ชุมชนทุ่งคาโงก มีคลองงา หรือ คลองพังงา ไหลผ่านพื้นที่ ทำให้ชุมชนทุ่งคาโงกมีทรัพยากรปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด
บ้านทุ่งคาโงก มีที่มาจากชายชื่อ "ตางุ้ม" เดินตามหา "ช้าง" แต่ไม่พบ เมื่อเดินหามานานจึงเกิดความเหนื่อยล้า ตางุ้มจึงมานั่งพักแล้วเผลอ “โงก” หรือ “สัปหงก” ในป่าหญ้าคา ดังกล่าวเป็นที่มาของชื่อ “ทุ่งคาโงก” กระทั่งปัจจุบัน
ชุมชนทุ่งคาโงก มีคลองงา หรือ คลองพังงา ไหลผ่านพื้นที่ ทำให้ชุมชนทุ่งคาโงกมีทรัพยากรปลาน้ำจืดหลากหลายชนิด
บ้านทุ่งคาโงก เดิมเป็นชุมชนเล็ก ๆ มีเพียงไม่กี่หลังคาเรือน ซึ่งจากการสอบถามผู้อาวุโสในชุมชนเล่าว่า การติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงมีเพียงการเดิน ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นวันหรือครึ่งค่อนวันจึงจะถึง นอกจากนี้ในชุมชนยังมีการแพ และสัตว์ในการบรรทุกของ เช่น ช้าง ม้า ในการบรรทุกสินค้าทางการเกษตรเพื่อไปขายยังตัวเมืองพังงากระนั้นก็ตามต้องใช้เวลาในการเดินทางเป็นวันเช่นกัน ลักษณะนี้ทำให้ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนค่อนข้างเรียบง่ายหาอยู่หากินตามทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน เช่น การปลูกผัก หาปลาในคลองงาและคลองละแวกบ้าน ความสัมพันธ์ของชุมชนจึงเป็นรูปแบบพึ่งพาอาศัยกัน ความเปลี่ยนแปลงของชุมชนเริ่มจากการพบแร่ดีบุกในพื้นที่จำนวนมาก ส่งผลให้เกิดการอพยพและเคลื่อนย้ายแรงงานเข้ามาขุดแร่จำนวนมากชุมชนจึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว
อดีตการตั้งถิ่นฐาน ของสมาชิกในชุมชนมีลักษณะห่างกัน แต่ละหลังคาเรือนตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ทำกิน การไปมาหาสู่กันใช้การเดิน แต่หากจะต้องติดต่อกับภายนอก เช่น การค้าขาย คนในชุมชมมีการใช้เรือ แพ เป็นพาหนะ ส่วนสิ่งของใช้สัตว์ในการบรรทุกสิ่งของ เช่น ช้าง ม้า การเดินทางไปยังเมืองพังงาใช้เวลาเป็นวันในการเดินทาง หลังจากมีการตัดถนน ชุมชนเริ่มมีการยานพาหนะ เช่น รถจักรยานยนต์ รถโดยสารประจำทาง สัญจรผ่านถนนหลวงหมายเลข 4090 ที่ตัดผ่านกลางหมู่บ้าน และจากตลาดพังงาเพื่อไปตะกั่วป่าชุมชนใช้ถนนสายเล็ก ๆ ติดต่อสัญจรรพหว่างกัน
การขยายตัวของชุมชน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากการขยายพื้นที่ทางการเกษตร มีการใช้สารเคมีในการบำรุงพืชซึ่งผลที่ตามมาคือการปนเปื้อนของน้ำในคลองงา ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาชนิดต่าง ๆ ค่อย ๆ หายไปจากคลองงา ชุมชนจึงหาแนวทางในการฟื้นคลองงาให้เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์และปริมาณสัตว์น้ำประเภทปลาน้ำจืดเพื่อเป็นแหล่งอาหารของชุมชน
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านบางม่า หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งคาโงก, บ้านลำภี หมู่ที่ 1 ตำบลลำภี อำเภอท้ายเหมือง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านบางกัน หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งคาโงก
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านตีเขา หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งคาโงก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านทับเหรียง หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งคาโงก
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ
ลักษณะทางกายภาพของบ้านทุ่งคาโงกเป็นที่ราบเชิงเขามีลำห้วยหลายสาย และคลองสายไม่ใหญ่ไหลลงคลองงา หรือ คลองพังงา คลองสายต่าง ๆ ที่ไหลลงคลองพังงา เช่น คลองบางตุ คลองบางไผ่ คลองปากแล่ง อย่างไรก็ดี คลองพังงา หรือ คลองงา ที่ไหลผ่านบ้านทุ่งคาโงก รวมถึงพื้นที่ตำบลทุ่งคาโงก ก็มีตำนานหรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับการเกิดคลองพังงา อย่างน้อย 2 สำนวน คือ
- คลองงา เกิดจาก ตายมดึง หักงาช้างจากนั้นเดินแบกงาช้าง ลากไปเป็นทางยาว ต่อมาน้ำไหลเข้ามาตามรอยงา จึงได้ชื่อว่า คลองลากงา เพี้ยนเป็นคลองงา หรือคลองพังงา
- คลองงา เกิดจากการที่ ตายมดึง ลากหอกที่ใช้ฆ่าช้างกระทั่งเป็นรอยหอกลึก ต่อมามีน้ำไหลเข้ามาจึงกลายเป็น คลองงา หรือ คลองพังงา
คลองงา นอกจากเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของชุมชน คลองงายังเป็นคลองที่ก่อให้เกิดรูปแบบการเล่นของเด็ก ๆ ในพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันไม่พบแล้ว เช่น
- ซ่อนใบบัว เป็นการเล่นของเด็ก ๆ เมื่อไปอาบน้ำที่คลองงาพร้อมกัน จะนำใบบัวหรือใบบอนมาห่อด้วยก้อนหินมัดด้วยเชื่อกขว้างไปในคลอง จากนั้นเด็ก ๆ ก็แข่งกันดำน้ำหาให้พบ ใครพบก่อนเป็นผู้ชนะ
- ดีดกุ้ง เป็นการแข่งขันดีดตัวในน้ำ โดยการจับคู่ ตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้ที่ยืนบนบ่าของอีกคน จากนั้นคนที่ยืนบนบ่าตีลังกา คู่ใดตีลังกาสูงที่สุดเป็นผู้ชนะ
ด้านภูมิอากาศ บ้านทุ่งคาโงกได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ฝนตก ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน ปริมาณฝนจะค่อย ๆ ลดลง ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม ส่วนในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน เป็นช่วงที่มีอากาศร้อนและมีฝนตกบ้างประปราย โดยเฉลี่ยฝนตกประมาณ 120 วัน ต่อ 1 ปี อุณหภูมิเฉลี่ย 27-35 องศาเซลเซียส
จำนวนประชากรของชุมชนบ้านทุ่งคาโงก จากการสำรวจข้อมูลสถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน) โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2566 รายงานจำนวนประชากรบ้านทุ่งคาโงก หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา
- จำนวนประชากรชาย 428 คน
- จำนวนประชากรหญิง 415 คน
- จำนวนประชากรทั้งหมด 843 คน
- จำนวนหลังคาเรือน 392 (หลังคาเรือน)
การประกอบอาชีพ ของสมาชิกชุมชนบ้านทุ่งคาโงก ส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมปลูกสวนผลไม้ อาทิ เงาะ ลองกอง มังคุด ทุเรียน รวมถึงพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา การทำเกษตรให้ผลผลิตทางดีเพราะชุมชนมีผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์ มีการเพาะปลูกบริเวณที่ลาดเชิงเขา นอกจกานี้ในพื้นที่มีคลองสายเล็ก ๆ ไหลผ่านในพื้นที่ ไปรวมกับคลองงาหรือคลองพังงา เช่น คลองบางตุ คลองบางไผ่ คลองบางคา คลองปากแล่ง และลำห้วยเล็ก ๆ หลายสาย นอกจากอาชีพเกษตรกรรมชุมชนมีการประกอบอาชีพด้านการค้าขาย รับราชการ และรับจ้างทั่วไป
ด้านวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น ชุมชนบ้านทุ่งคาโงกยังคงสืบทอดมาจากรุ่นบรรพบุรุษ อาทิ งานบุญเดือนสิบ ลอยกระทง สงกรานต์ เป็นต้น อย่างไรก็ดีวัฒนธรรมและประเพณีบางอย่างก็มีการเลือนหายและเปลี่ยนแปลงตามความวันเวลา เช่น
- พิธีลงโรงรักษาคนป่วย หรือ การไล่ผี
- การว่าเพลงบอก (การบอกบุญเดือน 5 เดือน 10 หาเงินเข้าวัด)
- งานชักพระ (การลากพระทางน้ำโดยใช้เรือ)
- ลักสวดกลางบ้าน (การสวดทำบุญ ฤดูเข้าพรรษา คือ เพื่อบ้านนิมนต์พระและช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการสวดทำบุญ กะเวลาช่วงที่เพื่อนบ้านเข้านอนหมดแล้ว จากนั้นรวมตัวกันยืนที่หน้าบ้านตีฆ้อง โห่ร้องปลุกเจ้าบ้านให้ตื่นมาเปิดประตูรับคณะสวดแล้วร่วมทำบุญ วันนรุ่งขึ้นมีการแก้เผ็ด (การเอาคืน) ด้วยการใส่บาตรด้วยข้าวต้ม
คลองงาทุนชุมชนบ้านทุ่งคาโงก
คลองงา มีลำน้ำสาขาหลายสาย เช่น คลองบางจาก คลองบางแสน คลองบางคา เป็นต้น ลำน้ำสาขาแต่ละสายมารวมกันเป็นลำน้ำสายใหญ่ชื่อว่า คลองงา เข้าสู่หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งคาโงก โดยมีคลองบางไผ่ไหลมาสมทบ จึงทำให้คลองงามีน้ำมาก ตลอดการไหลคลองมีขนาดกว้างขึ้นด้วยเช่นกัน จากบางไผ่ไหลโค้งผ่านหน้าวัดทุ่งคาโงก บริเวณนี้จะมีคลองบางตุ ซึ่งไหลมาจากบ้านตีนเขา หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ไหลมาสมทบกัน
ภาษาถิ่นใต้ จังหวัดพังงา
การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำในคลองงา เนื่องมาจากการทำการเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยวที่ต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก ฉะนั้นเพื่อให้ได้ผลผลิตจึงมีการใช้สารเคมีซึ่งส่งผลต่อการปนเปื้อน นอกจกานี้การปล่อยน้ำเสียจากโรงยางแผ่นของชาวบ้านที่มีโรงงานติดหรือใกล้คลองก็จะส่งผลต่อคุณภาพน้ำเช่นเดียวกัน ที่ผ่านมาการลดจำนวนของปริมาณสัตว์น้ำในคลองงา อาทิ ปลาชนิดต่าง ๆ ส่งผลต่อแหล่งอาหารและการหายไปของปลาที่เคยพบมากในคลองงาหลากหลายชนิด เช่น ปลาเพง ซึ่งในอดีตมีขนาด 1 – 3 กิโลกรัมต่อตัว ปัจจุบันเริ่มหายากและมีขนาดเล็ก ช่วงราว 5 – 10 ปี ที่ผ่านมา เริ่มมีการตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำในคลองงา แลการลดจำนวนของสัตว์น้ำ ชุมชนจึงมีการศึกษาวิจัยถึงสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงและพบว่า ความท้าทาย ทั้ง 2 ประการ คือ คุณภาพน้ำ และ การลดลงของปริมาณสัตว์น้ำ มีความสัมพันธ์กัน การจะส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในคลองงาจะเป็นไปไม่ได้ หากคุณภาพน้ำไม่เหมาะสมกับการอาศัยของสัตว์น้ำ
คลองงา คลองประจำจังหวัดพังงา เป็นลำน้ำสายเล็ก ๆ ของจังหวัดในเขตท้องที่อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาโตนดิน อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ไหลลงสู่อ่าวพังงาที่ปากน้ำพังงา เริ่มจากเทือกเขาโตนดิน ไหลลัดเลาะผ่านป่าเขา จนมาถึงบ้านบางม่า หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
คลองงา มีลำน้ำสาขาหลายสาย เช่น คลองบางจาก คลองบางแสน คลองบางคา เป็นต้น ลำน้ำสาขาแต่ละสายมารวมกันเป็นลำน้ำสายใหญ่ชื่อว่า คลองงา เข้าสู่หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งคาโงก โดยมีคลองบางไผ่ไหลมาสมทบ จึงทำให้คลองงามีน้ำมาก ตลอดการไหลคลองมีขนาดกว้างขึ้นด้วยเช่นกัน จากบางไผ่ไหลโค้งผ่านหน้าวัดทุ่งคาโงก บริเวณนี้จะมีคลองบางตุ ซึ่งไหลมาจากบ้านตีนเขา หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ไหลมาสมทบกัน
อดีตช่วงที่ยังมีการทำเหมืองแร่ น้ำในคลองบางตุมีสีขุ่น ทำให้เกิดเป็นคลอง 2 น้ำ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน คือ คลองบางตุ น้ำสีขุ่น ส่วนคลองพังงา น้ำใสจนเห็นก้อนหินใต้น้ำ สีที่แตกต่างกันนี้สมัยก่อนคนทุ่งคาโงก มักเรียกคลองพังงา ช่วงนี้ว่า คลองสองสี หรือ คลองน้ำสองสี จากนั้นไหลผ่านหลังสถานีอนามัย โดยมีคลองปากแล่งไหลมาสมทบที่โค้งตาจู คลองงาไหลผ่านไปในพื้นที่สวนปาล์มสู่ บ้านบางกัน หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งคาโงก อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา บริเวณนี้จะมีคลองบางกัน ที่ไหลมาจากภูเขาลงมาสมทบกับคลองพังงาตรงจุดใกล้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางกัน จากนั้นลงสู่ ตำบลนบปริง และ ไหลสู่เมืองพังงา จนกระทั่งอ่าวพังงา
ในอดีตคลองงา เป็นแหล่งอาหารและแหล่งน้ำที่สำคัญของชุมชนบ้านทุ่งคาโงก ชาวบ้านสามารถจับสัตว์น้ำและปลาเพื่อใช้เป็นอาหารในการดำรงชีวิตเพราะยังไม่มีแหล่งอาหารที่ซื้อหาได้ง่ายเหมือนปัจจุบัน โดยเฉพาะ ปลาเพง นิยมบริโภคมากเนื่องจากมีจำนวนมาก หาง่าย ตัวโต มีรสอร่อย สามารถนำไปทำอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงพริก แกงส้มหรือทอด ปลาเพงเป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่คล้ายปลาตะเพียน ลำตัวยาวทรงกระบอก เกล็ดใหญ่และหนา อาศัยอยู่บริเวณน้ำไหลน้ำลึกสะอาด กินพืชริมคลองและผลไม้ป่าที่หล่นลงในลำคลอง เช่น ลูกไทร ลูกหว้า ลูกมะเดื่อ ปลาเพงเป็นตัวชี้วัดความสะอาดของน้ำและความสมบูรณ์ของคลองงาสงบ กาละสังข์ และคณะ (2555). โครงการศึกษากระบวนการเรียนรู้แนวทางการฟื้นฟูคลองงาเพื่อการอนุรักษ์ปลาน้ำจืดอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านทุ่งคาโงก อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา: รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.