการะบูชาตามความเชื่อที่ว่าจะมีโชคลาภ เมตตามหานิยมและแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพัน ส่วนใครที่มากราบไหว้ขอพร ณ วัดปากคลองมะขามเฒ่าจะพบกับความสุขสมปรารถนา มีสิริมงคลต่อชีวิตและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง ภายในวัดยังคงอนุรักษ์กุฏิของหลวงปู่ศุขซึ่งเป็นแบบทรงไทยโบราณ ภาพถ่ายและข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งหุ่นขี้ผึ้งและรูปหล่อของหลวงปู่ศุข พร้อมด้วยรูปหล่อกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ไว้ให้เป็นที่สักการบูชา นอกเหนือจากนี้ยังมีภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ที่ติดอยู่ตามผนังในพระอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติที่ทรงวาดร่วมกับข้าราชบริพารทั้งหมด เขียนด้วยอักษรขอม ผนังด้านใต้มีภาพเขียนบอกเวลาที่เขียนไว้คือปี พ.ศ. 2433 เพื่อถวายแก่หลวงปู่ศุขเมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถซึ่งทางวัดยังคงอนุรักษ์ไว้อย่างดี

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท). (ม.ป.ป). วัดปากคลองมะขามเฒ่า (วัดหลวงปู่ศุข). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566, จาก: https://thai.tourismthailand.org/Attraction/วัดปากคลองมะขามเฒ่า-วัดหลวงปู่ศุข.

เดลินิวส์. (2562). เปิดประวัติ'หลวงปู่ศุข' เคร้อยล้านคลั่งฟันตัวอ้างลองวิชา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2566, จาก: https://d.dailynews.co.th/regional/705852/.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). ทะเบียนย่านชุมชนเก่าในพื้นที่ภาคกลาง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566, จาก: https://data.go.th/dataset/gdpublish-http-ocd-onep-go-th.

องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาถ. (ม.ป.ป). สภาพทั่วไป. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2566, จาก: https://www.makhamthao.go.th/condition1.php.