Advance search

บ้านขามเรียง

จากชุมชนชนบทในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนเมืองจากการเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สร้างความร่ำรวยให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดิน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ทำงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หมู่ 1 และ หมู่ 20
ขามเรียง
ขามเรียง
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
17 เม.ย. 2023
วุฒิกร กะตะสีลา
21 เม.ย. 2023
เกริกกฤษณ์ โชคชัยรัชดา
30 เม.ย. 2023
บ้านขามเรียง

ในอดีตที่ผ่านมาชุมชนแห่งนี้ เรียกว่า “ขามเรียน” สาเหตุที่เรียกว่าเช่นนี้เพราะมีต้นมะขามเรียงรายกันอยู่จำนวนมาก ซึ่งภาษาท้องถิ่นที่ชาวบ้านเรียกคำว่า เรียง เป็น เรียน ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายคล้ายกัน


ชุมชนชนบท

จากชุมชนชนบทในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนเมืองจากการเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม สร้างความร่ำรวยให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดิน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ทำงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ขามเรียง
หมู่ 1 และ หมู่ 20
ขามเรียง
กันทรวิชัย
มหาสารคาม
44150
วิสาหกิจชุมชน โทร. 08-8035-1109, เทศบาลขามเรียง โทร. 0-4375-4134
16.25000493
103.220057
เทศบาลตำบลขามเรียง

ชุมชนบ้านขามเรียง ก่อตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ.2395 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4)

กลุ่มคนที่มาตั้งถิ่นฐาน คือกลุ่มคนที่มาจาก บ้านชาด บ้านเหล่าแดง บ้านข่อย บ้านโคก บ้านแต จากอำเภอกมลไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้นำในการเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐาน คือ พ่อใหญ่จุมพล พ่อใหญ่ศรีละครและพ่อใหญ่ผ่าน โดยมีจุดประสงค์ที่ต้องการแสวงหาพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณแห่งนี้ ทั้ง 3 คนเห็นตรงกันว่า บริเวณแห่งนี้มีความอุดมบูรณ์อยู่ใกล้แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ กล่าวคือทางทิศใต้เป็นป่าโคกขนาดใหญ่ และมีแม่น้ำชีที่ห่างจากที่ตั้งชุมชนประมาณ 1 กิโลเมตร จึงได้ตั้งบ้านเรือนบริเวณแห่งนี้สืบมาจนถึงปัจจุบัน สภาพของชุมชนบ้านขามเรียงก่อน ทศวรรษ 2490 ลักษณะของพื้นที่เป็นป่าทึบมีต้นไม้ประเภทป่าโคก ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่พบมาก คือต้นจิก-เต็ง ต้นรัง ป่าไผ่ มะม่วงป่า มะพร้าว ต้นตาล ทำให้ผู้คนที่เข้ามาในพื้นที่ต่างพากันถากถางจับจองพื้นที่สำหรับไว้เป็นที่ดินทำกิน ตามกำลังของตนเอง นอกจากต้นไม้นานาชนิดที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีสัตว์ป่า เช่นหมูป่า ไก่ป่า กระรอก กระแต และนกประเภทต่างๆ อาศัยอยู่ในป่าโคกอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อ พ.ศ.2514 บ้านขามเรียงได้ขอแยกสังกัดจากบ้านท่าขอนยาง มาตั้งเป็นตำบลของตนเอง คือตำบลขามเรียง จนกระทั้งในช่วง พ.ศ.2537 การเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อพื้นที่ป่าโคกเป็นอย่างมาก ป่าถูกตัดเพื่อปรับเปลี่ยนให้มาเป็นอาคารของมหาวิทยาลัย สัตว์ป่าและของป่า ค่อยๆลดลงและหายไปจากบริเวณป่าโคกของชุมชน เมื่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดทำการเรียนการสอนวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนได้ปรับเปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นชุมชนชนบทกลายมาเป็นชุมชนกึ่งความเป็นเมือง จากเดิมที่เคยหาของป่าเพื่อล่อเลี้ยงผู้คนในครอบครัวต้องกลายมาเป็นลูกจ้างภายในมหาวิทยาลัย บางคนขายที่ดินของตนเองให้กับนายทุน เพื่อสร้างหอพักให้นิสิตเช่า บางคนต้องปรับเปลี่ยนมายึดอาชีพค้าขายเพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัว 

ชุมชนบ้านขามเรียง มีที่ตั้งอยู่ที่ทิศใต้ของอำเภอกันทรวิชัยและอยู่ที่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดมหาสารคาม ห่างจากอำเภอกันทรวิชัย 16 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมือง 10 กิโลเมตรปัจจุบันตำบลขามเรียงมีหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 23 หมู่บ้าน           

อาณาเขตติดต่อ                                                                        

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านโนนแสบง ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย                                                         
  • ทิศใต้   ติดต่อกับ บ้านหนองแข้ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย                                                           
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย                                       
  •  ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  บ้านเขียบ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย

ชุมชนบ้านขามเรียง เป็นชุมชนอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม ที่มีจำนวนประชากรแฝงอยู่เป็นจำนวนมาก สาเหตุที่กล่าวเช่นนี้เป็นเพราะการเข้าตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตำบลขามเรียง เพราะการสร้างหอพักให้นิสิตและประชาชนทั่วไปได้เข้ามาพักอาศัยยังพื้นที่ของชุมชน ดังนั้นจำนวนประชากร จึงมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวน ส่วนระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติยังคงมีความสัมพันธ์อย่างหลวมๆเพราะจากบริบทของชุมชนที่เปลี่ยนแปลงจากชุมชนชนบทกลายเป็นชุมชนเมือง ที่มีปัจจัยต่างๆที่ทำให้ความสัมพันธ์ทางเครือญาติเป็นแปลงไป 

  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของชุมชนบ้านขามเรียง
  • ตลาดนัดของชุมชน

วิถีชีวิตของผู้คนในชุมชนเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ผู้คนภายในชุมชนต่างต้องละทิ้งภาค  เกษตรกรรมหันเข้ามาเป็นแรงงานในภาคเอกชนและภาครัฐฯ รวมถึงการลงทุนเป็นเจ้าของกิจการต่างๆ ทั้งขนาดย่อมและขนาดใหญ่ สิ่งเหล่านี้ล้วนถูกกระตุ้นด้วยการเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่นำพาประชากรจำนวนมากเข้ามาอยู่อาศัยภายในชุมชนและพื้นที่รอบๆชุมชน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นความเชื่อของผู้คน คือ ประเพณี “บุญคู” ที่จัดขึ้นในช่วงเดือน 6 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นงานบุญประจำปีของชุมชน 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชุมชนมีพื้นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดทุนทางด้านเศรษฐกิจ ที่เป็นแบบร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ทั้งในรูปแบบการตั้งแบบถาวร และแบบเคลื่อนที่เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาพักอาศัยในชุมชน

ผู้คนในชุมชนใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ และ ภาษาอีสาน ใช้เป็นภาษาสื่อสาร


   


จากที่กล่าวมาแล้วนั้น จากการเข้ามาตั้งของมหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวนผู้คนเกิดความหนาแน่น ส่งผลให้ชุมชนเกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของวิถีชีวิตที่ผู้คนบางรายได้ทำการขายที่ดินของตนเองเพื่อนำเงินมาลงทุนในภาคธุรกิจ ส่วนผู้คนที่ไม่มีทุน จึงได้ทิ้งบ้านเรือนเข้าไปขายแรงงานในภาคอุตสาหกรรมตามหัวเมืองต่างๆ ปัญหาเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตผู้คนในที่เป็นลูกหลานชาวชุมชนขามเรียง ที่ตามดำเนินชีวิตให้ทันและควบคุมไปกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม 

วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติบ้านขามเรียง

สมเกียรติ ภู่วัฒนะและคณะ.(2547) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น:พื้นที่วัฒนธรรมตำบลท่าขอนยาง-ขามเรียงอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.สนับสนุนโดยฝ่ายวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม